February 2025

พามาสรุป อีสาน(ใช้)น้ำหลาย ผลิตเบียร์ได้เกือบ 500,000 ขวด

Top 5 จังหวัดที่มีปริมาณการใช้น้ำ / จำนวนผู้ใช้น้ำ สูงสุด (ปี 2567) 2567 จังหวัด ปริมาณการใช้น้ำ (ลบ.ม.) / จำนวนผู้ใช้น้ำ (คน) บึงกาฬ 21 อุบลราชธานี 21 มุกดาหาร 21              อุดรธานี 22 มหาสารคาม 22 1 วันอีสานใช้น้ำเยอะแค่ไหนในปี 2567 ปี 2567อีสานใช้น้ำไป 26,883,016 ลบ.ม. คิดเป็นวันละ 73,652 ลบ.ม. หรือเทียบเท่า นาข้าว (ไร่)                           61 ล้างรถยนต์ (คัน)               184,130 เบียร์ (ขวด)               497,649 อาบน้ำ (ครั้ง)               818,357 คิดเป็นเงิน 2,135,911 บาท เทียบเท่า มาม่า (ซอง)         266,989 ปริมาณการใช้น้ำ ของอีสาน ในช่วง 3 ปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี ปริมาณการใช้น้ำ (ลบ.ม.) 2565 25,100,529 2566 25,781,107 2567 26,883,016 หมายเหตุ: ลบ.ม. = ลูกบาศก์เมตร ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2567   พามาสรุป อีสาน(ใช้)น้ำหลาย ผลิตเบียร์ได้เกือบ 500,000 ขวดเปิดสถิติการใช้น้ำในอีสานปี 2567 และผลกระทบต่ออนาคต  . น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำของภาคอีสานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง …

พามาสรุป อีสาน(ใช้)น้ำหลาย ผลิตเบียร์ได้เกือบ 500,000 ขวด อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🚆🧑‍🤝‍🧑การใช้บริการรถไฟในภาคอีสานบ้านเฮา!

โดยมาจากข้อมูลที่เรารวบรวมมาของแต่ละชั้นโดยสารนั่นเอง ตัวเลขปี 2566 จำนวนผู้โดยสารทั่วราชอาณาจักร 27,793,349 คน จำนวนผู้โดยสารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,638,326 คน หรือคิดเป็น 16.69% จำนวนรายได้ทั่วราชอนาจักร 1,314,315,394 บาท จำนวนรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 180,468,940 บาท หรือคิดเป็น 13.48% โดยแบ่งผู้โดยสารในภาคอีสานทั้ง 3 ชั้นได้ดังนี้ ชั้น 1 รวม 14,496 รายได้รวม 5,713,800 ไปอย่างเดียว 13,417 ไป-กลับ 1,079 ชั้น 2 รวม 532,960 รายได้รวม 83,336,352 ไปอย่างเดียว 499,173 ไป-กลับ 33,787 ชั้น 3 รวม 4,090,870 รายได้รวม 91,418,788 ไปอย่างเดียว 3,415,406 ไป-กลับ 158,458 รายเดือน 517,006 หมายเหตุ: ข้อมูลที่นำมาแสดงมาจากปี 2566 และรายได้ที่นำมาแสดงมาจากรายได้โดยสารจากทั้ง 3 ชั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับรายได้อื่นๆ ทั้งสิ้น . รถไฟเป็นหนึ่งในตัวเลือกการเดินที่คนเลือกใช้ทั้งระยะใกล้และไกล รวมถึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องมาจากความมีเสน่ห์ สะดวก ปลอดภัย ค่าโดยสารที่ราคาสามารถจับต้องได้ และเปิดโอกาสให้ผู้โดยสารได้สัมผัสบรรยากาศระหว่างทาง ในปัจจุบันมีวิธีการเที่ยวผ่านทางรถไฟเยอะขึ้น นั้นจึงเป็นเสน่ห์หลักๆของการใช้บริการรถไฟ . จากการหาข้อมูลทำให้รู้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการใช้บริการรถไฟเป็นอันดับที่ 2 จาก 4 ภูมิภาคหลักของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของระบบขนส่งทางรางในพื้นที่นี้ และหวังว่าในอนาคตประเทศไทยจะทำรางรถไฟเพิ่ม เพื่อจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต โดยการให้บริการที่มีคุณภาพและเส้นทางที่เชื่อมต่อได้ง่ายจะเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารอย่างมาก ลำดับการเปิดใช้รถไฟในภาคอีสาน หลังจากสร้างทางรถไฟสายอีสาน เศรษฐกิจ สังคมอีสานเปลี่ยนไปอย่างมาก ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นทางรถไฟสายแรกของรัฐบาลไทย ความคาดหวังของรัฐบาลที่จะเห็นประโยชน์อันเกิดจากการสร้างทางรถไฟสายนี้ จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างทางรถไฟสายแรกนี้สรุปได้ 2 ประการ คือ 1. เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งผู้คนและสินค้า 2. เพื่อประโยชน์ในการปกครองและรักษาพระราชอาณาเขต (ขณะฝรั่งเศสได้ยึดครองเขมร, เวียดนาม แล้วก็พุ่งมาที่ลาวจนไทยต้องเสียสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2431 และเริ่มเข้าสู่ดินแดนลาวส่วนที่เหลือ) สถานีรถไฟในปัจจุบัน   การลงทุนในระบบรางรถไฟมีข้อดีต่อเศรษฐกิจ ในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้: 1. ลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า: รถไฟสามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมากต่อครั้ง ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภค ลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวม: ระบบรางที่มีประสิทธิภาพช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ทำให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. กระตุ้นการลงทุนและการจ้างงาน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน: โครงการก่อสร้างและพัฒนาระบบรางรถไฟต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม การจ้างงาน: การก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบรางรถไฟ รวมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง จะสร้างงานจำนวนมากในหลากหลายสาขาอาชีพ 3. ส่งเสริมการท่องเที่ยว การเดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว: รถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟที่เชื่อมต่อเมืองต่างๆ ช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น …

พามาเบิ่ง🚆🧑‍🤝‍🧑การใช้บริการรถไฟในภาคอีสานบ้านเฮา! อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน (NeEC)

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeEC ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และนครราชสีมา จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ (NeEC-Bioeconomy) ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต ในระยะแรกมุ่งเน้นการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมชีวภาพ และ 2) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้หลากหลายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพและอุตาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้เทคโนโลยีมัยใหม่ และพัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ นอกจากนี้ การพัฒนา NeEC จะช่วยกระจายความเจริญสู่พื้นที่สร้างอัตลักษณ์ให้พื้นที่ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้   ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด NeEC ปี 2565 มีมูลค่า 719,693 ล้านบาท มีสัดส่วนถึง 41% ของ GRP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็น 4.1% ของ GDP อัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม NeEC มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4 จากปีก่อนหน้า (ปี 2564) และมีรายได้ต่อหัวของกลุ่มจังหวัด NeEC 115,424 บาท    สำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม NeEC ประกอบด้วย ภาคการเกษตร ที่มีมูลค่า 104,607 ล้านบาท (คิดเป็น 15% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ถึงแม้ภาคเกษตรจะมีสัดส่วนน้อยกว่านอกภาคเกษตร แต่ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมแปรรูป การส่งเสริมการเกษตรสมัยใหม่และการแปรรูปสินค้าเกษตร จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นอกภาคการเกษตรมูลค่า 615,085 ล้านบาท (คิดเป็น 85% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ได้แก่ – ภาคการบริการ เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งมีมูลค่า 294,730 ล้านบาท (คิดเป็น 41% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคบริการเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจบริการในพื้นที่ เช่น การท่องเที่ยว การค้าปลีก-ส่ง และบริการด้านสุขภาพ การเติบโตของภาคบริการอาจสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจจากภาคเกษตรสู่ภาคบริการ – ภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่า 226,959 ล้านบาท (คิดเป็น 32% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานชีวภาพ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ – ภาคการค้า มีมูลค่า 93,396 ล้านบาท (คิดเป็น 13% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคการค้ามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดน จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคการค้าในพื้นที่ การค้าชายแดนมีศักยภาพในการเติบโตสูง เนื่องจาก NeEC ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และศุลกากร จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมการเติบโตของการค้าชายแดน …

พามาเบิ่ง ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน (NeEC) อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 🗑 “กากของเสีย” จากอุตสาหกรรมบ้านเฮา

พามาเบิ่ง “กากของเสีย” จากอุตสาหกรรมบ้านเฮา จังหวัด ปริมาณของเสียทั้งหมด (ตัน) เลย                                           672,256 นครราชสีมา                                           594,088 ชัยภูมิ                                           374,469 อำนาจเจริญ                                           309,192 กาฬสินธุ์                                           295,333 ขอนแก่น                 …

พามาเบิ่ง 🗑 “กากของเสีย” จากอุตสาหกรรมบ้านเฮา อ่านเพิ่มเติม »

เลี้ยงเด็ก 1 คน ใช้จ่าย 3 ล้าน หลายคนเลือก “ไม่มีลูก” สิพามาเบิ่ง คนอีสานเกิดน้อยกว่าตาย

เมื่อก่อนเวลาเราพูดถึง “จำนวนประชากรไทย” เราอาจจะเคยจดจำกันว่า คนไทยมี 70 ล้านคน แต่จริงๆ แล้ว ประเทศไทยไม่เคยมีประชากรถึง 70 ล้านมาก่อน เพราะจำนวนสูงสุดที่เราเคยมีคือ 66.5 ล้านคนต่างหาก   ในปี 2567 มีประชากรไทยเกิดใหม่แค่ 460,000 คน เป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 75 ปี และแทบจะเรียกได้ว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นับจากยุคเด็กเกิดล้านในอดีต   เมื่อการเกิดของประชากรลดลง คนไทยจึง “เกิด” น้อยกว่า “ตาย” ทำให้คนไทยหายไปปีละกว่าหมื่นคน จำนวนประชากรไทยจึงลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว อีก 50 ปี ประชากรไทยเหลือแค่ 41 ล้านคน   ในภาคอีสานของเรานั้นมีคนเกิดใหม่น้อยกว่าคนเสียชีวิตมาตั้งแต่ ปี 2563  โดยในปี 2567 มีคนเกิดใหม่เพียง 120,217 คนเท่านั้น แต่มีคนเสียชีวิตมากถึง 186,690 คน   และนำข้อมูลในปี 2567 เปรียบเทียบกับปี 2557 พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีคนเกิดใหม่ลดลงกว่า -43% เนื่องจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนส่วนใหญเลือกที่จะมีครอบครัวกันน้อยลง ครองโสดกันมากขึ้น หรืออยู่กันเป็นแฟนเท่านั้น การเลือกที่จะไม่มีลูกเพื่อเป็นการไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายและภาระให้กับตนเอง พร้อมกับความกังวลในสภาพสังคมปัจจุบันที่ไม่แน่ใจว่าตนเองจะเลี้ยงลูกได้ดีพอหรือไม่   กลับกันคนเสียชีวิตในภาคอีสานกลับเพิ่มขึ้นกว่า 31% เนื่องจากโครงสร้างอายุของประชากรที่มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าคนเสียชีวิตจะมียอดขึ้นแตะ 2 แสนคนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า   แต่การเพิ่มขึ้นและลดลงนี้เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงอย่างมากต่อผลที่จะตามมาในอนาคตว่ารัฐบาลจะมีมาตรการใดๆเข้ามาควบคุมและดูแลประชาชนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาระดับชาติที่จะส่งผลในระยะยาว ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องตรงจุดย่อมจะส่งผลเสียในอนาคตเป็นแน่     ทำไมคนยุคใหม่ “ไม่นิยมมีลูก” เด็กเกิดใหม่น้อยลง ถึงจุดวิกฤติ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง เรียนสูงขึ้น มีค่านิยมอยู่เป็นโสด มีความหลากหลายทางเพศ  ความต้องการมีบุตรและจำนวนบุตรที่ต้องการเปลี่ยนไป มองเป็นภาระ  อีกทั้ง มาตรการที่จูงใจให้คนต้องการมีบุตรมีน้อยและมาตรการที่มีอยู่ไม่สามารถจูงใจให้คนอย่างมีบุตรได้   การเลี้ยงเด็ก 1 คน ใช้เงิน 3 ล้าน ก็คือหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนไทยหลายๆ คนตัดสินใจมีลูกน้อยหรือไม่มีลูก คือ ภาระค่าใช้จ่าย ข้อมูลจากสภาพัฒน์บอกว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเลี้ยงดูเด็ก 1 คน ตั้งแต่อายุ 0-21 ปี คือ 3 ล้านบาท บางครอบครัวใช้น้อยกว่านี้มาก บางครอบครัวใช้มากกว่านี้มาก โดยเด็กที่เกิดในครัวเรือนที่ฐานะดีที่สุด พ่อแม่จะใช้จ่ายกับเด็กมากกว่าเด็กที่เกิดในครัวเรือนฐานะด้อยสุดถึง 7 เท่า แต่หนักที่สุด คือ “ด้านการศึกษา” ที่ค่าใช้จ่ายต่างกันมากถึง 35 เท่า ซึ่งส่งผลถึงโอกาสของเด็กไปด้วย เพราะเด็กกลุ่ม 10% …

เลี้ยงเด็ก 1 คน ใช้จ่าย 3 ล้าน หลายคนเลือก “ไม่มีลูก” สิพามาเบิ่ง คนอีสานเกิดน้อยกว่าตาย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จังหวัดใหม่ในอีสาน ที่เเยกออกมาจากอีกจังหวัดหนึ่ง

Info :    จังหวัดที่ เเยกออกมา ปีที่เเยก (พ.ศ.) จังหวัดเเม่ +เเผนที่ ที่เเยกออก กาฬสินธ์ุ 2490 มหาสารคาม ขนาดเศรษฐกิจ 65,764 ล้านบาท  67,773 ล้านบาท  ประชากร 962,444 คน 929,952 คน พื้นที่ 6,936 ตร.กม. 5,607 ตร.กม. ยโสธร 2515 อุบลราชธานี ขนาดเศรษฐกิจ 32,468 ล้านบาท  141,089 ล้านบาท  ประชากร 525,325 คน 1,867,942 คน พื้นที่ 4,131 ตร.กม. 15,626 ตร.กม. มุกดาหาร 2525 นครพนม ขนาดเศรษฐกิจ 28,973 ล้านบาท  50,217 ล้านบาท  ประชากร 350,510  คน 710,740 คน พื้นที่ 4,126 ตร.กม. 5,637 ตร.กม. หนองบัวลําภู 2536 อุดรธานี ขนาดเศรษฐกิจ 31,755 ล้านบาท  120,539 ล้านบาท  ประชากร 504,379 คน 1,552,135 คน พื้นที่ 4,099 ตร.กม. 11,072 ตร.กม. อํานาจเจริญ 2536 อุบลราชธานี ขนาดเศรษฐกิจ 22,928 ล้านบาท  141,089 ล้านบาท  ประชากร 372,183 คน 1,867,942 คน พื้นที่ 3,290 ตร.กม. 15,626 ตร.กม. บึงกาฬ  2554 หนองคาย  ขนาดเศรษฐกิจ 31,755 ล้านบาท  47,315 ล้านบาท  ประชากร 418,733 คน 511,706 คน พื้นที่ 4,003 ตร.กม. 3,275 ตร.กม.   หมายเหตุ  :   ขนาดเศรษฐกิจ (GPP) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปี2565 จํานวนประชากร ณ สิ้นปี 2567 …

พามาเบิ่ง จังหวัดใหม่ในอีสาน ที่เเยกออกมาจากอีกจังหวัดหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ในปี 2566  ครัวเรือนอีสานกว่า 3.6 ล้านครัวเรือนเป็นหนี้ โดยแต่ละครัวเรือเป็นหนี้เฉลี่ย 200,540 บาท

ในปี 2566 พบว่า ครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหนี้สินกว่า 60.8% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 200,540 บาทต่อครัวเรือน   ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือน 133,700 บาท ประกอบด้วยหนี้เพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค 88,101 บาท หนี้เพื่อซื้อ/เช่าซื้อบ้านและ/หรือที่ดิน 42,690 บาท และหนี้เพื่อใช้ในการศึกษามีเพียง 2,909 บาทเท่านั้น    ในขณะที่หนี้เพื่อใช้ในการลงทุนและอื่น ๆ มีจำนวน 66,840 บาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ใช้ทำการเกษตร 50,754 บาท รองลงมาเป็นหนี้ใช้ทำธุรกิจ 15,439 บาท และหนี้อื่น ๆ เช่น หนี้จากการค้ำประกัน หนี้ค่าปรับ/จ่ายค่าเสียหายอีก 647 บาท   โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือว่าเป็นภาคที่มีสัดส่วนครัวเรือนมีหนี้สูงกว่าทุกภาค และหนี้สินประเภทเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนถือเป็นวัตถุประสงค์การก่อหนี้ที่ครองอันดับ 1 ซึ่งสอดรับไปกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่าคนอีสานมีกำลังใช้จ่ายที่จำกัด ทำให้ต้องมีการกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งการกู้มาเพื่อใช้ในการบริโภค ไม่ได้เป็นการกู้มาเพื่อสร้างสินทรัพย์หรือซื้อสินทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์หรือรถยนต์ ซึ่งหมายถึงลูกหนี้ที่กู้มามีรายได้น้อยหรือรายได้ไม่เพียงพอ จนต้องใช้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะส่งผลตามมาคือความสามารถในการชำระหนี้ก็น้อยลงด้วยเช่นกัน และมีโอกาสทำให้เกิดหนี้เสีย(NPL) มากยิ่งขึ้นนั่นเอง     ครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้สินในระบบ โดยเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินในระบบอย่างเดียว 96% และเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ 1.9% สำหรับครัวเรือนที่มีหนี้สินนอกระบบอย่างเดียวมีเพียง 2.1% และพบว่าจำนวนเงินเฉลี่ยที่เป็นหนี้สินในระบบสูงกว่านอกระบบถึง 118 เท่า (198,855 บาท และ 1,684 บาทตามลำดับ)   จากผลการสำรวจครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2566 พบว่า ครัวเรือนที่มีหนี้สินในระบบ ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค 43.8% รองลงมา คือ เพื่อใช้ทำการเกษตร 25.5% ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและ/หรือที่ดิน 21.3%ใช้ทำธุรกิจ 7.7% และใช้ในการศึกษามีเพียง 1.5% เท่านั้น   สำหรับครัวเรือนที่มีหนี้สินนอกระบบ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค 56.3% รองลงมา คือ เพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและ/หรือที่ดิน 24.5% ใช้ทำธุรกิจ 12.8% ใช้ทำการเกษตร 4.0% เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ 1.8% และใช้ในการศึกษามีเพียง 0.7% เท่านั้น     หากไปดูแต่ละจังหวัด พบว่า 5 อันดับจังหวัดที่มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุด ไดเแก่ – อำนาจเจริญ 337,610 บาท/ครัวเรือน – นครราชสีมา 303,257 บาท/ครัวเรือน – สุรินทร์ 290,152 บาท/ครัวเรือน  – มุกดาหาร …

พาส่องเบิ่ง ในปี 2566  ครัวเรือนอีสานกว่า 3.6 ล้านครัวเรือนเป็นหนี้ โดยแต่ละครัวเรือเป็นหนี้เฉลี่ย 200,540 บาท อ่านเพิ่มเติม »

‘กู้มากกว่าออม’ ภาคอีสานภูมิภาคที่มีสัดส่วนเงินกู้มากที่สุดในประเทศ เผยยอด เงินออม-สินเชื่อ แบงก์พาณิชย์อีสาน ปี 2567

“ร้อยเอ็ด” กู้มากกว่าออมที่สุดในประเทศ ตามมาด้วย “จังหวัดกลุ่มราชธานีเจริญศรีโสธร” เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในแง่หนึ่ง เงินฝากช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเก็บออมเงินได้อย่างปลอดภัยพร้อมได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน ธนาคารสามารถนำเงินฝากเหล่านี้ไปปล่อยสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจ ในปี 2567 ปริมาณเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในภาคอีสานอยู่ที่ 11.2 ล้านล้านบาท และภาคอื่นๆ ได้แก่ ภาคกลาง 45.1 ภาคเหนือ 10.2 และ ภาคใต้ 10.5 (หน่วย: ล้านล้านบาท) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญต่อการลงทุนและการบริโภคในทุกระดับ ทั้งบุคคล ธุรกิจขนาดเล็ก และธุรกิจขนาดใหญ่ การเข้าถึงสินเชื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายกิจการ จ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สินเชื่อยังช่วยให้ประชาชนสามารถซื้อสินทรัพย์มูลค่าสูง เช่น บ้านและรถยนต์ ผ่านระบบผ่อนชำระ  ในปี 2567 แนวโน้มปริมาณสินเชื่อรายเดือนลดลงต่อเนื่องทุกเกือบตลอดทั้งปี จากความเข้มงวดของธนาคารพาณิชย์และสัดส่วนหนี้เสียที่ยังสูง และจะพบได้ว่าหลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในจาก 2.50% เป็น 2.25% ส่งผลให้ปริมาณสินเชื่อรายเดือนในช่วงสิ้นปีสูงปรับขึ้นเล็กน้อย โดยปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในภาคอีสานรวมตลอดทั้งปีอยู่ที่ 11.6 ล้านล้านบาท พาสำรวจเบิ่ง เงินฝากในอีสานกว่า 9.5 แสนล้านบาท แต่ละจังหวัดเพิ่มขึ้นมากแค่ไหนในช่วง 10 ปี   สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก: ตัวชี้วัดความสมดุลทางการเงิน โดยจังหวัดที่มีปริมาณเงินฝากและสินเชื่อมากในอีสานโดยปกติแล้วก็เป็นจังหวัดใหญ่ที่มีเงินสะพัดมากเช่น นครราชสีมา ที่มีเงินฝากและสินเชื่อเกือบ 20% ของทั้งหมดในอีสาน แต่หากพิจารณาถึง ‘ความสมดุล’ ระหว่างการฝากออมและการกู้เงิน ความสัมพันธ์ระหว่างเงินฝากและสินเชื่อสะท้อนถึงการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินที่เกิดขึ้นผ่านธนาคารพาณิชย์ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (Loan to Deposit Ratio: LDR) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยวิเคราะห์ความสมดุลของการพัฒนาทางการเงินในแต่ละพื้นที่ คำนวณได้จาก สินเชื่อทั้งหมด หารด้วย เงินฝากทั้งหมด โดยในปี 2567 ภาคอีสานมี LDR อยู่ที่ 103% และภาคอื่นๆได้แก่ ภาคกลาง 60% ภาคเหนือ 75% และภาคใต้ 83% ซึ่งจากภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วน LDR สูงที่สุดในประเทศ และยังเป็นภูมิภาคเดียวที่มีสัดส่วน LDR เกิน 100% (หากไม่รวมกรุงเทพฯ) ซึ่งสะท้อนว่า ภาคอีสานมีความต้องการสินเชื่อ ที่สูงกว่า การเก็บออม จังหวัดที่มี LDR สูงเกิน 100% หากมองลึกลงไปในระดับจังหวัดของภาคอีสาน พบว่า มี 11 จังหวัดในภาคอีสานที่มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงกว่า 100% ได้แก่: ร้อยเอ็ด (150%) บึงกาฬ (121%) อุบลราชธานี (119%) สกลนคร (115%) ขอนแก่น (114%) อำนาจเจริญ (112%) สุรินทร์ (109%) ยโสธร …

‘กู้มากกว่าออม’ ภาคอีสานภูมิภาคที่มีสัดส่วนเงินกู้มากที่สุดในประเทศ เผยยอด เงินออม-สินเชื่อ แบงก์พาณิชย์อีสาน ปี 2567 อ่านเพิ่มเติม »

ต้อนรับวันแห่งความรัก .. ชวนมาเบิ่ง ยอดจดทะเบียน “สมรสเท่าเทียม” ในภาคอีสาน

ตั้งแต่ 23 ม.ค. 2568 วันประวัติศาสตร์ กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับวันแรก เป็นการมอบสิทธิให้กับบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ว่าเพศใดสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย   โดยตั้งแต่มีผลบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมวันแรกจนถึงวันที่ 13 ก.พ. 2568 “ยอดจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม” ในภาคอีสานมีจำนวนทั้งหมด 757 คู่ด้วยกัน ความรักไม่เลือกเพศเป็นความรักที่บริสุทธิ์และจริงใจ เป็นความรักที่ควรได้รับการเคารพและยอมรับเหมือนกับความรักในรูปแบบอื่นๆ ทุกคนควรมีสิทธิที่จะรักและแต่งงานกับคนที่ตนเองรัก โดยไม่คำนึงถึงเพศนั่นเอง     ในมุมมองของเศรษฐกิจกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนี้ มีต้นทุนและศักยภาพ และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลาย ๆ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความหลากหลายทางเพศ มีการประมาณการว่าประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม LGBTQIAN+ จำนวนกว่า 4 ล้านคน (คิดเป็นประมาณ 6%) โดย SDG Port ประมาณการใกล้เคียงกับ LGBT Capital ที่ประมาณว่ามีคนกลุ่มดังกล่าวประมาณ 3.7 ล้านคน (คิดเป็นประมาณ 5.6%) โดยประชากรของ LGBTQIAN+ ทั่วโลกอาจมีถึง 800 ล้านคน ซึ่งหากมองในเชิงธุรกิจถือว่าเป็นกลุ่มตลาดที่ใหญ่มากกลุ่มหนึ่ง   อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปัจจุบันสถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIAN+ ทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะมีจํานวนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นกว่า 1.3 ล้านคน ซึ่งการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่ามีการใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปร้อยละ 15 ของการใช้จ่ายทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้เป็นอย่างดี   โดย Spartacus ซึ่งจัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวเป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยวที่เป็น LGBTQIAN+ พบว่าประเทศไทยได้อันดับที่ 54 จาก 213 ประเทศ/ภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งไทยเองทำคะแนนได้ดีใน Anti-Discrimination Legislation (กฎหมายการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ) และ LGBT Marketing (การทำการตลาดกับกลุ่ม LGBTQIAN+) แต่เมื่อประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่น่าจับตามอง จากการที่จะผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยขึ้นมามีอันดับเทียบเท่าไต้หวัน (อันดับที่ 13) ในปี 2568 ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ดีขึ้น   ในเทศกาล Pride Month ตลอดเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 860,000 คน และสร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 4,500 ล้านบาท     อุตสาหกรรมซีรีส์วาย (Y) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการผลิตซีรีส์วายมากกว่า 177 เรื่อง ซึ่งนอกเหนือจากการเห็นจำนวนซีรีส์วายที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ยังคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมซีรีส์วายมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซีรีส์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีมูลค่า 8,000 ล้านบาท ในปี 2566 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท ในปี 2567 …

ต้อนรับวันแห่งความรัก .. ชวนมาเบิ่ง ยอดจดทะเบียน “สมรสเท่าเทียม” ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ครั้งแรกในรอบ 10 ปี คนอีสาน เกิด-ตาย เกือบเท่ากัน ในขณะที่คนไทยเกิดน้อยกว่าตาย 4 ปีซ้อน

“การลดลงของประชากรอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง มีรายได้สูง ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากร เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำ และอาจมีความอ่อนไหวทางเศรษฐกิจ” วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   ปัญหาการลดลงของอัตราการเกิดใหม่ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นความท้าทายที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญและพยายามแก้ไขอย่างจริงจัง แม้ว่าผลกระทบในปัจจุบันอาจยังไม่ชัดเจน แต่ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า การหดตัวของประชากรวัยแรงงานจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจชะลอตัวลง และประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ทำไมคนไทยถึงมีลูกน้อยลง สาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่ตัดสินใจไม่มีลูกหรือมีลูกน้อยลงนั้น เกิดจากทั้งวิถีชีวิตและทัศนคติที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีความหลากหลายทางเพศที่ทำให้รูปแบบครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่ขยับตัวไม่ทัน ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้จึงไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีคุณภาพ กลายเป็นจุดเปลี่ยนทางความคิดสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ทำให้ตัดสินใจไม่อยากมีลูก เนื่องจากกังวลเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนจบปริญญาตรีสูงถึงประมาณ 5 แสน จนถึง 2 ล้านบาทต่อคน ทำให้หลายครอบครัวลังเลหรือชะลอการมีบุตร   10 ปีที่ผ่านมาการเกิดของคนไทยลดลงไปมากแค่ไหน ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยมีจำนวนการเกิดลดลงในทุกๆปี ซึ่งตรงกันข้ามกับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี การระบาดของโควิด-19 เป็นเสมือนสิ่งที่กระตุ้นให้ทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2564 เป็นปีที่คนไทยมีจำนวนการเกิดใหม่อยู่ที่ 544,570 คน ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตนั้นมีสูงถึง 563,650 คน ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในทางกลับกันการระบาดของไวรัสทำให้ผู้คนพบเจอกันน้อยลงปฎิสัมพันธ์ของคนก็น้อยลงเช่นกัน เหลือแต่เพียงการติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แม้จะผ่านพ้นช่วงการระบาดของโควิด-19 มาแล้วก็ตามแต่จำนวนการเสียชีวิตของคนไทยก็ไม่ได้มีการลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19ขนาดนั้น หนำซ้ำจำนวนการเกิดของคนไทยกลับลดลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่กำลังเกิดในปัจจุบันเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่กำลังนับถอยหลัง และใกล้เข้ามามากขึ้นทุกวันๆ รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถาบันฯ ได้ทำการสำรวจข้อมูลในปลายปี 2567 ในประชาชนไทยอายุ 28 ปีเป็นต้นไป จำนวน 1,000 กว่าคน พบว่า ร้อยละ 71 มองว่าการเกิดน้อยเป็นวิกฤตของประเทศ และมีเพียงร้อยละ 6 มีมองว่ายังไม่ใช่วิกฤต “ซึ่งข้อค้นพบนี้ทำให้เห็นว่าคนไทยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตนี้ ส่วนคำถามถึงแผนการมีบุตรในกลุ่มประชากรที่มีความพร้อม พบว่าร้อยละ 35.8 ตอบว่าจะมีลูกแน่นอน ร้อยละ 29.9 ตอบว่า อาจจะมีลูก ร้อยละ 14.6 ตอบว่า ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.1 ตอบว่าจะไม่มีลูก และร้อยละ 6.6 ตอบว่าจะไม่มีลูกอย่างแน่นอน”จากชุดข้อมูลพบว่า มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่คิดจะมีลูก แม้จะน้อยแต่ก็ยังเป็นแนวโน้มในเชิงบวก ส่วนกลุ่มที่ตอบว่า “อาจจะมีลูก” นั้น เป็นกลุ่มสำคัญต่อนโยบายส่งเสริมการมีลูก ที่จะต้องไปพูดคุยอย่างชัดเจนให้ถึงสาเหตุของการตอบว่า อาจจะ เพราะหากมีการสนับสนุนที่ตรงจุดก็จะทำให้กลุ่มดังกล่าว มั่นใจที่จะมีลูกเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ประชากรที่จะมีลูกอย่างแน่นอนเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละกว่า 60   ภาพที่ 1: จำนวนการเกิด และเสียชีวิตของประชากรทั่วประเทศ พ.ศ. 2558 …

ครั้งแรกในรอบ 10 ปี คนอีสาน เกิด-ตาย เกือบเท่ากัน ในขณะที่คนไทยเกิดน้อยกว่าตาย 4 ปีซ้อน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top