February 2025

พาเลาะเบิ่ง ตัวอย่าง ทางหลวงแนวใหม่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาคอีสาน

ทางหลวงแนวใหม่ อุดรธานี – บึงกาฬ ทางหลวงแนวใหม่ 4 เลน “อุดรธานี-บึงกาฬ” พ่วงจุดตัดทางแยก 3 แห่ง ระยะทางกว่า 155 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 18,000 ล้านบาท คาดเริ่มก่อสร้างภายในปี 2569 เปิดบริการปี 2572 โครงการนี้จะเพิ่มสะดวก ลดระยะเวลาเดินทางกว่า 2 ชั่วโมง เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงสู่ จ.บึงกาฬ รองรับการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปิดประตูการค้าชายแดนแห่งใหม่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) โครงการมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเบื้องต้น (EIRR) 19.23% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 6,112 ล้านบาท และมีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) 1.52     ทางหลวงแนวใหม่ ทางเลี่ยงเมืองสว่างแดนดิน ทางเลี่ยงเมือง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ระยะทางกว่า 14 กิโลเมตร พร้อมทางต่างระดับ 8 จุดตัด งบก่อสร้าง 1,520 ล้านบาท จากผลการวิเคราะห์ด้านจราจร เดิมทีในปี 2564 อยู่ในช่วง 5,000 – 9,000 คัน/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 9,000 – 15,000 คัน/วัน ในปี 2574 และเป็น 14,000 – 21,000 คัน/วัน ในปี 2584 ประกอบกับแนวเส้นทางสายนี้ในบางช่วงยังคงวิ่งผ่านเข้าตัวเมือง ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อีกทั้งแนวเส้นทางในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดินมีเขตทางแคบเป็นข้อจำกัดในการขยายช่องจราจร ดังนั้น การพิจารณาก่อสร้างทางเลี่ยงเมือง จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุดังกล่าว รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และยกระดับความปลอดภัยในการสัญจร     ทางหลวงแนวใหม่ ท่าพระ – พระยืน ถนนตัดใหม่ขนาด 4 ช่องจราจร ท่าพระ-พระยืน สะพานข้ามแยกท่าพระ สะพานข้ามแม่น้ำชี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ระยะทางกว่า 13.7 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นของโครงการจะออกแบบเป็นสะพานข้ามแยก มีขนาดถนน 6 ช่องจราจร ส่วนด้านล่างเป็นวงเวียนขนาด 3 ช่องจราจร หากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรและเพิ่มศักยภาพของจังหวัดในการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนทางรางกับทางบก และยกระดับทางหลวงในสมบูรณ์ รองรับปริมาณการจราจรในอนาคต ทำให้การเดินทางมีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตในกับคนในพื้นที่อีกด้วย     ทางหลวงแนวใหม่ ทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ ทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญด้านตะวันตก ระยะทางกว่า 25 กิโลเมตร งบก่อสร้าง 2,400 ล้าน โครงนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและยกระดับความปลอดภัยการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคอีสาน …

พาเลาะเบิ่ง ตัวอย่าง ทางหลวงแนวใหม่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ในช่วงปีที่ผ่านมา ภาคอีสานมี รถยนต์ใหม่ป้ายแดง มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ

ในปี 2567 ประเทศไทยมีรถยนต์จดทะเบียนใหม่รวมกันกว่า 501,754 คัน ซึ่งลดลง 22.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยภาคอีสานของเรามียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ กว่า 55,569 คัน ซึ่งเป็นรองเพียงภาคกลางเท่านั้น   อะไรที่เป็นปัจจัยทำให้ภาคอีสานมียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ?   ภาคอีสานของเรามีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้น และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันผู้คนมีความต้องการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งสินค้า   ผู้บริโภคในปัจจุบันก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายและภาพลักษณ์ทางสังคมมากขึ้น ซึ่งการมีรถยนต์ส่วนบุคคลจึงตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาคอีสานจะมียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่สูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยผลกระทบด้านอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น ปัญหาการจราจรที่อาจจะติดขัดตามตัวเมืองแต่ละจังหวัด หรือจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ และอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้น การส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและการวางแผนการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย   หากดูเป็นรายจังหวัดก็จะพบว่า ยอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ตามจังหวัดหลักของภาคอีสาน อย่างนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี เพียง 4 จังหวัดก็มีสัดส่วนกว่า 59% เลยทีเดียว จังหวัดเหล่านี้ที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน ซึ่งก้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่สูงที่สุดในภาคอีสาน แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่ทำให้ยอดรถยนต์จดทะเบียนสูง อย่างนครราชสีมาและขอนแก่นมีมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาหลายแห่ง ทำให้มีนักศึกษาและบุคลากรจำนวนมากที่ต้องการใช้รถยนต์ในการเดินทาง อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ต้องการเช่าหรือใช้รถยนต์ในการเดินทาง ซึ่งธุรกิจเช่ารถก็มากในจังหวัดเหล่านี้   เมื่อเจาะกลุ่มแบรนด์รถยนต์ในภาคอีสานก็พบว่า รถยนต์จดทะเบียนใหม่ของโตโยต้ามียอดขายมากสุดในภาคอีสาน อยู่ที่ 23,640 คัน ซึ่งเป็นผลมาจากความนิยมของรถในกลุ่มอีโคคาร์ของโตโยต้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์นั่ง ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสัดส่วนยอดขายรถยนต์ในกลุ่มรถยนต์ไฮบริด (HEV) ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรุ่น Yaris Cross ที่ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้านับตั้งแต่เปิดตัว     อ้างอิงจาก: – กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก – บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #รถยนต์จดทะเบียนใหม่ #รถจดทะเบียนใหม่ #รถยนต์ในอีสาน #รถยนต์จดทะเบียนใหม่อีสาน #รถจดทะเบียนใหม่อีสาน

พาอัพเดทเบิ่ง .. รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย  กรุงเทพฯ – โคราช – หนองคาย

ทำความรู้จักกับ “รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย กรุงเทพฯ – โคราช – หนองคาย” ระยะทาง 606.17 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง 36 นาที กับราคาเพียง 1,171 บาท คาดว่าจะมีการเปิดให้บริการ ปี 2575   โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ระยะด้วยกัน ดังนี้   ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบฯ 60-63) ซึ่งปัจจุบันโครงการฯ ระยะที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด โดยมีความคืบหน้าโดยรวม 38% โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2571   ในระยะที่ 1 นี้มีจำนวน 6 สถานีด้วยกัน มีจุดเริ่มต้นที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ผ่านสถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสิ้นสุดที่สถานีนครราชสีมา โดยจะใช้เวลาเดินทางจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ไปยังสถานีนครราชสีมาเพียง 1 ชั่วโมง 36 นาที และมีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 529 บาท     ระยะที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย ระยะทางประมาณ 357.12 กิโลเมตร วงเงินรวมกว่า 341,351 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นที่สถานีนครราชสีมา ประกอบไปด้วย 5 สถานี  (1) สถานีบัวใหญ่ (2) สถานีบ้านไผ่ (3) สถานีขอนแก่น (4) สถานีอุดรธานี และสิ้นสุดที่ (5) สถานีหนองคาย ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2568 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2575 (รวม 8 ปี)    โดยในระยะที่ 2 จะมีการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา ที่ จังหวัดหนองคาย เป็นศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ทั้งขาเข้า-ออก ระหว่างทางขนาด 1 เมตรของรถไฟไทย และขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบ One Stop …

พาอัพเดทเบิ่ง .. รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย  กรุงเทพฯ – โคราช – หนองคาย อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง!  บริษัทเหล่านี้ดําเนินกิจการมากี่ปี ปัจจุบันถึงมีรายได้มากสุดของจังหวัดในอีสาน

ชวนมาเบิ่ง!  บริษัทเหล่านี้ดําเนินกิจการมากี่ปี ปัจจุบันถึงมีรายได้มากสุดของจังหวัดในอีสาน . หลากหลายกิจการที่ก่อกําเกิดขึ้นในเเต่ละจังหวัดในอีสาน ต่างก่อตั้งเเละล้มเลิกไปตามกระเเสกาลเวลาเเละเศรษฐกิจในเเต่ละช่วงสถานการณ์  . เเต่ละจังหวัดในอีสานต่างมีกิจการที่สามารถทํารายได้มากที่สุดของจังหวัดเป็นหน้าเป็นตาถึงความสําเร็จในทางค้าขาย เเต่กว่าจะมีวันนี้กิจการเหล่านี้เริ่มต้นก่อร่างสร้างตัวกิจการมาเป็นระยะเวลาเท่าใดถึงยังคงดํารงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน  . จากข้อมูล กิจการที่มีรายได้มากที่สุดของเเต่ละจังหวัดในอีสานเเละมีอายุกิจการมากที่สุดคือ บริษัท เล้งเส็ง จำกัด ในกลุ่มบริษัท เล้งเส็ง กรุ๊ป ที่เป็นผู้นำด้านการค้าปลีกและค้าส่งแห่งใหญ่ของจังหวัดสกลนคร ที่จดทะเบียนจดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด เล้งเส็ง ในวันที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2511 เเละเเปรสภาพในปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันดําเนินกิจการมาราว 56  ปีเสียจะได้ ส่วนบริษัท ซีวายวาย โกลบอล จำกัด  ที่ทําธุรกิจการผลิตสตาร์ชมันสำปะหลัง จนมีรายได้กว่า 2,4447 ล้านบาทมากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ มีอายุกิจการน้อยสุดเพียง 7 ปีเท่านั้น . กิจการที่รายได้มากที่สุดในอีสานอย่าง  บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) จากร้อยเอ็ดก็ใช้เวลาเดินทางร่วมกว่า   29 ปี จนเป็นกิจการที่มีรายได้กว่า 30,000 กว่าล้านบาทต่อปีในปัจจุบัน . แต่ละบริษัทไม่เพียงแต่สร้างรายได้มหาศาล เเต่ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดของตนอย่างมีนัยสำคัญ จากบริษัทที่มีอายุหลายปีถึงบริษัทใหม่ที่เข้ามาในตลาด ทุกบริษัทล้วนทำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเติบโตและพัฒนาที่ยั่งยืนในอีสาน ยิ่งไปกว่านั้นความสำเร็จของกิจการเหล่านี้ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคนี้.   . หมายเหตุ :นับจากวันที่จดทะเบียนจัดตั้ง, ข้อมูลรายได้ปี 2566 ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า,เว็บไซต์ของบริษัท .. ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ธุรกิจรายได้มากสุด #บริษัทรายได้มากสุด #บริษัทอายุมากสุด #บริษัทเก่าสุด

ชวนมาเบิ่ง! บริษัทเหล่านี้ดําเนินกิจการมากี่ปี ปัจจุบันถึงมีรายได้มากสุดของจังหวัดในอีสาน

จุดเริ่มต้นของฟาร์มโชคชัย เรื่องราวของฟาร์มแห่งนี้เริ่มต้นจาก คุณโชคชัย บูลกุล ชายหนุ่มผู้หลงใหลในวิถีชีวิตแบบ “คาวบอย” ความฝันของเขาพาให้เขาเดินทางไปศึกษาต่อด้านสัตวบาลที่ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา เพื่อสานต่อความหลงใหลให้กลายเป็นอาชีพ คุณโชคชัยเป็นบุตรชายของ นายมา บูลกุล และ นางบุญครอง บูลกุล เจ้าของอาณาจักรโรงสีข้าวและห้างสรรพสินค้า “มาบุญครอง” (MBK) ที่มีชื่อเสียงใจกลางกรุงเทพฯ แม้จะเติบโตมาในครอบครัวนักธุรกิจ แต่เส้นทางที่เขาเลือกเดินนั้นแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง เมื่อกลับมาจากสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2500 แม่ได้มอบรถสปอร์ตเป็นของขวัญ เขาขับรถท่องไปตามถนนมิตรภาพจนมาถึงอำเภอปากช่อง และตกหลุมรักธรรมชาติอันงดงามของ ป่าดงพญาไฟ ความประทับใจครั้งนั้นทำให้เขาตัดสินใจสร้างฟาร์มของตัวเอง เขาขอเงินลงทุนจากครอบครัว 1 แสนบาท แต่ได้รับเพียง 2 หมื่นบาท เท่านั้น ด้วยความมุ่งมั่น เขาจึงกลับไปช่วยบริหารธุรกิจโรงสีของครอบครัวเพื่อเก็บเงินสะสมจนสามารถซื้อที่ดินและเริ่มต้นเป็นคาวบอยได้ตามที่ฝัน จากฟาร์มเล็กๆ สู่ธุรกิจร้อยล้าน ชีวิตของคุณโชคชัยไม่ได้ราบรื่นเสมอไป หลังจากทำฟาร์มได้ 7 ปี เขาพบว่าหากดำเนินกิจการแบบเดิมต่อไป ฟาร์มอาจไปไม่รอด เขาจึงตัดสินใจทำอาชีพเสริมในด้านการก่อสร้าง หนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญคือการเปิดร้านอาหาร “โชคชัยสเต็กเฮ้าส์” ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 บนชั้น 23 ของ “ตึกโชคชัย” ซึ่งเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม ฟ้าก็ยังคงไม่เข้าค้างเข้า เมื่อสัญญาจ้างก่อสร้างสนามบิน 8 แห่งของสหรัฐฯ ถูกยกเลิก เพราะสหรัฐฯ ถอยทัพจากสงครามเวียดนาม ด้วยปัญหาทางการเงิน ตึกโชคชัยถูกขายไป และปัจจุบันกลายเป็น สำนักงานใหญ่ของธนาคารยูโอบี (UOB) แต่แม้จะสูญเสียทรัพย์สินบางส่วน ธุรกิจฟาร์มโชคชัยกลับเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฟาร์มโชคชัยในปัจจุบัน ปัจจุบัน ฟาร์มโชคชัย มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ และโคนมกว่า 3,000 ตัว นอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครืออีก 6 บริษัท ที่ดำเนินธุรกิจหลากหลายด้าน ภายใต้การบริหารของ คุณโชค บูลกุล ทายาทรุ่นที่สอง ธุรกิจครอบครัวแห่งนี้เติบโตขึ้นจากความฝันของผู้เป็นพ่อ การวางแผนบริหารของผู้เป็นแม่ และการสืบทอดเจตนารมณ์โดยลูกชาย ทุกองค์ประกอบเหล่านี้ช่วยผลักดันให้ “ฟาร์มโชคชัย” กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่แข็งแกร่ง และพร้อมปรับตัวเพื่อก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นคง หากพูดถึงฟาร์มโชคชัย ธุรกิจหลักที่หลายคนจะนึกถึงกันนอกจากฟาร์มโคนมได้แก่ ธุรกิจอาหารของร้านโชคชัยสเต็กเฮ้าส์ จากจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2514 และในปี พ.ศ. 2529 ได้ขยายสาขามายังฟาร์มโชคชัย ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในจุดแวะพักยอดนิยมสำหรับผู้ที่เดินทางผ่านปากช่อง และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้เปิดสาขาเพิ่มที่รังสิต จนกลายเป็นร้านอาหารที่ได้รับความนิยมและมีลูกค้าประจำที่พร้อมกลับมาซ้ำอีก ความพิเศษของโชคชัยสเต็กเฮ้าส์อยู่ที่คุณภาพของเนื้อวัว ซึ่งมาจากวัวที่เลี้ยงเองในฟาร์มโชคชัย คัดสรรสายพันธุ์อย่างพิถีพิถัน พร้อมด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูงและกรรมวิธีการปรุงที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด รสชาติของสเต็กที่ถูกปรุงออกมาอย่างสมบูรณ์แบบนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานที่ทำให้ร้านยังคงครองใจลูกค้ามาอย่างยาวนาน อีกหนึ่งธุรกิจที่หลายคนคุ้นเคยกันดีเมื่อเข้าไปยังร้านสะดวกซื้อนั่นคือนมแบรนด์ฟาร์มโชคชัย แต่หนึ่งสิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบคือนมแบรนด์ฟาร์มโชคชัยนั้นไม่ใช่ของฟาร์มโชคชัยแล้ว ผลจากในช่วงที่คุณโชคชัยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จัดหาเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่กองทัพอากาศอเมริกัน ในปี 2512 บริษัทได้บุกเบิกกิจการฟาร์มโคเนื้อจนถึงปี 2519 ฟาร์มโชคชัยประสบปัญหาการผลิต ทำให้ผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจโคนม …

ชวนมาเบิ่ง! บริษัทเหล่านี้ดําเนินกิจการมากี่ปี ปัจจุบันถึงมีรายได้มากสุดของจังหวัดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ตัวอย่าง พระพุทธรูปไม้ ทั้ง 7 ปางในอีสาน

พามาเบิ่งตัวอย่าง พระพุทธรูปไม้ ทั้ง 7 ปางในอีสาน . พระพุทธรูปไม้ในภาคอีสานเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงความศรัทธาและฝีมือของบรรพบุรุษไทย การแกะสลักพระพุทธรูปจากไม้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า แต่ยังเป็นการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ ในบทความนี้ เราจะพาท่านไปทำความรู้จักกับพระพุทธรูปไม้ทั้ง 7 ปางที่พบในภาคอีสาน ซึ่งแต่ละปางมีความหมายและประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ   ปางพิศดารปาง: เป็นอิริยาบถที่พระพุทธองค์เสด็จไปยังสำนักงานชฏิล บริวารริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธองค์สามารถเสด็จจงกรมอยู่ได้ในกลางแจ้งท่ามกลางสายฝนโดยไม่เปียก ทำให้คนทั้งหลายยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ ปางนี้สะท้อนถึงพลังอำนาจและความเมตตาของพระพุทธเจ้าในการโปรดสัตว์   ปางห้ามญาติ: แสดงถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปห้ามสงครามการแย่งน้ำระหว่างพระญาติฝ่ายพระบิดา (กษัตริย์ชาวศากยะ) กับพระญาติฝ่ายพระมารดา (กษัตริย์ชาวโกลิยะ) พระพุทธรูปไม้ปางห้ามญาติพบในภาคอีสานจำนวนเพียง 5 องค์เท่านั้น สะท้อนถึงความหายากและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของปางนี้   ปางประทับยืน:เป็นอิริยาบถที่พระพุทธองค์เสด็จออกโปรดสัตว์ ณ หน้ามุขพระคันธกุฏิ หรือบางครั้งอาจเป็นปางประทับยืนบำเพ็ญสมาธิ ปางนี้แสดงถึงความพร้อมในการเผยแผ่ธรรมและความสงบในจิตใจของพระพุทธเจ้า   ปางพิจารณาชราธรรม: แสดงถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษา ณ บ้านเวฬุวคาม ในพรรษานั้นพระองค์ทรงประชวรหนัก แต่สามารถขับไล่พยาธิทุกข์ให้ระงับลงด้วยอิทธิบาทภาวนา ปางนี้สอนให้เราตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิตและการพิจารณาธรรมเพื่อความหลุดพ้น   ปางสมาธิราบ (ปางตรัสรู้): เป็นอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา โดยพระหัตถ์ขวาจะวางทับพระหัตถ์ซ้าย ปางนี้พบมากเป็นอันดับสองรองจากปางมารวิชัย โดยพบถึง 180 องค์ในภาคอีสาน แสดงถึงความสำคัญของการบำเพ็ญสมาธิและการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า   ปางมารวิชัย: เหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะมารผจญ โดยประทับนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ นิ้วชี้พระแม่ธรณีเป็นพยานในการเอาชนะมาร บางครั้งเรียกว่าปางสะดุ้งมาร ปางนี้นิยมทำเป็นพระประธานในโบสถ์ และพบมากที่สุดในภาคอีสานถึง 1,243 องค์ จากพระไม้ทั้งหมด 1,669 องค์   ปางนาคปรก: พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคที่ขนดแวดล้อมพระกาย ปางนี้สะท้อนถึงการปกป้องและความสงบสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม   พระพุทธรูปไม้ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของความศรัทธา แต่ยังเป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนถึงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของช่างไม้ในอดีต ในปัจจุบันมีการรวบรวมและจัดแสดงพระพุทธรูปไม้ในพิพิธภัณฑ์และวัดต่างๆ ในภาคอีสาน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมนี้สืบไป . ที่มา: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #วิถีไทบ้าน #ISANCulture #พระพุทธรูปไม้  #พระพุทธรูปในภาคอีสาน #พระพุทธรูปไม้ในภาคอีสาน #พระพุทธรูป #พระพุทธรูปไม้ #ศาสนาพุทธ #องค์พระปฎิมา

ทำไมโคราช ถึงถูกเสนอให้เป็น เมืองหลวงแห่งที่ 2 ในวันที่ กรุงเทพฯ อาจจมบาดาล

โคราช ถูกเสนอเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 หลังถูกพูดถึงอีกครั้ง ในการประชุมแก้ปัญหาวิกฤต กทม. เมืองหลวงที่กำลังจะจมน้ำจากภาวะโลกร้อน หลังจากมีข่าว กระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และ สรุปผลการพิจารณาข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ แยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ในส่วนของแผนการจัดน้ำที่ดี กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่รองรับน้ำและกักเก็บน้ำเพิ่มเติมสำหรับแผนการจัดการน้ำในระยะกลางแล้ว และได้ดำเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ซึ่งเป็นอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่แล้ว 4 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 4 แห่ง และมีแผนสร้างคันกั้นน้ำด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเพื่อการจัดการน้ำในระยะยาวอีกด้วย ในส่วนของโครงสร้างการป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงสร้างแบบแข็ง (เขื่อนกันคลื่น/กำแพงกันคลื่น) และแบบอ่อน (เนินทราย/ป่าชายเลน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดสมุทรสาคร และกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลียทางด้านวิชาการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะระบบระบายน้ำ การย้ายเมืองหลวง จากกรุงเทพมหานครไป จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่า การการย้ายเมืองหลวงจะต้องมีการทำประชามติ และประเมินผลกระทบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการและการจ้างงาน และกระทบต่อวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชน ดังนั้น การสร้างแนวป้องกันกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือดำเนินการเพิ่มเมืองศูนย์กลาง ระดับภาคและศูนย์กลางรองระดับภาคเพื่อสร้างสมดุลให้แก่ระบบเมืองของประเทศ น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า ความเหมาะสมของจังหวัดนครราชสีมา ที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมือง และกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการศึกษาและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้ว เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาด้านทรัพยากรน้ำในทุกมิติให้เกิดความมั่นคงและความสมดุลกับความต้องการน้ำในอนาคต และศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงของประเทศอื่นเป็นแนวทางและเทียบเคียงด้วย การศึกษาในเรื่องน้ำทะเลที่สูงขึ้นอันเกิดจากภาวะโลกร้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการศึกษา เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เช่น การจัดทำ Sea barrier ได้แก่ การพัฒนาเขื่อน ประตูกั้นปากแม่น้ำ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำทะเล รวมทั้งการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาแนวทางการป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา และการศึกษาการคาดการณ์อนาคต ระดับน้ำที่สูงขึ้นในแต่ละช่วงปี เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาให้เกิดความครอบคลุมและควรศึกษาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและปัญหาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นว่า ควรมีการจัดทำฉากทัศน์ เพื่อเปรียบเทียบ สถานการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางเลือกและผลได้ผลเสียเปรียบเทียบ และควรศึกษาผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นให้รอบคอบเพื่อกำหนดแผนป้องกัน แก้ไข และการจัดการแบบปรับตัว (Adaptive Management) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาในการออกแบบอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่า ควรมีการศึกษาการออกแบบอาคารใหม่ และการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เดิมแบ่งตามประเภทอาคารที่ใช้งานรวมถึงขนาดและความสูงของอาคาร ควรมีการปรับปรุง Rule Curve ของแต่ละอาคารบังคับน้ำและอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งควรเตรียมการด้านกฎหมายและการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ควบคู่กันไป และควรมีการปรับกฎหมายสิ่งก่อสร้างให้สอดรับกับการปรับโครงสร้างอาคารสถานที่ อย่างไรก็ตามหลังจากที่ประชุมครม.ได้มีมติรับทราบผลการพิจารณา เรื่อง ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของประเทศไทย หรือการสร้างแนวป้องกันกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ประสบปัญหากำลังจะจมบาดาล เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนจากนี้จะแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบตามขั้นตอนต่อไป ล่าสุด 4/2/2568 : ครม.รับฟังข้อเสนอ เมืองหลวงแห่งที่ 2 หนีวิกฤตกรุงเทพฯ จมน้ำ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัฐบาลได้มีการพิจารณาหาทางออกอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในแนวคิดที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือ การย้ายเมืองหลวงไปที่จังหวัดนครราชสีมา หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “โคราช” ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยรวบรวมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งเมืองหลวงแห่งที่ 2 …

ทำไมโคราช ถึงถูกเสนอให้เป็น เมืองหลวงแห่งที่ 2 ในวันที่ กรุงเทพฯ อาจจมบาดาล อ่านเพิ่มเติม »

จีนลงทุนในไทย อุตสาหกรรมไหนกำลังมาแรง

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของจีนในไทยในหลายด้าน ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ผลกระทบเชิงบวก การย้ายฐานการผลิต: สงครามการค้าทำให้บริษัทจีนหลายแห่งตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีที่สูงขึ้นจากสหรัฐฯ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตนี้ เนื่องจากมีปัจจัยดึงดูดหลายประการ เช่น ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ โครงสร้างพื้นฐานที่ดี แรงงานที่มีฝีมือ และนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่น่าดึงดูด การลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่: บริษัทจีนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในประเทศไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย การขยายตลาด: บริษัทจีนใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับประเทศไทย ผลกระทบเชิงลบ การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น: การเข้ามาลงทุนของบริษัทจีนอาจทำให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นกับธุรกิจไทย โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: การลงทุนบางโครงการอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยมลพิษ หรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยั่งยืน การพึ่งพาการลงทุนจากจีนมากเกินไป: ประเทศไทยอาจพึ่งพาการลงทุนจากจีนมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงในอนาคต หากความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไป ไทยอาจโดนผลพวงจากการกีดการการค้าและการขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ: โดยสหรัฐฯ จะใช้ข้ออ้างที่จีนย้ายการลงทุนมาไทยเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ และสินค้าดั่งเดิมที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทยอาจได้รับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้า แนวทางการรับมือ รัฐบาลไทยควรมีนโยบายที่รอบคอบและระมัดระวังในการรับมือกับผลกระทบจากสงครามการค้า และการลงทุนของจีน โดยมีแนวทางดังนี้: ส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณภาพ: รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุน SMEs ไทย: รัฐบาลควรให้การสนับสนุน SMEs ไทยในการแข่งขันกับบริษัทจีน เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพัฒนาเทคโนโลยี และการตลาด กระจายความเสี่ยง: รัฐบาลควรส่งเสริมการลงทุนจากหลากหลายประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาการลงทุนจากจีนมากเกินไป สร้างความร่วมมือ: รัฐบาลควรสร้างความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพื่อรับมือกับความท้าทายจากสงครามการค้าและการลงทุนจากจีน สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ทำให้มองเห็นช่องทางการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรป เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีสินค้าจีนที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่สมัยที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก ไทยเป็น 1 ในประเทศที่มีการพึ่งพาสินค้าจากจีนสูง โดยที่ผ่านมาไทยมีการนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสัดส่วนการพึ่งพาสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนสงครามการค้า ส่งผลให้จีนมองเห็นโอกาสในการขยายฐานการผลิตออกมาในไทย เพื่อลดต้นทุนและตอบสนองความต้องการของสินค้าจีนที่มีมากในตลาด ประเทศไทยเนื้อหอม ดึงดูดนักลงทุนจีน ตั้งโรงงานผลิตในไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของนักลงทุนจากจีน ที่ต้องการขยายฐานการผลิตและกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ประเทศไทยน่าสนใจสำหรับนักลงทุนจีน ได้แก่ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ ประเทศไทยตั้งอยู่ในใจกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การลงทุนในไทยช่วยให้บริษัทจีนสามารถเข้าถึงตลาดในภูมิภาคนี้ได้ง่ายขึ้น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาอย่างดี เช่น ถนน ท่าเรือ สนามบิน และระบบไฟฟ้า ซึ่งเอื้อต่อการขนส่งสินค้าและการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ แรงงานที่มีฝีมือและค่าแรงที่เหมาะสม ประเทศไทยมีแรงงานที่มีฝีมือและมีทักษะหลากหลายสาขาอาชีพ นอกจากนี้ ค่าแรงในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค นโยบายส่งเสริมการลงทุนที่น่าดึงดูด รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เช่น การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี และการอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งธุรกิจ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับจีน ไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจีนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย . การลงทุนจากจีนในโรงงานของไทยรวมไปถึงการตั้งโรงงานของจีน มักจะกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมที่จีนได้เปรียบและไทยมีการพึ่งพาสินค้าจากจีนสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากจีนและข้อมูลการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของไทย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก …

จีนลงทุนในไทย อุตสาหกรรมไหนกำลังมาแรง อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ปี 2568 อบจ.อีสาน ได้รับงบประมาณเท่าไร?

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาล ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในรูปแบบเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ภายในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างชุมชนท้องถิ่น เสริมสร้างรายได้ให้แก่หน่วยงาน และเป็นกลไกในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่ท้องถิ่น หลังการเลือกตั้งนายกและสมาชิก อบจ. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา อีสานอินไซต์ จึงขอนำเสนอ ข้อมูลการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2568 ของ อบจ. แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน พร้อมชวนดูประเด็นที่น่าสนใจ อบจ.นครราชสีมา ยังคงเป็นผู้ได้รับงบประมาณสูงสุดที่ 2,417,148,800 บาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน โดย 68% ของงบประมาณถูกจัดสรรไปยังด้านการศึกษา ตามมาด้วย อบจ.ขอนแก่น ที่ได้รับงบประมาณ 1,498,012,800 บาท เพิ่มขึ้น 7% โดย 48% เป็นงบบริหารจัดการ ในส่วนของอันดับ 3-20 ได้แก่ อบจ.ศรีสะเกษ 1,381,533,200 บาท  เพิ่มขึ้น 5% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 63% อบจ.มหาสารคาม 970,081,400 บาท  เพิ่มขึ้น 15% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 42% อบจ.ชัยภูมิ 933,079,500 บาท  เพิ่มขึ้น 9% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 62% อบจ.ร้อยเอ็ด 851,729,300 บาท  เพิ่มขึ้น 2% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 67% อบจ.อุบลราชธานี 803,190,000 บาท เพิ่มขึ้น 15% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 54% อบจ.สกลนคร 760,993,900 บาท  เพิ่มขึ้น 3% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 62% อบจ.กาฬสินธุ์ 722,528,600 บาท  เพิ่มขึ้น 10% ส่วนใหญ่เป็นด้านการศึกษา 55% อบจ.มุกดาหาร 358,615,800 บาท  เพิ่มขึ้น 13% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 77% อบจ.หนองบัวลำภู 353,781,300 บาท  เพิ่มขึ้น 8% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 69% อบจ.อำนาจเจริญ 323,363,000 บาท  เพิ่มขึ้น 13% ส่วนใหญ่เป็นด้านบริหารจัดการ 69% อบจ.อุดรธานี 314,878,500 บาท เพิ่มขึ้น 4% ส่วนใหญ่เป็นด้านศึกษา 56% อบจ.เลย 296,701,500 บาท …

พามาเบิ่ง ปี 2568 อบจ.อีสาน ได้รับงบประมาณเท่าไร? อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “เงินเทอร์โบ” ธุรกิจสินเชื่อที่สร้างรายได้กว่า 2 พันล้าน เตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 68

บริษัท เงินเทอร์โบ จำกัด (มหาชน) หรือ TURBO ให้บริการสินเชื่อภายใต้การกำกับของ ธปท. ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ ภายใต้ชื่อทางการค้า “เงินเทอร์โบ” ซึ่งหุ้นในกลุ่มสินเชื่อแม้ปีที่ผ่านมาจะเผชิญกับความปั่นป่วนทั้วภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก และดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนในการระดมเงินทุน อยู่ในระดับที่สูงมาก  แต่เมื่อดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ทำให้โอกาสทางธุรกิจดูเปิดกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ เงินเทอร์โบ มีที่ปรึกษาทางการเงิน คือ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) โดยจะเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน ไม่เกิน 537,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20.1% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ ออกและชำระแล้วทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย (1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 447,780,000 หุ้น (2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด จำนวนไม่เกิน 89,220,000 หุ้น    “เงินเทอร์โบ” ผู้เล่นตลาดสินเชื่อรายย่อย ที่ตัดสินใจกระโดดเข้ามาท้าชิงส่วนแบ่ง ‘เค้กก้อนโต’ จากคู่แข่งในสนามเดียวกัน เพราะเชื่อในการทำธุรกิจที่นึกถึงเบื้องลึกคนรากหญ้า การพัฒนาบุคลากร และตั้งใจคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง   “เงินเทอร์โบ” มีผลประกอบการ 3 ปี โตเกินเท่าตัวทุกปี ชูจุดเด่นเข้าใจความต้องการของลูกค้า สร้างกระแสการแนะนำปากต่อปาก เตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 2568 เสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ขยายบริการครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อแตะหมื่นล้านภายในปีหน้าเปิดครบ 3,000 สาขา   ผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี ปี 2564 รายได้รวม 1,036 ล้านบาท กำไรรวม 96 ล้านบาท ปี 2565 รายได้รวม 1,807 ล้านบาท กำไรรวม 447 ล้านบาท ปี 2566 รายได้รวม 2,211 ล้านบาท กำไรรวม -48 ล้านบาท   จากข้อมูลผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลัง จะเห็นได้ว่า บริษัทมีอัตราการเติบโตที่ดีมาก โดยเฉพาะรายได้ รวมถึงฐานลูกค้า และจำนวนสาขามาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยปี 66 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้โตขึ้นกว่า 22.3% จากปี 65    ทั้งนี้ ผลประกอบการของบริษัทถือว่ามีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปัจจัยสำคัญในเรื่องของการให้บริการที่มีความรวดเร็ว จริงใจ ให้เกียรติ ตรงไปตรงมา สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด สามารถรับเงินได้ทันที ซึ่งมีผลทำให้บริษัทมีอัตราการเติบโตของธุรกิจ …

พามาฮู้จัก “เงินเทอร์โบ” ธุรกิจสินเชื่อที่สร้างรายได้กว่า 2 พันล้าน เตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 68 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top