สรุปเรื่องน่าฮู้ เกี่ยวกับ “ศรีสะเกษ” ดินแดนแห่งขอมโบราณ
จังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดพื้นที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 1,454,730 คน และในปี 2564 จังหวัดศรีสะเกษมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 78,658 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 83,332 บาท โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME – ภาคการบริการ คิดเป็น 51% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร มีผู้ประกอบการอยู่ 2,994 ราย – ภาคการเกษตร คิดเป็น 28% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ มีผู้ประกอบการอยู่ 1,133 ราย – ภาคการค้า คิดเป็น 12% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ ร้านขายของชำ มีผู้ประกอบการอยู่ 10,036 ราย – ภาคการผลิต คิดเป็น 10% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การสีข้าว มีผู้ประกอบการอยู่ 2,955 ราย ตัวอย่างสินค้า IG ของจังหวัด ได้แก่ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง หอมแดงศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ และครุน้อยบ้านสะอางศรีสะเกษ ข้อมูลสะสมมกราคม – สิงหาคม ปี 2566 การค้าชายแดนของจังหวัดศรีสะเกษกับกัมพูชา โดยมีมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 1,012 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอส์ น้ำผลไม้ และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง และมีมูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 20,291 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่มีการนำเข้ามากที่สุด คือ ผลไม้และของปรุงแต่งจากผลไม้ ผักและของปรุงแต่งจากผัก และกาแฟ ชา เครื่องเทศ ตัวอย่างโบราณสถานสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน) โบราณสถานแบบขอมแห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลัง ปราสาทแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวนของเขมร และต่อมาได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง จากความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนที่ว่าบุคคลใดที่มีความเดือดร้อนมาบนบาน ก็จะได้สมดังปรารถนา จึงมีผู้แวะเวียนมากราบไหว้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงมีการริเริ่มจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุ โดยจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ปราสาทปรางค์กู่ สร้างเมื่อสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สมัยขอมเรืองอำนาจ สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อใช้เป็นสถาน “อโรคยาศาล” หรือสถานีอนามัยเพื่อรักษาคนป่วย …
สรุปเรื่องน่าฮู้ เกี่ยวกับ “ศรีสะเกษ” ดินแดนแห่งขอมโบราณ อ่านเพิ่มเติม »