ทำไม ‘บึงกาฬ’ จึงเป็นจังหวัดที่มี ‘ผลิตภาพภาคการเกษตร’ ที่สูงที่สุดในอีสาน?

ทำไม ‘บึงกาฬ’ จึงเป็นจังหวัดที่มี ‘ผลิตภาพภาคการเกษตร’ ที่สูงที่สุดในอีสาน

 

‘ผลิตภาพของแรงvานเกษตร’ คือมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดจากแรงvานทางการเกษตร 1 หน่วย บ่งบอกถึง ความมีประสิทธิภาพในการผลิตของภาคการเกษตรซึ่งยิ่งมากยิ่งดี โดยจากแผนภูมิจะแสดงถึงผลิตภาพของครัวเรือนที่ทำเกษตร จำนวนครัวเรือนที่ทำการเกษตร และมูลค่าทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรใน GPP แบบลูกโซ่ของจังหวัดในภาคอีสาน โดยจังหวัดในภาคอีสานที่มีผลิตภาพภาคการเกษตรสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่

 

  1. บึงกาฬ ครัวเรือนทำการเกษตร 63,183 ครัวเรือน มีผลิตภาพ 315,053 บาท/ครัวเรือน
  2. บุรีรัมย์ ครัวเรือนทำการเกษตร 222,283 ครัวเรือน มีผลิตภาพ 260,000 บาท/ครัวเรือน
  3. หนองคาย ครัวเรือนทำการเกษตร 59,388 ครัวเรือน มีผลิตภาพ 98,480 บาท/ครัวเรือน

 

จะเห็นได้ว่า บึงกาฬ จังหวัดน้องใหม่ของประเทศไทยที่ตั้งอยู่แถบภาคอีสานตอนบน มีผลิตภาพการเกษตรต่อครัวเรือนที่สูงโดดเด่นที่สุดในภาคอีสาน แม้ว่าจะมีจำนวนครัวเรือนทำการเกษตรจำนวนน้อยแต่กลับก่อให้เกิดมูลค่าภาคการเกษตรใน GPP ที่สูงเป็นอันดับ 3 ของภาค โดยมีมูลค่า 19,906 ล้านบาท ทำไมจึงเป็นเช่นนี้? มีปัจจัยอะไรที่ส่งเสริม? วันนี้ Isan Insight and Outlook สิพามาเจาะเบิ่ง

 

ปัจจัยที่ 1 : สัดส่วนภาคการเกษตรที่ใหญ่

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่เศรษฐกิจมีการพึ่งพิงภาคการเกษตรมากที่สุดในอีสาน โดยภาคการเกษตรมีสัดส่วนเป็น 34% ของ GPP จังหวัด มีพื้นที่ทำการเกษตร 1,614,458 ไร่ หรือ เกือบ 60% ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด นอกจากนั้นแรงvานสัดส่วน 74% ก็ทำงานอยู่ในภาคเกษตร 

 

ปัจจัยที่ 2 : ‘ยางพารา’ พืชตัวแบกแห่งภาคเกษตร

ยางพารา เป็นพืชเกษตรอันดับ 1 ของบึงกาฬ มีพื้นที่ปลูกกว่า 847,095 ไร่ มากเป็นอันดับที่ 1 ในภาคอีสาน มีปริมาณผลผลิตในปี 2565 รวม 21,977 ตัน คิดเป็น 15% ของปริมาณทั้งภาค ซึ่งในช่วงหลังๆ ราคายางได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากความต้องการในอุตสาหกรรมยางรถยนต์และผลิตภัณฑ์ยางพาราในตลาดโลกขยายตัว ส่งผลให้มูลค่าผลผลิตยางพาราในบึงกาฬขยายตัวแม้ว่าจะมีจำนวนเกษตรกรที่ไม่มาก จากปัจจัยด้านความได้เปรียบและโอกาสทางเศรษฐกิจนี้ ส่งผลให้ผลิตภาพภาคการเกษตรของบึงกาฬพุ่งสูงเป็นอันดับ 1

 

ปัจจัยที่ 2 : มีการพัฒนาจุดแข็งอย่างต่อเนื่อง

สิ่งสำคัญที่ทำให้ภาคเกษตรโดยเฉพาะยางพาราในบึงกาฬบูมได้ขนาดนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ระบบส่งเสริมการเกษตร หรือ T&V System และมีการแปรรูปจากยางพาราก้อนเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราแบบแผ่นเพื่อเพิ่มมูลค่า มีการบูรณาการระหว่างกลุ่มผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดกับบริษัทเอกชนในการพัฒนา นอกจากนั้นทางจังหวัดยังได้ทำการผลักดันให้ยางพาราของจังหวัด ให้ถูกต้องตามมาตรการ EUDR (EU Deforestation Regulation) เพื่อเพิ่มมูลค่าของยางพาราและโอกาสในการส่งออกยางพาราจังหวัดไปยังสหภาพยุโรป

 

การเกษตรในจังหวัดบึงกาฬถือได้ว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีในการชูจุดแข็ง และส่งเสริมความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของจังหวัด (Comparative advantage) ซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาได้อย่างดีและชัดเจนจากการที่มีผลิตภาพด้านการเกษตรที่สูงสุดสุดในอีสาน 

 

หมายเหตุ: ผลิตภาพของแรงvานเกษตรระดับจังหวัด คำนวณจาก GPP ภาคการเกษตรแบบลูกโซ่ หารด้วยจำนวนแรงงานภาคการเกษตรจังหวัด ในที่นี้ใช้เป็นจำนวนครัวเรือนที่ทำการเกษตร

 

ที่มา

  • สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  • เว็บไซต์จังหวัดบึงกาฬ
  • สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • NBT connext
  • Stock2morrow
  • เทคโนโลยีชาวบ้าน
  • ประชาชาติธุรกิจ

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top