สรุปเรื่องน่าฮู้ เกี่ยวกับ “ศรีสะเกษ” ดินแดนแห่งขอมโบราณ

จังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดพื้นที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 1,454,730 คน และในปี 2564 จังหวัดศรีสะเกษมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 78,658 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 83,332 บาท

โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME
– ภาคการบริการ คิดเป็น 51% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร มีผู้ประกอบการอยู่ 2,994 ราย
– ภาคการเกษตร คิดเป็น 28% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ มีผู้ประกอบการอยู่ 1,133 ราย
– ภาคการค้า คิดเป็น 12% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ ร้านขายของชำ มีผู้ประกอบการอยู่ 10,036 ราย
– ภาคการผลิต คิดเป็น 10% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การสีข้าว มีผู้ประกอบการอยู่ 2,955 ราย

ตัวอย่างสินค้า IG ของจังหวัด ได้แก่ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง หอมแดงศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ และครุน้อยบ้านสะอางศรีสะเกษ

ข้อมูลสะสมมกราคม – สิงหาคม ปี 2566 การค้าชายแดนของจังหวัดศรีสะเกษกับกัมพูชา

โดยมีมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 1,012 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอส์ น้ำผลไม้ และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง

และมีมูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 20,291 ล้านบาท โดย 3 อันดับสินค้าที่มีการนำเข้ามากที่สุด คือ ผลไม้และของปรุงแต่งจากผลไม้ ผักและของปรุงแต่งจากผัก และกาแฟ ชา เครื่องเทศ

ตัวอย่างโบราณสถานสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ
📍ปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน)
โบราณสถานแบบขอมแห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลัง ปราสาทแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวนของเขมร และต่อมาได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง จากความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนที่ว่าบุคคลใดที่มีความเดือดร้อนมาบนบาน ก็จะได้สมดังปรารถนา จึงมีผู้แวะเวียนมากราบไหว้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงมีการริเริ่มจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุ โดยจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

📍ปราสาทปรางค์กู่
สร้างเมื่อสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สมัยขอมเรืองอำนาจ สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อใช้เป็นสถาน “อโรคยาศาล” หรือสถานีอนามัยเพื่อรักษาคนป่วย ในสภาพที่ล้อมรอบด้วยสระน้ำ ซึ่งสภาวัฒนธรรมตำบลกู่ได้มีการสร้างทับหลังจำลอง ความกว้างเท่าของจริงมาตั้งไว้บนฐานด้านหน้าตัวปราสาทเพื่อให้ผู้คนที่มาเที่ยวชมได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป และปราสาทปรางค์กู่นั้นยังเป็นสถานที่ที่ชุมชนชาวกูยให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง หากมีกิจกรรมในหมู่บ้าน หรือศาสนพิธีต่างๆ ก็จะมีการนำเครื่องเซ่นไหว้มาบอกกล่าวที่ปราสาทปรางค์กู่ให้รับทราบ ซึ่งชาวกูยบ้านกู่ได้สมมติชื่อวิญญาณที่สิงสถิต ณ ปราสาทกู่ว่า “ปู่พัทธเสน” และใช้เรียกขานชื่อนี้ในการเซ่นไหว้ตลอดมา ปรางค์กู่เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเป็นพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525

📍ปราสาทสระกำแพงใหญ่
เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด ปัจจุบันปราสาทแห่งนี้อยู่ในความดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร และได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น ทับหลังจำหลักภาพศิวะนาฏราช พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ และยังพบพระพุทธรูปนาคปรก พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพิมพ์ดินเผา ฯลฯ จากหลักฐานลวดลายที่ปรากฏบนหน้าบันไดทับหลัง และโบราณวัตถุต่างๆ โดยเฉพาะจารึกที่อยู่บริเวณประตูปราสาทสระกำแพงใหญ่ สันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะขอมแบบบาปวน เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

อ้างอิงจาก:
– สำนักงานสถิติแห่งชาติ
– สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
– กระทรวงพาณิชย์
– กรมทรัพย์สินทางปัญญา
– กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#Business #Economy #ISAN #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ#ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #จังหวัดศรีสะเกษ#ศรีสะเกษ

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top