ตระกูล ตติเวชกุล มีรายได้รวมกันราว 32,555.5 ล้านบาท คิดเป็น 53.0% ของทั้งภูมิภาค
ชื่อบริษัท: บริษัท ห้างทองทองสวย จำกัด
- ที่ตั้ง: ขอนแก่น
- ปีที่จดทะเบียน: 2539
- รายได้รวม (ล้านบาท): 18,611 (-13.7%)
- กำไร (ล้านบาท): 11 (25.5%)
- จำนวนสาขา: 13 สาขา
- รายชื่อกรรมการ
- นาย อุดม ตติเวชกุล
- นาง นัสริน ตติเวชกุล
- นาย วิศวพร ตติเวชกุล
- นาย วิชย ตติเวชกุล
- นางสาว วิรากานต์ ตติเวชกุล
- นาย วิชญ์พล ตติเวชกุล
ชื่อบริษัท: บริษัท ห้างทองแม่ทองพูล จำกัด
- ที่ตั้ง: ขอนแก่น
- ปีที่จดทะเบียน: 2543
- รายได้รวม (ล้านบาท): 6,293 (+16.6%)
- กำไร (ล้านบาท): 2.8 (+36.6%)
- จำนวนสาขา: 13 สาขา
- รายชื่อกรรมการ
- นาย พิชัย ตติเวชกุล
- นางสาว พิมพ์พรรณ ตติเวชกุล
- นางสาว พิมพ์พร ตติเวชกุล
ชื่อบริษัท: บริษัท เอ็มทีพี โกลด์ จำกัด
- ที่ตั้ง: ขอนแก่น
- ปีที่จดทะเบียน: 2563
- รายได้รวม (ล้านบาท): 1,113 (-0.4%)
- กำไร (ล้านบาท): 1.7 (+104.1%)
- รายชื่อกรรมการ
- นางสาว พิมพ์พรรณ ตติเวชกุล
- นาย พิชัย ตติเวชกุล
- นางสาว พิมพ์พร ตติเวชกุล
ชื่อบริษัท: บริษัท เอ็มทีพี บูลเลี่ยน จำกัด
- ที่ตั้ง: ขอนแก่น
- ปีที่จดทะเบียน: 2558
- รายได้รวม (ล้านบาท): 6,539 (-27.6%)
- กำไร (ล้านบาท): 0.8 (-67.6%)
- รายชื่อกรรมการ
- นางสาว พิมพ์พรรณ ตติเวชกุล
- นาย พิชัย ตติเวชกุล
- นางสาว พิมพ์พร ตติเวชกุล
ห้างทองไม่ใช่เพียงร้านจำหน่ายเครื่องประดับเท่านั้น แต่ยังสะท้อนภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ทั้งด้านกำลังซื้อ การปรับตัวของราคา และความสนใจของผู้คนที่ผันแปรไปตามยุคสมัย ทองคำเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน และในหลายวัฒนธรรม จนปัจจุบันทองคำไม่เคยสูญเสียคุณค่าไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปเพียงใด ทองคำยังคงเป็นทั้งตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งที่ไม่เคยจางหาย
ห้างทองในอีสานมีมากมายหลายร้อยเจ้า โดยห้างทองที่สามารถทำรายได้สูงสุดในอีสานคือ ห้างทองทองสวย ที่สามารถทำรายได้รวมในปี พ.ศ. 2566 สูงถึง 18,611 ล้านบาท คิดเป็น 30.4% ของรายได้รวมทั้งภูมิภาค แต่หากพิจารณาดูดีๆแล้วนั้นตะพบว่าผู้บริหารของห้างทอวทองสวยคือตระกูล ตติเวชกุล ซึ่งก็คือตระกูลเดียวกันกับห้างทองแม่ทองพูล ส่งผลให้เมื่อพิจารณารายได้รวมกันกับกลุ่มของห้างทองแม่ทองพูลจะทำให้ตระกูล ตติเวชกุล มีรายได้รวมกันราว 32,555.5 ล้านบาท คิดเป็น 53.0% ของรายได้ห้างทองรวมทั้งภูมิภาค
จากรายงานของ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) พบว่า ภาพรวมตลาดทองคำไทยในปี พ.ศ. 2567 ยังคงเติบโต โดยมีความต้องการทองคำเพิ่มขึ้นถึง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่อยู่ราว 10% ต่อปี อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้เกิดจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำ ซึ่งถูกซื้อเพื่อการลงทุนเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อบริโภคหรือใช้เป็นเครื่องประดับ ในทางตรงกันข้าม ความต้องการทองรูปพรรณ ซึ่งเป็นสินค้าหลักของร้านทองกลับมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2567 ลดลง 2.2% ปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ค่าครองชีพที่สูง และราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกขายทองคำที่มีอยู่เพื่อเพิ่มสภาพคล่องมากกว่าการซื้อทองใหม่
ร้านทองขนาดใหญ่ที่สามารถขยายเข้าสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การออมทองออนไลน์ การซื้อขายทองคำล่วงหน้า และการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล มีแนวโน้มเติบโตได้ดีและสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้มากกว่าร้านทองขนาดเล็กที่ยังคงพึ่งพาการขายทองรูปพรรณเป็นหลัก เนื่องจากรายได้ในตลาดร้านทองมีการกระจุกตัวสูง โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ครองส่วนแบ่งรายได้ถึง 93.5% ขณะที่รายย่อยมีเพียง 6.5% เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในความสามารถในการปรับตัวและแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
ทั้งนี้ ทางธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ยังได้มีการคาดการในปี 2568 ว่าธุรกิจร้านทองจะเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ หนี้ครัวเรือนสูง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่มร้านทองขนาดเล็กที่คิดเป็นประมาณ 80% ของผู้ประกอบการในตลาด จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากรายได้หลักมาจากค่ากำเหน็จซึ่งลดลงตามยอดขายทองรูปพรรณที่ซบเซา ขณะเดียวกัน ราคาทองคำที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องประกอบกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ จะยังคงกระตุ้นให้ทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานทองคำจากเหมืองและการรีไซเคิล
ทองคำ เป็นสัญลักษณ์ของ ความมั่งคั่ง ความรุ่งเรือง และอำนาจ
ทองคำ เป็นสัญลักษณ์ของ ความมั่งคั่ง ความรุ่งเรือง และอำนาจ ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ด้วยคุณสมบัติที่เป็นแร่หายาก มีมูลค่าสูง และมีความผันผวนของราคาต่ำ ทองคำจึงกลายเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือปริมาณทองคำในโลกนี้มีจำกัด ไม่สามารถผลิตหรือสร้างทองคำแท้ขึ้นใหม่ได้เหมือนเงินตราจึงทำให้ทองคำยังคงคุณค่าในตัวเองไม่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ด้วยเหตุนี้ทองคำจึงถูกยกให้เป็นหนึ่งใน สินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Asset) สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง ความผันผวนต่ำ และคุณค่าไม่เสื่อมไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกเผชิญความไม่แน่นอนประเทศต่างๆมักหันมาถือครองทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือที่รู้จักกันในนามทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งช่วยกระจายความเสี่ยงจากการถือครองสกุลเงิน หรือสินทรัพย์อื่นๆเพียงอย่างเดียว และยังเป็นการส่งสัญญาณความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ตลาดโลก ทำให้ธนาคารกลางในหลายประเทศเลือกถือครองทองคำเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน และสร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของตน โดยประเทศไทยมีการถือทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 234.5 ตัน หรือคิดเป็น 8.3% ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด สัดส่วนการถือครองทองคำเพื่อเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอาจดูไม่สูงนักเมื่อเทียบกับสัดส่วนรวมทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอญุ่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของแต่ละประเทศโดยทางธนาคารการว่าจะมีการกระจายความเสี่ยงอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด
สาเหตุที่มีการกำหนดให้ค่ามาตรฐานของในประเทศเป็น 96.5% เนื่องจากทองคำทองคำแท้ 99.99% จะมีความอ่อนตัวอยู่เนื่องจากเป็นทองคำบริสุทธิ์ทำให้เวลาจะนำมาขึ้นรูปเป็นเครื่องประดับต่างๆ เช่น สร้อยคอ, สร้อยข้อมือ หรือแหวนทอง บางลวดลายอาจขึ้นรูปยาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดส่วนผสมที่จะทำให้ทองคำนั้นมีความแข็งแรง ทนทาน เพิ่มขึ้น จึงได้กำหนดให้ใช้ทองคำแท้ 96.5% ส่วนอีก 3.5% เพิ่มโลหะอย่าง ทองแดง นาค หรือเงิน เข้าไปเพื่อให้ง่ายต่อการทำลวดลายทองต่างๆ นอกจากนี้ยังอัตราส่วนของทองคำอืื่นๆ เช่น 90%, 80% หรือ 75% เพื่อให้เกิดความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะนำไปขึ้นรูปเป็นกรอบพระที่ต้องการความทน และแหวนทองต่างๆ ที่ต้องการฝั่งเพรชพลอยเพิ่ม
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, Ausiris Gold, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)