ประเทศไทยมีจังหวัดทั้งหมด 77 จังหวัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค โดยในแต่ละภูมิภาคนั้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ เช่น ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่หรือภาษาที่แตกต่าง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ภาคอีสาน” ซึ่งภาคอีสานนั้นเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ แต่ภาคอีสานนั้นมีภาพจำในแง่ลบอยู่นั่นก็คือ “ภาคอีสานนั้นยากจน” ดังนั้นจึงเกิดมาเป็นรายการ “อีสาน อิหยังวะ” เพื่อเผยแพร่ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ข้อมูลเชิงลึกที่คนส่วนใหญ่นั้นเข้าใจผิด โดยใน ep.1 จะเป็นการพูดถึงภาพรวมเศรษฐกิจในภาคอีสานว่าจริงๆแล้ว “อีสานจน จริงหรือไม่”
โดยวัตถุประสงค์ของรายการนี้เพื่อเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ทั้งเชิงเศรษฐศาสตร์และวัฒนธรรมหรือมุมมองและแนวคิดต่างๆที่คนส่วนใหญ่อาจยังเข้าใจผิดอยู่
โดยในปัจจุบันคนอีสานกว่า 3.74 ล้านครัวเรือนซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก พื้นที่กว่า 63.8 ล้านไร่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ประกอบด้วยพื้นที่ทำนา 41.7 ล้านหรือคิดเป็น 65% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ซึ่งถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจหลักภายในภาคอีสาน แต่ถ้าหากดูที่มูลค่าเศรษฐกิจแล้วจะเห็นได้ว่ามูลค่า GRP ของอีสานในภาคการเกษตรนั้นมีมูลค่าต่ำที่สุด โดยเรียงจากมูลค่าที่สูงที่สุดไปต่ำที่สุดได้แก่
- ภาคการค้าและบริการ
- ภาคอุตสาหกรรม
- ภาคการเกษตร
เมื่อเจาะลึกรายได้ในภาคอีสาน จากพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรในภาคอีสานที่มีเยอะ แต่มูลค่าจากภาคการเกษตรกลับไม่ได้เด่นที่สุดภายในภูมิภาคอีสาน โดยมูลค่าที่สูงที่สุดกลับเป็นภาคการค้าและบริการ อาจเป็นเพราะภาคอีสานนั้นมีประชากรที่มากที่สุดภายในประเทศจึงทำให้มูลค่าการบริการนั้นสูงขึ้นตามโดย “ยิ่งคนเยอะ ก็จะยิ่งบริโภคเยอะ” จึงไม่พ้นทำให้ภาคการค้าและบริการภายในภาคอีสานนั้นมีมูลค่าสูงที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นที่ภาคอีสานเพียงภาคเดียว โดยหากดูภาครวมทั้งประเทศแล้วจะพบว่าแนมโน้มมูลค่าทางเศรษฐกิจของแต่ละภาคนั้นมีขนาดใกล้เคียงกันทุกๆภูมิภาค
แรงงานคนไทยภายในประเทศนั้นเป็นคนอีสานอยู่ที่ประมาณ หนึ่งส่วนสี่ ของแรงงานทั้งหมดภายในประเทศ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาคอีสานมีคนเยอะ แปลว่าจำนวนแรงงานก็จะเยอะตาม โดยพบว่าแรงงานนอกระบบในปี 2567 กว่า 54.2% นั้นทำงานในภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยทั้งหมด 40.04 ล้านคนเป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 21.0 ล้านคนโดยคิดเป็นร้อยละ 52.7% ซึ่งมากกว่าแรงงานภายในระบบเสียอีก โดยร้อยละ 47.3% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบนั้นอยู่ในช่วงอายุ 40-59 ปี อีกทั้งยังมีกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 21.7% อีกด้วย หากเจาะลึกลงไปในตัวเลขรายภูมิภาคนั้นจะพบได้ว่าแรงงาน 40.04 ล้านคนนั้น ภาคอีสานมีแรงงานเป็นรองเพียงแค่ภาคกลางเท่านั้น ซึ่งในจำนวนแรงงานของภาคกลางนั้นมีคนอีสานที่ย้ายภูมิลำเนาเพื่อมาทำงานอีกด้วย
ซึ่งการย้ายภูมิลำเนาเพื่อการมาทำงานนั้นเรียกอีกว่า “แรงงานไหล” โดยสาเหตุที่ภาคอีสานนั้นเกิดแรงงานไหลเข้ากรุงเทพฯ ที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น มูลค่าทางเศรษฐกิจ อัตราค่าแรงขั้นต่ำโดยกรุงเทพฯนั้นมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 372 บาท ซึ่งมากกว่าจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน หรือ เงินเดือนเฉลี่ยของลูกจ้างโดยในกรุงเทพฯนั้นมีเงินเดือนเฉลี่ยมากกว่าภาคอีสานประมาณ 1.62 เท่า และยังเป็นเมืองหลวงของประเทศอีกด้วยฃ
โดยการที่เศรษฐกิจภายในประเทศนั้นเกิดการกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดแรงงานไหล ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ภาคอีสานเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานในภูมิภาคอื่นๆ อีกด้วย โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจย้อนหลัง 10 ปีของกรุงเทพฯ นั้นมีมูลค่าประมาณ 46.3%ของมูลค่าทั่วประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจุกตัวของเศรษกิจในประเทศไทย
แต่ก็ใช่ว่าภาคอีสานจะไร้ซึ่งศักยภาพทางเศรษฐกิจซะทีเดียว โดยในภาคอีสานนั้นก็มีจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ด้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยจังหวัดชั้นนำทางเศรษฐกิจของภาคอีสานได้แก่ ”นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุบลราชธานีและอุดรธานี” ตามลำดับมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Big4 ของภาคอีสาน” โดยจังหวัดเหล่านี้เป็นจังหวัดที่มูลค่าสูงที่สุดในภาคอีสาน อีกทั้งยังมีประชากรเยอะและได้รับการพัฒนา แต่ไม่ได้แปลว่าจังหวัดอื่นๆนั้นจะด้อยพัฒนา เพียงแต่อาจไม่เป็นที่จับตามองของนักลงทุนเนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นหากเทียบกับภูมิภาคอื่น หรือการขาดระบบการคมนาคมที่เอื้ออำนวย เป็นต้น โดยถัดมาจาก Big4 ก็จะมีจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจใกล้เคียงนั่นก็คือ บุรีรัมย์, สุรินทร์และร้อยเอ็ด โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจของ Big4 รวมกันนั้นมีค่ามากถึง 46.3% ของทั้งภูมิภาคอีสาน
แต่หากเจาะลึกไปที่รายได้ประชากรต่อหัวรายจังหวัด หรือ GPP per capita จะพบได้ว่าจังหวัดเลยที่มี GPP ที่ไม่ได้สูงมาก แต่กลับมี GPP per capita ที่สูง โดยเป็นรองเพียงจังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น โดยเลยนั้นมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 114,156 บาท โดยจุดเด่นที่ทำให้จังหวัดเลยเป็นเพราะว่า จังหวัดเลยเป็นจังหวัดเล็กๆที่ประชากรไม่มาก เป็นพื้นที่ราบสูงกว่าจังหวัดอื่นภายในภูมิภาคเป็นเพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดกลับภาคเหนือ โดยภูมิศาสตร์ของจังหวัดเลยนั้นมีความใกล้เคียงกับภูเขา จึงทำให้ไม่สามารถปลูกพืช ผัก และผลไม้ เหมือนจังหวัดอื่นๆได้ แต่ด้วยลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์จึงทำให้การเกษตรในจังหวัดนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามองก็คือ “เมล็ดกาแฟ” หรือองุ่นที่แปรรูปเป็น “ไวน์” ก็โดดเด่นไม่แพ้กัน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบจากความสูงจากพื้นทะเล ที่ทำให้มีอากาศที่เหมาะแก่การปลูกเมล็ดกาแฟและองุ่นมากกว่าจังหวัดอื่นๆ
หากเปรียบเทียบมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคอีสานเทียบกับภาคอื่นแล้ว ภาคอีสานยังคงเป็นรองต่อภาคอื่นๆ อีกมาก แต่หากเจาะลึกไปในระดับจังหวัดจะเห็นได้ว่าหลายๆ จังหวัดนั้นมีมูลค่าที่โดดเด่น โดยมาจากเอกลักษณ์ของผลผลิตจากภูมิภาคนั้นๆ เพียงแต่ความพัฒนาของจังหวัดในภาคอีสานนั้นยังไม่แพร่หลาย อีกทั้งระดับการลงทุนในภาคอีสานนั้นไม่สูงเทียบเท่าจังหวัดกรุงเทพและจังหวัดข้างเคียง ซึ่งกล่าวได้ว่าด้วยการที่ความพัฒนาและการลงทุนนั้นเกิดการกระจุกตัว จึงทำให้ประชากรหรือแรงงานจากภาคอีสานนั้นต้องเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่จุดศูนย์กลางการลงทุน ซึ่งแรงงานที่เคลื่อนย้ายนั้นมักจะเป็นกลุ่มวัยทำงาน จึงทำให้ภายในภาคอีสานนั้นมีผู้สูงอายุและเด็กอาศัยอยู่จำนวนมากจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพียงแต่เหตุการณ์นี้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ภาคอีสาน แต่ยังเกิดขึ้นกับภาคอื่นๆ ภายในประเทศอีกด้วย แต่จะกล่าวว่าภาคอีสานนั้นไม่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจก็ไม่เชิง เพียงแต่ยังขาดการพัฒนาจากภาครัฐและการลงทุนจากนักลงทุน หากภาคอีสานนั้นได้รับการพัฒนาและสนับสนุนที่มากพอ จะสามารถลบภาพจำในด้านลบในภาคอีสานได้อย่างแน่นอน
อ้างอิง:
- เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรรายจังหวัด ปี พ.ศ.2562 สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร
- สถิติประชากร ปี พ.ศ.2567 กระทรวงมหาดไทย
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศไทย ปี พ.ศ.2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ
- อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี พ.ศ.2568 กระทรวงแรงงาน
- สำรวจแรงงานนอกระบบ ปี พ.ศ.2567 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไม ‘บึงกาฬ’ จึงเป็นจังหวัดที่มี ‘ผลิตภาพภาคการเกษตร’ ที่สูงที่สุดในอีสาน?
หนองบัวลำภู ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม ความเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดในภาคอีสาน
อำนาจเจริญ ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม จังหวัดที่มูลค่าเศรษฐกิจน้อยที่สุดในอีสาน