Article

บทความ จากบทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ทั้ง ISAN Outlook และข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ รวบรวมให้คุณรู้ทันทุกข้อมูล เศรษฐกิจ การเมือง สังคม อีสาน

ต้องลองเด้อ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาฯ ตราศรีแสงดาว จ.ร้อยเอ็ด สินค้าเครื่องหมาย GI แรกที่บุกตลาดยุโรปได้

การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ นอกจากจะช่วยคุ้มครองผู้ผลิตในรูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา และผู้บริโภคในเรื่องของการการันตีคุณภาพจากแหล่งผลิตในท้องถิ่นนั้น ๆ แล้ว เครื่องหมาย GI โดยเฉพาะของสหภาพยุโรป ยังเป็นเครื่องมือทำการตลาดที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและศักยภาพในการแข่งขันให้สินค้าได้เป็นอย่างดี . เนื่องจากตลาดยุโรปนิยมและพร้อมจ่ายเงินเพิ่มสำหรับสินค้าที่มีจุดขายพิเศษ เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมถึงสินค้าที่มีความเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ทั้งในแง่ของคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะ เช่น เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ . ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในสหภาพยุโรป ทั้งสิ้น 4 รายการ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ กาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง และข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง . ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้เป็นสินค้าไทยชนิดแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI โดยสหภาพยุโรป เมื่อปี 2556 แต่นับจากนั้นก็ยังไม่มีการทำตลาดสินค้าชนิดนี้ในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม การเจรจาครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งแรกที่สินค้าไทยประทับตรา GI สหภาพยุโรป จะได้เปิดประตูสู่การค้าในตลาดโลกอย่างแท้จริง . โดยประเดิมประเทศแรกด้วยออสเตรีย และสินค้ารายแรกที่ประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจกับผู้นำเข้าออสเตรียจนขึ้นแท่นสินค้านำร่องคือ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ตราศรีแสงดาว จากจังหวัดร้อยเอ็ด . ซึ่งมีครบทั้งเครื่องหมายรวงข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ และเครื่องหมาย GI ของสหภาพยุโรป มีความพร้อมทั้งตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับรางวัล DEmark ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และรางวัลระดับโลกอย่าง Red Dot Design Award . ยิ่งไปกว่านั้น ข้าวศรีแสงดาวยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างโรงสีศรีแสงดาวกับชาวนาในพื้นที่ ซึ่งมีการนำนวัตกรรมนาหยอดเข้ามาใช้แทนการทำนาแบบดั้งเดิม ได้มีการศึกษาและพัฒนาร่วมกันจนกระทั่งสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ช่วยให้ชาวนามีผลกำไรมากขึ้น . ขณะนี้ มีการจับคู่ธุรกิจข้าวศรีแสงดาวกับผู้นำเข้าออสเตรียแล้ว 3 ราย ซึ่งครอบคลุม 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ . – ธุรกิจค้าส่งวัตถุดิบแก่ร้านอาหารในประเทศออสเตรีย ซึ่งมีแผนการขยายการค้าไปยังภูมิภาคยุโรปตะวันออก – ธุรกิจค้าปลีกระดับซูเปอร์พรีเมี่ยมซึ่งมีเครือข่ายทั่วประเทศ – แพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ซึ่งมีฐานลูกค้าตลาดบนทั่วยุโรป . สำหรับกลุ่มแรกจะมีการส่งมอบสินค้าในช่วงกลางปีนี้ และสองกลุ่มหลังกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาทางธุรกิจ . ทั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการปรับกลยุทธ์ในการส่งเสริมการส่งออกข้าวไทย จากเดิมที่เน้นเชิงปริมาณเป็นหลัก มาชูจุดเด่นเชิงคุณภาพเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาดยุโรปซึ่งไม่ได้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก แต่มีแนวโน้มบริโภคข้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงและนิยมสินค้าคุณภาพที่มีมาตรฐานสากลเป็นเครื่องรับรอง . นอกจากนี้ ยังเป็นก้าวสำคัญของการผลักดันสินค้าเกษตรของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลก และยกระดับให้แข่งขันได้ในราคาที่สูงกว่า ซึ่งหวังว่าจะได้รับการขยายผลไปยังสินค้าประเภทอื่น ๆ และตลาดอื่น ๆ ต่อไป . ที่มา : https://kku.world/du8mo . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ #GI #ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ฮู้จัก “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เมืองอุบลฯ

โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ถือเป็นต้นแบบที่จะเข้ามาแทนโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นการผลิตไฟฟ้าที่ผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นและยาวนานขึ้น พร้อมควบคุมด้วยระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ร่วมกับการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) เพื่อบริหารจัดการไฟฟ้าได้แม่นยำมากขึ้น . โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด แห่งแรกของไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก . กฟผ. ได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด จำนวน 16 โครงการทั่วประเทศ กำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) . นำร่องที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแห่งแรก มีกำลังผลิตติดตั้ง 45 เมกะวัตต์ นับเป็นโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์มากถึง 144,420 แผ่น ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือเทียบเท่าสนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม โดยมีกำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 . โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง . เป็นการใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Double Glass ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง และทนความชื้นได้ดี สามารถออกแบบวางชิดผิวน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 10-15% ใช้ทุ่นลอยน้ำเป็นทุ่นพลาสติก ชนิด High Density Poly Ethylene (HDPE) ผสม UV Protection ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับท่อส่งน้ำประปา และมีอายุการใช้งานนานกว่า 25 ปี . ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ประมาณ 47,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่าประมาณ 37,600 ไร่ รวมทั้ง การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ปกคลุมผิวน้ำยังช่วยลดการระเหยของน้ำได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศได้ถึง 730.62 พันล้าน BTU ต่อปี . กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนมีรายได้กว่า 30 ล้านบาท . ความท้าทายของการพัฒนาโครงการนี้ คือการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตั้งแต่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และคนงานเป็นคนในพื้นที่เป็นหลักถึง 80% ทั้งการจ้างเจ็ตสกีของชุมชน มาช่วยลากแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งในอ่างเก็บน้ำ การจ้างเรือหางยาวไว้รับส่งคนงาน และการจ้างแพท่องเที่ยวแบบมีหลังคาใช้เป็นที่พักคนงานกลางน้ำ . การบริหารคนงานก็ท้าทายไม่แพ้กัน เนื่องจากต้องใช้คนจำนวนมากทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงแรกในการก่อสร้างต้องใช้ประมาณ 300 – 600 คนต่อวัน ความปลอดภัยของสุขภาพกับคนงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ชุมชนมีรายได้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 กว่า 30 ล้านบาท . สร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ …

ฮู้จัก “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เมืองอุบลฯ อ่านเพิ่มเติม »

อุดรฯ แหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส่งออกอันดับ 1 ของอีสาน คัดส่ง 2,000 ตัน/ปี

นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองส่งออกอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ . เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกจำนวนมาก มีระบบการปลูกที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ส่งผลให้มะม่วงมีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน ลาว มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา . ทางด้าน นายบุญช่วย พัฒนชัย ประธานกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี คาดว่า ในช่วงฤดูการผลิตปี 2565 ระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. จะมีมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 หรือมะม่วงคัดเกรดส่งออกตลาดต่างประเทศได้ประมาณ 2,000 ตัน . ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จังหวัดอุดรธานี ปีที่ผ่านมา พบว่า มีพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองประมาณ 6,300 ไร่ ให้ผลผลิตรวม 6,000 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 900-1,000 กิโลกรัม/ไร่ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอำเภอหนองวัวซอ และกระจายอยู่ในอำเภอน้ำโสม วังสามหมอ กุมภวาปี . ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกมากกว่า 650 ราย ส่วนใหญ่มีการรวมกลุ่มผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ราคาต้นพันธุ์อยู่ที่ 30 – 60 บาท/ต้น เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะม่วงนอกฤดูเพื่อส่งออก เนื่องจากได้ราคาสูงกว่า ซึ่งจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2 เริ่มทำนอกฤดูในปีที่ 4 และสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 25 ปี) . ส่วนการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวทั้งหมด 3 รอบ คือ รอบที่ 1 ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม รอบที่ 2 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และรอบที่ 3 ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจังหวัดอุดรธานี มีผลผลิตจำหน่ายตลอดทั้งปี . ซึ่งหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เจ้าหน้าที่ของบริษัทส่งออกจะมารับผลผลิตถึงแหล่งผลิต โดยจะทำการคัดเกรดมะม่วงสำหรับส่งออกตลาดต่างประเทศและในประเทศ หลังจากคัดเกรดผลผลิตแล้วจะนำเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อ และบรรจุหีบห่อตามมาตรฐานการส่งออก . มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของ จังหวัดอุดรธานี ได้รับมาตรฐานรับรอง GAP ที่เป็นเครื่องการันตีและสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคได้ว่าผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน อีกทั้ง จังหวัดยังมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ดีไม่มีของเสีย (Zero Waste) ซึ่งผลผลิตทุกส่วนสามารถสร้างรายได้ทั้งหมดไม่เหลือทิ้ง ประกอบกับมีการส่งเสริมด้านการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ . อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด …

อุดรฯ แหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส่งออกอันดับ 1 ของอีสาน คัดส่ง 2,000 ตัน/ปี อ่านเพิ่มเติม »

ฮู้บ่? คนอีสานทั้งชอปและสร้างคอนเทนต์ ผ่าน TikTok มากกว่าคนกรุงเทพฯ

TikTok แพลตฟอร์มคลิปสั้นที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2559 และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ข้อมูลจาก RouteNote เดือนมกราคม 2565 เผยประเทศที่มีผู้ใช้งาน TikTok สูงสุด . อันดับ 1 สหรัฐฯ มีผู้ใช้งาน TikTok อยู่ที่ 120.8 ล้านคน อันดับ 2 อินโดนีเซีย มีผู้ใช้งาน TikTok อยู่ที่ 87.5 ล้านคน อันดับ 3 บราซิล มีผู้ใช้งาน TikTok อยู่ที่ 72.3 ล้านคน ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 7 มีผู้ใช้งาน TikTok จำนวน 35.6 ล้านคน . ทั้งนี้ เป็นการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก โดยสถิติแสดงให้เห็นว่า 85% ของคนไทยใช้สมาร์ทโฟนเพื่อความบันเทิง . คนอีสานมีส่วนร่วมกับสื่อออนไลน์มากแค่ไหน? . จากข้อมูลอินไซต์ของ TikTok Thailand พบว่า 84% ของคนอีสาน มีส่วนร่วมกับสื่อออนไลน์อย่างน้อย 1 สื่อต่อวัน ซึ่ง TikTok ก็อยู่ใน 3 อันดับแรกของแพลตฟอร์มที่พวกเขาเลือกใช้ในแต่ละวัน . และยังถือเป็นกลุ่ม Early Adopter หรือผู้ที่ชอบเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ อยากเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผู้ใช้ในกรุงเทพฯ . สอดคล้องกับผลสำรวจของ กสทช. ที่พบว่า พฤติกรรมผู้คนในอีสาน อยู่ในอันดับหนึ่งที่โลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ในขณะที่กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 3 สะท้อนถึงโอกาสของแบรนด์ที่จะให้พื้นที่ในการโฆษณาออนไลน์ เพื่อสื่อสารและโน้มน้าวให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีการตอบสนองกับแบรนด์ได้ . คนอีสานมีแนวโน้มที่จะสร้างคอนเทนต์บน TikTok มากกว่าคนกรุงเทพฯ 1.7 เท่า . TikTok ได้ทำการสำรวจเชิงลึกร่วมกับ Toluna พบว่า ผู้ใช้ในภาคอีสานใช้เวลาเกือบ 2.3 ชั่วโมง (138 นาที) บน TikTok ซึ่งมากกว่าเวลาเฉลี่ยของผู้ใช้ในกรุงเทพฯ และยังมีส่วนร่วมบน TikTok สูงมาก ไม่ว่าจะเป็น Like Share หรือ Comment . อีกทั้งผู้ใช้ในภาคอีสานมีแนวโน้มที่จะสร้างคอนเทนต์บน TikTok มากกว่า 1.7 เท่า และมีแนวโน้มที่จะคลิกโฆษณามากขึ้น 2 เท่า เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อเทียบกับผู้ใช้ในกรุงเทพฯ . ส่วนหมวดหมู่ยอดนิยม ได้แก่ …

ฮู้บ่? คนอีสานทั้งชอปและสร้างคอนเทนต์ ผ่าน TikTok มากกว่าคนกรุงเทพฯ อ่านเพิ่มเติม »

หนังย้อมครามธรรมชาติ “เครื่องหนังโพนยางคำ”

ออนซอนคัก จากองค์ความรู้สู่แฟชั่นสุดเก๋ หนังย้อมครามธรรมชาติ “เครื่องหนังโพนยางคำ” . . เมื่อพูดถึงโพนยางคำ จ.สกลนคร หลายคนมักนึกถึง “เนื้อโคขุนโพนยางคำ” เนื้อคุณภาพสูงที่เป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่ครั้งนี้เราจะพามารู้จักกับ “เครื่องหนังโพนยางคำ” เครื่องหนังย้อมด้วยสีครามธรรมชาติ ที่ทำมาจากเศษหนังที่เหลือจากกระบวนการผลิตโคเนื้อ . หยิบยกเอา ‘ภูมิปัญญา’ เพิ่มมูลค่าให้ ‘เศษหนัง’ . ด้วยภาวะการแข่งขันสูงของตลาดหนังโคในเอเชียที่มีคู่แข่งทั้งอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซีย ทำให้โอกาสการส่งออกหนังโคไปต่างประเทศน้อยลง มูลค่าจากเดิมหนังโคสด กิโลกรัมละ 70 บาท ลดลงมาอยู่ที่ราคา 10-15 บาท สำหรับราคาหนังโคในประเทศไทย . ทีมนักวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร จึงได้คิดโครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหนังโคขึ้น โดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเชี่ยวชาญด้านการย้อมสีครามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ . จากการนำหนังโคขุนโพนยางคำ มาย้อมครามสีธรรมชาติภายใต้สภาวะการย้อมที่เหมาะสม และได้ออกแบบ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้การย้อมหนังด้วยสีครามธรรมชาติ เทคนิคการตัดเย็บเครื่องหนัง ให้กับสมาชิกสหกรณ์โพนยางคำ . จุดเด่น คือ การย้อมสีครามธรรมชาติบนเครื่องหนัง จากองค์ความรู้ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมของสกลนคร . ในจังหวัดสกลนครมีการถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกต้นคราม การก่อหม้อ และการย้อมผ้าด้วยครามธรรมชาติกันมานาน การย้อมหนังก็เช่นกัน เป็นการย้อมสีครามธรรมชาติบนหนังโคในสภาวะที่เหมาะสม จากวัตถุดิบธรรมชาติเพื่อการเตรียมน้ำย้อมครามที่จะสามารถย้อมเครื่องหนังให้ได้สีคราม โดยทีมนักวิจัยได้ใช้เวลาพอสมควรในการหาสภาวะที่เหมาะสมนี้ . จากโบราณการย้อมผ้าครามต้องใช้เวลา 7-14 วัน ตั้งแต่การก่อหม้อจนได้สีครามและย้อมผ้าคราม พัฒนาให้สามารถใช้เวลาก่อหม้อเพียง 1 วัน ก็สามารถย้อมหนังโคได้ อีกทั้งยังได้เพิ่มกระบวนการง่าย ๆ เพื่อการสังเกตลักษณะทางเคมีและกายภาพของสีคราม ด้วยการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำย้อม (สูตรโบราณจะทำการทดสอบด้วยการชิมรสเค็มของน้ำย้อม) เพื่อการควบคุมคุณภาพของสีคราม . กว่าจะมาเป็น ‘กระเป๋าหนังสีคราม’ เย็บด้วยมืออย่างพิถีพิถัน ด้วยดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น . สีครามเป็นสีที่มีความเก่าแก่ มีความคงทน ติดทนนาน และเป็นสีที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งในจังหวัดสกลนคร ต้นคราม เป็น วัตถุดิบหลักที่หาพบได้ง่าย และเป็นที่นิยมในการปลูกจำนวนมาก กระเป๋าหนังที่สามารถย้อมสีครามได้ ต้องใช้เวลาในการค้นหาสภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีให้ติดทนนาน และสม่ำเสมอทั่วกัน . ส่วนขั้นตอนการตัดเย็บกระเป๋านั้น เป็นการเย็บด้วยมือและมีการดีไซน์อย่างมีเอกลักษณ์ คัดเลือกชิ้นหนังที่สวยงาม เหมาะสม พร้อมเทคนิคการตัดเย็บที่ละเอียดอ่อน ใช้ความชำนาญและพิถีพิถันในการทำ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ในการสร้างชิ้นงานแต่ละชิ้น . จากการใส่ใจธรรมชาติ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความตั้งใจผลิตชิ้นงานด้วยฝีมือ จึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า มีความเก๋ไก๋ ดูเท่ มีสไตล์ สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ และความสวยงามในวัฒนธรรมท้องถิ่น . . อ้างอิง: https://kku.world/gjdvj https://kku.world/beg8l https://kku.world/2et2s . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เครื่องหนัง #โพนยางคำ

เครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าว ลดการใช้น้ำ 30-50% รองรับชาวนายุคใหม่

สภาพอากาศที่ผันผวนจนเกิดความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม หรือน้ำแล้ง ล้วนมีผลกระทบต่อการบริหารต้นทุนน้ำของกรมชลประทาน และผลผลิตของเกษตรกร . ล่าสุด กรมชลประทานได้ร่วมมือกับกรมการข้าว และกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) วิจัยและพัฒนาเครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนา โดยใช้แปลงนาของกรมการข้าวเป็นโมเดล . ผลปรากฏว่า ตัวช่วยวัดระดับน้ำในนาข้าวสามารถเปลี่ยนการทำนาแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้น้ำประมาณ 1,200-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ เป็นการทำนาแบบแม่นยำ ซึ่งประหยัดน้ำได้ 30-50% . ทั้งนี้ การใช้เครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าวจะเหมาะกับการทำนาแบบรักษาระดับความชื้นของดิน (Saturated Soil) ซึ่งเป็นการให้น้ำแบบไม่มีน้ำท่วมขัง . หลักคือ หลังจากที่หว่านข้าวไปแล้ว 10 วัน จะเริ่มให้น้ำจนดินชุ่ม และให้อีกทีเมื่อดินเริ่มแห้ง โดยรักษาความชื้นแบบให้ดินอิ่มตัวเท่านั้น ทำแบบนี้ตลอดฤดูปลูก จนก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน จึงระบายน้ำออกจากแปลง . การพัฒนาครั้งนี้ นอกจากมุ่งหวังให้เกิดการทำนาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องการรองรับแรงงานคืนถิ่นที่สนใจทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย . นายชวกร ริ้วตระกูลไพบูลย์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิศกรรมการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน กล่าวว่า . “ไทยใช้น้ำทำนาในฤดูแล้งประมาณ 11,700 ล้านลบ.ม. ส่วนทำนาในฤดูฝนประมาณ 21,800 ล้านลบ.ม. เนื่องจากฤดูฝนจะมีพื้นที่ปลูกมากกว่าฤดูแล้งเกือบเท่าตัว หากใช้เครื่องมือวัดระดับน้ำในนาข้าว เพื่อทำนารักษาระดับความชื้นของดิน จะสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำ ประหยัดน้ำในการทำนาได้มาก” . อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยครั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 1 ปีครึ่ง จึงสำเร็จและพร้อมใช้งานในที่นาของชาวนาได้จริง . . ที่มา: มติชนออนไลน์ . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เครื่องวัดระดับน้ำในนาข้าว

ปี 65 รัฐประกาศให้เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน”

หลายปีที่ผ่านมา ประเด็นเรื่องหนี้ครัวเรือนได้รับความสนใจจากหลายหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากหนี้ที่เร่งตัวสูงขึ้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ . ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนหรือหนี้สินครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 14.58 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 3.9% (YOY) . และด้วยภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังเติบโตช้า ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นปี 2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 90.1% จากระดับ 89.7% ในปี 2563 (เปรียบเทียบง่าย ๆ คือ ถ้าให้ GDP เป็นรายได้ 100% คนไทยเป็นหนี้ 90.1%) . โดยหนี้ส่วนใหญ่ของครัวเรือน 3 อันดับแรกยังคงเป็น 1.เงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (34.5% ของหนี้ครัวเรือนรวม) 2.เงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจ (18.1% ของหนี้ครัวเรือนรวม) 3.เงินกู้เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ (12.4% ของหนี้ครัวเรือนรวม) . ปริมาณหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับผลจากวิกฤต COVID-19 ที่ประชาชนไม่สามารถทำมาหากินได้ตามปกติ ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ก็อาจไปสร้างภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในอนาคต (ตามภาวะดอกเบี้ยในตลาดโลก) . ยิ่งในยุคที่ค่าครองชีพสูง จากปัญหาราคาสินค้าต่าง ๆ ทยอยปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่รายได้ประชาชนไม่ได้เพิ่มหรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่า . ทำให้ปี 2565 รัฐบาลประกาศให้เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน” ด้วยการจัดการกับก้อนหนี้ในปัจจุบัน และชะลอการก่อหนี้ใหม่ในอนาคต . แม้หลักการภาพกว้างจะดูเหมือนง่าย แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากแหล่งที่มาของหนี้ครัวเรือนจริง ๆ แล้วไม่ได้มาจากระบบสถาบันการเงินที่ ธปท.เป็นผู้ที่ดูแลเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น . ยังมีหนี้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงเกษตรฯ ขณะที่หนี้สินจากบริษัทเช่าซื้อและลีสซิ่งจำนวนมากก็ยังไม่มีผู้กำกับดูแลชัดเจน รวมไปถึงหนี้นอกระบบที่ไม่มีตัวเลขเก็บเป็นข้อมูลสถิติไว้ . ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา (2552-2562) การแก้ไขปัญหาทำได้เพียงลดสัดส่วนครัวเรือนที่มีหนี้ลง ในขณะที่ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนยังเพิ่มขึ้น . โดยเฉพาะภาคอีสานที่แม้สัดส่วนครัวเรือนที่มีหนี้จะลดลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าทุกภูมิภาค และภาพรวมประเทศ อีกทั้งภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เพิ่มสูงกว่าทุกภูมิภาค ก็เป็นไปได้ว่า หนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นกระจุกตัวอยู่กับครัวเรือนหรือผู้กู้รายเดิม . ดังนั้น จากปัญหานี้ ลำพังจะให้ ธปท.หรือกระทรวงการคลังขับเคลื่อนเพียงหน่วยงานเดียวไม่มีทางสำเร็จ การจัดการหนี้สินครัวเรือนจะต้องใช้พลังจากระดับนโยบายที่จะต้องขับเคลื่อนในภาพกว้าง ครอบคลุมในทุกมิติ . ไม่ใช่แค่การจัดการเฉพาะหนี้ในระบบเท่านั้น แต่รวมถึงหนี้นอกระบบด้วย ยิ่งเงินกู้ทั้งสองแห่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันราวฟ้ากับดิน ถึงแม้จะแก้ไขหนี้ในระบบได้ดีสักเพียงใด แต่ไม่ได้ล้างหนี้นอกระบบไปด้วย สุดท้ายหนี้นอกระบบจะเพิ่มพูนจนครัวเรือนไทยจมกองหนี้ . ทั้งนี้ หนี้สินในระบบสถาบันการเงิน ธปท.ก็มีแนวทางในการกำกับดูแล ทั้งการพักหนี้ ปรับโครงสร้าง เบรกชำระ เพื่อให้ระบบเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนหนี้นอกระบบนั้น คงจะต้องมีการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สายปราบปราม เพื่อจัดการเจ้าพ่อเจ้าแม่เงินกู้ และเพิ่มช่องทางให้ผู้กู้เข้าถึงแหล่งเงินในระบบมากที่สุด . สุดท้าย การปลูกฝังทัศนคติการออม การลงทุน และการวางแผนทางการเงิน ควรบรรจุเป็นหลักสูตรวิชาบังคับตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา …

ปี 65 รัฐประกาศให้เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน” อ่านเพิ่มเติม »

นิคมกรีนอุดรฯ เปิดโกดังเป็นศูนย์ One Stop Services-OSS ฟรี เพื่อส่งออกทุเรียนไทยไปจีน

นายพิสิษฎ์ พิพัฒน์วิไลกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด เจ้าของและผู้พัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้ร่วมประชุมคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชน ในการบูรณาการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบสื่ออีเล็กทรอนิกส์ เพื่อหาแนวทางและรวบรวมข้อมูลการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟไทย-ลาว-จีน . โดยหารือถึงปัญหาการขนส่งทุเรียนของไทย ที่กำลังจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดในเดือนพฤษภาคมนี้ และส่วนหนึ่งจะส่งออกไปยังตลาดประเทศจีน ซึ่งที่ผ่านมานั้นทำการขนส่งทางรถบรรทุก และมีปัญหาเป็นประจำ แล้วหากจะต้องเปลี่ยนการขนส่งทุเรียนมาเป็นทางรถไฟจีน-ลาว จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง . เนื่องจากรถไฟจีน-ลาว มีจุดสิ้นสุดอยู่ที่เวียงจันทน์ รวมถึงปัญหาที่ทางการจีนยังเข้มงวดในการควบคุมเชื้อ COVID-19 จำเป็นต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์ของจีนในการบรรทุกเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นหน้าที่ในระดับกระทรวงที่ต้องมีการประสานงานกับทางการจีน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เพราะการขนส่งทางรางจะมีความสะดวกและประหยัด . ผู้บริหารระดับสูงของโครงการนิคมอุตสากรรมอุดรธานีเห็นว่า เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับการขนส่งทุเรียน และเป็นเรื่องของการบริการสังคม (CSR) โดยเห็นชอบให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ่อค้ารับซื้อคนกลางทุเรียน นำล้ง(ผู้ส่งออก) เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจคุณภาพทุเรียน เจ้าหน้าที่พิธีการทางด้านศุลกากร ฯลฯ เข้ามาใช้พื้นที่บางส่วนที่เป็น CY และอาคารคลังสินค้าของนิคมฯ . เป็นจุดรวบรวมทุเรียนและให้เป็นจุดบริการกระบวนการต่าง ๆ ด้านการส่งออกทุเรียนไปประเทศจีน ตั้งแต่ต้นทางในรูปแบบของการบริการจบในจุดเดียว (One Stop Services-OSS) เสร็จแล้วขนบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ ไปเปลี่ยนขึ้นขบวนรถไฟสินค้า ลาว-จีน ที่ท่าเรือบกเวียงจันทน์ได้เลย โดยทางโครงการไม่คิดค่าใช้จ่ายการใช้พื้นที่ เพียงจ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ และค่าสาธารณูปโภค เท่านั้น . ทั้งนี้ หลังจากทางการสปป.ลาว เปิดเดินรถไฟจีน-ลาว ที่ก่อสร้างมาถึงนครหลวงเวียงจันทน์แล้ว ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2564 แต่เป็นช่วงสถานการณ์โควิด จึงเปิดเดินรถโดยสารเฉพาะในเขตประเทศ ส่วนขบวนรถสินค้า ได้ทดสอบการขนส่งและเปิดให้บริการแล้ว แต่ระบบรถไฟไทยยังไม่เชื่อมต่อกับระบบรถไฟจีน-ลาว . นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชน ในการบูรณาการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานคณะทำงาน มีคณะทำงานประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ต่าง ๆ . ที่มีหน้าที่เสนอแนะการจัดทำแผนการขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน เสนอแนะนโยบายการเชื่อมโยงทางรถไฟ เพื่อผลักดันให้มีความคืบหน้า และดำเนินงานไปสู่การปฏิบัติ บูรณาการข้อมูลการค้า การส่งออก และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบูรณาการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน จึงเป็นที่มาของข้อเสนอดังกล่าว . . ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นิคมอุดร #ส่งออกทุเรียน

สงสัยบ่? ทำไมร้านทุกอย่าง 20 บาท ถึงมีของราคาอื่นปะปนด้วย

ร้านทุกอย่าง 20 บาท เป็นการนำไอเดียร้าน Daiso ของญี่ปุ่นที่ขายทุกอย่างในราคา 100 เยน มาใช้ เพราะเจ้าของขี้เกียจจำราคาตอนขายคนเดียว แต่ต่างจากร้านทุกอย่าง 20 บาทของไทยตรงที่แทบไม่มีร้านไหนเลยที่ขายทุกอย่าง 20 บาทจริง ๆ เรียกได้ว่าเป็นร้านบางอย่าง 20 บาทก็ว่าได้ . จุดเด่นไม่ใช่แค่ ‘ถูก’ แต่ต้อง ‘ครบ’ . การที่ร้านทุกอย่าง 20 บาท มีของราคาอื่นตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักร้อยปะปนมาด้วย เนื่องจากความหลากหลายของสินค้าสามารถดึงดูดลูกค้าให้แวะเวียนเข้ามาเลือกชมเลือกซื้ออยู่เรื่อย ๆ ได้ ที่สำคัญต้องมีครบทุกอย่างตามความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน . การทำร้านทุกอย่าง 20 บาท เป็นการใช้กลยุทธ์ราคาเดียว โดยส่วนมากผู้บริโภคจะซื้อเพราะความชอบมากกว่าคำนึงถึงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักการบริหารต้นทุนสินค้าให้ดี การหมุนเวียนของสินค้าจะต้องมีรอบความถี่สูง และมีความหลากหลาย . ยอมขาดทุน เพื่อทำกำไร . ถ้าวิเคราะห์ในแง่ต้นทุน การใช้กลยุทธ์ราคาเดียว เป็นการใช้วิธีการคำนวณแบบเฉลี่ยต้นทุน โดยรวม สินค้าหลายชิ้นในร้านมีต้นทุนใกล้เคียงกับราคาขาย แต่อีกหลาย ๆ ชิ้นก็จะมีต้นทุนต่ำกว่าราคาขาย เรียกว่ายอมขาดทุนในสินค้าบางรายการ เพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้าน ซึ่งจากพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าส่วนใหญ่ มักจะไม่ได้ซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่จะเลือกซื้อสินค้าหลายอย่างติดไม้ติดมือกลับไป . ทำให้โดยรวมแล้วร้านค้าสามารถเอากำไรจากสินค้าบางรายการมาถัวเฉลี่ยได้ ส่วนมากที่เห็นในภาคอีสานจะเป็นร้าน Twenty Shop ทุกอย่าง 20 บาท หรือ Ten Shop ทุกอย่าง 10 บาท ทั้งยังเห็นร้านที่ใช้กลยุทธ์นี้ได้ตามห้างด้วยเช่นกัน ทั้งร้าน Daiso, Moshi Moshi, All item trendy หรือ Mr.D.I.Y. เป็นต้น . หมวดสินค้ายอดนิยมของร้านมีอะไรบ้าง . 1. หมวดสินค้าเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลปีใหม่ โบว์ ริบบิ้น กระดาษห่อของขวัญ ปีกนางฟ้า ปีกผีเสื้อ สายรุ้ง โมบายริบบิ้น สำหรับตกแต่งบ้านหรือร้านให้สวยงาม เทศกาลตรุษจีน ซองแดง ตัวอักษรจีน ปลาทอง จานแดง เทศกาลวาเลนไทน์ กุหลาบสบู่ ของขวัญแทนใจ ตุ๊กตาตัวเล็กตัวใหญ่ เป็นต้น . 2. หมวดสินค้าพลาสติก เช่น ไม้แขวนเสื้อ ที่หนีบผ้า ตะกร้า กระจาด เก้าอี้ ฝาชี กระติกน้ำ กล่องพลาสติก เป็นต้น . 3. หมวดสินค้า IT เช่น สายชาร์จแบต หูฟัง เคสโทรศัพท์ …

สงสัยบ่? ทำไมร้านทุกอย่าง 20 บาท ถึงมีของราคาอื่นปะปนด้วย อ่านเพิ่มเติม »

ทำไมจังหวัดในภาคอีสาน ถึงมี GPP per Capita อยู่ท้ายตารางเรื่อยมา

เริ่มด้วย GPP คืออะไร ? . GPP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product) หมายถึง มูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ดำเนินการภายในจังหวัด รวมทั้งรายได้จากผลตอบแทนปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เช่น ค่าตอบแทนแรงงาน ค่าเช่าที่ดิน ดอกเบี้ย และกำไร โดยสามารถสะท้อนภาพรวมด้านเศรษฐกิจ และมูลค่าเพิ่ม (Value Added) จากกิจกรรมการผลิตทุกชนิดของจังหวัดนั้นได้ .  แล้ว GPP per capita คืออะไร ? . GPP per capita หรือ ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว คือตัวเลขแสดงถึงความสามารถในการสร้างมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายของจังหวัดเฉลี่ยต่อประชากร 1 คน ที่หากจังหวัดใดมีค่าเฉลี่ยสูง แสดงว่ามีศักยภาพสร้างรายได้ภายในจังหวัดมาก ในทางกลับกันจังหวัดใดมีค่าเฉลี่ยต่ำ แสดงว่ามีศักยภาพสร้างรายได้ภายในจังหวัดน้อย . ทั้งนี้ GPP per capita ไม่ใช่ตัวเลขรายได้ต่อหัวของประชากรสุทธิของจังหวัดนั้น ๆ เนื่องจากเป็นการนับเพียงด้านมูลค่าเพิ่ม .  จังหวัดที่มี GPP per capita สูงสุด ไม่ใช่กรุงเทพฯ . ปี 2563 แม้กรุงเทพฯ จะสามารถสร้าง GPP สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ( 5.27 ล้านล้านบาท/ปี) แต่ด้วยจำนวนประชากรมากถึง 9 ล้านคน ทำให้มีค่าเฉลี่ย GPP per capita 5.86 แสนบาท/ปี อยู่ในอันดับ 2 รองจากจังหวัดระยอง (GPP 1.03 ล้านบาท/ปี และ GPP per capita 8.32 แสนบาท/ปี) . จังหวัดที่มี GPP per capita ต่ำสุด มักอยู่ในภาคอีสาน . เรียงจากลำดับต่ำสุด ปี 2563 1. นราธิวาส 55,417 บาท/ปี 2. หนองบัวลำภู 59,157 บาท/ปี 3. มุกดาหาร 61,345 บาท/ปี 4. แม่ฮ่องสอน 63,419 บาท/ปี 5. ยโสธร 65,254 บาท/ปี 6. บึงกาฬ 68,497 บาท/ปี 7. สกลนคร …

ทำไมจังหวัดในภาคอีสาน ถึงมี GPP per Capita อยู่ท้ายตารางเรื่อยมา อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top