พามาเบิ่ง🚆🧑‍🤝‍🧑การใช้บริการรถไฟในภาคอีสานบ้านเฮา!

โดยมาจากข้อมูลที่เรารวบรวมมาของแต่ละชั้นโดยสารนั่นเอง

ตัวเลขปี 2566 จำนวนผู้โดยสารทั่วราชอาณาจักร 27,793,349 คน

  • จำนวนผู้โดยสารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,638,326 คน หรือคิดเป็น 16.69%

จำนวนรายได้ทั่วราชอนาจักร 1,314,315,394 บาท

  • จำนวนรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 180,468,940 บาท หรือคิดเป็น 13.48%

โดยแบ่งผู้โดยสารในภาคอีสานทั้ง 3 ชั้นได้ดังนี้

ชั้น 1 รวม 14,496
รายได้รวม 5,713,800 ไปอย่างเดียว 13,417
ไป-กลับ 1,079
ชั้น 2 รวม 532,960
รายได้รวม 83,336,352 ไปอย่างเดียว 499,173
ไป-กลับ 33,787
ชั้น 3 รวม 4,090,870
รายได้รวม 91,418,788 ไปอย่างเดียว 3,415,406
ไป-กลับ 158,458
รายเดือน 517,006

หมายเหตุ: ข้อมูลที่นำมาแสดงมาจากปี 2566 และรายได้ที่นำมาแสดงมาจากรายได้โดยสารจากทั้ง 3 ชั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับรายได้อื่นๆ ทั้งสิ้น

.

รถไฟเป็นหนึ่งในตัวเลือกการเดินที่คนเลือกใช้ทั้งระยะใกล้และไกล รวมถึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องมาจากความมีเสน่ห์ สะดวก ปลอดภัย ค่าโดยสารที่ราคาสามารถจับต้องได้ และเปิดโอกาสให้ผู้โดยสารได้สัมผัสบรรยากาศระหว่างทาง ในปัจจุบันมีวิธีการเที่ยวผ่านทางรถไฟเยอะขึ้น นั้นจึงเป็นเสน่ห์หลักๆของการใช้บริการรถไฟ

.

จากการหาข้อมูลทำให้รู้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการใช้บริการรถไฟเป็นอันดับที่ 2 จาก 4 ภูมิภาคหลักของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของระบบขนส่งทางรางในพื้นที่นี้ และหวังว่าในอนาคตประเทศไทยจะทำรางรถไฟเพิ่ม เพื่อจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต โดยการให้บริการที่มีคุณภาพและเส้นทางที่เชื่อมต่อได้ง่ายจะเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารอย่างมาก

ลำดับการเปิดใช้รถไฟในภาคอีสาน

หลังจากสร้างทางรถไฟสายอีสาน เศรษฐกิจ สังคมอีสานเปลี่ยนไปอย่างมาก

ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นทางรถไฟสายแรกของรัฐบาลไทย ความคาดหวังของรัฐบาลที่จะเห็นประโยชน์อันเกิดจากการสร้างทางรถไฟสายนี้ จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างทางรถไฟสายแรกนี้สรุปได้ 2 ประการ คือ 1. เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งผู้คนและสินค้า 2. เพื่อประโยชน์ในการปกครองและรักษาพระราชอาณาเขต (ขณะฝรั่งเศสได้ยึดครองเขมร, เวียดนาม แล้วก็พุ่งมาที่ลาวจนไทยต้องเสียสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2431 และเริ่มเข้าสู่ดินแดนลาวส่วนที่เหลือ)

สถานีรถไฟในปัจจุบัน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 

การลงทุนในระบบรางรถไฟมีข้อดีต่อเศรษฐกิจ

ในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้:

1. ลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์

  • ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า: รถไฟสามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมากต่อครั้ง ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภค
  • ลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวม: ระบบรางที่มีประสิทธิภาพช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ทำให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. กระตุ้นการลงทุนและการจ้างงาน

  • การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน: โครงการก่อสร้างและพัฒนาระบบรางรถไฟต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม
  • การจ้างงาน: การก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบรางรถไฟ รวมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง จะสร้างงานจำนวนมากในหลากหลายสาขาอาชีพ

3. ส่งเสริมการท่องเที่ยว

  • การเดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว: รถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟที่เชื่อมต่อเมืองต่างๆ ช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
  • การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว: ระบบรางช่วยให้การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ง่ายขึ้น ทั้งแหล่งท่องเที่ยวในเมืองและนอกเมือง

4. พัฒนาพื้นที่รอบสถานี

  • การขยายตัวของเมือง: สถานีรถไฟมักเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองและชุมชนรอบๆ สถานี
  • การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์: พื้นที่รอบสถานีรถไฟมักมีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า

5. ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  • ลดการใช้พลังงาน: รถไฟใช้พลังงานน้อยกว่าการขนส่งทางถนน ทำให้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศ
  • ลดปัญหาการจราจร: การใช้รถไฟช่วยลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและมลพิษ

6. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  • โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย: ระบบรางรถไฟที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
  • การเชื่อมโยงภูมิภาค: ระบบรางที่เชื่อมโยงเมืองต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้าน ช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาค

 

.

ที่มา:

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #Politics #Social #รถไฟ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *