April 2025

ผู้ประกันตน 24 ล้าน ในภาคอีสาน 2 ล้าน กับวิกฤติความเชื่อมั่น กองทุนประกันสังคม ฿2.65 ล้านล้าน

ประเด็นร้อน สิทธิบัตรทอง ในอีสาน 19 ล้านคน “ทำฟันฟรี คลินิกเอกชน” ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอน ฯ 3 ครั้ง/ปี ไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนสิทธิผู้ประกันตนในอีสาน 2 ล้านคน ทำฟันไม่เกิน ฿900 /ปี . เงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ 31 ธันวาคม 2567 มูลค่าทั้งสิ้น 2,657,245 ล้านบาท แบ่งเป็น หลักทรัพท์มั่นคงสูง 71.58% และหลักทรัพย์เสี่ยง 28.42% โดยมีการกระจายการลงทุนในประเทศ จำนวน 1,800,064 ล้านบาท คิดเป็น 67.74% และลงทุนต่างประเทศ จำนวน 857,181 คิดเป็นสัดส่วน 32.26% กองทุนประกันสังคม มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี อยู่ที่ 2.29% ส่วนอัตราผลตอบแทนปี 2567 อยู่ที่ 5.34% . ปัจจุบันเงินลงทุนรวมของกองทุน #ประกันสังคม มูลค่ารวม 2,657,245 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1. เงินสมทบสะสมจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล จำนวน 1,666,556 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 62.72% 2. เงินผลประโยชน์สะสมที่ได้รับจากการลงทุน จำนวน 990,689 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 37.28% . ในปี 2567 กองทุน ประกันสังคม มีผลประโยชนจากการลงทนที่รับรู้แล้ว จำนวน 71,960 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.) ดอกเบี้ยรับและกำไรจากการขายตราสารหนี้ 42,774 ล้านบาท 2.) เงินปันผลรับและกำไรจากการขายหุ้น นวน 29,186 ล้านบาท . จะเห็นว่าผลกำไรส่วนใหญ่ของประกันสังคมนั้นยังคงมาจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน และตราสารหนี้ต่างประเทศ เนื่องจากกรอบนโยบายการลงทุนยังคงจำกัดอยู่ที่สินทรัพย์มั่นคง (เสี่ยงต่ำ) มากถึง 60% แต่ในอีกแง่ก็เป็นเกราะกำบังให้กองทุนประกันสังคมไม่เคยลงทุนแล้ว “ขาดทุน” มาตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา . กองทุนประกันสังคม เตรียมปรับยุทธศาสตร์พอร์ตลงทุนครั้งใหญ่ ในปี 2568-2570 โดยการเพิ่มลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเป็น 60% และสินทรัพย์มั่นคง 40% วางเป้าหมายพอร์ตการลงทุนต้องสร้าง “ผลตอบแทน” หรือ “Return Income” […]

ผู้ประกันตน 24 ล้าน ในภาคอีสาน 2 ล้าน กับวิกฤติความเชื่อมั่น กองทุนประกันสังคม ฿2.65 ล้านล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง ตัวอย่าง “กางเกง Soft Power” จากแดนอีสาน บอกเล่าเอกลักษณ์จังหวัดผ่านลายกางเกง

สงกรานต์ 2568 รัฐบาลทุ่มเงินงบประมาณ 150 ล้านบาทในการจัดงานฉลองสงกรานต์ทั่วประเทศ โดยกิจกรรมทั่วประเทศนั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ทำแผนกิจกรรม ซึ่งมีจังหวัดหลักที่จัดงานใหญ่ เช่น เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น นครศรีธรรมราช และสมุทรปราการ อีกทั้งยังมีการเชิญชวนให้ประชาชนใส่กางเกงลายสัญลักษณ์จังหวัด เพื่อโปรโมตภูมิปัญญาชาวบ้านช่วงสงกรานต์ และช่วยกันผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ในจังหวัดของตนเอง สงกรานต์นี้ “คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ” ชวนใส่กางเกงลายจังหวัด โชว์ภูมิปัญญาชาวบ้าน   อีสานอินไซต์ พามาเบิ่งกางเกงอัตลักษณ์ 20 จังหวัดภาคอีสาน Soft Power ใส่เล่นสงกรานต์   กาฬสินธุ์  กางเกงกาฬสินธุ์ ขอนแก่น  กางเกงอุทยานธรณีขอนแก่น  กางเกงลายเมืองขอน (มข.) กางเกงไดโนเสาร์เดินดง ชัยภูมิ  กางเกงมอหินขาว นครพนม กางเกงนครพนม กางเกงพนม นครพนม นครราชสีมา กางเกงแมว จังหวัดแรกที่ริเริ่มให้มีลายประจำจังหวัด* กางเกงแมวเหมียว บึงกาฬ กางเกงนาคบึงกาฬ บุรีรัมย์ กางเกงนกกระเรียน/อารยะบุรี กางเกงบุรีรัมย์ มหาสารคาม กางเกงปูม่วง มุกดาหาร กางเกงช้างน้าว ณ จุดจำหน่ายสินค้า OTOP จวนผู้ว่าฯ มุกดาหาร ลาย หอยกาบกี้ ข้างในมีไข่มุก และลาย กลองสำริด มโหระทึก ขนาดใหญ่ ถนนคนเดินใต้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 โทรติดต่อได้ครับ 085-9242039 อาร์ม ยโสธร กางเกงบั้งไฟยโสธร ร้อยเอ็ด กางเกงสาเกต กางเกงลายโหวด เลย กางเกง 3 ผีดี๊ด๊า กางเกงมักม่วน ผีตาโขน เมืองเลย กางเกงผีตาโขน ศรีสะเกษ กางเกงกูปรีพลัส สกลนคร กางเกงน้องก่ำ สุรินทร์ กางเกงสุรินทร์ หนองคาย กางเกงบั้งไฟพญานาค กางเกงลายหนองคาย หนองบัวลำภู กางเกงลายไก่งวงขาว อำนาจเจริญ  ลายยักษ์คุ , ลายผ้าขาวม้า , ลายดอกจานเหลือง , ลายขิดตะขอสลับเอื้อ อุดรธานี กางเกงไหบ้านเชียง (สีดำ) กางเกงไหบ้านเชียง (สีส้มอิฐ) อุบลราชธานี กางเกงลายผาแต้ม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม กางเกงผาแต้ม เพจสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี กางเกงอุบล ลายผาแต้ม สอบถามได้ที่ แพรวคอฟฟี่ ID ไลน์ :preawprapat   “กางเกงช้าง”

พาเลาะเบิ่ง ตัวอย่าง “กางเกง Soft Power” จากแดนอีสาน บอกเล่าเอกลักษณ์จังหวัดผ่านลายกางเกง อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐เปิดประตูโคราช ส่องขุมทรัพย์การลงทุนจากแดนอาทิตย์อุทัย🇯🇵

จังหวัดนครราชสีมา หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “โคราช” ถือเป็นประตูสู่ภาคอีสาน ที่มีศักยภาพครบครันทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ดินที่กว้างขวาง และแรงงานคุณภาพจำนวนมาก ด้วยขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้หลายบริษัทเลือกใช้จังหวัดนี้เป็นฐานการผลิตและจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่บางส่วนของจังหวัดจึงถูกพัฒนาเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และเขตอุตสาหกรรมสุรนารี ซึ่งกลายเป็นศูนย์รวมของโรงงานผลิตจากทั้งในประเทศและต่างประเทศในภาคอีสาน เมื่อกล่าวถึงการลงทุนในคงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะมีเพียงนักลงทุนชาวไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ ความสามารถของแรงงานไทย และต้นทุนค่าแรงที่สามารถแข่งขันได้ ประเทศที่มีการลงทุนในภาคอีสานมากที่สุดคือ ญี่ปุ่นด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณ 7,500 ล้านบาท ตามมาด้วยเกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 4,600 ล้านบาท และ 2,200 ล้านบาทตามลำดับ อีสานบ่ธรรมดา! ต่างชาติทุ่มทุนมหาศาล พาส่อง ต่างชาติแห่ลงทุน มูลค่ารวมทะลุสองหมื่นล้าน ญี่ปุ่นคือ 1 ในนักลงทุนหลักของภาคอีสานมาตลอด 3 ทศวรรษ จำนวนบริษัทญี่ปุ่นในภาคอีสาน: ประมาณ 130 บริษัท มูลค่าการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในอีสาน: ประมาณ 7,500 ล้านบาท   จำนวนบริษัทญึ่ปุ่นในนครราชสีมา: ประมาณ 70 บริษัท มูลค่าการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในนครราชสีมา: ประมาณ 6,700 ล้านบาท   บริษัทญี่ปุ่นในนครราชสีมาที่มีรายได้มากที่สุด 10 อันดับแรก บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ประเภทธุรกิจ: ผลิตนาฬิกา ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2530 มูลค่าการลงทุน: 1,020 ล้านบาท รายได้รวมปัจจุบัน: 7,984 ล้านบาท (-9.6%YoY) กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 287 ล้านบาท (7.8%YoY)   บริษัท ฮิตาชิ แอสเตโม โคราช เบรก ซิสเตมส์ จำกัด ประเภทธุรกิจ: ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆสำหรับยานยนต์ ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2543 มูลค่าการลงทุน: 74 ล้านบาท รายได้รวมปัจจุบัน: 7,759 ล้านบาท (5.4%YoY) กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 885 ล้านบาท (5.3%YoY)   บริษัท ฮิตาชิ แอสเตโม โคราช จำกัด ประเภทธุรกิจ: ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆสำหรับยานยนต์ ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2538 มูลค่าการลงทุน: 217 ล้านบาท รายได้รวมปัจจุบัน: 4,231 ล้านบาท (9.8%YoY) กำไร

พามาเบิ่ง🧐เปิดประตูโคราช ส่องขุมทรัพย์การลงทุนจากแดนอาทิตย์อุทัย🇯🇵 อ่านเพิ่มเติม »

วิกฤติเหล็กจีนทุ้มตลาดเหล็กไทย ปัญหาที่ถูกกลบใต้พรมฟุ้งกระจาย ถ่ามกลางกองซากตึก สตง. ปี 67 โรงงานเหล็กของไทย ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง

  🏗️ปี 2567 โรงงานเหล็กของไทย🇹🇭 ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง ฮู้บ่ว่า? ปัญหาด้านโครงสร้างอาคารและเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานในประเทศไทย อาจไม่ได้เกิดจากการก่อสร้างที่ผิดพลาดเพียงอย่างเดียว หากแต่มีปัจจัยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง ทั้งการนำเข้าเหล็กจากจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการย้ายฐานการผลิตของโรงงานจีนเข้ามาในไทย ซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจเป็นผลทำให้อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังอยู่ในอาการที่น่าห่วง จากต้องต่อสู้กับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากเหล็กนำเข้าที่โหมกระหนํ่าเข้ามาตีตลาดอย่างไม่ขาดสาย มีทั้งเหล็กคุณภาพดีและเหล็กไม่ได้มาตรฐานปะปนมาขายในราคาตํ่า ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ได้เริ่มที่จะฟุ้งกระจาย จากกรณีอาคารถล่มและเหตุแผ่นดินไหวที่จุดประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพวัสดุก่อสร้าง ไทยมีการพึ่งพาการนำเข้าเหล็กจากจีนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะสินค้าทะลักจากจีน ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเหล็กรีดเย็น เหล็กโครงสร้าง และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศจากการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาด้านคุณภาพของสินค้าที่สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคภายในประเทศไทย นอกจากการทะลักของเหล็กจากต่างประเทศที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคแล้ว ยังมีโรงงานเหล็กจีน ที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ที่ยิ่งเร่งการแข่งขันต่อผู้ประกอบการในประเทศ ตลอดจนปัญหาที่ถูกเปิดเผยในกรณีของตึกถล่ม ที่เป็นโครงการก่อสร้างจากผู้รับเหมาชาวจีน และมีแนวโน้มที่จะใช้วัสดุโครงสร้างจากเหล็กจีน ที่มาจากโรงงานจีนที่ย้ายฐานมาในประเทศไทย ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมโรงงานอุตสาหกรรม . การย้ายฐานการผลิตของโรงงานจีนเข้าสู่ไทย ยิ่งเพิ่มการแข่งขันในตลาดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า มีโรงงานผลิตเหล็กใหม่ในไทยมากกว่า 28 แห่ง ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการลงทุนจากจีนและกระจุกตัวอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสร้างความกังวลทั้งด้านความปลอดภัยและภาพลักษณ์ของสินค้าเหล็กไทยในตลาดส่งออกเนื่องจากเหล็กในประเทศมีการปะปน ทั้งจากสินค้านำเข้าจากจีน และสินค้าที่โรงงานจีนเป็นผู้ผลิต การขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ต่อผลิตภัณฑ์เหล็กและอลูมิเนียม ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับไทย ไม่เพียงแค่ทำให้ต้นทุนส่งออกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เหล็กจากประเทศอื่นๆ ที่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้หันมาระบายสินค้าสู่ไทยแทน สถานการณ์นี้จึงไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาทางเทคนิคในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แต่เป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ต้องอาศัยการกำกับดูแลอย่างรอบด้าน ทั้งในมิติคุณภาพสินค้า มาตรการทางการค้า และการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้แข่งขันได้ในระยะยาว   สาเหตุที่เหล็กไทยพ่ายเหล็กจีน ธุรกิจเหล็กทรงยาว (บิลเลต) ของไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความท้าทายครั้งใหญ่จากโรงงานเหล็กจากจีน สาเหตุหลักมาจากปัจจัย 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรก โรงงานเหล็กจากจีนใช้เตาหลอมแบบ IF ซึ่งเป็นเตาประเภทที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและในประเทศจีนไม่อนุญาตให้ใช้เตาหลอมแบบนี้แล้ว ทำให้โรงงานเหล็กเตาหลอม IF จากจีน ต้องย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ขณะที่เดิมโรงงานเหล็กไทยจะใช้เตาหลอมแบบที่เรียกกว่า EAF หรือ electric arc furnace ซึ่งเตาหลอมแบบ IF มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเตาหลอมแบบ EAF ส่งผลให้โรงงานเหล็กจีนสามารถผลิตเหล็กได้ในราคาที่ต่ำกว่าโรงงานเหล็กไทย อย่างที่สอง โรงงานเหล็กจากจีนมีการทุ่มตลาดเหล็กลวดเข้ามาในประเทศไทย ส่งผลให้ราคาเหล็กลวดในประเทศลดลงอย่างมาก โรงงานเหล็กไทยที่ผลิตเหล็กลวดจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก และหลายแห่งต้องปิดกิจการลง จากปัจจัยทั้งสองประการข้างต้น ทำให้ธุรกิจเหล็กทรงยาวของไทยกำลังถูกบีบให้ต้องแข่งขันอย่างยากลำบาก และมีโอกาสสูงที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับโรงงานเหล็กจากจีน พามาเบิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน ปัญหาที่เป็นฝุ่นใต้ซากตึกถล่ม โผล่ มาทีละนิด ทัวร์ศูนย์เหรียญ นิคม/โรงงานศูนย์เหรียญ วิซ่านักท่องเที่ยว/นักศึกษา แต่มาทำงาน คำถามคือมหาวิทยาลัยใด รับรองวิซ่าการศึกษาต่อของคนจีนเหล่านี้? นอมินีบริษัทจีน โมเดล หุ้นลม คนไทยถือหุ้นใหญ่ 1 คน 49% คนจีน 2 หุ้นรวมกัน 51% การฮั๊วประมูล และสืบทราบราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐ การประมูล ต่ำกว่าราคากลาง มีการตั้งข้อสังเกตว่า

วิกฤติเหล็กจีนทุ้มตลาดเหล็กไทย ปัญหาที่ถูกกลบใต้พรมฟุ้งกระจาย ถ่ามกลางกองซากตึก สตง. ปี 67 โรงงานเหล็กของไทย ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง อ่านเพิ่มเติม »

อีสานโพล เผย คนอีสานยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง คะแนนรัฐบาลโดยรวมยังค่อนข้างนิ่งมา 3 ไตรมาสติด วอนเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ

เศรษฐกิจครัวเรือนอีสานไตรมาส 1/2568 ยังแย่ต่อเนื่อง ไม่มีสัญญาณดีขึ้น จี้รัฐบาลแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง การอยู่รอดของผู้ประกอบการและเกษตรกร รายได้ครัวเรือนต่ำ และหนี้ครัวเรือนสูง เกินครึ่งยังไม่เอากาสิโนแม้จะมีเกณฑ์เงินฝาก 50 ล้านบาทควบคุม  อภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้านได้ 6.3 เต็ม 10 รัฐบาลได้ 5.0 ตามที่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 1/2568 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2568” ผลสำรวจพบว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 1/2568 (มกราคม–มีนาคม 2568) เท่ากับ 32.5 เต็ม 100 อยู่ในระดับแย่ ใกล้เคียงไตรมาสก่อนซึ่งมีค่า 32.8 ซึ่งดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนไม่ควรต่ำกว่า 40.0 เป็นเวลานาน และคาดว่าดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 2/2568 (เมษายน-มิถุนายน 2568) จะเท่ากับ 32.6 โดยยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ประเมินคะแนนรัฐบาลด้านเศรษฐกิจได้ 30.6 เต็ม 100  และวอนให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง การอยู่รอดของผู้ประกอบการและเกษตรกร รายได้ครัวเรือนต่ำ และหนี้ครัวเรือนสูง ร้อยละ 50.9 ยังไม่เอาบ่อนกาสิโนแม้จะมีเกณฑ์เงินฝาก 50 ล้านบาทเพื่อควบคุมการเข้าเล่นพนันของคนไทย ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ฝ่ายค้านได้คะแนน 6.3 เต็ม 10 รัฐบาลได้ 5.0 รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนด้านต่างๆ และคำนวณดัชนีภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 1/2568 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2568 พร้อมประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจและภาพรวม และมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบ่อนกาสิโนและการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 –  31 มีนาคม 2568 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,114 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด   คนอีสานยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง คะแนนรัฐบาลโดยรวมยังค่อนข้างนิ่งมา 3 ไตรมาสติด เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ รายได้และทรัพย์สินครัวเรือน โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้ และการซื้อของมูลค่าสูง และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งค่าดัชนีมีค่าระหว่าง 0 – 100 หากดัชนีอยู่ระหว่าง 0 – 19.9 คือ แย่มาก ระหว่าง 20.0 – 39.9 คือ แย่ ระหว่าง

อีสานโพล เผย คนอีสานยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง คะแนนรัฐบาลโดยรวมยังค่อนข้างนิ่งมา 3 ไตรมาสติด วอนเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ อ่านเพิ่มเติม »

“อีสานจน”จริงหรือ? ค้นหาปัจจัยที่ทำให้มูลค่าเศรษกิจอีสานไม่สู้ดี

ประเทศไทยมีจังหวัดทั้งหมด 77 จังหวัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค โดยในแต่ละภูมิภาคนั้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ เช่น ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่หรือภาษาที่แตกต่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ภาคอีสาน” ซึ่งภาคอีสานนั้นเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ แต่ภาคอีสานนั้นมีภาพจำในแง่ลบอยู่นั่นก็คือ “ภาคอีสานนั้นยากจน” ดังนั้นจึงเกิดมาเป็นรายการ “อีสาน อิหยังวะ” เพื่อเผยแพร่ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ข้อมูลเชิงลึกที่คนส่วนใหญ่นั้นเข้าใจผิด โดยใน ep.1 จะเป็นการพูดถึงภาพรวมเศรษฐกิจในภาคอีสานว่าจริงๆแล้ว “อีสานจน จริงหรือไม่” โดยวัตถุประสงค์ของรายการนี้เพื่อเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ทั้งเชิงเศรษฐศาสตร์และวัฒนธรรมหรือมุมมองและแนวคิดต่างๆที่คนส่วนใหญ่อาจยังเข้าใจผิดอยู่ โดยในปัจจุบันคนอีสานกว่า 3.74 ล้านครัวเรือนซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก พื้นที่กว่า 63.8 ล้านไร่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ประกอบด้วยพื้นที่ทำนา 41.7 ล้านหรือคิดเป็น 65% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ซึ่งถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจหลักภายในภาคอีสาน แต่ถ้าหากดูที่มูลค่าเศรษฐกิจแล้วจะเห็นได้ว่ามูลค่า GRP ของอีสานในภาคการเกษตรนั้นมีมูลค่าต่ำที่สุด โดยเรียงจากมูลค่าที่สูงที่สุดไปต่ำที่สุดได้แก่ ภาคการค้าและบริการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร เมื่อเจาะลึกรายได้ในภาคอีสาน จากพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรในภาคอีสานที่มีเยอะ แต่มูลค่าจากภาคการเกษตรกลับไม่ได้เด่นที่สุดภายในภูมิภาคอีสาน โดยมูลค่าที่สูงที่สุดกลับเป็นภาคการค้าและบริการ อาจเป็นเพราะภาคอีสานนั้นมีประชากรที่มากที่สุดภายในประเทศจึงทำให้มูลค่าการบริการนั้นสูงขึ้นตามโดย “ยิ่งคนเยอะ ก็จะยิ่งบริโภคเยอะ” จึงไม่พ้นทำให้ภาคการค้าและบริการภายในภาคอีสานนั้นมีมูลค่าสูงที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นที่ภาคอีสานเพียงภาคเดียว โดยหากดูภาครวมทั้งประเทศแล้วจะพบว่าแนมโน้มมูลค่าทางเศรษฐกิจของแต่ละภาคนั้นมีขนาดใกล้เคียงกันทุกๆภูมิภาค แรงงานคนไทยภายในประเทศนั้นเป็นคนอีสานอยู่ที่ประมาณ หนึ่งส่วนสี่ ของแรงงานทั้งหมดภายในประเทศ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาคอีสานมีคนเยอะ แปลว่าจำนวนแรงงานก็จะเยอะตาม โดยพบว่าแรงงานนอกระบบในปี 2567 กว่า 54.2% นั้นทำงานในภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยทั้งหมด 40.04 ล้านคนเป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 21.0 ล้านคนโดยคิดเป็นร้อยละ 52.7% ซึ่งมากกว่าแรงงานภายในระบบเสียอีก โดยร้อยละ 47.3% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบนั้นอยู่ในช่วงอายุ 40-59 ปี อีกทั้งยังมีกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 21.7% อีกด้วย หากเจาะลึกลงไปในตัวเลขรายภูมิภาคนั้นจะพบได้ว่าแรงงาน 40.04 ล้านคนนั้น ภาคอีสานมีแรงงานเป็นรองเพียงแค่ภาคกลางเท่านั้น ซึ่งในจำนวนแรงงานของภาคกลางนั้นมีคนอีสานที่ย้ายภูมิลำเนาเพื่อมาทำงานอีกด้วย ซึ่งการย้ายภูมิลำเนาเพื่อการมาทำงานนั้นเรียกอีกว่า “แรงงานไหล” โดยสาเหตุที่ภาคอีสานนั้นเกิดแรงงานไหลเข้ากรุงเทพฯ ที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น มูลค่าทางเศรษฐกิจ อัตราค่าแรงขั้นต่ำโดยกรุงเทพฯนั้นมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 372 บาท ซึ่งมากกว่าจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน หรือ เงินเดือนเฉลี่ยของลูกจ้างโดยในกรุงเทพฯนั้นมีเงินเดือนเฉลี่ยมากกว่าภาคอีสานประมาณ 1.62 เท่า และยังเป็นเมืองหลวงของประเทศอีกด้วยฃ โดยการที่เศรษฐกิจภายในประเทศนั้นเกิดการกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดแรงงานไหล ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ภาคอีสานเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานในภูมิภาคอื่นๆ อีกด้วย โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจย้อนหลัง 10 ปีของกรุงเทพฯ นั้นมีมูลค่าประมาณ 46.3%ของมูลค่าทั่วประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจุกตัวของเศรษกิจในประเทศไทย แต่ก็ใช่ว่าภาคอีสานจะไร้ซึ่งศักยภาพทางเศรษฐกิจซะทีเดียว โดยในภาคอีสานนั้นก็มีจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ด้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยจังหวัดชั้นนำทางเศรษฐกิจของภาคอีสานได้แก่ ”นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุบลราชธานีและอุดรธานี” ตามลำดับมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Big4 ของภาคอีสาน” โดยจังหวัดเหล่านี้เป็นจังหวัดที่มูลค่าสูงที่สุดในภาคอีสาน อีกทั้งยังมีประชากรเยอะและได้รับการพัฒนา แต่ไม่ได้แปลว่าจังหวัดอื่นๆนั้นจะด้อยพัฒนา เพียงแต่อาจไม่เป็นที่จับตามองของนักลงทุนเนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นหากเทียบกับภูมิภาคอื่น หรือการขาดระบบการคมนาคมที่เอื้ออำนวย เป็นต้น

“อีสานจน”จริงหรือ? ค้นหาปัจจัยที่ทำให้มูลค่าเศรษกิจอีสานไม่สู้ดี อ่านเพิ่มเติม »

ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่ง(คนขาย)ลอตเตอรี่”

ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งลอตเตอรี่” จังหวัดที่มีประชากร 6.3 แสนคน แต่มีรายได้/หัว สูงอันดับ 3 ของภาคอีสาน.ลอตเตอรี่…แผ่นกระดาษแห่งความหวังของคนไทยสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่เพียงแค่เกมเสี่ยงโชค แต่ยังสะท้อนถึงความหวัง ความเชื่อ และพฤติกรรมทางสังคมของคนไทย ลอตเตอรี่กลายเป็นกิจกรรมที่คนทุกชนชั้น ทุกวัย มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานรายวัน พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงข้าราชการและนักธุรกิจ ทุกคนต่างมีความหวังว่าตัวเลขบนสลากหนึ่งใบอาจเปลี่ยนชีวิตได้ โดยภาคอีสาน เป็นภาคที่ประชาชนมีการซื้อลอตเตอรี่หรือเล่นหวย กว่า 8.1 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประเทศ ส่วนหนึ่งจากจำนวนประชากรที่มาก และยังสะท้อนถึงพฤติกรรมการชอบเสี่ยงโชคของคนอีสาน.เมืองเลย เมืองแห่งลอตเตอรี่โดยหากพูดถึงลอตเตอรี่ในภาคอีสานแล้ว จังหวัดที่เรียกได้ว่าเป็น “เมืองแห่งลอตเตอรี่” ทั้งในระดับภาคอีสานและประเทศ นั่นคือจังหวัดในอีสานตอนบนอย่าง เลย คนในจังหวัดเลยมีความผูกพันธ์กับการซื้อขายล็อตเตอรี่อย่างมากจนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรม ถึงขนาดที่มีความคิดเห็นที่ว่าพ่อค้าแม่ค้าที่เดินขายล็อตเตอรี่อยู่ทั่วประเทศไทยนั้นมีโอกาสสูงที่จะมาจากจังหวัดเลย.เหตุผลอันเนื่องมาจากที่เลยมีตลาดนัดค้าส่งลอตเตอรี่ขนาดใหญ่อย่าง ‘ตลาดลอตเตอรี่วังสะพุง’ ตั้งอยู่ที่ ถนนมลิวรรณ บ้านน้อยนา ต.ศรีสงคราม อ.วังสะพุง จ.เลย ถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในอีสานและใหญ่ระดับต้นๆของประเทศ มีพ่อค้ารายย่อยทั่วสารทิศทั้งในและนอกภาคอีสานมาซื้ออย่างมากมายในช่วงออกรางวัล สร้างเม็ดเงินกว่า 1,500-2,000 ล้านบาทต่องวด.‘ลุงเยี่ยน’ ผู้บุกเบิกอาชีพขายลอตเตอรี่ใน จ.เลยวัฒนธรรมการขายลอตเตอรี่ในจ.เลย ถูกบุกเบิกมาจากชายหนุ่มคนหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘นายยศพล มูลกองศรี’ หรือคนท้องที่เรียกเขาว่า ‘ลุงเยี่ยน’ เป็นชาวบ้านโพนงาน อ.ทรายขาว จ.เลย เกิดเมื่อปีพ.ศ.2499 โดยประมาณ ช่วงปีพ.ศ.2520 ลุงเยี่ยนซึ่งในขณะนั้นอายุ 20 ต้นๆ ได้ปลดประจำการจากการเป็นพลทหาร และได้มีโอกาสเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำอาชีพเสริมเป็นการปั่นจักรยานเร่ขายลอตเตอรี่ตามชุมชน.ลุงเยี่ยนเป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารี เมื่อไรก็ตามที่พี่น้องญาติมิตรหรือชาวบ้าน เดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ ลุงเยี่ยนก็ยินดีให้พักอาศัยด้วยเสมอ และลุงเยี่ยนจึงได้แนะนำชาวบ้านให้ทำอาชีพเร่ขายลอตเตอรี่ซึ่งเป็นอาชีพสุจริต หวังสร้างรายได้ให้แก่ญาติมิตร โดยเริ่มแรกลุงเยี่ยนเป็นคนออกทุนให้ก่อน จากชาวบ้านกลุ่มเล็กๆที่ได้เริ่มอาชีพนี้ และได้บอกกันปากต่อปากจนคนอำเภอวังสะพุงจึงเริ่มนิยมทำอาชีพนี้มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งในที่สุดอาชีพเร่ขายลอตเตอรี่จึงได้กลายเป็นอาชีพหลักของคนอำเภอวังสะพุงและกระจายไปทั่วจังหวัด.กระทั่งในปี 2542 ปริมาณคนขายลอตเตอรี่เพิ่มมากขึ้น นายชิติพัทธ์ กิ่งแก้ว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสหกรณ์วังสะพุง จำกัด ได้ริเริ่มเปิดตลาดนัดลอตเตอรี่ที่สามแยกนาหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าสลาก ทั้งรายใหญ่ รายย่อย และผู้เดินขาย ลดความจำเป็นในการเดินทางไปซื้อถึงกรุงเทพฯ ต่อมาปี 2553 จึงย้ายไปขอใช้โกดังสหกรณ์การเกษตรวังสะพุงจนมาถึงปัจจุบัน โดยจากความคิดรอเริ่มของลุงเยี่ยน ได้ส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นหลายหมื่นรายสร้างอาชีพและมีรายได้.เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ลุงเยี่ยนได้เสียชีวิตในวัยเพียง 38 ปี แต่ญาติมิตรและคนที่ลุงเยี่ยนเคยช่วยเหลือไว้ก็ไม่เคยลืมบุญคุณ เพื่อเป็นการระลึกความมีเมตตาและคุณงามความดีในการบุกเบิกอาชีพขายลอตตอตรี่แก่คนในจังหวัด จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ลุงเยียนขนาดเท่าตัวจริงขึ้น เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2565 ตั้งอยู่ที่หน้า ตลาดนัดลอตเตอรี่ เจมส์-ออย อ.วังสะพุง จ.เลย.ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป กระทบอาชีพขายลอตเตอรี่หลังจากที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้เปิดตัว ‘สลากดิจิทัล’ ซึ่งเป็นการขายล็อตเตอรี่ผ่านแอพลิเคชั่นเป๋าตังตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2565 ด้วยราคาที่แน่นอนที่ 80 บาท เพิ่มตัวเลือกให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งจากลอตเตอรี่ที่ขายบนแผงมักมีราคาที่สูงกว่าจากมีต้นทุนเพิ่มเติม และจำนวนโควตาลอตเตอรี่ของพ่อค้าแม่ค้าที่ขายบนแผงที่ลดลง นอกจากนั้นการมาของสลาก L6 และ N3 ซึ่งมีการขายเฉพาะรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งผู้ซื้อสลากสามารถเลือกตัวเลขได้ตามความต้องการ มีรางวัลพิเศษ และได้รับรางวัลแน่นอน

ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่ง(คนขาย)ลอตเตอรี่” อ่านเพิ่มเติม »

⛺️เลย ดินแดนอีสานภูมิประเทศแบบภาคเหนือ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดอันดับ 3 ของอีสาน🪙

เลย ดินแดนอีสานภูมิประเทศแบบภาคเหนือ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดอันดับ 3 ของอีสาน..ถ้าถามว่า จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆในภาคอีสาน มีจังหวัดไหนบ้าง ?.หลายคนอาจคิดว่าเป็นจังหวัด Big 4 ของอีสาน.แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัว สูงเป็นอันดับ 3 ในภาคอีสาน กลับเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจ (GPP) อันดับที่ 13 อย่าง “เลย”.ทำไมจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจระดับกลางๆของภูมิภาค ถึงกลายเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจต่อหัว(รายได้ต่อหัว)มากเป็นอันดับ 3 ในภาคอีสาน ?.อีสานอินไซต์จะพาไปเบิ่ง..เลย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนบนสุดของภาคอีสาน มีพื้นที่ 11,424 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของภาคอีสาน.แต่เลยมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 600,000 คน โดยจัดเป็นอันดับที่ 14 ของภูมิภาค.ถึงแม้จะเป็นจังหวัดที่มีประชากรเพียงไม่กี่แสนคน และมีมูลค่าเศรษฐกิจในระดับกลางๆของภาคอีสาน.แต่ถ้าหากลองมาดู รายได้ต่อหัวในปี 2565.จะพบว่า เลย มีรายได้ต่อหัว 114,156 บาทเป็นรองเพียงแค่นครราชสีมา และขอนแก่น ที่มีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 134,338 บาท และ 126,636 ตามลำดับ.ปัจจัยที่ทำให้ เลย มีรายได้ต่อหัวสูง มีตั้งแต่– เป็นแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของภาคอีสาน– มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่มีชื่อเสียง– มีชายแดนที่ติดกับประเทศลาว..1.ภูมิประเทศเมื่อพูดถึงแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของประเทศ ภาคอีสานของเราถือว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญภาคหนึ่ง จากการที่มีพื้นที่เพาะปลูกยางพารา คิดเป็นสัดส่วน 26.7% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกยางพาราที่กรีดได้ทั้งหมดในประเทศ โดยเป็นรองเพียงแค่ภาคใต้เท่านั้น.ซึ่งในปี 2565 จังหวัดเลย ถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกยางพาราที่กรีดได้มากทึ่สุดในภาคอีสาน อยู่ที่ 853,798 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.5%.โดยมีผลผลิตยางพาราสูงถึง 194,127 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่สามารถปลูกยางพาราได้เป็นอันดับ 2 ของภาคอีสาน.และเมื่อดูสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรมมีมูลค่ามากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึง 28% จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มูลค่าเศรษฐกิจของ “เลย” ถูกขับเคลื่อนด้วยพืชเศรษฐกิจหลัก อย่าง “ยางพารา” มากที่สุด.นอกจากยางพาราแล้ว เลย ยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟมากที่สุดในอีสานที่ 3,226 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 2,370 ไร่ และมีผลผลิตต่อปีกว่า 166 ตัน โดยถือเป็นพื้นที่กว่า 76% ของพื้นที่เพาะปลูกกาแฟทั้งหมดภาคอีสาน.ถึงแม้จะมีผลผลิตยังไม่มากหากเทียบกับภาคเหนือ แต่เนื่องจากข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ทำให้ เลย เป็นจังหวัดที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟอาราบิก้ามากที่สุดในอีสาน (กาแฟพันธุ์ อาราบิก้า ต้องการพื้นที่เพาะปลูกสูงกว่า กาแฟพันธุ์ โรบัสต้า).บวกกับการบริโภคกาแฟในไทยสูง และยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ที่มีความต้องการการบริโภคมากกว่าปีละ 9 หมื่นตัน/ปี มูลค่าตลาดมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/ปี.ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ยังมีรายได้ที่ดี และยังมีโอกาสเติบโตตามตลาดการบริโภคกาแฟของไทย.และยังมีพืชผัก สวน ไร่ ไม้เมืองหนาว ที่ได้ผลประโยชน์จากข้อดีทางภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศ ที่ทำให้มีผลผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปีอีกด้วย..2.สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและสิ่งที่ทำให้เลยมีรายได้ต่อหัวสูงอีกอย่าง คือมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่มีชื่อเสียง.หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดในจังหวัดเลย ทุกคนคงนึกถึง “ภูกระดึง” ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตสำหรับสายรักธรรมชาติที่เมื่อมาเลยแล้วต้องมาพิชิตภูกระดึงซักครั้งหนึ่งในชีวิต.ซึ่งนอกจากภูกระดึงแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติภูเรือ

⛺️เลย ดินแดนอีสานภูมิประเทศแบบภาคเหนือ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดอันดับ 3 ของอีสาน🪙 อ่านเพิ่มเติม »

ไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 คมนาคมเผยไม่ใช้🇨🇳จีนคุมงาน “โคราช-หนองคาย” ลั่น! “ไทย” 🇹🇭คุมงานเองทั้งหมด ตั้งเป้าใช้วัสดุและผู้รับเหมาในประเทศ

“สุริยะ” เผยไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 “โคราช-หนองคาย” ลั่น! “ไทย” คุมงานเองทั้งหมด ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100% ยันมาตรฐานสากล สั่ง รฟท. – ขร. เข้มงวดมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 32 เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 – 3 เดือน จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคา และก่อสร้างภายในปี 2568 เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ สปป.ลาว และจีน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาค สำหรับการประกวดราคา ระยะที่ 2 นั้น จะไม่ใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย โดยยืนยันว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 นายสุริยะ กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ฝ่ายไทยจะควบคุมงานการก่อสร้างเอง รวมถึงออกแบบ และตรวจแบบเองทั้งหมด พร้อมทั้งจะใช้วัสดุภายในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีการตรวจสอบทั้งระบบอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นในความสามารถของวิศวกรของไทย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล และฝ่ายจีนยอมรับได้ นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ รฟท. และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำกับติดตามอย่างเข้มงวดให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และมีเหตุอาคารถล่ม ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ต้องทบทวนกระบวนการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างทั้งระบบ โดยเฉพาะงานโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ รฟท. ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรับแรงสั่นสะเทือนและต้านทานแผ่นดินไหว โดยจะนำบทเรียนต่าง ๆ มาปรับใช้ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มเติม ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในเรื่องการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะต้องมีการตรวจรับรองคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ กล่าวคือ อาทิ การตรวจโรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต อีกทั้งก่อนที่จะนำเหล็กจากโรงงานมาใช้ต้องมีการทดสอบคุณภาพของเหล็กตามข้อกำหนด โดยจะมีการทดสอบที่เพิ่มจากมาตรฐานของไทย คือ ต้องมีการทดสอบความล้าของเหล็กแต่ละขนาด ขณะเดียวกัน เมื่อนำเหล็กมาถึงโครงการก่อสร้าง จะต้องมีการเก็บ Tag ของเหล็กไว้ตรวจสอบ และจะต้องมีการสุ่มตัวอย่างโดยผู้ควบคุมงานและทำการทดสอบตามข้อกำหนด ขณะที่ ก่อนทำการเทคอนกรีต ผู้ควบคุมงานจะทำการสุ่มตรวจจำนวน

ไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 คมนาคมเผยไม่ใช้🇨🇳จีนคุมงาน “โคราช-หนองคาย” ลั่น! “ไทย” 🇹🇭คุมงานเองทั้งหมด ตั้งเป้าใช้วัสดุและผู้รับเหมาในประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

วิกฤติคนสูงวัยขาดเเคลนที่อยู่อาศัยในอนาคต กระจุกตัว เติบโตช้า เเละไม่พอความต้องการ

“เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมา ได้ยินเสียงเข็มนาฬิกาเดินช้า ๆ ราวกับนับถอยหลังให้ใครบางคนที่เคยนั่งอยู่ตรงนี้ บ้านหลังเดิมที่เคยอบอุ่นด้วยเสียงหัวเราะของลูกหลาน บัดนี้กลับกว้างขวางเกินไปเมื่อต้องอยู่เพียงลำพังพร้อมกับร่างกายที่โรยรา เมื่ออายุเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ปลอดภัยกลับลดลง สังคมที่เคยโอบอุ้ม อาจกำลังทิ้งใครไว้ข้างหลัง พวกเขาเหล่านี้จะใช้ชีวิตบั้นปลายที่ไหน?” . “ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” เป็นประโยคที่ได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลายมายาวนาน โดยนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา จำนวนผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในไทย คิดเป็น 10% ของประชากรทั้งหมดประเทศ ซึ่งอยู่ในระดับที่เรียกว่าสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) . เเต่ในปัจจุบันโครงสร้างประชากรไทยเเละโดยเฉพาะภาคอีสานอยู่ในสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) โดยจะมีลักษณะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะเป็นปิรามิดประชากรแบบหดตัว เป็นผลจากอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และการย้ายถิ่นของประชากรวัยแรงงาน ส่งผลให้ในอนาคตภาคอีสานมีแนวโน้มที่จะ เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด ซึ่งอาจนําไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การเพิ่มภาระการพึ่งพาต่อประชากรวัยทํางาน และแรง กดดันต่อภาครัฐจากภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ที่มา : บทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน กุมภาพันธ์ 2568 ISAN INSIGHT & OUTLOOK . ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ลําพังมากขึ้น ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคู่สมรส บุตรหลาน ญาติ หรือบุคคลอื่น อย่างไรก็ดี สัดส่วนผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 6.3% ในปี 2545 เป็น 12% หรือราว 1.6 ล้านคน ในปี 2564 เช่นเดียวกับจำนวนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่แค่สองคนกับคู่สมรสที่มีทิศทางเติบโตขึ้น จนอยู่ที่ 2.8 ล้านคนในปี 2564 สะท้อนว่า ผู้สูงวัยไทยใช้ชีวิตกันโดยลำพังมากขึ้น ที่มา : วิจัยกรุงศรี โดยทั่วไปเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ผู้สูงอายุที่พอดูแลตัวเองได้อาจพักอาศัยในบ้านเดิมของตนเอง หรือบ้าน/คอนโดมิเนียมที่ออกแบบสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีพื้นที่ส่วนกลางให้พูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ส่วนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิต สามารถอยู่อาศัยในบ้านพักเฉพาะผู้สูงอายุ (Residential Care Home / Assisted Living Community) ที่มีผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงสถานบริบาล (Nursing Home) ซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญดูแลตลอด 24 ชั่วโมง โดยราคาที่พักผู้สูงอายุจะแพงขึ้นตามสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการช่วยเหลือ . สถานการณ์ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับผู้สูงอายุในไทยปัจจุบันยังคงเติบโตช้า และ ‘ไม่เพียงพอ’ ต่อความต้องการของผู้สูงอายุในปัจจุบัน . โดยมีทั้งที่พัฒนาโดยรัฐและเอกชน มีช่วงราคาและบริการที่แตกต่างหลากหลาย ทว่าเมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่าผู้สูงอายุไม่ได้มีทางเลือกหลากหลายอย่างแท้จริง ราคาขั้นต่ำยังคงแพงเกินเอื้อมสำหรับคนส่วนใหญ่เเละยังขาดทางเลือกในการใช้ชีวิตบั้นปลายตามเงื่อนไขที่ตนเองต้องการ ​​ในขณะที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ . ผลการสำรวจสถานการณ์ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทั่วประเทศ ปี 2567 พบว่า จำนวนโครงการที่เปิดให้บริการทั้งหมด จำนวน 916โครงการ .

วิกฤติคนสูงวัยขาดเเคลนที่อยู่อาศัยในอนาคต กระจุกตัว เติบโตช้า เเละไม่พอความต้องการ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top