พามาเบิ่ง อีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด แม้เกษียณก็ยังต้องทำงาน?

พามาเบิ่ง อีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุด แม้เกษียณก็ยังต้องทำงาน?

.
“สถานการณ์แรงงานนอกระบบในปี 2566 ประมาณครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม 

และลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบได้รับค่าจ้างตำกว่าแรงงานในระบบ” ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประจำปี 2566 เปิดเผยให้เห็น ถึงภาพรวมว่าแรงงานในไทยทั้งหมดกว่า  40.1 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 21.0 ล้านคน (ร้อยละ 52.3) ซึ่งมากกว่าแรงงานในระบบที่มีจำนวน 19.1 ลานคน (ร้อยละ 47.7) โดยครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบอยในชวง 40-59 ปี และที่น่าสนใจคือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป

ที่ยังทำงานอยู่ประมาณ 5.1 ล้านคนนั้น เป็นแรงงานนอกระบบมากถึง 4.4 ล้านคน

แรงงานนอกระบบของทั้งประเทศ กว่าร้อยละ 55.4 ทำงานอยู่ ในภาคเกษตรกรรม โดยมีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสปดาห์ของแรงงานนอกระบบมีแนวโนมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 

.

หากดูตัวเลขรายภูมิภาค จะพบว่าแรงงาน 40.1 ล้านคน ภาคอีสานมีแรงงานรวมเป็นรองแค่ภาคกลางเท่านั้น ซึ่งในจำนวนแรงงานของภาคกลางก็เป็นคนที่ย้ายภูมิลำเนาเพื่อมาทำงาน โดยยังมีคนจากภาคอีสานมากที่สุด เช่นกัน โดยเทียบจำนวนเป็นสัดส่วนต่อแรงงานทั้งประเทศได้ ดังนี้

ภาคกลาง 13,208,476 คน (32.9%)

อีสาน 9,712,273 คน (24.2%)

เหนือ 6,221,813 คน (15.5%)

กทม 5,652,257 คน (14.1%)

ใต้ 5,296,507 คน (13.2%)

.

และเมื่อเจาะลึกตัวเลข จำนวนแรงงานในตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 9,712,273 คน โดยมีแรงงานในระบบ 2,290,872 คน แต่กลับมีแรงงานนอกระบบสูงถึง 7,421,401 คน จะพบว่าภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบมากที่สุดอันดับ 1 ของประเทศ โดยเมื่อนำมาคิดสัดส่วนแรงงานนอกระบบในแต่ละภูมิภาคเทียบกับจำนวนแรงงานนอกระบบทั้งประเทศที่ 20,957,666 คน จะได้ ดังนี้

อีสาน 7,421,401 คน (35.4%)

กลาง 4,918,196 คน (23.5%)

เหนือ 4,295,682 คน (20.5%)

ใต้ 2,937,453 คน (14.0%)

กทม. 1,384,934 คน (6.6%)

ยิ่งไปกว่านั้น หากเจาะลึกลงไปในช่วงอายุของแรงงานนอกระบบในภาคอีสาน ทั้ง 7,421,401 คน จะยิ่งพบข้อมูลกว่า 22.5% หรือ มากกว่า 1 ใน 5 ของแรงงานนอกระบบในภาคอีสาน เป็นแรงงานสูงวัยที่มีอายุตั้ง 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนในภาคอีสานมีแนวโน้มเหมือนกับแนวโน้มประเทศ แต่มีจำนวนและตัวเลขที่มากกว่า คือ แม้จะแก่แล้วก็ยังต้องทำงานอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นคือ แม้แต่แรงงานในระบบเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณก็ยังต้องทำงานและไม่สามารถทำงานในระบบได้อีก จึงต้องมาทำงานนอกระบบมากขึ้น

แนวโน้มแรงงานนอกระบบในช่วงวัยทอง(Silver/ Gold Age) ที่ทำงานนอกระบบ จะกลายเป็นแรงงานสูงวัยนอกระบบ ผนวกกับแรงงานในระบบที่ต้องทำงานหลังเกษียณจากระบบ ยิ่งทำให้ตัวเลขนี้มีแต่จะเติบโตขึ้น

.

ดังนั้น ปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งแรงงานนอกระบบที่มีมากกว่าในระบบ สังคมสูงวัย จะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งจะเกิดปัญหา “แก่ก่อนรวย” แรงงานในระบบไม่มีแผนเกษียณหรือการวางแผนทางการเงินซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในเชิงครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจตามมา

.
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด จึงต้องการการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งการขยายวัยเกษียณการทำงานในระบบสำหรับคนที่สมัครใจอยากทำงาน และมีศักยภาพ เพื่อไม่ให้ตัวเลขแรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้น การสร้างงานและการนำเทคโนโลยีทดแทนแรงงาน

.

และในด้านปัญเจคบุคคล การมีความรู้ทางการเงิน จึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเหมือนหมอนรองในวันที่เข้าสู่วัยเกษียณ และเริ่มเรียนรู้และวางแผนทางการเงิน ดังนี้ 

กำหนดเป้าหมาย: กำหนดเป้าหมายทางการเงินให้ชัดเจน เช่น ต้องการมีเงินเก็บเท่าไหร่ในกี่ปี

วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน: ประเมินรายรับ รายจ่าย และสินทรัพย์ที่มีอยู่

จัดทำงบประมาณ: วางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือนให้สอดคล้องกับรายได้

ออมเงิน: สร้างวินัยในการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ

ลงทุน: นำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เงินทำงานและเติบโต

บริหารความเสี่ยง: ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ

ISAN Insight and Outlook คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนทุกท่านมาวางแผนการลงทุนกันที่งาน

📣”ตลาดหลักทรัพย์ฯ สัญจร ขอนแก่น”🚍

งานฟรี!! พร้อมโปรโมชันพิเศษมากมาย เมื่อเปิดบัญชีในงาน

.

🚩 พบกันวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567

⏰ เวลา 9.00 – 16.00 น. (เริ่มลงทะเบียน เวลา 08.30 น.)

🏨 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น

.

📲 สำรองที่นั่งล่วงหน้า >> ✨️เพื่อรับฟรี! GiftSet กระเป๋า #investnow และ หนังสือ #WealthDesign

ได้ที่ลิงก์🌐https://setga.page.link/3tx7

SET-KhonKaen-Master-OP

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top