April 2025

มหาลัยศูนย์เหรียญ การเข้ามาของทุนจีน ในแวดวงอุดมศึกษาของไทย

ฮู้บ่ว่า? ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วงการอุดมศึกษาไทย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน กำลังเผชิญกับการเข้ามาของ “ทุนจีน” ซึ่งโดยมากอาจไม่ได้เป็นการร่วมมือในด้านวิชาการ แต่เป็นการเข้าซื้อกิจการโดยตรง และอาจเป็นการถือหุ้นผ่านบริษัทนอมินี . ข้อมูลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สะท้อนให้เห็นถึงการเข้ามาของทุนจีน ผ่านการถือหุ้นในมหาวิทยาลัยเอกชน ถึง 3 แห่ง  ได้แก่ มหาวิทยาลัยชินวัตร, มหาวิทยาลัยเกริก และมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ซึ่งการเข้าซื้อกิจการของทุนจีนมีแนวโน้มที่จะไม่ได้ดำเนินการอย่างเปิดเผยทั้งหมด บางรายใช้วิธีตั้งบริษัทในสิงคโปร์หรือฮ่องกง ก่อนย้อนเข้ามาลงทุนในไทย ผ่านตัวกลางคนไทยหรือบริษัทนอมินี และมีการถือหุ้นทางอ้อมข้ามไปมา จึงทำให้ยากต่อการตรวจสอบแหล่งที่มาของทุนและจุดประสงค์ที่แท้จริงในการเข้ามาถือหุ้นจากจีน . แนวโน้มการเข้ามาของทุนจีนในธุรกิจการศึกษาของไทย อาจสะท้อนผ่าน แนวโน้มการลดลงของประชากรวัยเรียน และอัตราการเกิดที่ลดลงของไทย ที่เป็นผลให้มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่ง อาจเสี่ยงต่อการขาดรายได้ และเป็นผลทำให้ต้องปิดกิจการหรือมีการปรับตัว อีกทั้งกระแสการเข้ามาของตลาดนักศึกษาจีนขาออก ที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ จีนจะเป็นประเทศอันดับหนึ่ง ที่มีนักศึกษาเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด . ข้อสังเกตอีกอย่างที่เกิดขึ้นในประเด็นของการเข้ามาของทุนจีนในมหาวิทยาลัยเอกชนของไทย อาจเป็นการขายวุฒิการศึกษา เหมือนกรณีที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้า ในช่วงต้นปี 2568 หรือแม้กระทั่ง การเข้ามาทำงานผิดกฎหมายผ่านการใช้วีซ่าในรูปแบบนักศึกษา อย่างไรก็ตามการเข้ามาในรูปแบบนี้ยังเป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตุเพียงเท่านั้น ซึ่งหากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงอาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขันด้านแรงงาน และความมั่นคงในด้านระบบการศึกษาของประเทศ จึงควรเร่งให้มีการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง และหารือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น รายการ News digest ได้สรุปข่าว มหาวิทยาลัยศูนย์เหรียญไว้ดังนี้  

มหาลัยศูนย์เหรียญ การเข้ามาของทุนจีน ในแวดวงอุดมศึกษาของไทย อ่านเพิ่มเติม »

🐼 Food Panda ประกาศยุติกิจการ ยุติเส้นทาง 13 ปี หลัง ขาดทุนสะสม 1.3 หมื่นล้าน

FoodPanda เลิกกิจการ 13 ปีขาดทุน 1.3 หมื่นล้าน ตกงานทันทีนับไม่ถ้วน มีธุรกิจในเครือ 6 บริษัทไม่รอด Foodpanda Thailand ขอแจ้งยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน foodpanda มีผลตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 2568 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ขับเคลื่อนธุรกิจร่วมจัดส่งความสุข ผ่านทุกๆ ออเดอร์ให้แก่ลูกค้าทุกท่านในประเทศไทย เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับใช้ลูกค้าที่รักยิ่งของเรา และได้รับการสนับสนุนที่ดีมาโดยตลอดจากร้านค้า พารท์เนอร์ และไรเดอร์ทุกท่าน ที่ร่วมเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพตลาดในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ระยะยาวของฟู้ดแพนด้าอีกต่อไป เรามีความเสียใจอย่างยิ่งที่การเดินทางของเราต้องสิ้นสุดลง และเราขอขอบพระคุณลูกค้าทุกๆ ท่านที่เชื่อมั่นในฟู้ดแพนด้าเสมอมา ขอแสดงความนับถือ ฟู้ดแพนด้า ประเทศไทย . ที่มา: https://www.facebook.com/share/p/1UmsZqchAb/

🐼 Food Panda ประกาศยุติกิจการ ยุติเส้นทาง 13 ปี หลัง ขาดทุนสะสม 1.3 หมื่นล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับโรงงานใหม่ดาวรุ่งในอีสาน มูลค่าลงทุนรวมหลักหมื่นล้าน

ชื่อโรงงาน ประกอบธุรกิจ จังหวัด   เงินลงทุน   โครงการโรงไฟฟ้าแสงไทยพลังงาน การผลิตและการส่งไฟฟ้า อุดรธานี 2,884 ล้านบาท บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) การฆ่าสัตว์ (ยกเว้น สัตว์ปีก) ศรีสะเกษ 2,560 ล้านบาท บริษัท อาร์ อี เอ็น โคราช เอนเนอร์ยี่ จำกัด การผลิตและการส่งไฟฟ้า นครราชสีมา 2,000 ล้านบาท บริษัท ไทยพัฒน์  โซล่าร์ จำกัด การผลิตและการส่งไฟฟ้า สุรินทร์ 1,722 ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานรุ่งเรือง 2 การผลิตและการส่งไฟฟ้า อุดรธานี 1,467 ล้านบาท บริษัท มหาสารคามพาวเวอร์ จำกัด การผลิตและการส่งไฟฟ้า มหาสารคาม 1,297 ล้านบาท โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานรุ่งเรือง 1 การผลิตและการส่งไฟฟ้า อุดรธานี 1,242 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตรบัวใหญ่ จำกัด การสีข้าว นครราชสีมา 956 ล้านบาท บริษัท เอเซียโมดิไฟด์สตาร์ช จำกัด การผลิตและการส่งไฟฟ้า กาฬสินธุ์ 600 ล้านบาท บริษัท ราชสีมา กรีน สตาร์ช จำกัด การผลิตแป้งมันสำปะหลัง กาฬสินธุ์ 450 ล้านบาท บริษัท สยาม เอส.เอ. แพ็คเกจจิ้ง จำกัด การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูป สุรินทร์ 408 ล้านบาท บริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด การผลิตและการส่งไฟฟ้า นครราชสีมา 353 ล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด วชิรกำพล ก่อสร้าง ผลิตแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ขอนแก่น 251 ล้านบาท บริษัท รวมทวีมอเตอร์เซลล์ จำกัด ซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ ขอนแก่น 222 ล้านบาท บริษัท พนาพาวเวอร์ จำกัด การผลิตก๊าซที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ยโสธร 190 ล้านบาท บริษัท คอนเน็ค คาร์บอดี้ จำกัด ซ่อมตัวถังและสี ขอนแก่น 180 ล้านบาท บริษัท พัฒนาสิ่งเเวดล้อมและพลังงานไทย จำกัด  การจัดการน้ำเสีย

พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับโรงงานใหม่ดาวรุ่งในอีสาน มูลค่าลงทุนรวมหลักหมื่นล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐จำนวนผู้ป่วย HIV ในอีสาน ปี 67 จำนวนผู้ป่วยสะสมทะลุแสนคน🤧 .

สธ.เผยสถิติ ปี 68 ไทยติดเชื้อ HIV ใหม่ เกือบ 9 พันราย ป่วยสะสมแล้วกว่าครึ่งล้าน 😰 แนะป้องกัน! สวมถุงยางทุกครั้ง สธ. ชี้ปี 68 ไทยติดเชื้อ HIV ใหม่เกือบ 9 พัน ดับจากเอดส์ทะลุหมื่น สธ. เผยปี 68 คาดการณ์ติดเชื้อ HIV ใหม่เกือบ 9 พันราย เสียชีวิตจากเอดส์ทะลุหมื่น สะสมกว่า 5.6 แสนคน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่ากังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ในประเทศไทย ประจำปี 2568 โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมี ผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 8,862 คน ผู้ติดเชื้อHIVใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สธ. ยังระบุถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อ HIV โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์สูงถึง 10,217 คน สำหรับ จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV สะสมที่ยังมีชีวิตอยู่ในประเทศไทย ณ ปี 2568 คาดการณ์ว่ามีจำนวน 568,565 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงภาระทางสาธารณสุขที่ยังคงมีอยู่ และความจำเป็นในการดำเนินมาตรการป้องกันและรักษาอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แม้ประเทศไทยจะมีความพยายามในการควบคุมและป้องกัน การแพร่ระบาดของเชื้อ HIV มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้นในจำนวนที่น่าเป็นห่วง รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อ HIV การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ และการป้องกันการแพร่เชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไป   พามาเบิ่ง🧐จำนวนผู้ป่วย HIV ในอีสาน ปี 67 จำนวนผู้ป่วยสะสมทะลุแสนคน🤧 . วินิจฉัย รายใหม่ (สะสม) PLHIV สะสม เสียชีวิต ณ ปีที่รายงาน นครราชสีมา 2169 16,797 792 ขอนแก่น 1918 14,967 796 อุดรธานี 1360 11,515 656 อุบลราชธานี 1157 9,655 473 บุรีรัมย์ 1144 7,961 502 สุรินทร์ 992 6,856 383 ร้อยเอ็ด 842 6,727

พามาเบิ่ง🧐จำนวนผู้ป่วย HIV ในอีสาน ปี 67 จำนวนผู้ป่วยสะสมทะลุแสนคน🤧 . อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐 “อีสาน” ครองแชมป์มีข้าราชการมากสุด🏦 ชวนมาเบิ่ง จังหวัดไหน “ข้าราชการ” แน่นที่สุด.

ภูมิภาค จำนวนข้าราชการ สัดส่วนข้าราชการ ต่างประเทศ 917 คน 0.1% กรุงเทพมหานคร 179,262 คน 13.0% ภาคเหนือ 242,990 คน 17.7% ภาคกลาง 296,633 คน 21.6% ภาคตะวันออก 60,652 คน 4.4% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 390,560 คน 28.4% ภาคใต้ 203,893 คน 14.8%   นครราชสีมา 41,254 คน ขอนแก่น 36,427 คน อุบลราชธานี 28,466 คน อุดรธานี 26,471 คน บุรีรัมย์ 24,281 คน สุรินทร์ 22,297 คน ศรีสะเกษ 21,310 คน สกลนคร  20,221 คน ชัยภูมิ 19,620 คน กาฬสินธุ์ 19,252 คน ร้อยเอ็ด 18,572 คน หนองคาย 17,324 คน นครพนม 16,902 คน ยโสธร 15,421 คน มหาสารคาม 14,323 คน อำนาจเจริญ 11,955 คน เลย 10,691 คน มุกดาหาร 9,550 คน หนองบัวลำภู 8,526 คน บึงกาฬ 7,697 คน หมายเหตุ: เป็นข้อมูลข้าราชการที่ไม่นับรวมข้าราชการทหารและทหารกองประจำการ ปี 2566   “อีสาน” ขุมพลังข้าราชการไทย  จากข้อมูลล่าสุด ปี 2566 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนข้าราชการมากถึง 390,560 คน คิดเป็นสัดส่วน 28.4%ของข้าราชการทั่วประเทศทั้งหมด ตัวเลขนี้สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ภาคอีสาน รองลงมาคือ ภาคกลาง ที่มีจำนวนข้าราชการ 296,633 คน คิดเป็น 21.6% ตามด้วย ภาคเหนือ ที่มี 242,990 คน (17.7%) และ ภาคใต้ ที่มี 203,893 คน

พามาเบิ่ง🧐 “อีสาน” ครองแชมป์มีข้าราชการมากสุด🏦 ชวนมาเบิ่ง จังหวัดไหน “ข้าราชการ” แน่นที่สุด. อ่านเพิ่มเติม »

🙌🏻🌱พามาเบิ่ง “มหาวิทยาลัยสีเขียว” ในอีสานบ้านเฮา – ความยั่งยืนที่วัดได้♻️

ปัจจุบันแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นสำคัญในระดับสากล หลายมหาวิทยาลัยทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่มาของ UI GreenMetric ระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่คำนึงถึงความยั่งยืนและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม . การประเมินของ UI GreenMetric มีทั้งหมด 1,477 สภาบัน 95 ประเทศทั่วโลกและครอบคลุมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างพื้นฐาน (SI) ที่สะท้อนถึงพื้นที่สีเขียวและการออกแบบอาคารให้รองรับแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานและการจัดการภาวะโลกร้อน (EC) ซึ่งพิจารณาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการขยะ (WS) ที่เน้นระบบคัดแยกและการลดขยะพลาสติก การบริหารจัดการน้ำ (WR) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ระบบขนส่งที่ยั่งยืน (TR) ที่มุ่งลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัวและสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ การศึกษาและวิจัยเพื่อความยั่งยืน (ED) ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างความรู้และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม . การจัดอันดับนี้ไม่ได้มีขึ้นเพื่อเปรียบเทียบว่าใครทำได้ดีกว่ากันเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มหาวิทยาลัยเห็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น การได้รับคะแนนสูงในการจัดอันดับจึงเป็นสิ่งที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของสถาบันในการพัฒนาอย่างยั่งยืน . ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยได้รับการจัดอันดับใน UI GreenMetric ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายและการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงตัวเลขในการจัดอันดับ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อให้แนวทางด้านความยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างแท้จริงและส่งผลดีในระยะยาว . ที่มา: UI GreenMetric #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Environment #Earthday #วันคุ้มครองโลก #Social #GreenUniversity #UIGreenMetric #อีสานยั่งยืน

🙌🏻🌱พามาเบิ่ง “มหาวิทยาลัยสีเขียว” ในอีสานบ้านเฮา – ความยั่งยืนที่วัดได้♻️ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐 “ตติเวชกุล” สกุลทองคำแห่งอีสาน ตระกูลค้าทอง 4 บริษัทยักษ์ใหญ่

ตระกูล ตติเวชกุล มีรายได้รวมกันราว 32,555.5 ล้านบาท คิดเป็น 53.0% ของทั้งภูมิภาค ชื่อบริษัท: บริษัท ห้างทองทองสวย จำกัด ที่ตั้ง: ขอนแก่น ปีที่จดทะเบียน: 2539 รายได้รวม (ล้านบาท): 18,611 (-13.7%) กำไร (ล้านบาท): 11 (25.5%) จำนวนสาขา: 13 สาขา รายชื่อกรรมการ นาย อุดม ตติเวชกุล นาง นัสริน ตติเวชกุล นาย วิศวพร ตติเวชกุล นาย วิชย ตติเวชกุล นางสาว วิรากานต์ ตติเวชกุล นาย วิชญ์พล ตติเวชกุล   ชื่อบริษัท: บริษัท ห้างทองแม่ทองพูล จำกัด ที่ตั้ง: ขอนแก่น ปีที่จดทะเบียน: 2543 รายได้รวม (ล้านบาท): 6,293 (+16.6%) กำไร (ล้านบาท): 2.8 (+36.6%) จำนวนสาขา: 13 สาขา รายชื่อกรรมการ นาย พิชัย ตติเวชกุล นางสาว พิมพ์พรรณ ตติเวชกุล นางสาว พิมพ์พร ตติเวชกุล   ชื่อบริษัท: บริษัท เอ็มทีพี โกลด์ จำกัด ที่ตั้ง: ขอนแก่น ปีที่จดทะเบียน: 2563 รายได้รวม (ล้านบาท): 1,113 (-0.4%) กำไร (ล้านบาท): 1.7 (+104.1%) รายชื่อกรรมการ นางสาว พิมพ์พรรณ ตติเวชกุล นาย พิชัย ตติเวชกุล นางสาว พิมพ์พร ตติเวชกุล   ชื่อบริษัท: บริษัท เอ็มทีพี บูลเลี่ยน จำกัด ที่ตั้ง: ขอนแก่น ปีที่จดทะเบียน: 2558 รายได้รวม (ล้านบาท): 6,539 (-27.6%) กำไร (ล้านบาท): 0.8 (-67.6%) รายชื่อกรรมการ นางสาว พิมพ์พรรณ ตติเวชกุล นาย พิชัย ตติเวชกุล นางสาว

พามาเบิ่ง🧐 “ตติเวชกุล” สกุลทองคำแห่งอีสาน ตระกูลค้าทอง 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ อ่านเพิ่มเติม »

10 ปีข้างหน้า ‘หนองคาย’ จะกลายเป็น ‘ประตูสู่ยูนนาน’ สำรวจโอกาสของจังหวัด จากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมลาว-จีน

หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคอีสานตอนบน ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นเอกลักษณ์คือมีทอดยาวตามแม่น้ำโขงกว่า 210.6 กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดตอกับประเทศลาว คือ แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคําไซ โดยมีจุดผ่านแดนได้แก่ 1. ด่านพรมแดนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 2. ด่านพรมแดนทาเรือหนองคาย 3. ด่านตรวจคนเขาเมือง ณ สถานีรถไฟหนองคาย นอกจากนั้นยังมีจุดผ่อนปรนทางการค้าอีก 4 แห่ง  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดหนองคาย มีความโดดเด่นด้านการค้าชายแดนเป็นอย่างมาก ทำไมหนองคายจึงเป็นจังหวัดที่มีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว? ปัจจัยที่ทำให้หนองคายดูน่าดึงดูดที่จะลงทุน คือการที่ในอนาคต หนองคายกำลังจะมี รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – หนองคาย โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างในระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) และเพิ่งมีการอนุมัติจาก ครม. ในการเริ่มโครงการระยะที่ 2 (นครราชสีมา – หนองคาย) รวมระยะทางทั้ง 2 โครงการ 606.17 กิโลเมตร แม้ว่าการก่อสร้างในระยะที่ 1 จะมีความล่าช้า แต่คาดการณ์ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2575 หรืออีก 10 ปีต่อจากนี้ การเดินทางโดยใช้รถไฟความเร็วสูงจากระหว่างหนองคายไปกรุงเทพฯ จะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเศษๆ เพิ่มตัวเลือกด้านการคมนาคมนอกเหนือจากการเดินทางด้วยรถยนต์หรือเครื่องบิน สร้างความสะดวกสบายแก่ชาวหนองคายและผู้เยี่ยมเยือน รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – หนองคาย เชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รถไฟกรุงเทพฯ – หนองคายมีความพิเศษที่สำคัญต่อประเทศไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของไทย จะสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟลาว-จีน ที่ได้เปิดให้บริการไปแล้วในปี 2564 มีสถานีต้นทาง-ปลายทางคือ สถานีคุนหมิงใต้ของจีน และสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ของ สปป. ลาว มีสถานีรวม 32 สถานี ที่มารูปภาพ: กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม โดยการเชื่อมรถไฟความเร็วสูงจากไทย-ลาว-จีนนั้น จะถูกเชื่อมโยงโดย สะพานมิตรภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) แห่งที่ 2 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาส 3 ปี 2569 และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2572 โดยสถานีรถไฟหนองคาย จะเป็นจุดตรวจหนังสือเดินทางของประเทศไทย ซึ่งในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะมีจุดตรวจ 4 แห่ง ดังนี้ สถานีรถไฟหนองคาย ประเทศไทย สถานีรถไฟเวียงจันทน์ สปป.ลาว สถานีรถไฟบ่อเต็น สปป.ลาว สถานีรถไฟโม่ฮาน ประเทศจีน ที่มารูปภาพ: Shutterstocks และจากคนจีนที่เดินทางเข้าในภาคอีสานของไทย ปี 2567 พบว่าจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพ 1 จังหวัดหนองคาย เป็นจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการเดินทางเข้ามาทางบกของชาวจีน โดยมีจำนวนกว่า 24,000 ราย (ข้อมูล

10 ปีข้างหน้า ‘หนองคาย’ จะกลายเป็น ‘ประตูสู่ยูนนาน’ สำรวจโอกาสของจังหวัด จากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมลาว-จีน อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง จากเหนือจรดใต้ 3 อันดับจังหวัดที่มี GPP สูงสุดในแต่ละภูมิภาค

ใครคือ “แชมป์” GRP และเบื้องหลังขุมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย? จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค หรือ GRP ล่าสุดปี 2566 จะพบว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงครองบัลลังก์ความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าขนาดเศรษฐกิจสูงถึง 8,570,179 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 47.7% ของ GDP ทั้งประเทศ ตัวเลขนี้สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของเมืองหลวงและพื้นที่โดยรอบในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการบริโภคของประเทศ อย่างไรก็ตาม การมีสัดส่วนที่สูงเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP ทั้งประเทศ ก็อาจเป็นประเด็นที่น่าพิจารณาถึงความสมดุลและความเสี่ยงของการพึ่งพาเศรษฐกิจในพื้นที่เดียว   ภาคตะวันออก รองแชมป์ ด้วยมูลค่าขนาดเศรษฐกิจ 3,229,062 ล้านบาท คิดเป็น 18.0% ของ GDP ทั้งประเทศ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกนั้น ส่วนหนึ่งมาจากบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มและดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ   สำหรับภูมิภาคอื่นๆ ภาคอีสาน มีมูลค่าขนาดเศรษฐกิจ 1,808,413 ล้านบาท (10.1%), ภาคใต้ มี 1,437,591 ล้านบาท (8.0%), ภาคเหนือ มี 1,390,863 ล้านบาท (7.7%), ภาคกลาง (ที่ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล) มี 881,689 ล้านบาท (4.9%), และ ภาคตะวันตก มีมูลค่าขนาดเศรษฐกิจน้อยที่สุดที่ 636,869 ล้านบาท (3.5%)   ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของขนาดเศรษฐกิจและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาค ซึ่เป็นผลมาจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายการพัฒนาที่แตกต่างกัน   เปิดขุมทรัพย์เศรษฐกิจรายจังหวัด 3 อันดับขนาดเศรษฐกิจสูงสุดแต่ละภูมิภาค ใครคือดาวเด่น ใครคือม้ามืด? ภาคเหนือ: เชียงใหม่นำทัพ ผนังเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากหลากหลายมิติ เชียงใหม่ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งด้วยขนาดเศรษฐกิจ 277,477 ล้านบาท สะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้พึ่งพาเพียงภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง แต่เป็นการผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ อุตสาหกรรมหัตถกรรมและสินค้าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์ และภาคเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รองลงมาคือ นครสวรรค์ (124,649 ล้านบาท) ซึ่งอาจได้รับอานิสงส์จากการเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้าและโลจิสติกส์ที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง และ กำแพงเพชร (121,156 ล้านบาท) ที่อาจมีภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก   ภาคอีสาน: นครราชสีมาคือ “พี่ใหญ่” ขอนแก่นและอุบลฯ ตามติดด้วยศักยภาพที่แตกต่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี นครราชสีมา เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ด้วยขนาดเศรษฐกิจสูงถึง 343,510 ล้านบาท ซึ่งอาจเป็นผลมาจากขนาดของจังหวัด จำนวนประชากร และการเป็นศูนย์กลางทางการค้า และการคมนาคมของภูมิภาค ขอนแก่น (225,107 ล้านบาท) ตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยศักยภาพในด้านการค้า

พาเลาะเบิ่ง จากเหนือจรดใต้ 3 อันดับจังหวัดที่มี GPP สูงสุดในแต่ละภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม »

พาเปิดเบิ่ง “ม.ราชภัฏ” ในอีสาน ใครครองบัลลังก์นักศึกษาครูมากสุด

มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยสำคัญของประเทศที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคกว่า 38 แห่ง ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตครูสำคัญของไทย โดยนักศึกษาครูมากกว่าครึ่งของประเทศมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ   อีสานอินไซต์จึงขอพาดูจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในแต่ละแห่งว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และนักศึกษาเรียนครูสาขาอะไรมากที่สุด   ขุมพลังผลิตครูจากรั้ว “ม.ราชภัฏ” ทั่วไทย การศึกษาไทย “ครู” ยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนอนาคตของชาติ แล้วใครคือผู้สร้างและบ่มเพาะ “ครูของแผ่นดิน” เหล่านี้?   ข้อมูลล่าสุดจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศในปีการศึกษา 2567 พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศได้หล่อหลอมนักศึกษาครูมากถึง 74,250 คน ซึ่งคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 48% ของจำนวนนักศึกษาครูทั้งหมดในประเทศ จำนวนนี้ตอกย้ำสถานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะ “หนึ่งในแหล่งผลิตครู” ของประเทศ   หากลงลึกในระดับภูมิภาค จะพบว่า ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีจำนวนนักศึกษาครูมากที่สุด ด้วยตัวเลขสูงถึง 30,175 คน จาก 11 สถาบันในภูมิภาคนี้ ตัวเลขนี้อาจสะท้อนถึงความต้องการครูที่สูงในพื้นที่ หรืออาจเป็นผลมาจากความเข้มแข็งและชื่อเสียงของคณะครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏของภาคอีสาน รองลงมาคือ ภาคกลาง ที่มีนักศึกษาครู 22,614 คน จากจำนวนมหาวิทยาลัยที่มากถึง 14 แห่ง สะท้อนถึงความสำคัญของการผลิตครูในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นและมีความหลากหลายทางการศึกษา ขณะที่ ภาคเหนือ มีจำนวน 15,416 คนจาก 8 มหาวิทยาลัย และ ภาคใต้ มีจำนวนนักศึกษาครูน้อยที่สุดที่ 6,045 คน จาก 5 มหาวิทยาลัย   หากลงไปดูมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคอีสาน พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้วยจำนวนนักศึกษาครูสูงสุดถึง 3,581 คน ตามมาด้วยสองสถาบันเก่าแก่และมีชื่อเสียงในภาคอีสานอย่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่มี 3,427 คน และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่มี 3,242 คน ซึ่งถือว่าเป็น 3 อันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีนักศึกษาครูมากสุดในประเทศ การที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏจากภาคอีสานครองอันดับต้นๆ ยิ่งเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของภูมิภาคนี้ในการผลิตครู   อย่างไรก็ตาม การที่ภาคอีสานมีจำนวนนักศึกษาครูมากที่สุด อาจเป็นผลดีในการตอบสนองความต้องการครูในภูมิภาค แต่ก็อาจนำมาซึ่งคำถามถึงการกระจายโอกาสทางการศึกษาและการบรรจุครูในภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้ จำนวนนักศึกษาครูในแต่ละมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาถึงปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นขนาดของมหาวิทยาลัย ศักยภาพของคณะครุศาสตร์ หรือความต้องการครูในพื้นที่นั้นๆ   โดยตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียง “จุดเริ่มต้น” ของการเป็นครู จำนวนนักศึกษาในปัจจุบันไม่ได้หมายถึงจำนวนครูที่จะเข้าสู่ระบบในอนาคต ทั้งอัตราการสำเร็จการศึกษา และความสามารถในการสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาเพิ่มเติม นอกจากนี้ ข้อมูลนี้ยังจำกัดอยู่เฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งไม่ได้รวมถึงสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ที่มีการผลิตครูเช่นกัน     อ้างอิงจาก: – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม   ติดตาม ISAN Insight

พาเปิดเบิ่ง “ม.ราชภัฏ” ในอีสาน ใครครองบัลลังก์นักศึกษาครูมากสุด อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top