โอ้ละนอ… สิพามาเบิ่ง ตัวอย่าง คณะหมอลำ แห่งภาคอีสาน

หมอลำพื้น เป็นหนึ่งใน “มรดกวัฒนธรรมอีสาน” และเป็นจุดกำเนิดของการแสดง หมอลำ อันลือลั่นแห่งภาคอีสาน สร้างเศรษฐกิจให้กับผู้มีพรสวรรค์และฝึกฝน ตั้งเป็นคณะหมอลำมีชื่อเสียง รับงานแสดงไม่เว้นแต่ละวัน สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนอื่นๆ ที่รวมกันเป็นคณะหมอลำ
คุณอาทิตย์ กระจ่างศรี อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เชี่ยวชาญซึ่งศึกษาประวัติความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมการแสดงหมอลำของภาคอีสาน กล่าวว่า หมอลำ อยู่กับวิถีชีวิตคนอีสานมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันแยกเป็น “หมอลำพิธีกรรม” เช่น หมอลำผีฟ้า และ “หมอลำบันเทิง” เช่น ลำเพลิน ลำเต้ย ลำเรื่องต่อกลอน ลำซิ่ง ล้วนมีจุดกำเนิดจาก “หมอลำพื้น”
คำว่า “หมอลำ” ซึ่งหมายถึงผู้ร้องเพลงและมีการร่ายรำ แต่ใช้พยัญชนะ ล.ลิง ในคำว่า “ลำ” แทนที่จะเป็น “รำ” ร.เรือ อาจารย์อาทิตย์กล่าวว่า เนื่องจากคำว่า “ลำ” ในภาษาถิ่นอีสานแปลว่า “การร้อง”
หมอลำ จึงหมายถึง ผู้มีความเชี่ยวชาญในการร้อง ขณะที่การร่ายรำเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การร้องมีความสุนทรีย์ในการรับฟังรับชมยิ่งขึ้น ถ้าสังเกตให้ดีในการแสดงหมอลำนั้น จุดเด่นอยู่ที่เสียงร้องที่ต้องน่าฟังและเล่าเรื่องได้น่าติดตาม
อ้างอิงจาก:
– trueID
– Morlamfestival
– กรุงเทพธุรกิจ
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top