Article

บทความ จากบทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ทั้ง ISAN Outlook และข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ รวบรวมให้คุณรู้ทันทุกข้อมูล เศรษฐกิจ การเมือง สังคม อีสาน

สู้บ่…แปลงโฉมรถแห่เป็นรถกาแฟสด ขายได้หลัก 100 แก้วต่อวัน

“รถแห่” ธุรกิจบันเทิงเคลื่อนที่ที่เรียกได้ว่า เป็นรถแห่งเสียงเพลงและความสนุกสนาน มีทั้งเครื่องดนตรี เครื่องเสียง นักร้อง นักดนตรี ครบครัน โดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในภาคอีสาน ใช้ในงานบุญ งานบวช และงานประเพณีต่าง ๆ เพื่อสร้างความม่วน ซื่น โฮ แซว ตามแบบฉบับคนมักม่วน ด้วยจังหวะต่าง ๆ ทั้ง 3 ช่า, วาไรตี้ หรือรำวงย้อนยุค . ราคาจ้างเริ่มต้นอยู่ที่ 15,000-50,000 บาทต่อการแสดง 3 ชั่วโมง โดยทั่วไปใช้เงินลงทุนคันละ 1-3 ล้านบาท เนื่องด้วยการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงของธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการต่างมีการอัพระบบ แสง สี เสียง และระบบการโชว์ของรถแห่ เพื่อให้สามารถแข่งขันกันในตลาดนี้ได้ จึงทำให้ต้นทุนบางคันทะลุ 3-6 ล้านบาท . พิษของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจรถแห่ซบเซาลง . ธุรกิจที่กำลังเติบโตและไปได้สวย แต่กลับต้องสะดุดลง เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายงานถูกยกเลิก และไม่สามารถรับงานได้ตามเงื่อนไขข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของมาตรการฯ ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบหนัก บางรายสู่ไม่ไหวจำต้องปิดกิจการ พนักงานลูกจ้าง ศิลปิน นักแสดง นักร้อง นักดนตรี ไม่น้อยกว่า 2,000 คน ต้องตกงานไม่มีรายได้ . ผันตัวมาโลดแล่นบนเวทีออนไลน์ . ปัจจุบันการแสดงของชาวรถแห่ไม่ได้มีแค่บนรถตามงานบุญต่าง ๆ เท่านั้น แต่ต้องผันตัวมาทำไลฟ์สตรีม หรือทำวิดีโอลงใน YouTube เพื่อโลดแล่นบนเวทีออนไลน์แทน ซึ่งหลายคณะก็ได้รับความนิยมในวงกว้าง มียอดวิวหลักล้าน นักร้องหลายคนมีชื่อเสียงเทียบเท่านักร้องดังที่มีค่ายสังกัด ตัวอย่างเช่น ออย แสงศิลป์ ที่ได้สมญาว่า “ราชารถแห่” และ ใบปอ รัตติยา ที่เรียกว่าเป็น “ราชินีรถแห่” . มองหาโอกาสจากสิ่งที่มี “แปลงโฉมรถแห่เป็นรถกาแฟสด” . เมื่อ COVID-19 ลากยาว จนทำให้รถแห่ถูกจอดทิ้งไว้ไม่ถูกใช้งาน หนึ่งในเจ้าของรถแห่ดนตรีสด จ.ชัยนาท ได้มองเห็นโอกาสการสร้างรายได้ จากการทำร้านกาแฟโดยเปลี่ยนจาก ‘ร้าน’ เป็น ‘รถแห่’ ทำการปรับเปลี่ยน เพิ่มอุปกรณ์สำหรับการชงกาแฟ พร้อมตกแต่งให้ดูมีสไตล์และแตกต่างจากร้านกาแฟทั่วไป . ทำการศึกษาสูตร พัฒนาฝีมือจนได้สูตรเมนูที่พร้อมขาย ปกติจอดให้บริการอยู่ที่ สามแยกไฟแดงวังกระชาย อ.หันคา จ.ชัยนาท ยอดขาย 100-160 แก้วต่อวัน และยังรับออกงานในพื้นที่ระแวกใกล้เคียง ขั้นต่ำ 200 แก้วขึ้นไป ส่วนงานรถแห่ดนตรีสด ก็พร้อมรับงานเหมือนเดิม หากมีลูกค้าเรียกใช้บริการ . ด้วยความแปลกใหม่นี้ จึงทำให้ร้านรถแห่กาแฟสดได้รับความสนใจอย่างมาก ทั้งจากคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ต่างมาใช้บริการ …

สู้บ่…แปลงโฉมรถแห่เป็นรถกาแฟสด ขายได้หลัก 100 แก้วต่อวัน อ่านเพิ่มเติม »

อีสาน ภูมิภาคที่เคยปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย

ภูมิภาคที่เคยปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย แต่ทำไม บ่ค่อยมีไผฮู้? . . โกโก้ วัตถุดิบสำคัญในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และขนม โดยเฉพาะช็อกโกแลต แต่หลายคนคงยังไม่รู้ว่าทุกภูมิภาคของไทยรวมถึงภาคอีสานก็สามารถปลูกต้นโกโก้ได้ ซึ่งเป็นเพราะเหตุใด และมีโอกาสพัฒนาต่อยอดหรือไม่ วันนี้อีสานอินไซต์จะเล่าให้ฟัง . ทำความรู้จัก “โกโก้” . โกโก้ เป็นไม้ผลเขตร้อน (Tropical Fruit Crop) มีถิ่นกำเนิดเนิดในประเทศเม็กซิโก และเปรู . สามารถยืนต้นยาวนานกว่า 70 ปี แต่อายุการให้ผลผลิตเชิงพาณิชย์อยู่ระหว่าง 30-40 ปี . โดยจะเริ่มให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวในปีที่ 3 ขึ้นไป (เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์และสภาพแวดล้อม) . ซึ่งตามธรรมชาติของโกโก้ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดด (ภายใต้ร่มเงา) และน้ำสม่ำเสมอ จึงเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น . สามารถปลูกได้ทั้งแบบเชิงเดี่ยว และแบบปลูกแซมกับพืชเศรษฐกิจอื่นที่มีขนาดใหญ่ . สำหรับผลผลิตโกโก้ของโลกมีประมาณ 4.6 ล้านตัน ในปี 2563 . แหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ ประเทศไอวอรีโคสต์ กานา เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย และไนจีเรีย . การเพาะปลูกโกโก้ในไทย . ปี 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกโกโก้ 5,913 ไร่ ผลผลิตรวม 859 ตัน แบ่งสัดส่วนแต่ละภูมิภาค ดังนี้ . ภาคใต้ 1,799 ไร่ (30%) ภาคอีสาน 1,696 ไร่ (29%) ภาคเหนือ 1,379 ไร่ (23%) ภาคตะวันตก 501 ไร่ (9%) ภาคกลาง 295 ไร่ (5%) ภาคตะวันออก 244 ไร่ (4%) . ทำไมภาคอีสานถึงปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย . ก่อนหน้านั้นภาคอีสานมีเกษตรกรปลูกโกโก้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีความรู้ ปลูกมาแล้วผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ต้องเผชิญกับราคาต่อกิโลกรัมที่ไม่สูง และมีตลาดรับซื้อน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งก็มักมีปัญหาหลอกขายกล้าพันธุ์และไม่มารับซื้อตามสัญญา . ประกอบกับสภาพภูมิอากาศของภาคที่ไม่ได้ร้อนชื้นหรือมีฝนตกชุก ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าอีสานไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้ ทั้งที่ปลูกได้ แต่หากอยากให้มีผลผลิตตลอดทั้งปีอาต้องลงทุนระบบน้ำเพิ่ม . ส่วนการที่ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกโกโก้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคใต้ เนื่องจากภายหลังความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงมีแนวคิดขยายพื้นที่เพาะปลูกในอีสาน โดยส่งเสริมให้ปลูกแทนสวนยางพาราที่มีอายุมากกว่า 25 ปีและให้น้ำยางน้อย หรือปลูกแซมพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเป็นรายได้เสริม …

อีสาน ภูมิภาคที่เคยปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย อ่านเพิ่มเติม »

ฮู้จัก Hometown Tax ของญี่ปุ่น สู่การประยุกต์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในอีสาน

Hometown Tax คืออะไร . Hometown Tax เป็นระบบการชำระภาษีให้บ้านเกิดของประเทศญี่ปุ่นที่ประกาศใช้เมื่อปี 2551 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมช่วยฟื้นฟู และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างท้องถิ่นในเขตเมืองกับเขตชนบท ผ่านการบริจาคเงินให้แก่ท้องถิ่นโดยตรง ซึ่งผู้บริจาคสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ขณะเดียวกันก็ได้รับสินค้าท้องถิ่นเป็นของแทนคำขอบคุณ . Hometown Tax เกิดขึ้นได้อย่างไร . เมื่อก่อนประเทศญี่ปุ่นเคยเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่อย่างหนัก จากการที่ประชากรต่างพากันอพยพเข้าสู่เขตเมืองเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า ทำให้ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีรายได้ลดลง และไม่สามารถนำไปจัดทำบริการสาธารณะได้เพียงพอ . ประกอบกับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ช่วยเหลือแบบปีต่อปี ทำให้ท้องถิ่นขาดการพัฒนาในระยะยาว และในกรณีมีเหตุฉุกเฉินก็ไม่สามารถช่วยได้ทันกาล การออกแบบนโยบาย Hometown Tax จึงเกิดขึ้น . ทำไม Hometown Tax ถึงได้รับความสนใจ . 1. เป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้เสียภาษี สามารถแบ่งภาษีเงินได้ส่วนหนึ่งให้ท้องถิ่นอื่นได้ และสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือตอบแทนบ้านเกิดได้โดยตรง . 2. ประชาชนรู้สึกมีส่วนร่วมกับการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น . 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำและพัฒนาบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพได้ โดยไม่ต้องรอเงินอุดหนุนจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว . ทำไมประเทศไทยต้องสนใจ Hometown Tax . ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยก็มีความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ค่อนข้างสูง การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนได้รับโอกาสในการสร้างรายได้ ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพในด้านต่าง ๆ ไม่เท่าเทียมกัน . จากดัชนี Human Achievement Index (HAI) ที่สะท้อนความก้าวหน้า การพัฒนาคนในระดับจังหวัด ระดับภาค ผ่านตัวชี้วัด 8 ด้าน* พบว่า ในปี 2562 กรุงเทพฯ มีค่าดัชนี HAI สูงกว่าทุกภูมิภาค (อยู่ที่ 0.6821) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่คนกรุงเทพฯ มีความก้าวหน้าด้านรายได้มากที่สุด อีกทั้งมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ และการศึกษาที่มีคุณภาพสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ . ขณะที่ภาคอีสาน และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีค่าดัชนี HAI ต่ำสุด อยู่ที่ 0.5792 และ 0.5142 ตามลำดับ เนื่องจากมีความก้าวหน้าด้านรายได้ค่อนข้างน้อย อีกทั้งโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา หรือการคมนาคมที่มีคุณภาพต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อโอกาสในการสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ Hometown Tax จึงเป็นนโยบายที่น่าสนใจ . ประยุกต์ใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในอีสานได้ยังไง . จากบทเรียน Hometown Tax ของญี่ปุ่น จะเห็นว่ามีมิติที่ไทยอาจลองนำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น การสร้างแรงจูงใจให้คนอยากบริจาคเงินให้กับท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนภาษี หรือให้ของสมนาคุณ (เป็นได้ทั้งสินค้าและบริการ) เช่น พืชผลทางการเกษตรที่ไม่สามารถส่งขายไปต่างประเทศได้เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 บัตรส่วนลดค่าที่พัก/ร้านอาหาร เป็นต้น อีกทั้งการระบุวัตถุประสงค์ของการนำเงินไปใช้ให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคน หรือพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อคนทุกกลุ่ม . …

ฮู้จัก Hometown Tax ของญี่ปุ่น สู่การประยุกต์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

เนื้อพรีเมี่ยม “โพนยางคำ” สกลนคร ยกระดับยังไง ถึงเป็นที่ยอมรับในสากล

ก้าวแรกของเส้นทางโคขุนโพนยางคำ . เริ่มจากการจัดตั้ง ‘สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด’ ขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เพราะต้องการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อของไทยให้เป็นเนื้อระดับพรีเมียมที่สามารถขายได้ แต่ในตอนนั้นยังขาดความเชี่ยวชาญ จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและฝรั่งเศสขึ้น เพื่อพัฒนาพันธุ์โคให้ได้มาตรฐาน . โดยของบประมาณจากรัฐฯ ในการจัดหาน้ำเชื้อโคพันธุ์เนื้อต่างประเทศมาผสมเทียมให้สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคในภาคอีสาน ปัจจุบันสหกรณ์ฯ โพนยางคำมีสมาชิกกว่า 6,000 คน และมีจำนวนโคมากกว่า 10,000 ตัว โคขุนที่ได้มาตรฐาน ราคาขายอยู่ที่ตัวละ 80,000-100,000 บาท จากเดิมซึ่งขายได้เพียงตัวละ 30,000 บาท . ด้วยสภาพภูมิอากาศในไทยที่ร้อน ทำให้การขุนให้มีไขมันแทรกตามธรรมชาติยากกว่าสัตว์ที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศหนาวและเย็น เมื่อต้องขุนให้ได้เนื้อคุณภาพดี จึงต้องปรับปรุงสายพันธุ์ โดยนำสายพันธุ์ยุโรปมาผสมด้วย เช่น พันธุ์ชาร์โรเลส์ (Charolais), พันธุ์ลิมูซ่า (Limousin) และพันธุ์ซิมเมนทัล (Simmental) ทำให้ได้โคที่มี่โครงสร้างกล้ามเนื้อและไขมันที่ดี ทนอากาศในไทยได้ โดยเกษตรกรจะนิยมขุนโคพันธุ์ชาร์โรเลส์มากที่สุด . กรรมวิธีการ ‘ขุน’ ด้วยความรักและใส่ใจเป็นพิเศษ . ฟรังซัว แดร์โฟร์ (Francois Dervaux) ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรจากฝรั่งเศส ผู้คอยให้คำแนะนำกับเกษตรกรมาตลอด ได้เปรียบการขุนวัวเหมือนการเลี้ยงเด็ก ที่ร่างกายจะเจริญเต็มที่เมื่อย่างเข้า 25 ปี เมื่อกินอาหารเข้าไปก็จะออกด้านข้าง . โคก็เหมือนกัน เริ่มแรกจึงเลี้ยงแบบปล่อยปกติ พอโตสักประมาณ 2 ปี จะได้โครงสร้างโคหนุ่มที่สมบูรณ์ และจะเริ่มเข้าสู่การขุน คือ ให้ยืนในคอกแล้วเอาอาหารมาป้อน โดยมาตราฐานโพนยางคำคือขุน 12-18 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่เทียบเท่ากับที่ใช้ขุนเนื้อวากิว ประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับ การขุนด้วยอาหารสูตรพิเศษที่เกษตรกรได้คิดค้นลองผิดลองถูกจนได้สูตรอาหารที่ทำให้เกิดไขมันแทรกได้ดีขึ้น . หัวใจสำคัญที่สุดยังคงเป็นขั้นตอนการเลี้ยงอย่างเอาใจใส่ แต่ละครัวเรือนจึงขุนโคไม่เกินครั้งละ 5 ตัว เพื่อให้ให้ทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียด ทำให้การดูแลเอาใจใส่ทำได้ดี การอาบน้ำ ทำความสะอาด ทำได้อย่างเต็มที่ คนเลี้ยงมีความสุข โคก็ไม่เครียด กินได้เยอะ ขุนได้ดี ได้เนื้อที่มีคุณภาพ . เนื้อโคขุนโพนยางคำ ต่างจากเนื้อทั่วไปตามท้องตลาดอย่างไร? . ปกติเนื้อจะมีกลิ่นเฉพาะที่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อาหาร และการเลี้ยงดู บางที่ที่ใช้เวลาขุนเพียง 3 เดือน ทำให้ไม่ค่อยมีไขมันแทรก สำหรับเนื้อโคขุนโพนยางคำจะไม่มีกลิ่นสาบ หรือกลิ่นคาว แต่จะมีกลิ่นหอมจากอาหารธรรมชาติที่เกษตรกรใช้เลี้ยง การชำแหละโดยใช้มาตรฐานฝรั่งเศส ตัดแบ่งชิ้นส่วนและกำหนดชื่อเรียกได้ 23 ส่วน ได้เนื้อสีแดงสดใส มีไขมันแทรกระหว่างเนื้อ ทำให้มีสัมผัสนุ่มเป็นพิเศษ จากการขุนที่ใช้เวลานานพอสมควร . ปัจจุบันเนื้อโคขุนโพนยางคำถือเป็นเนื้อที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างชาติ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสกลนคร ส่วนที่นิยมรับประทานมากสุดจะเป็นเนื้อส่วนริบอาย (Ribeye) ราคาเฉลี่ย กก.ละ 1,200-1,300 บาท ซึ่งราคาก็จะแบ่งตามเกรดของเนื้อ โดยดูจากไขมันแทรก โดยสหกรณ์โคขุนโพนยางคำสามารถผลิตได้ที่เกรด …

เนื้อพรีเมี่ยม “โพนยางคำ” สกลนคร ยกระดับยังไง ถึงเป็นที่ยอมรับในสากล อ่านเพิ่มเติม »

คิดจาก ‘โซจู’ สู่ ‘อีสานรัม’

มุมที่เหมือนแต่มองต่างกันของภาครัฐไทย กับประเด็นน่าสนใจ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า . . ‘โซจู’ สุราประจำชาติเกาหลีที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สืบย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 13 และตอนนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากนอกประเทศบ้านเกิด จากการโฆษณาสอดแทรกวัฒนธรรมการดื่มผ่านซอฟต์พาวเวอร์อุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือละครซีรีส์ที่เกาหลีใต้ส่งออก . แต่รู้ไหมว่า โซจูแบบดั้งเดิมเป็นเหล้าใสดีกรีสูงที่กลั่นจากข้าวขาวบริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว จนเมื่อประมาณปี 1910 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเกาหลีใต้ การปันส่วนข้าวจึงไม่เพียงพอต่อการนำมาผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนข้าวในช่วงสงครามเกาหลี ทำให้ปี 1965 รัฐบาลมีคำสั่งห้ามผลิตเหล้าจากข้าวอย่างเป็นทางการ . ด้วยข้อจำกัดนี้ ผู้ผลิตโซจูจึงหันไปใช้วัตถุดิบทางเลือกอย่างแป้ง ธัญพืช มันเทศ หรือแม้กระทั่งมันสำปะหลังแทน รวมถึงปรับกระบวนการผลิตให้โซจูเจือจางและมีดีกรีต่ำลง แม้ปี 1999 คำสั่งของรัฐบาลที่ห้ามผลิตโซจูจากข้าวจะถูกยกเลิก แต่นักดื่มก็คุ้นชินกับโซจูแบบนี้แล้ว ด้านผู้ผลิตเองก็พอใจกับกรรมวิธีที่ช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้สูตรที่ไม่จำกัดเฉพาะข้าวและมีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกลายมาเป็นมาตรฐานของโซจูสมัยใหม่ดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน . ประกอบกับภาครัฐของเกาหลีใต้เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้พัฒนา-แข่งขัน จนเกิดเป็นโซจูรสชาติใหม่ ๆ แตกต่างกันไปตามวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิต โดยเฉพาะรสผลไม้ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ เพื่อเจาะกลุ่มนักดื่มผู้หญิงและคนรุ่นใหม่ รวมถึงการทำข้อตกลงกับธุรกิจเรื่องขนาดและการใช้ขวดสีเขียวใส ซึ่งไม่ใช่แค่การสร้างภาพจำ แต่ยังง่ายและลดต้นทุนในการคัดแยกก่อนนำไปรีไซเคิลด้วย . การบริโภคโซจูที่ได้รับความนิยมทั้งในเกาหลีและต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ปี 2020 ตลาดโซจูทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 3,025 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ว่าได้ . เมื่อย้อนกลับมามองไทย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเอกลักษณ์ไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ต้องเสียโอกาสไปอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาถูกปิดกั้นด้วยคำกล่าวอ้างด้านศีลธรรม และล่าสุดด้านสิ่งแวดล้อม . ยกตัวอย่าง เหล้าชั้นดีที่คนไทยด้วยกันเองก็แทบจะไม่รู้จัก ‘อีสานรำ’ (ISSAN RUM) แบรนด์ซึ่งเริ่มจากการทดลองปลูกอ้อยเอง หมักเอง กลั่นเองมาตั้งแต่ปี 2013 อีกทั้งมีโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดหนองคาย จึงใช้อ้อยสด ๆ ในพื้นที่เป็นวัตถุดิบหลัก และด้วยรสสัมผัสที่เฉพาะตัวทำให้อีสานรำได้รางวัลเหรียญเงินจากเวทีระดับโลก IWSC (International Wine and Spirit Competition) ในปี 2014 . สุรากลั่นที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นเหมือนกัน แต่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดที่มากกว่า อย่างประเด็นล่าสุด พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ซึ่งมีสาระสำคัญต้องการเปิดเสรีให้ประชาชนที่ไม่ได้ผลิตสุราเพื่อการค้า ให้มีโอกาสสามารถดำเนินการได้ แต่ไม่ได้ไปต่อเนื่องจาก ครม.เป็นกังวลเกี่ยวกับมาตรฐาน คุณภาพ และสิ่งแวดล้อมในการผลิต ทั้งที่รัฐเองมีหน้าที่ต้องควบคุมมาตรฐานสินค้าและบริการต่าง ๆ อยู่แล้ว การเปิดให้มีการแข่งขันมากขึ้นจะไม่ทำให้มาตรฐานต่ำลง ตราบใดที่รัฐมีการกำกับอย่างจริงจัง . ธุรกิจสุราที่พัฒนาได้ช้า ออกไปแข่งขันกับโลกไม่ได้ สุดท้ายประเทศจะต้องขาดดุลการค้านำเข้าสุราทุกปี จากการที่คนหันไปดื่มแบรนด์นอกแทน ดังนั้น ถ้ารัฐอยากสนับสนุนธุรกิจสุราไทยโดยเฉพาะของผู้ประกอบการรายย่อยจริง ๆ ควรเปิดกว้างทางการแข่งขัน และใช้นโยบายอื่น ๆ เช่น ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ดีขึ้น ทำโครงการ Reskill/Upskill ช่วยพัฒนามาตรฐานการผลิตให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับข้อบังคับกฎหมายเดิมเพื่อลดการมอมเมา เช่น การไม่ขายให้เด็กมีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นต้น . . อ้างอิงจาก …

คิดจาก ‘โซจู’ สู่ ‘อีสานรัม’ อ่านเพิ่มเติม »

อีสานพ้อ (พบ) ผึ้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก กับโอกาสต่อยอดเศรษฐกิจเป็นแหล่ง Ecotourism

เมื่อ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้แถลงข่าวการค้นพบ “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” (Phujong resin bee) ผึ้งเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ของโลก ที่พบแห่งเดียวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี . ผึ้งหยาดอำพันภูจอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Anthidiellum (Ranthidiellum) phujongensis n. sp. เป็นกลุ่มผึ้งหายากที่เคยมีการค้นพบก่อนหน้านี้เพียง 4 ชนิดในโลกเท่านั้น และค้นพบเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ . นอกจากนี้ยังพบผึ้งปรสิตชนิดใหม่ ที่พบภายในรังของผึ้งหยาดอำพันภูจอง คือ “ผึ้งบุษราคัมภูจอง” (Topaz cuckoo bee) โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stelis flavofuscinular n. sp. จากลักษณะพิเศษที่มีสีเหลืองเข้ม สลับลายดำบริเวณลำตัว ทำให้นึกถึงความสวยงามของบุษราคัม . . สร้างจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงเชิงนิเวศ (Ecotourism) . การค้นพบผึ้งหายากเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความสำคัญของผืนป่าได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยคณะผู้วิจัยร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยได้เพิ่มพื้นที่การสร้างหน้าผาดินธรรมชาติบริเวณพื้นที่ใกล้กับลำห้วย เพื่อเพิ่มโอกาสและสถานที่ในการสร้างรังและขยายพันธุ์ของผึ้งกลุ่มนี้ . อีกทั้งยังจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อ “สร้างการรับรู้เรื่องราวของผึ้ง” ทั้งความสำคัญ ความงดงาม รวมทั้งข้อมูลทางชีววิทยาที่ให้ประชาชนได้ตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยให้ความรู้ถึงประโยชน์ของผึ้งต่อระบบนิเวศ และสร้างให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ผลักดันให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ . พัฒนาต่อยอด สร้างงานหัตถศิลป์ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน . ชุมชนได้มีการนำลักษณะเฉพาะของผึ้งหยาดอำพันภูจอง และ ผึ้งบุษราคัมภูจอง ไปสร้างงานศิลปะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน เสื่อกก ตามความถนัดของชุมชน นับเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ BCG model อีกทางหนึ่ง . ประกอบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีแรงงานย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ รวมถึงคนรุ่นใหม่ หรือบัณฑิตจบใหม่ที่มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีย้ายคืนสู่ถิ่นฐานภูมิลำเนาของตน ในหมู่บ้านใกล้กับอุทยานฯ ทำให้มีโอกาสในการสร้างงานสร้างอาชีพในถิ่นฐานของตนอีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างอาชีพและเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชน . ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ Zookeys และถูกรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลของผึ้งในประเทศไทยที่ สวทช. ได้สนับสนุนให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว สามารถอ่านงานวิจัยได้ที่ https://kku.world/xw4vh . . อ้างอิง: https://kku.world/bxef9 https://kku.world/gv566 https://kku.world/0dbtx . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผึ้ง #Ecotourism #การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง

จากรายงานเกี่ยวกับแมลงที่สามารถรับประทานได้ (Edible Insects) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่าภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 9.7 พันล้านคน ซึ่งอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมดในขณะนั้นจะต้องมีเพิ่มเป็นสองเท่า ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่ป่าและน้ำมีอย่างจำกัด อาหารโปรตีนที่จะมาทดแทนปศุสัตว์ก็คือ “แมลง” เพราะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง . แมลงกินได้มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง . ในฐานะแหล่งโปรตีนทางเลือกและอาหารแห่งอนาคต ปัจจุบันเฉพาะธุรกิจแมลงกินได้ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,800 ล้านบาท) โดยตลาดเอเชียครองสัดส่วน 30-40% ของทั้งโลก ส่วนที่เหลือกระจายตัวอยู่ในโซนยุโรป ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมแมลงเติบโตปีละ 20% และกำลังขยายตลาดไปยังโซนอเมริกาเหนือ . แมลงเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เนื่องจากไทยเป็นตลาดส่งออกสินค้าแมลงมีชีวิตอันดับที่ 17 ของโลก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 ไทยส่งออกสินค้าแมลงสู่ตลาดโลกปริมาณ 575 ตัน มูลค่า 85,346 ดอลลาร์สหรัฐฯ (2.8 ล้านบาท) ขยายตัว 29% เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา . “จิ้งหรีด” ดาวเด่นของตลาดส่งออกไทย . ไทยผลิตจิ้งหรีดส่งออกได้ปีละ 7,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท หากผลิตเป็นผงมูลค่าจะเพิ่มหลายเท่าตัว จากกิโลละ 70-80 บาท ราคาพุ่งเป็นกิโลละ 2,000-3,000 บาท เป็นที่นิยมมากในสหภาพยุโรป โดยมีบริษัทสตาร์ตอัพของคนไทยที่ทำตลาดส่งออก “ผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจากจิ้งหรีดเป็นเจ้าแรกของโลก” ส่งไปขายยังกลุ่มสหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ทำให้ธุรกิจแปรรูปแมลงคึกคักขึ้น เริ่มมีบริษัทใหม่ ๆ เข้ามา โดยส่วนหนึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนทำฟาร์มในแถบภาคอีสาน . ผลักดัน “อุดรธานี” เป็นเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก . 7 มีนาคม ที่ผ่านมา อุดรธานีได้มีการจัดอบรมแปรรูปจิ้งหรีด ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี และบริษัท แมลงรวย จำกัด จัดขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ทำฟาร์มเลี้ยงแมลงกินได้ ภายใต้มาตรฐาน GAP ในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแมลงเพื่อการแปรรูปโคกสะอาด หลัก 18 ต.โคกสะอาด อ.เมืองอุดรธานี . อีกทั้งเตรียมจัดงานมหกรรมจิ้งหรีดโลกขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่องานว่า “อุดรธานีเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก” ในวันที่ 5 เมษายน 2565 ที่อุดรธานี เพื่อเป็นการประกาศให้ตลาดแมลงโลกได้รู้จักแมลงแบรนด์ไทย พร้อมทำให้อุดรธานีเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายแมลง เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องของการเลี้ยงแมลงกินได้นานาชนิดของไทย ให้ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้บริโภคมีความมั่นใจและปลอดภัย …

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง อ่านเพิ่มเติม »

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กระแส “ตู้เต่าบิน” ถูกพูดถึงอย่างมากในแวดวงธุรกิจ Vending Machine หรือตู้จำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ แม้ตลาดหลักของไทยจะอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่ก็เริ่มมีการขยายออกต่างจังหวัดมากขึ้น อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลยุทธ์เต่าบิน ที่เป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ รวมไปถึงไขข้อข้องใจว่า ทำไม อีสานถึงมักตั้งตู้ไว้ในโรงพยาบาล .  จุดเริ่มต้นของตู้ชงเครื่องดื่ม . จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป คนไม่ได้เข้างานตอน 8 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็นเหมือนในอดีต ทำให้เจ้าของแบรนด์ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จจากธุรกิจให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ตู้บุญเติม” เกิดไอเดียอยากต่อยอดธุรกิจเดิม . โดยช่วงนั้น เทรนด์ตู้จำหน่ายสินค้ากำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ จึงลองสั่งซื้อตู้ชงเครื่องดื่มจากจีนมาลง แต่ปรากฏว่า ยิ่งกลไกเยอะ โอกาสไม่เสถียรก็สูง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็มาก สุดท้ายต้องกลับมาวิจัยและพัฒนาเองทั้งหมด .  แนวคิดการออกแบบ . เต่าบิน ตู้ชงเครื่องดื่มอัจฉริยะขนาด 1×1 เมตร ผลิตและพัฒนาโดยคนไทย 100% ซึ่งมีเกือบ 30 สิทธิบัตร ครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ มีระบบจอทัชสกรีนที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ระบบการชงที่ล้างด้วยความร้อนแรงดันทุกแก้ว หมดกังวลเรื่องความไม่สะอาด หรือรสชาติที่ผิดเพี้ยน . รวมไปถึง ระบบเซ็นเซอร์ AI ที่จะคอยตรวจเช็กสต๊อกวัตถุดิบภายในตู้ ทำให้สามารถแจ้งเตือนเมื่อสินค้าหมด และส่งข้อมูลไปหา Route Man หรือพนักงานเติมวัตถุดิบให้เบิกสต๊อกมาล่วงหน้า ไม่ต้องเทียวไปเทียวมาหลายรอบ ทางฝั่งผู้บริโภคก็ไม่ต้องทนรอเครื่องดื่มเมนูนั้นหลายวันด้วย .  ฟังก์ชันการทำงาน . ตู้เต่าบินสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชงได้ทั้งร้อน เย็น และปั่น มากถึง 170 เมนู ครอบคลุมสารพัดหมวดตั้งแต่ชา กาแฟ โซดา น้ำอัดลม จนไปถึงน้ำเชื่อมผสมกัญชา และเวย์โปรตีน หรือถ้ารู้สึกยังไม่พอใจ ก็สามารถเพิ่มท็อปปิ้ง เพิ่มช็อตกาแฟได้ด้วย . อีกทั้ง กาแฟกลิ่นหอม ๆ ของตู้ยังเป็นกาแฟสดที่เพิ่งบดเมล็ดออกมาชงให้ลูกค้า สมือนมีบาริสต้าอยู่ข้างใน แม้จะต้องใช้เวลารอเล็กน้อย แต่ก็เพื่อรสสัมผัสตรงตามชื่อแบรนด์ อร่อยเหาะเป็น “เต่าบิน” .  คิดเผื่อกลุ่มคนที่หลากหลาย . หนึ่งในขั้นตอนการสั่งของตู้เต่าบิน ผู้บริโภคจะได้เลือกระดับความหวานเอง (Sweetness level) 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 แคลอรี (ไม่มีน้ำตาล) ซึ่งเหมาะกับผู้ที่รับประทานคีโต และผู้ป่วยเบาหวาน ไปจนถึง หวานน้อย หวานพอดี หวาน และหวานมาก ตามความชอบของแต่ละคน . รวมไปถึง ช่องทางการชำระเงินที่หลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงินสด คิวอาร์ เพย์เมนท์ ช้อปปี้เพย์ หรือแม้กระทั่งเครดิตเต่าบิน …

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง อ่านเพิ่มเติม »

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน

เมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนจะนึกถึงความแซ่บ ที่มีทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด ออกรสเค็มหน่อย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ลาบ ก้อย หรือ “ส้มตำ” ที่ได้แทรกซึม และเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด ทำให้หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นส้มตำได้มีการยกระดับจากร้านข้างทางเข้ามาอยู่ในศูนย์การค้า หรือร้านแบบ Stand Alone ที่มีการทำแบรนด์ ขยายสาขา ดึงดูดลูกค้าด้วยดีไซน์ร้านที่เป็นเอกลักษณ์ . ครั้งนี้ อีสานอินไซต์จะพาไปรู้จักกับ “ตำมั่ว” (tummour) ร้านส้มตำพันล้านที่มี 100 กว่าสาขาทั้งในและต่างประเทศ ทำอย่างไรถึงสามารถขายส้มตำ ที่มีตลาดใหญ่ ให้แตกต่างและสามารถเพิ่มมูลค่าจากส้มตำหลักสิบเป็นหลักร้อย จนแบรนด์มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท . กว่าจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะร้านตำมั่วมีต้นกำเนิดมาจากร้านส้มตำห้องแถวธรรมดาของคุณแม่ ที่มีชื่อร้านว่า นครพนมอาหารอีสาน ที่แม้จะขายดีแค่ไหน แต่ก็ไม่มีคนรู้จักชื่อร้าน และยังไม่เป็นที่จดจำ คุณศิรุวัฒน์ ชัชวาล (เบส) ลูกชาย จึงได้ทำการรีแบรนด์ร้านของคุณแม่ใหม่ โดยเริ่มจากการสร้างตัวตนให้แบรนด์ โดยวิเคราะห์เมนูของทางร้านว่า เมนูยอดนิยมมีอะไรบ้าง และเมนูใดบ้างที่ขายดี จากนั้นจึงหยิบมาเป็นจุดขาย และใส่คาแรกเตอร์เข้าไป . การสร้างตัวตน จาก Brand DNA ที่มีความชัดเจน และตรงกับคาแรกเตอร์ของเจ้าของแบรนด์ . เจ้าของแบรนด์ ได้ทำการเขียนดีเอ็นเอของแบรนด์ให้มีคาแรกเตอร์ใกล้เคียงกับตนเอง โดยให้เป็นคนอีสานที่ทันสมัย แต่ไม่ลืมรากเหง้า จึงเลือกที่จะให้ตำมั่วเป็นอาหารอีสานที่มีความเป็นรากเหง้าที่รสชาติ แต่คาแรกเตอร์อื่น ๆ ทันสมัย สร้างแท็กไลน์ ‘อาหารรสจัด ถนัดเรื่องตำ’ ให้คนรู้จักได้ง่ายขึ้น . ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นด้วย Music Marketing พร้อมจับมือกับเซ็นกรุ๊ป ผลักดันให้ดังไกลไปต่างแดน . เพื่อให้เป็นที่จดจำสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ แบรนด์ได้โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้อง ห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 70 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก . ตอนนี้ตำมั่วดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด การตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย . ส่วนผสมที่ลงตัวทำให้เกิดกลยุทธ์ . ตำมั่ว มีความแข็งแรงในเรื่องของอาหารไทยหรือการเข้าใจตลาดที่เป็นแมสมากกว่า และหาก SMEs อย่างตนจะกระโดดเข้าตลาดหุ้นคงต้องเตรียมการเยอะมาก การจับมือกันเซ็นกรุ๊ป ที่มีความพร้อมหลายด้าน ทั้ง HR, Logistics, R&D หรือ Operation ด้วยส่วนผสมที่เอื้อกัน ทำให้อยู่ในมาตรฐานที่เติบโตได้ง่ายและเร็วขึ้น . ขณะนี้ได้มองถึงด้าน New Business โดยเรียกตนเองว่า Food Service คือการ Verify ตัวเองให้เป็นการขายอาหาร ขายการส่งอาหารถึงบ้าน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจอาหารทุกรูปแบบของการทำธุรกิจด้านอาหาร …

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

นิคมกรีนอุดรฯ ศูนย์กลางการลงทุนใหม่ ความหวังที่จะได้ทำงานใกล้บ้านของชาวอีสาน

ปฎิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเท​​คโนโลยีก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากมองในเชิงพื้นที่ ที่ใดมีความเจริญก้าวหน้า หรือได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการทำงาน จะเป็นแรงดึงดูดให้คนย้ายถิ่นเข้าไปมากกว่าพื้นที่อื่น . เมื่อปี 2555 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว” ในจังหวัดอุดรธานี ที่มีความได้เปรียบในแง่ของการขนส่งสินค้า กระจายสินค้าสู่หลายจังหวัดในประเทศไทย รวมถึงฝั่ง สปป. ลาว กลุ่มประเทศ CLMV และประเทศจีนตอนใต้ . โครงการพัฒนาบนพื้นที่ 2,170 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ก่อให้เกิดรายได้ 1,630 ไร่ พื้นที่ระบบสาธารณูปโภค 314 ไร่ และพื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 226 ไร่ . อุตสาหกรรมเป้าหมายในนิคม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย เช่น โรงงานผลิตถุงมือยาง อุปกรณ์การกีฬา และชิ้นส่วนรถยนต์, อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร, อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมส่งเสริมการผลิค, อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยยนต์ และศูนย์กระจายสินค้า ที่อยู่นอกเหนืออุตสาหกรรมกลุ่มอื่น ๆ . ภาพรวมความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการ ในด้านความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานก่อสร้างแล้วเสร็จ 80% พร้อมเปิดดำเนินการให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานในกลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานเกิดขึ้นประมาณ 80-100 โรงงาน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 15,000-20,000 ราย ในพื้นที่ และ 60,000 ราย รอบนิคมฯ มูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท . ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนานิคมฯเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ ทางนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี มีแผนการพัฒนาระบบ Logistics ของนิคมฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ . โดยระยะที่ 1 (2563-2565) จะทำเป็นอาคารคลังสินค้าให้เช่า การบริการรับและจ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ให้บริการเปิดตู้และบรรจุตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออกผ่านแดน มีการขออนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากรและพร้อมให้ใช้บริการ การให้บริการ Tuck Terminal และการให้บริการขนส่งสินค้าด้วยระบบขนส่งทางรางโดยเชื่อมกับสถานีหนองตะไก้ . ส่วนระยะที่ 2 (2565-2568) จะพัฒนาระบบรางภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีหนองอุตสาหกรรมตะไก้ และเป็นผู้ให้บริการขนส่งแบบ Freight Forwarder อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงภาคขนส่งระหว่างนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี กับ ประเทศลาว กัมพูชา และจีนมากขึ้น . การเกิดขึ้นของนิคมฯ จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้คนอีสานทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ในการมีช่องทางประกอบอาชีพในถิ่นเกิด โดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด . …

นิคมกรีนอุดรฯ ศูนย์กลางการลงทุนใหม่ ความหวังที่จะได้ทำงานใกล้บ้านของชาวอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top