Article

บทความ จากบทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ทั้ง ISAN Outlook และข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ รวบรวมให้คุณรู้ทันทุกข้อมูล เศรษฐกิจ การเมือง สังคม อีสาน

4 สินค้าทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) กับโอกาสสร้างรายได้ของอีสานตอนกลาง

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) ที่น่าสนใจ 4 สินค้า ได้แก่ จิ้งหรีด แพะเนื้อ โคขุน และหญ้าเนเปียร์ ที่สามารถเลี้ยงหรือปลูกเสริมทดแทนข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสมของ (S3, N) 4 จังหวัด ภาคอีสานตอนกลาง คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ได้เป็นอย่างดี . สินค้าดังกล่าวมีต้นทุนและผลตอบแทนเป็นอย่างไร ? . จิ้งหรีด ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 276 บาทต่อตารางเมตร 1 ปี สามารถเลี้ยงได้ 6-7 รุ่น ให้ผลผลิตประมาณ 7 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ราคาขายเฉลี่ย 104.06 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนเฉลี่ย 701 บาทต่อตารางเมตร ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 426 บาทต่อตารางเมตร หรือ 63 บาทต่อกิโลกรัม . เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่ มีการจำหน่ายผลผลิตเอง ทั้งจิ้งหรีดสดและจิ้งหรีดต้มสุก ทั้งในประเทศและให้กับพ่อค้าคนกลาง เพื่อส่งต่อให้กับตลาด Modern Trade รวมถึงส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น . แพะเนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 3,537 บาทต่อตัว โดยแม่แพะ 1 ตัว ให้ผลผลิตลูกแพะ 2 ตัวต่อรุ่น เกษตรกรจำหน่ายแพะเนื้ออายุเฉลี่ย 7 เดือน ราคาจำหน่าย 3,780 บาทต่อตัว หรือ 140 บาทต่อกิโลกรัม (น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 27 กิโลกรัมต่อตัว) ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 314 บาทต่อตัว . เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตทั้งหมดให้กับพ่อค้าคนกลาง ทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัดที่เข้ามารับซื้อ โดยพ่อค้าคนกลางจะมีการจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย . โคขุน ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 56,687 บาทต่อตัว ราคาจำหน่าย 60,864 บาทต่อตัว หรือ 91 บาทต่อกิโลกรัม (น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 666 กิโลกรัมต่อตัว) ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 4,177 บาทต่อตัว . ปัจจุบันภาคอีสานตอนกลาง ยังผลิตโคขุนไม่เพียงพอต่อความต้องการรับซื้อ และมีพ่อค้ารายใหม่ ๆ เข้ามาติดต่อรับซื้ออย่างต่อเนื่อง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนมีการจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลาง ทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด …

4 สินค้าทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) กับโอกาสสร้างรายได้ของอีสานตอนกลาง อ่านเพิ่มเติม »

องค์การสวนสัตว์ ดันสวนสัตว์โคราช ผลิต ‘ดินพลังแรด’ จากมูลสัตว์และเศษวัชพืช

10 พ.ค. ที่ผ่านมา นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผอ.องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เผยว่า สวนสัตว์นครราชสีมา ได้ดำเนินโครงการผลิตดินปลูกต้นไม้และพันธุ์ไม้เพื่อการจำหน่ายภายใต้ชื่อ “ดินพลังแรด” . โดยขั้นตอนการผลิตเป็นการนำมูลสัตว์ และเศษวัชพืชต่าง ๆ ในพื้นที่สวนสัตว์นครราชสีมาที่มีจำนวนมากในแต่ละวันไปทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมภายในสวนสัตว์ และเพื่อการจำหน่าย . นายอรรถพร กล่าวอีกว่า สำหรับการผลิตดินพลังแรดของสวนสัตว์นครราชสีมา ได้ทดลองผลิตและนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกต้นไม้ภายในสวนสัตว์ รวมทั้งได้จัดจำหน่ายให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวมาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตเพียงพอต่อความต้องการ โดยดินมีความเหมาะสำหรับนำไปปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลทุกชนิด . “โครงการผลิตดินพลังแรด ถือเป็นความสำเร็จระดับหนึ่งของสวนสัตว์นครราชสีมา ที่ได้ริเริ่มในช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา และได้รับผลตอบรับที่ดี มีประชาชนและนักท่องเที่ยวให้ความสนใจและสนับสนุนเป็นจำนวนมาก โดยล่าสุด มีพ่อค้าต้นไม้ได้มาซื้อดินมากกว่า 1,000 ถุง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจค้าต้นไม้ของตน ซึ่งเป็นผลดีในอีกบริบทหนึ่งของสวนสัตว์นครราชสีมา ที่มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายอรรถพร กล่าว . สำหรับผู้ที่สนใจสั่งซื้อ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานเพาะชำ ฝ่ายพัฒนาสวนสัตว์ โทร. 085-6829791, 087-9595927, 065-7326645 . . ที่มา : https://kku.world/v2lt5 . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #องค์การสวนสัตว์ #สวนสัตว์โคราช #ดินพลังแรด

จ่อเปิดด่านเดินรถข้ามไทย-ลาว มั่นใจกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว

ในช่วงเดือน พ.ค. 2565 ตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย ได้รายงานจำนวนบุคคลเดินทางเข้าออกประเทศระหว่างวันที่ 1-3 พ.ค. 65 พบว่ามีคนไทยเดินทางเข้าออก 205 คน คนลาว 506 คน คนต่างชาติ 46 คน ทั้งนี้การเดินทางยังมีข้อจำกัด แม้ว่าจะมีการเปิดด่านสากลแล้วก็ตาม แต่การเดินทางออกนอกประเทศของคนไทยเข้าไปยัง สปป.ลาว ยังไม่สามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลเข้าไปได้ โดยจะสามารถเดินทางไปได้เฉพาะในลักษณะคนทำงานหรือนักท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์เท่านั้น . ส่วนการเดินทางเข้าประเทศของคนลาวนั้นเมื่อเข้าระบบไทยแลนด์พาสต์ และมีเอกสารบอร์เดอร์พาส และใบรับรองวัคซีนครบโดส สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR หรือ ATK แต่หากมีผู้ประสงค์ต้องการตรวจ ATK แบบสมัครใจ ขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจ เจ้าหน้าที่คิดค่าตรวจ 250 บาท เงินทุกบาทนำเข้ารัฐ . สำหรับการกรอกข้อมูลในระบบไทยแลนด์พาส ที่ผ่านมาพบว่าคนลาวติดขัดในการกรอกข้อมูลจากภาษาอังกฤษและภาษาไทย ทำให้เป็นช่องทางสำหรับบริษัทเอกชนรับจ้างกรอกข้อมูลให้แล้วเก็บเงินค่าดำเนินการสูงถึง 4,000 บาท/คน ทำให้คนลาวส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเงินที่แพง จึงยังไม่ค่อยมีการเดินทางเข้าไทยมากนัก . นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า รับทราบปัญหาทั้งหมด และจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมโดยด่วน โดยเฉพาะการพิจารณาอนุญาตให้รถยนต์ส่วนบุคคลเดินทางเข้าออกประเทศได้เมื่อทุกฝ่ายมีความพร้อม และสปป.ลาว เองก็พร้อมที่จะให้รถยนต์ฝั่งลาวเข้าไทย และรถยนต์ไทยเข้าลาว ก็ไม่มีปัญหาติดขัด สามารถแก้ไขคำสั่งได้ . ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการพิจารณาอนุญาตในเร็ววัน เดิมจะอนุญาตเฉพาะรถบรรทุกสินค้า แต่หากอนุญาตให้รถยนต์ส่วนบุคคลเข้าออกได้นั้นจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะระดับภูมิภาค เพราะหลายปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวชาวลาวถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของภาคอีสาน อย่างช่วงปี 2562 ก่อน COVID-19 อีสานมีนักท่องเที่ยวต่างชาติชาวลาวสูงที่สุด คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 14.3% ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในอีสาน . . อ้างอิงจาก : https://kku.world/gez68 https://kku.world/uxsph . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ด่านพรมแดน

ของดีแดนอีสาน ผ้าไหมสาเกต – สับปะรดศรีเชียงใหม่ ขึ้นทะเบียน GI ไทยแล้ว

ปัจจุบันกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไทยแล้ว 156 รายการ ซึ่งครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 40,000 ล้านบาท โดยความสำเร็จดังกล่าวช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในพื้นที่ด้วยสินค้า GI . สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชนท้องถิ่น ช่วยผู้ประกอบการและเกษตรกรรายย่อยไม่ให้ถูกกดราคาสินค้าเกษตร ยกระดับกระบวนการผลิตสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค . นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพิ่มอีก 2 สินค้า คือ “ผ้าไหมสาเกต” และ “สับปะรดศรีเชียงใหม่” ซึ่งเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค . ผ้าไหมสาเกต มีการผลิตในพื้นที่ จ.ร้อยเอ็ด เป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอด้วยลายพื้นบ้านโบราณ 5 ลาย ทอต่อกันในผืนเดียว เริ่มจากลายโคมเจ็ด ลายนาคน้อย ลายคองเอี้ย ลายค้ำเพา และลายหมากจับ ตามลำดับ โดยมีเอกลักษณ์สำคัญ คือ ลายนาคน้อย 12 ตัวอยู่ตรงกลาง และลายหมากจับ 3 ลำเป็นช่องไฟของลายพื้น และแต่ละลายจะทอคั่นด้วยผ้าสีชมพูอมม่วงของดอกอินทนิลบก ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด . สำหรับ สับปะรดศรีเชียงใหม่ ปลูกในเขตพื้นที่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย มีผลทรงรี ร่องตาตื้น ก้านสั้น เปลือกบาง เนื้อสับปะรดมีเส้นใยละเอียดและมีสีเหลืองเข้มหรือสีน้ำผึ้ง มีกลิ่นหอม รสชาติหวานฉ่ำ แกนหวานกรอบ รับประทานแล้วไม่กัดลิ้น . โดยในปี 2565 กรมฯ ได้ตั้งเป้าหมายขึ้นทะเบียน GI ไทยเพิ่มอีก 18 สินค้า พร้อมผลักดันให้มีการจัดทำระบบควบคุมมาตรฐานสินค้า GI เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ตลอดจนส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดยุคใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้สินค้า GI ไทยสามารถเข้าถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึง สร้างรายได้สู่ชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน . . อ้างอิง: https://kku.world/2gdgm . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผ้าไหมสาเกต #สับปะรดศรีเชียงใหม่

ข้าวโพดหวานแดงกินฝักสดพันธุ์แรกของโลก อร่อยดี มีประโยชน์ ตลาดยังกว้าง

ข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยาม (Siam Ruby Queen) เป็นข้าวโพดสายพันธุ์กินฝักสดชนิดแรกของโลก ที่มี ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ นักปรับปรุงพันธุ์พืชชั้นนำของไทยเป็นผู้คิดค้น โดยเกิดจากการนำข้าวโพดข้าวเหนียวแดงไปผสมกับข้าวโพดหวานสีเหลืองจนได้ออกมาเป็นข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยามเมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นการผสมสายพันธุ์แบบดั้งเดิม (Conventional Breeding) ไม่ใช่การตัดแต่งพันธุกรรม . ข้าวโพดหวานแดงสายพันธุ์นี้มีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ แต่จะสูญเสียไปหากนำไปต้ม จึงแนะนำให้กินเมล็ดจากฝักสด เพราะจะอร่อย (หวานกรอบในตัว) มีกลิ่นหอม และได้ประโยชน์มากกว่า ส่วนไหมกับซังที่คนนิยมทิ้งก็สามารถนำมาต้มเพื่อสกัดสารตัวนี้เก็บไว้ดื่มได้เช่นกัน . ปา ไชยปัญหา ปราชญ์เกษตรบ้านกุดปลาเข็ง ต.โนนค่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เจ้าของไร่อรหันต์ เล่าต่อไปถึงสูตรสำเร็จการปลูกข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยาม ข้าวโพดกินฝักสดที่อร่อย แถมอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ . ข้าวโพดชนิดนี้ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต 65-70 วันนับตั้งแต่หยอดเม็ด ระยะห่างระหว่างหลุม 30 ซม. ส่วนระยะห่างระหว่างแถว แล้วแต่ความสะดวกและพื้นที่ของผู้ปลูก การเตรียมหลุมปลูกเหมือนการปลูกข้าวโพดปกติทั่วไป ขุดหลุม 1 หน้าจอบ ขนาด 30×30×30 ซม. ใส่อินทรียวัตถุหรือมูลสัตว์ที่หมักแล้ว (ที่นี่ใช้มูลไส้เดือนกับแกลบดำ) คลุกเคล้ากับดิน รดน้ำให้ชุ่ม แล้วหยอดเมล็ดลงหลุมละ 2 เมล็ด ไม่เกิน 5 วัน เมล็ดจะงอก . ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป ให้หมั่นดูแลและระมัดระวังเรื่องของหนอนที่เข้ามาเจาะข้าวโพด โดยที่นี่จะเน้นที่การเดินดูแลแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน ให้ใช้ไฟส่องดูต้น ถ้ามีหนอนเมื่อหนอนเจอแสงมันจะขยับตัว ให้ใช้ไม้คีบหนอนออกจากกอต้นข้าวโพดไปทำลาย พร้อมกับใช้น้ำหมักชีวภาพบำรุงและป้องกันร่วมไปด้วย . ผ่านเข้าสัปดาห์ที่ 3 ต้นจะเริ่มสูงประมาณ 1 ฟุต เริ่มให้ปุ๋ยยูเรียหลุมละครึ่งช้อนโต๊ะ สัปดาห์ที่ 4 และ 5 เพิ่มปุ๋ยเป็นหลุมละ 1 ช้อนโต๊ะ เข้าสัปดาห์ที่ 6 เปลี่ยนเป็นปุ๋ยสูตรเสมอ และพอถึงสัปดาห์ที่ 7 และ 8 เปลี่ยนเป็นปุ๋ยสูตร 8-24-24 ปริมาณเท่าเดิมเพื่อเพิ่มความหวาน จนถึงวันเก็บเกี่ยว . สำหรับเคล็ดลับการปลูกให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ควรรดน้ำข้าวโพดอย่างสม่ำเสมอ หมั่นรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะ ต้นละ 1-2 ฝักเท่านั้น เพื่อให้ต้นนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงฝักที่เก็บเอาไว้ได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญหมั่นดูแลต้นข้าวโพดป้องกันหนอนเจาะข้าวโพดอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต . ทั้งนี้ หากคำนวณง่าย ๆ 1 ไร่ หยอดเมล็ดหลุมละ 2 เมล็ด จะได้ต้นข้าวโพดทั้งหมด 9,600 ต้น ประมาณการเสียหายในการปลูก 10% ไว้ต้นละ …

ข้าวโพดหวานแดงกินฝักสดพันธุ์แรกของโลก อร่อยดี มีประโยชน์ ตลาดยังกว้าง อ่านเพิ่มเติม »

ฮ่วมกัน ผลักดัน “ภูพระบาท” สู่มรดกโลก แหล่งที่ 2 ของ จ.อุดรฯ ในปี 67

กรมศิลปากร(ศก.) ร่วมกับกรมป่าไม้ จ.อุดรธานี จัดพีธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม ในการผลักดันการขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทสู่มรดกโลก . สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่น ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ พร้อมจัดการประชาสัมพันธ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งธรรมชาติทั้งจังหวัดใกล้เคียงและจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศลาวที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน . นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรอยู่ระหว่างการแปลเอกสารภาษาอังกฤษเสนอต่อยูเนสโก ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์นำเสนอเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมแบบต่อเนื่องจำนวน 2 แหล่ง ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบาน . รวมพื้นที่นำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก จำนวน 3,661 ไร่ 4 งาน 89 ตารางวา พื้นที่กันชน 3,742 ไร่ 1 งาน 15 ตารางวา ขอบเขตของแหล่งวัฒนธรรมทั้ง 2 แหล่ง อยู่ภายใต้เกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล . ในเกณฑ์ข้อที่ 3 คือ เอกลักษณ์ที่หายาก ไม่เคยพบที่ใดในไทย หรือแม้ในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงพื้นที่อื่น ๆ และยังปรากฎหลักฐานการใช้พื้นที่ของวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานอย่างต่อเนื่อง . และเกณฑ์ข้อที่ 5 การปรับใช้พื้นที่ทางธรรมชาติ ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทั้งกลุ่มเพิงหิน และลานหิน การปักใบเสมาเพื่อกำหนดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งทั้งหมดยังคงความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ดั้งเดิมไว้ได้อย่างดีเยี่ยม . จากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญามรดกโลก ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านความเห็นชอบ เพื่อเสนอต่อยูเนสโก . เข้าสู่กระบวนการนำพิจารณารอบแรกในเดือน ก.ย. รอบที่ 2 ในเดือน ธ.ค. ปี 2566 และจะมีการพิจารณาที่กรุงปารีสในเดือน มี.ค. ปี 2567 . . อ้างอิง: https://kku.world/734t8 https://kku.world/91ovx . #ISANInsightAndOutlool #อีสาน #ภูพระบาท #มรดกโลก #อุดรธานี

กาฬสินธุ์นำร่องปลูกกระท่อม 1.5 ล้านต้น หวังสร้างรายได้ให้เกษตรกรในอนาคต

กาฬสินธุ์ เมืองน้ำดำเดินหน้าวาระเมืองสีเขียวอัจฉริยะ เร่งส่งเสริมปลูกต้นกระท่อมพืชสมุนไพรเศรษฐกิจใหม่ “กระท่อมพารวย” สร้างงาน สร้างอาชีพ ปลดหนี้ และสร้างรายได้ให้เกษตรกร ตั้งเป้าเปิดพื้นที่ปลูกครอบคลุมทั้ง 18 อำเภอ 1,500 ไร่ จำนวน 1.5 ล้านต้น . นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวในงานประชุมชี้แจง นโยบายสาธารณะวาระกาฬสินธุ์ เมืองสีเขียวอัจฉริยะ (Kalasin Smart Green City) ว่า กระท่อมเป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจใหม่ เบื้องต้นในพื้นที่จะยังคงส่งเสริมเป็นรูปแบบการปลูก เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นรายได้เสริมไปก่อน ควบคู่กับการปลูกพืชหลักที่สร้างรายได้ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และพืชชนิดต่าง ๆ . ด้านนายประภาส ยงคะวิสัย ประธานกลุ่มแปรรูปพืชกระท่อมตำบลสงเปือย กล่าวว่า ขอยืนยันและย้ำว่ากระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นรูปธรรมได้แน่นอน เพราะปัจจุบันมีการปลูกได้เพียงไม่กี่ประเทศ และยังมีการความต้องการนำเอาใบไปแปรรูปเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคต่าง ๆ ทั้งยังใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง มีราคารับซื้อใบกิโลกรัมละ 500 บาท . โดย จ.กาฬสินธุ์ การขับเคลื่อนนโยบาย สาธารณะวาระกาฬสินธุ์ เมืองสีเขียวอัจฉริยะ (Kalasin Smart Green City) เป็นการปลูกกระท่อมนำร่องตัวอย่างในภาคอีสาน . โดยตั้งเป้าปูพรมทั้ง 18 อำเภอ โดยได้ตั้งเป้าไว้คลอบคลุมทั้ง 18 อำเภอ ปลูกทุกหมู่บ้าน อย่างน้อย 1,500 ไร่ หรือ 1.5 ล้านต้น เป็นกระท่อมพารวย ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรในอนาคตได้อย่างแน่นอน . . อ้างอิง: https://kku.world/hdjyv . . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #กระท่อม #พืชเศรษฐกิจใหม่ #กาฬสินธุ์

ลุ้นร้านไหนต้องไปตำ! มิชลิน ไกด์ ขยายขอบเขตคัดสรรสู่อีสานปีแรก เริ่มโคราช-ขอนแก่น-อุดร-อุบล

มิชลิน ไกด์ (Michelin Guide) จับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ออกเดินทางสู่ภาคอีสาน เพื่อคัดสรรร้านอาหารจาก 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี สำหรับการจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทย และเป็นฉบับแรกที่ขยายขอบเขตไปสู่ภาคอีสาน โดยมีกำหนดเผยแพร่ปลายปี 2565 นี้ . เกว็นดัล ปูลเล็นเนค (Gwendal Poullennec) ผู้อำนวยการฝ่ายจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ทั่วโลก เปิดเผยว่า อาหารอีสานแม้ว่าจะมีวิธีการทำที่เรียบง่าย แต่กลับให้รสชาติที่ลึกซึ้งและซับซ้อน รวมถึงมีเทคนิคการถนอมอาหารที่รู้จักกันดีอย่างปลาร้า ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญของวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวอีสาน . ยิ่งในปัจจุบันมีเชฟชาวอีสานที่มีความรู้และประสบการณ์เลือกมาเปิดร้านอาหารที่บ้านเกิดจำนวนมาก เชฟเหล่านี้ไม่เพียงจะช่วยยกระดับอาหารอีสานโดยเลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมาปรุงอย่างพิถีพิถันด้วยทักษะที่ตนเองสั่งสมมานาน แต่ยังช่วยกำหนดมาตรฐานใหม่ให้อาหารท้องถิ่นมีคุณภาพสูงมากขึ้น . นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดทำมิชลิน ไกด์ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีวัฒนธรรมอาหาร ซึ่งช่วยให้เกิดการรับรู้และสร้างกระแสการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้กับทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในวงกว้าง . โดยเฉพาะในวันที่ประเทศไทยเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ จะช่วยกระตุ้นการเดินทางอีกครั้ง ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม . สำหรับภาคอีสาน ถือเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ เพราะมีทุ่งหญ้า มีผืนป่าบนที่ราบสูงและเทือกเขาซึ่งเหมาะแก่การทำปศุสัตว์ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิที่โด่งดังไปทั่วโลก หรือข้าวเหนียว รวมถึงมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน จึงมีปลาน้ำจืดจำนวนมากให้เลือกใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร . ทั้งนี้ มิชลิน ไกด์ 2565 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด มีร้านอาหารทั้งสิ้น 361 ร้าน ในจำนวนนี้เป็นร้านที่สามารถคว้าดาวมิชลินมากถึง 32 ร้าน และร้านที่ได้รับรางวัล บิบ กูร์มองด์ 133 ร้าน ส่วนการจัดอันดับร้านอาหารในมิชลิน ไกด์ ในแต่ละปีก็มีคู่มือของแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เคยมีเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร กระทั่งได้ครอบคลุมไปยังจังหวัดในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา . . อ้างอิงจาก : https://kku.world/11dhq https://kku.world/pu9md . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มิชลินไกด์

มันฝรั่ง พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่อีสานก็ปลูกได้ผลผลิตดีบ่แพ้กัน

เคยสงสัยไหมว่า “มันฝรั่ง” วัตถุดิบหลักในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดที่หลายคนชื่นชอบนั้น มีต้นกำเนิดมาจากไหน สถานการณ์การผลิตในประเทศเป็นอย่างไร และทำไมจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรในอีสานหันมาปลูกมันฝรั่งมากขึ้น อีสานอินไซต์จะเล่าให้ฟัง .  มันฝรั่งมาจากไหน ? . เชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดของมันฝรั่งคืออเมริกาใต้ โดยมีบันทึกไว้ว่าเปรูมีมันฝรั่งมากกว่า 4,000 ชนิด และในยุคที่สเปนแสวงหาอาณานิคมมาถึงเปรูราวปี ค.ศ.1536 ก็ได้เอาหัวมันฝรั่งกลับไปประเทศตัวเอง เช่นเดียวกับพืชพื้นเมืองชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด โกโก้ มะเขือเทศ และพริก ก่อนจะเริ่มกระจายไปทั่วยุโรปราวศตวรรษที่ 16 รวมถึงในทวีปอเมริกาที่ส่งผ่านเรือสเปนไปขึ้นฝั่งที่นิวแฮมเชียร์ในปี ค.ศ.1719 . สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามันฝรั่งเข้ามาได้อย่างไร แต่คาดว่าเข้ามาในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยพันธุ์ที่ถูกพบครั้งแรกและเป็นพันธุ์พื้นเมืองเรียกว่า “อาลู” (เป็นคำที่ชาวเมืองเรียกมันฝรั่ง) .  แหล่งเพาะปลูกมันฝรั่งของไทย . ปัจจุบัน มันฝรั่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดตาก เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และลำพูน ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเหมาะแก่การเพาะปลูก รวมไปถึงบางพื้นที่ของภาคอีสาน เช่น จังหวัดนครพนม .  มันฝรั่ง แบ่งตามการใช้ประโยชน์ได้ 2 ประเภท . 1. พันธุ์บริโภค (นำมาปรุงอาหารเพื่อการบริโภค) ได้แก่ พันธุ์สปันตา (Spunta) อายุปลูกถึงเก็บเกี่ยว 100-120 วัน เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ให้ผลผลิตสูง และพันธุ์บินท์เจ (Bintje) เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อความแห้งได้ดี . 2. พันธุ์โรงงาน สำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ (Potato Chips) มันฝรั่งทอดหนา (French Fried) ได้แก่ พันธุ์เคนนีเบค (Kennebec) ให้ผลผลิตสูงปานกลาง และพันธุ์แอตแลนติก (Atlantic) ให้ผลผลิตสูง จึงเป็นพันธุ์ที่มีการปลูกมากที่สุดในไทย มีความสำคัญในด้านเป็นพืชอุตสาหกรรม .  สถานการณ์การเพาะปลูกในไทย . ปี 2560 – 2564 พื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งและผลผลิตมันฝรั่งโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยมันฝรั่งพันธุ์บริโภคมีพื้นที่เพาะปลูกลดลง จาก 2,376 ไร่ ในปี 2560 เหลือ 1,041 ไร่ ในปี 2564 ส่วนพันธุ์โรงงานมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น จาก 35,482 ไร่ ในปี 2560 เป็น 38,924 ไร่ ในปี 2564 . ทั้งนี้ ในปี 2565 คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3.22% จากปี …

มันฝรั่ง พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่อีสานก็ปลูกได้ผลผลิตดีบ่แพ้กัน อ่านเพิ่มเติม »

ลุยโลด แผนสร้างเมืองเดินได้ (Walkable City) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอุดรฯ

สภาพลเมืองเทศบาลนครอุดรธานี ร่วมเสนอความเห็นในการพัฒนาเมือง ล่าสุดมีความเห็นร่วมกันในการนำจุดเด่นของเมือง มาสร้างความเปลี่ยนแปลงใน 4 ปีข้างหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรองรับอนาคตปี 2569 ที่จังหวัดอุดรธานี จะเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมระดับนานาชาติ 2 งานใหญ่ คือ งานมหกรรมพืชสวนโลกและงานมหกรรมกีฬาแห่งชาติ . โดยปรับปรุงทางเท้าให้สะดวกปลอดภัย และเชื่อมโยงย่านต่าง ๆ ที่โดดเด่นเป็นเส้นทางเดินเที่ยวชมเมือง เชื่อมโยงถนนสายวัฒนธรรมที่หลากหลายมาเป็นตัวตั้ง เพื่อสร้างนครอุดรธานีให้เป็นเมืองเดินได้ (Walkable City) . 4 ย่านหลากวัฒธรรม กลางเมืองอุดรฯ คือที่ไหนบ้าง? . 1. ถนนสายธรรมะกลางเมือง ถนนนเรศวร ที่ต้้งวัดป่าบ้านจิก หนึ่งในวัดที่ททท.จัดอยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวธรรมะ มีร้านอาหารนานาชนิด ทั้งไทย จีน เวียดนาม อาหารถิ่น ร้านกาแฟ ไอศครีม หรือร้านนวดสปา ดอกบัวแดง นับเป็นย่านที่มีจุดเด่นอยู่แล้ว เพียงปรับปรุงพัฒนาอีกเล็กน้อย ก็พร้อมเป็นถนนสายวัฒนธรรม และถนนคนเดินได้อย่างน่าสนใจ . 2. สี่แยกคุ้มแขก สี่แยกถนนนเรศวรตัดกับถนนศรีชมชื่น เป็นย่านตลาดอาหารปรุงสุกเช้า-เย็น ที่ชาวอุดรฯ นิยมซื้อหาไปรับประทานที่บ้าน หรือเตรียมไปเป็นอาหารกลางวัน และยังเป็นย่านถิ่นที่อยู่ของชาวมุสลิม หรือคุ้มแขก มีมัสยิด ร้านอาหารมุสลิมแท้ ๆ ไว้บริการ . 3. ชุมชนเวียดนาม เป็นถิ่นของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ที่มีสมาคมชาวเวียดนามตั้งอยู่เพื่อควบคุมดูแลประสานงานกับทางราชการ และทางประเทศเวียดนาม เทศบาลจะเข้าไปบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นถนนวัฒนธรรมเวียดนาม ที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย จีน มุสลิม ที่อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว . 4. ไชน่าทาวน์อุดรฯ ย่านวัฒนธรรมจีน ที่มีประวัติมายาวนาน คือ ศาลเจ้าปู่ย่าอุดรธานี ศูนย์รวมความศรัทธาของคนจีน ทั้งในไทย และต่างประเทศ คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน รวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ใกล้กันมีศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน เป็นแหล่งความรู้ทางวัฒนธรรมจีนในพื้นที่อนุภาคลุ่มนํ้าโขง . และยังมีอีกหนึ่งนโยบายสร้างเมืองให้ปลอดภัย ที่ทางเทศบาลนครอุดรธานีร่วมกับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจภาค 4 ให้เหมาะแก่การเดิน หรือ Walkable City โดยกำหนดพื้นที่เขตเทศบาลนครเมืองให้เป็นเขต “เซฟตี้โซน” ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง กล้อง CCTV และขยายพื้นที่เพิ่มเติมครอบคลุมทั้ง 105 ชุมชน . และจะต่อเนื่องพื้นที่เทศบาลโดยรอบทั้ง 4 เทศบาลในอนาคตต่อไป เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากอาชญากรรมทุกชนิด เรียกว่า “ผู้หญิงคนเดียวก็เดินเล่นได้อย่างปลอดภัย” เชิญชวนให้คนไปใช้สวนสาธารณะเพื่อพักผ่อน ออกกำลังกาย เตรียมความพร้อมของเมืองในอีก 4 ปีข้างหน้า ทั้งในด้านการเดินทางท่องเที่ยว ด้านเศรษฐกิจ สู่การเป็นศูนย์กลางของการค้า การลงทุนและการบริการ . . ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุดรธานี #ถนนเดินได้ #WalkableCity

Scroll to Top