พามาเบิ่ง ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน (NeEC)

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NeEC ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และนครราชสีมา จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ (NeEC-Bioeconomy) ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต ในระยะแรกมุ่งเน้นการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมชีวภาพ และ 2) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้หลากหลายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพและอุตาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้เทคโนโลยีมัยใหม่ และพัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ นอกจากนี้ การพัฒนา NeEC จะช่วยกระจายความเจริญสู่พื้นที่สร้างอัตลักษณ์ให้พื้นที่ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้

 

ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด NeEC ปี 2565 มีมูลค่า 719,693 ล้านบาท มีสัดส่วนถึง 41% ของ GRP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็น 4.1% ของ GDP อัตราการขยายตัวของ GPP กลุ่ม NeEC มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4 จากปีก่อนหน้า (ปี 2564) และมีรายได้ต่อหัวของกลุ่มจังหวัด NeEC 115,424 บาท 

 

สำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม NeEC ประกอบด้วย

ภาคการเกษตร ที่มีมูลค่า 104,607 ล้านบาท (คิดเป็น 15% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ถึงแม้ภาคเกษตรจะมีสัดส่วนน้อยกว่านอกภาคเกษตร แต่ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมแปรรูป การส่งเสริมการเกษตรสมัยใหม่และการแปรรูปสินค้าเกษตร จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

นอกภาคการเกษตรมูลค่า 615,085 ล้านบาท (คิดเป็น 85% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ได้แก่

ภาคการบริการ เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งมีมูลค่า 294,730 ล้านบาท (คิดเป็น 41% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคบริการเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจบริการในพื้นที่ เช่น การท่องเที่ยว การค้าปลีก-ส่ง และบริการด้านสุขภาพ การเติบโตของภาคบริการอาจสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจจากภาคเกษตรสู่ภาคบริการ

ภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่า 226,959 ล้านบาท (คิดเป็น 32% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานชีวภาพ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ

ภาคการค้า มีมูลค่า 93,396 ล้านบาท (คิดเป็น 13% ของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด) ภาคการค้ามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดน จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของภาคการค้าในพื้นที่ การค้าชายแดนมีศักยภาพในการเติบโตสูง เนื่องจาก NeEC ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และศุลกากร จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมการเติบโตของการค้าชายแดน

 

กำลังแรงงาน (Work Force)

แรงงานเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเศรษฐกิจของครัวเรือน สำหรับกลุ่ม NeEC มีกำาลังแรงงานรวมหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน อยู่ที่ 3,065,269 คน คิดเป็น 7.6% ของกำลังแรงงานรวมทั่วประเทศ และคิดเป็น 31.3% ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบว่าแนวโน้มของกำลังแรงงานรวมในกลุ่ม NeEC นั้นลดลง

 

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า มูลค่าเงินทุนจดทะเบียนธุรกิจในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษมีมูลค่ากว่า 347,711 ล้านบาท ดังนี้

📍นครราชสีมา มีนิติบุคคลจำนวน 16,429 ราย และทุนจดทะเบียนกว่า 195,156 ล้านบาท

📍ขอนแก่น มีนิติบุคคลจำนวน 12,695 ราย และทุนจดทะเบียนกว่า 98,074 ล้านบาท

📍อุดรธานี  มีนิติบุคคลจำนวน 7,869 ราย และทุนจดทะเบียนกว่า 44,269 ล้านบาท

📍หนองคาย มีนิติบุคคลจำนวน 2,482 ราย และทุนจดทะเบียนกว่า 10,212 ล้าน

 

มูลค่าเงินทุนจดทะเบียนธุรกิจในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4 จังหวัดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของการลงทุนและศักยภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดได้อย่างชัดเจน นครราชสีมาและขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นในด้านการลงทุนและธุรกิจ ส่วนอุดรธานีและหนองคายมีศักยภาพในการเติบโต โดยเฉพาะในด้านการค้าชายแดนและการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การที่รัฐบาลมีโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองคาย ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน 4 จังหวัดนี้มากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต

 

ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มการลงทุน วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และกำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนในแต่ละจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

อ้างอิงจาก:

– เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย พ.ศ. 2566 

– สำนักงานสถิติแห่งชาติ

– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่

https://linktr.ee/isan.insight

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน #ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ #NeEC #เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top