SHARP ADMIN

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย: บทบาทเมืองรองและความยืดหยุ่นที่มากกว่าเมืองหลวง (Resilient infrastructure)

บริบททางเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศไทย ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างน่าทึ่งในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา เปลี่ยนจากประเทศรายได้ต่ำเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP ต่อหัวที่ช้ากว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ความท้าทายเหล่านี้มาพร้อมกับปัญหาด้านผลิตภาพ (productivity) และแนวโน้มด้านประชากรที่ไม่เอื้ออำนวย (อัตราการเกิดลดลงและประชากรสูงอายุ) การขยายตัวของเมืองในประเทศไทยได้กระจุกตัวอย่างมากในกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่มีความโดดเด่นที่สุดในโลก (primate cities) และทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมี GDP ของพื้นที่เมืองกรุงเทพฯ สูงกว่าพื้นที่เมืองใหญ่อันดับสองถึง 40 เท่า การกระจุกตัวของเศรษฐกิจและกิจกรรมในกรุงเทพฯ แม้จะสร้างประโยชน์มหาศาลด้านผลิตภาพและรายได้ แต่ก็กำลังถึงจุดที่ให้ผลตอบแทนลดลง (diminishing returns) เนื่องจากปัญหาความแออัดและต้นทุนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังสร้างความเปราะบางทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศ ดังที่เห็นได้ชัดจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่สำคัญซึ่งกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลนี้ นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แหล่งข้อมูลชี้ว่ากรุงเทพฯ อาจมีผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง (underperforms relative to its endowment level) ในขณะที่จังหวัดรอบนอกซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองรองจำนวนมาก มีผลการดำเนินงานเกินกว่าระดับผลิตภาพที่คาดหวังไว้   บทบาทของเมืองรองในการขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ แหล่งข้อมูลจาก World Bank ชี้ว่า เมืองรองเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพการเติบโตใหม่ที่สมดุลและทั่วถึงของประเทศไทย แนวคิด “พอร์ตโฟลิโอของสถานที่” (portfolio of places) ระบุว่า ประเทศต้องการเมืองหลากหลายประเภททำหน้าที่ต่างกัน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต เมืองรองหลายแห่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอยู่แล้ว โดยมีอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่หลากหลาย แหล่งข้อมูลระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมา การเติบโตของ GDP ต่อหัวในเมืองรองของไทยสูงกว่าในกรุงเทพฯ เกือบ 15 เท่า และเมืองรองที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ หรือพื้นที่ชายฝั่งทะเลมักแสดงให้เห็นถึงผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนาเมืองรองจะช่วยกระจายการเติบโต ลดความแออัดในเมืองใหญ่ และสร้างฐานเศรษฐกิจที่กระจายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประชาชนและธุรกิจ และมีส่วนช่วยลดความยากจนในพื้นที่ชนบทโดยรอบ การลงทุนที่เหมาะสมในโครงสร้างพื้นฐาน ทุนมนุษย์ และการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบัน รวมถึงการปรับกรอบการทำงานระหว่างรัฐบาลกลางและท้องถิ่น จะช่วยให้เมืองรองเหล่านี้สามารถยกระดับผลิตภาพ กระตุ้นการเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศไทยได้ การเชื่อมโยงการเติบโตกับความยืดหยุ่นของเมือง ประเด็นสำคัญที่แหล่งข้อมูลเน้นย้ำคือ ความจำเป็นในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น (resilient infrastructure) เพื่อให้เมืองสามารถรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (เช่น น้ำท่วมและภัยแล้ง) การกระจุกตัวทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคาดการณ์ระบุว่าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่อาจสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าหากไม่มีมาตรการปรับตัวที่แข็งแกร่ง ปัญหาความร้อนในเมือง (Urban Heat Island effect) ก็เป็นอีกความท้าทายด้านความน่าอยู่อาศัยและผลิตภาพในอนาคต โดยกรุงเทพฯ มีความร้อนสูงกว่าเมืองรองอื่นๆ ภาพ : New York Times สำหรับประเทศไทย พื้นที่เกือบทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร หรือคิดเป็นพลเมืองมากกว่า 10 % ที่อาศัยบนพื้นดินใกล้ชายฝั่ง รวมถึงในกรุงเทพมหานครเสี่ยงได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลสูง หรือเผชิญกับอุทกภัย ภายในปี พ.ศ. 2593 เทียบกับผลวิจัยก่อนหน้าที่คาดว่าจะกระทบต่อประชาชนเพียง 1 % ของกรุงเทพฯเท่านั้น หรือเลวร้ายจากการประเมินครั้งก่อนถึง 12 เท่า การพัฒนาเมืองรองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจในระดับชาติ […]

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย: บทบาทเมืองรองและความยืดหยุ่นที่มากกว่าเมืองหลวง (Resilient infrastructure) อ่านเพิ่มเติม »

ถอดรหัส “เซินเจิ้น” จากหมู่บ้านชาวประมง สู่ Silicon Valley แห่งเมืองจีน โอกาสและบทเรียนที่ไทยและเมืองหลัก ควรเรียนรู้

ฮู้บ่ว่า? จากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ใน 40 ปีก่อน “เซินเจิ้น” ได้กลายเป็นมหานครเทคโนโลยี และนวรรตกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีน ให้ทะยานขึ้นไปในระดับโลก . เป็นเมืองหลักที่อยู่ทางตะวันออกของชะวากทะเลแม่น้ำจูในมณฑลกวางตุ้งตอนใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีอาณาเขตทางใต้ติดกับฮ่องกง ตะวันออกเฉียงเหนือติดกับฮุ่ยโจว ตะวันตกเฉียงเหนือติดกับตงกว่าน และทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดกับกว่างโจว จงชาน และจูไห่ ซึ่งเป็นอีกฝั่งของชะวากทะเล โดยใช้เขตแดนทางทะเลเป็นตัวแบ่งอาณาเขต ด้วยจำนวนประชากร 17.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2020 ทำให้เชินเจิ้นเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสาม (วัดตามจำนวนประชากรในเขตเมือง) ของประเทศจีน รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง ท่าเรือเซินเจิ้นยังเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่พลุกพล่านมากเป็นอันดับ 4 ของโลก จากชุมชนเล็ก ๆ ริมชายฝั่งทางตอนใต้ของจีน ที่ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพประมงและ GDP ทั้งเมืองมีเพียง 270 ล้านหยวน เซินเจิ้นได้รับการพลิกโฉมครั้งใหญ่เมื่อปี 1980 ด้วยการประกาศให้เป็น “เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศจีน” การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของพายุแห่งการพัฒนา จากแรงผลักดันของรัฐบาลที่ต้องการเปิดเมืองรับการลงทุนจากต่างชาติ ส่งผลให้เงินทุน และเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่หลั่งไหลเข้าสู่เมืองชายฝั่งเล็ก ๆ แห่งนี้ จากข้อได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงานที่มีราคาถูก และวิสัยทัศน์ที่ต้องการเรียนรู้องค์ความรู้และนวรรตกรรมจากต่างชาติ ทำให้ในเวลาไม่นาน เซินเจิ้นก็กลายเป็นหนึ่งในแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เซินเจิ้น (Shēnzhèn) ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายสินค้าไปทั่วโลก และด้วยการผลิตที่เน้น “ปริมาณมาก ต้นทุนต่ำ” ทำให้สินค้าที่ผลิตในเมืองเซินเจิ้นมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับโลก แต่ในขณะเดียวกัน นั่นทำให้เซินเจิ้นในยุคหนึ่งถูกมองว่าเป็น “เมืองแห่งสินค้าก็อปปี้” ที่เน้นปริมาณและราคามากกว่าคุณภาพ การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านเทคโนโลยีของจีน รวมถึงแรงสะสมขององค์ความรู้ด้านเทคนิค แรงงานฝีมือ และโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการผลิต ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเซินเจิ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนวัตกรรมผ่านการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D) การส่งเสริมสตาร์ทอัพ และการให้ทุนแก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ส่งผลให้.ในปัจจุบัน เซินเจิ้นเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก “เมืองแห่งสินค้าก็อปปี้” สู่การเป็นหนึ่งในเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือที่หลายคนขนานนามว่า “Silicon Valley แห่งเอเชีย” ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่มากมาย . ในปัจจุบัน เศรษฐกิจของเซินเจิ้นยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 8.35% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน มูลค่า GDP ล่าสุดของเมืองอยู่ที่ประมาณ 3.68 ล้านล้านหยวน หรือราว 514.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2025) ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับประเทศขนาดกลางอย่างประเทศไทย รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในเมืองเซินเจิ้นอยู่ที่ประมาณ 1แสน 9 หมื่นหยวน หรือราวๆ 900,989 บาท ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศจีนอย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของเซินเจิ้น รวมถึงความก้าวหน้าทางการพัฒนาเมืองในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา อีกทั้งยังตอกย้ำบทบาทของเซินเจิ้นในฐานะกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน สู่การเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและนวัตกรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นฐานการผลิตและศูนย์วิจัยและพัฒนาที่สำคัญของสินค้าด้านเทคโนโลยี อาทิ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต

ถอดรหัส “เซินเจิ้น” จากหมู่บ้านชาวประมง สู่ Silicon Valley แห่งเมืองจีน โอกาสและบทเรียนที่ไทยและเมืองหลัก ควรเรียนรู้ อ่านเพิ่มเติม »

[สรุปตามประเด็นปัญหาของขอนแก่น] ในเวที ดีเบต #KhonKaenNext⏩2025 “เลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2568”

𝘿𝙚𝙗𝙖𝙩𝙚 [สรุปตามประเด็นปัญหาของขอนแก่น] ในเวที ดีเบต #KhonKaenNext⏩2025 “เลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2568” . โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน รับชม รับฟัง ทีมงานเพียงอำนวยความสะดวกเพียงเท่านั้น ผู้สมัครแต่ละท่านได้นำเสนอมุมมองและนโยบายที่หลากหลายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชน โดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ เช่น: . 💡𝟭. 𝗜𝗻𝗳𝗿𝗮𝘀𝘁𝗿𝘂𝗰𝘁𝘂𝗿𝗲 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมพื้นฐาน #เบอร์1 ทนายวสันต์ ชูชัย เน้นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่ เช่น ปัญหาสวนสาธารณะ น้ำท่วม การจราจร ทางเท้าต่างๆ เพื่อให้เมืองมีความเป็นระเบียบวินัย สะอาด สะดวก และปลอดภัยสำหรับประชาชน. นโยบายเบื้องต้นจะให้ความสำคัญกับปัญหาพื้นฐาน โครงสร้างสังคม โครงสร้างการพัฒนาคนทุกด้าน ด้านสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ ถนน การจราจร สวนสาธารณะ และการศึกษา. คุณภาพชีวิตที่ดีต้องมาจากพื้นฐานที่ดี. #เบอร์2 คุณนันทวัน ไกรศรีวันทนะ เห็นว่าบ้านเมืองควรพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้. นโยบายระยะสั้นที่เห็นได้ง่ายคือการปรับปรุงสวนสาธารณะ ซึ่งเมืองขอนแก่นมีศักยภาพและกายภาพดี แต่ขาดการดูแล บึงแก่นนครถูกทิ้งร้างมานาน. สิ่งแวดล้อมเป็นลมหายใจของเรา จึงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตประชาชน. การจัดการขยะต้องเริ่มจากจิตสำนึกของประชาชนให้คัดแยกขยะในครัวเรือน. ปัญหาภัยพิบัติ (ส่วนมากคือน้ำท่วมซ้ำซาก) อยากขุดลอกท่อระบายน้ำทั่วเขตเทศบาล. #เบอร์3 คุณวรินทร์ เอกบุรินทร์ แก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ จราจร ซ่อมแซมถนน. อยากเห็นชาวขอนแก่นเติบโตในเมืองด้วยชีวิตที่ดี. ชีวิตประจำวันที่ดีเริ่มต้นที่ความราบรื่นปลอดภัย. ตื่นเช้ามาไม่เห็นขยะหน้าบ้าน ไปโรงเรียนบนถนนเรียบ ไม่มีรถติด ลูกหลานไปเรียนมีคุณภาพชีวิตดี มีห้องน้ำ ห้องพยาบาล สนามเด็กเล่นที่ดีในโรงเรียน. เดินไปทำงานบนทางเท้าที่ดี ไม่มีสิ่งกีดขวาง. กลับบ้านอย่างปลอดภัยบนถนนที่มีแสงสว่าง ทาสีตีเส้นดี มี CCTV. วันหยุดพาครอบครัวไปสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นที่ดี ปลอดภัย. #เบอร์4 คุณเบญจมาพร ศรีบุตร เห็นปัญหาและโอกาสของเมือง. การทำโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้พร้อมรองรับโอกาสเป็นสิ่งสำคัญ. ถ้าเมืองยังมีห้องน้ำไม่สะอาด ขนส่งไม่สะดวก พื้นที่ไม่ปลอดภัย โอกาสต่างๆ อาจไม่เข้ามา. การทำทางเดินเท้าให้มีคุณภาพ การทลายจุดเสี่ยงเพื่อให้เดินทางปลอดภัย จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก. พื้นที่สาธารณะเป็นเสาหลักที่ 2 คือพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับทุกคน. ทำเพื่อให้คนมาเรียนรู้ ใช้ชีวิต ทำกิจกรรมนอกอาคารได้. นโยบายห้องสมุดเพื่อทุกคน สนามเด็กเล่นน่าเล่น พื้นที่สีเขียว. ห้องสมุดเมืองจะเปลี่ยนเป็น Working Space เป็นลานกิจกรรมให้คนทุกเพศทุกวัยใช้ร่วมกัน. นโยบายห้องน้ำสะอาดมากเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนใช้ชีวิตนอกบ้าน. #เบอร์5 คุณประสิทธิ์ ทองแท่งไทย คุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเป้าหมายหลัก. เมืองที่น่าอยู่คือเมืองที่ใช้ชีวิตง่ายขึ้น ไม่ใช่แค่เน้นเทคโนโลยี แต่เน้นอำนวยความสะดวก. เรื่องของถนนและทางเท้ามีความสำคัญ. ถนนทำเท่าไหร่ก็ไม่พอเพราะรถมาก ต้องทำอย่างไรให้คนใช้รถน้อยลง. เพิ่มพื้นที่ทางเท้าและปรับปรุงทางเท้าให้ราบเรียบ เหมาะแก่การเดิน. **ที่สำคัญ ทางเท้าต้องมีร่มเงา** (ต้นไม้หรือชายคาอาคาร) เพื่อให้เดินได้สบาย ยกตัวอย่างสิงคโปร์. ไฟส่องสว่างสำคัญต่อความปลอดภัย ต้องอาศัยความร่วมมือภาครัฐและประชาชนช่วยกันเพิ่มแสงสว่างตามทางเดิน.

[สรุปตามประเด็นปัญหาของขอนแก่น] ในเวที ดีเบต #KhonKaenNext⏩2025 “เลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2568” อ่านเพิ่มเติม »

1 เดียวในโลก ‘บั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ ความภาคภูมิใจของชาวกาฬสินธุ์ จาก ประเพณี สู่ ‘อัตลักษณ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์’

1. ‘บั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ ประเพณี 1 เดียวในโลก ภาพจาก: ททท.สำนักงานขอนแก่น TAT Khonkaen Fanpage ท่ามกลางเสียงหวีดแหลมของตะไลที่หมุนทะยานขึ้นฟ้า และกลิ่นควันดินประสิวที่คลุ้งทั่วท้องนาเล็ก ๆ แห่งตำบลกุดหว้า มีบางสิ่งที่มากกว่า ‘ประเพณี’ ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นประเพณีที่ผูกโยงกับความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวอีสานมาอย่างช้านาน เชื่อว่าเป็นการจุดขึ้นเพื่อขอให้เทพเทวดาบันดาลให้ฝนตกดี เพื่อทำการทำนาในช่วงต้นฤดูฝน    ณ ตำบลกุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ มีงานประเพณีบุญบั้งไฟที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่นไม่ซ้ำประเพณีบั้งไฟที่ไหนในโลก นั่นคือ ‘ประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ ความโดดเด่นที่ว่านั่นคือ การจุด ‘บั้งไฟตะไล’ ซึ่งเป็นบั้งไฟที่มีลักษณะเป็นวงกลม มีหลายขนาดตามปริมาณดินประสิวที่ใช้ในการบรรจุ ตั้งแต่บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน และบั้งไฟล้านจนไปถึงสิบล้าน เอกลักษณ์ของบั้งไฟตะไลคือ เวลาจุดจะมีลักษณะหมุนขึ้นพร้อมกับปล่อยควันเป็นเกลียวคลื่น ส่งเสียงดังกังวาน และตัวบั้งไฟก็จะตกลงพื้นอย่างช้าๆ จากร่มชูชีพที่คอยพยุง สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก   สำหรับปี 2568 นี้ งานบุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า จะจัดขึ้นในวันที่ 17–18 พฤษภาคม โดยมีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้งงาน ไม่ว่าจะเป็น   ขบวนแห่บั้งไฟสุดอลังการ การจุดบั้งไฟตะไลแสน ตะไลสองล้าน และตะไลสิบล้าน ที่จะทะยานขึ้นฟ้าอย่างตื่นตาตื่นใจ การแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสานพื้นบ้าน รวมถึงกิจกรรมสนุกสนานอีกมากมายตลอด 2 วันเต็ม ภาพจาก: ททท.สำนักงานขอนแก่น TAT Khonkaen Fanpage งานใหญ่ประจำปีที่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ใครที่อยากสัมผัสมนต์เสน่ห์ของบั้งไฟตะไลล้านและบรรยากาศงานบุญอีสานแท้ ๆ ห้ามพลาดเด็ดขาด!   นอกจากนี้ อีสาน อินไซต์ สิพามาเบิ่ง ว่าทำไม ‘บุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ จึงเป็นมากกว่าแค่ประเพณี @aum_wimonrat บั้งไฟตะไลสิบล้าน #บุญบั้งไฟ #กุดหว้า ♬ เสียงต้นฉบับ – หมอแคนอุ้ม วิมลรัตน์ – หมอแคนอุ้ม Shop   2. ไม่ใช่แค่เพียงสิ่งที่จุดขึ้นฟ้า แต่ บั้งไฟตะไลล้าน คือ ‘สัญลักษณ์แห่งความเป็นกุดหว้า’ ก่อนที่จะมีบั้งไฟตะไล ชาวบ้านกุดหว้าซึ่งเป็นชาวผู้ไท ก็มีการจุดบั้งไฟเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆในภาคอีสาน กระทั่ง ‘นายพิศดา จำพล’ ได้คิดค้นและริเริ่มการทำ บั้งไฟตะไล ขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการเริ่มจุดในปี 2521 ด้วยความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ แม้จะลอยอยู่บนฟ้าได้ไม่นาน แต่กลับสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชม และได้กลายมาเป็น อัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในโลก ของชุมชนกุดหว้า @pailolhnaidee แล่นล่ะแม้ บั้งไฟตะไล 10 ล้าน ทีมงาน #เหิรฟ้าพญาแถน หนึ่งเดียวในโลก! ประเพณีอีสานบ้านเฮา งานบุญบั้งไฟตะไลล้าน ประจำปี 2567 เทศบาลตำบลกุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

1 เดียวในโลก ‘บั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า’ ความภาคภูมิใจของชาวกาฬสินธุ์ จาก ประเพณี สู่ ‘อัตลักษณ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ อ่านเพิ่มเติม »

เปิดรับทั่วประเทศ สู่เส้นทางวงการบันเทิง “BMG Flock into Be My Gangstar” กับการคัดเลือกให้เป็นตัวท็อปสายบันเทิงเจนใหม่

📢 BMG Project 2025 Flock into Be My Gangstar คุณคือรายต่อไป ที่จะโดนหมายหัว กับการคัดเลือกให้เป็นตัวท็อปสายบันเทิงเจนใหม่ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับแก็งค์สตาร์ ซ่าส์ไปกับความสนุก โชว์ความสามารถ เติมเต็มความฝันของคุณ ในวงการบันเทิง พร้อมเสิร์ฟคอนเทนต์ภาพยนตร์ ซีรีส์ ร้อง เต้น เล่น ดนตรี ไปกับเราชาว Gangstar @flockinto พบกับ 2 หนุ่มหล่อ น้องแคมป์ คุณาธิป และ น้องจิมมี่ จิรเมธ 17-18 พ.ค. นี้ โปรเจค BMG Flock into Be My Gangstar ชั้น 3 เดอะมอลล์ บางแค สำหรับผู้ชนะโปรเจค BMG Flock into Be My Gangstar ผู้ชนะเลิศฝ่ายชาย จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ผู้ชนะเลิศฝ่ายหญิง จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ฝ่ายชาย จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ฝ่ายหญิง จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ฝ่ายชาย จะได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ฝ่ายหญิง จะได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท และตำแหน่งพิเศษอีกมากมาย รวมเงินรางวัลมูลค่ากว่า 100,00 บาท และสำหรับผู้ที่ผ่านการออดิชั่น -ได้ร่วมแสดงซีรีส์วาย เรื่อง “อาการมันเป็นยังไงไหนบอกหมอ..” (Lottery Doctor) -ได้ร่วมแสดงซีรีส์วาย เรื่อง “Culture of love” -ได้ร่วมโปรเจค ไทย-บอลลี่วู้ด-จีน -ได้เป็น Brand Ambassador ผลิตภัณฑ์ Maxi B -ได้เป็นศิลปิน ได้ร่วมคอนเทนต์ อีกมากมาย #อาการมันเป็นยังไงไหนบอกหมอ #lotterydoctor #BMGproject #BMGproject2025 #FlockIntoBeMyGangstar #FlockInto #GangStar #bl #ซีรีส์วาย #ยูริ #Movies #Artist #คู่จิ้น #เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์บางแค #แคมป์คุณาธิป #จิมมี่จิรเมธ ♬

เปิดรับทั่วประเทศ สู่เส้นทางวงการบันเทิง “BMG Flock into Be My Gangstar” กับการคัดเลือกให้เป็นตัวท็อปสายบันเทิงเจนใหม่ อ่านเพิ่มเติม »

ทำไม บึงกาฬ จึงเป็นจังหวัดเดียวในอีสานที่เศรษฐกิจหดตัว ปี 66 เจาะลึกปัญหา และ โอกาสที่ต้องเผชิญ

 บึงกาฬ จังหวัดน้องใหม่กับปัญหา และ โอกาสที่ต้องเผชิญ จังหวัดบึงกาฬหรือจังหวัดน้องใหม่เป็นจังหวัดที่มีการพึ่งพาภาคการเกษตรมากที่สุดในภาคอีสานจังหวัดบึงกาฬเป็นหนึ่งในจังหวัดสำคัญในการปลูก ต้นยาง และ ปาล์มน้ำมัน เพื่อส่งออกเป็นรายได้ให้กับจังหวัดจังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดในภาคอีสานรวมไปถึงปาล์มน้ำมันก็เช่นเดียวกันที่การปลูกมากที่สุดในภาคอีสาน การท่องเที่ยวก็เช่นกันมีการท่องเที่ยวเชิง ศาสนาที่เดินตามรอยพยานาค จังหวัดน้องใหม่ที่มีขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่อันดับที่ 17 ของภูมิภาค แต่มีรายได้ต่อหัวสูงถึง อันดับที่ 7 ของภูมิภาค อะไรที่ทำให้จังหวัดน้องใหม่อย่างบึงกาฬมีรายได้ต่อหัวที่สูงขนาดนี้ และ จังหวัดบึงกาฬจะสามารถพัฒนาไปในทิศทางไหนได้บ้าง  พาส่องเบิ่ง GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน . . อีสานอินไซต์ สิพามาเบิ่ง ทำไม บึงกาฬ จังหวัดเดียวที่เศรษฐกิจหดตัว? . ก่อนอื่นอาจจะต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของจังหวัดบึงกาฬก่อน เพราะจังหวัดบึงกาฬนั้นมีแรงงานกว่า 80% อยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้เพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมันและปลูกข้าว ทำให้รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับราคาของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเกษตรกรเหล่านี้ก็นำเงินที่ได้ไปจับจ่ายใช้สอยซึ่งทำให้เกิดมูลค่าในเศรษฐกิจภาคการค้าและบริการในจังหวัด . ในภาคการเกษตรนั้น หากจะกล่าวก็คือบึงกาฬนั้นเป็นจังหวัดที่มีผลิตภาพทางการเกษตรสูงสุด นั่นหมายความว่าเกษตรกร 1 คนมีมูลค่าที่ได้จากการผลิตทางการเกษตรนั้นสูงที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน เพราะ บึงกาฬนั้นมีผลิตผลผลิตทางการเกษตร สูงสุดคือ ยางพารา . แต่ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ดัชนีราคายางพาราทั่วประเทศนั้น ค่อนข้างตกต่ำในรอบหลายปี ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรซึ่งเป็นรายได้หลักและเป็นเศรษฐกิจภาคการเกษตรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดบึงกาฬ เมื่อเกษตรกรรายได้ลดลงการจับจ่ายใช้สอยและการซื้อสินค้าคงทน ทั้งรถยนต์รวมไปถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือน การหดตัวของสินเชื่อและรวมถึงความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อทำให้การซื้อและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หดตัวลงเช่นกัน นอกจากนั้นในฝั่งภาคการลงทุนด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในภาคอีสานนั้น มักจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แต่กลับพบว่าการลงทุนเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นโรงงานการแปรรูปยางพารา ลงทุนในจังหวัดใกล้เคียงอย่าง เช่น สกลนคร และ นครพนม ซึ่งมีพื้นที่ติดกับชายแดนและเขตพื้นที่การค้า ทำให้บทบาทของจังหวัดบึงกาฬนั้นกลายเป็นเพียงพื้นที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ส่วนพื้นที่แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าการผลิตทางการเกษตรนั้น ไปเติบโตในจังหวัดใกล้เคียง และเมื่อภาคอุตสาหกรรมไม่ได้ถูกลงทุน ภาคการเกษตรที่เป็นรายได้หลักหดตัวจากราคาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง การบริโภคหดตัวลงและส่งผลกระทบต่อภาคการค้าและภาคบริการในจังหวัด ทั้งหมดนี้จึงทำให้จังหวัดบึงกาฬเป็นเพียงแค่จังหวัดเดียว ที่มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หรือ GPP หดตัวถึง 5.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเป็นเพียงแค่จังหวัดเดียวในภาคอีสานที่ขนาดเศรษฐกิจหดตัวลงนั่นเอง   โดยจะแยกรายละเอียดเพิ่มเติมถึงโอกาส และ ความท้าทายที่จังหวัด บึงกาฬ ได้ 5 ประเด็น ดังนี้ .   1. อย่างที่เรารู้กันจังหวัดบึงกาฬนั้นเป็นจังหวัดที่มีการ ปลูก ยางพารา และ ปาล์มน้ำมันมากที่สุด ในภาคอีสาน ซึ่งยางพาราสามารถให้ผลผลิตกว่า 1.3ล้านตัน จังหวัดบึงการมีการพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลัก และ ในปี 2565 จังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตการเพาะปลูกยางพารามากทึ่สุดในภาคอีสาน อยู่ที่ 208,035 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 15.6% อีกทั้งมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุดในภาคอีสาน และสูงที่สุดของประเทศด้วย โดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 248

ทำไม บึงกาฬ จึงเป็นจังหวัดเดียวในอีสานที่เศรษฐกิจหดตัว ปี 66 เจาะลึกปัญหา และ โอกาสที่ต้องเผชิญ อ่านเพิ่มเติม »

ธุรกิจโรงสีข้าวร้อยเอ็ด มีรายได้รวมมากที่สุดในอีสาน แต่กระจุกตัวเพียงไม่กี่รายจริงหรือไม่?

บริบทภาคการเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ‘ข้าว’ ถือเป็นจิตวิญญาณของคนร้อยเอ็ด โดยพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดแห่งนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ด้วยพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ทำให้ร้อยเอ็ดสามารถปลูกข้าวได้หลากหลายสายพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยร้อยเอ็ดมีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 3.1 ล้านไร่ มีผลผลิตข้าวนาปีในปี 2567 ปริมาณ 9.9 แสนตัน มากเป็นอันดับ 6 ของภาค และมี ‘ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้’ เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)ประจำจังหวัด มีความหอมและความเรียวสวยงามเป็นเอกลักษณ์ สามารถส่งออกสู่ตลาดนานาชาติ พาเปิดเบิ่ง “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีอะไรบ้าง🌾🍚✈️ บทบาทของโรงสีข้าวต่อเศรษฐกิจอีสานและจังหวัดร้อยเอ็ด ในด้านของธุรกิจที่ควบคู่มากับชุมชนปลูกข้าว คงหนีไม่พ้น ‘ธุรกิจโรงสีข้าว’ ซึ่งเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานอันสำคัญ จากการที่ในภาคอีสานซึ่งมีการปลูกข้าวมาก จึงทำให้มีโรงสีข้าวกระจายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่โรงสีข้าวขนาดเล็กในชุมชน จนไปถึงโรงสีขนาดใหญ่ที่ผลิตข้าวระดับประเทศและเป็นผู้ส่งออก ซึ่งบทบาทของโรงสีนั้นไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับแปรรูปผลผลิต แต่ยังถือว่าเป็น ‘จุดผ่านสำคัญ’ ของข้าว ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีแหล่งจำหน่ายข้าว สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนั้นธุรกิจโรงสียังก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่อีกด้วย จากข้อมูลนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงสีข้าวที่ยังดำเนินการอยู่ในปี 2568 ในภาคอีสานมีทั้งสิ้น 336 ราย คิดเป็นสัดส่วน 32% ของประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนและจำนวนโรงสีมากที่สุดในประเทศ แต่ส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก จากการที่มีทุนจดทะเบียนรวม 1.25 หมื่นล้านบาท คิดเป็นเพียง 27% ของประเทศ และมีรายได้รวม 6.67 หมื่นล้านบาท คิดเป็นเพียง 20% ของประเทศ โดย 3 จังหวัดที่มีธุรกิจโรงสีข้าวมากที่สุดในภาคอีสาน ได้แก่ สุรินทร์ 51 ราย อุบลราชธานี 40 ราย นครราชสีมา 40 ราย ศรีสะเกษ 27 ราย อุดรธานี 27 ราย โดยจังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงสีข้าวอยู่ทั้งสิ้น 26 ราย เป็นอันดับ 6 ในอีสาน โดยคิดเป็นเพียง 8% ของนิติบุคคลประเภทเดียวกันในภาค  และมีทุนจดทะเบียนรวม 0.13 หมื่นล้านบาท แม้ในด้านจำนวนนิติบุคคลจะไม่ได้ติด Top 5 ของภูมิภาค แต่เมื่อมองในด้านของรายได้รวมของธุรกิจแล้วนั้น จะพบว่าธุรกิจโรงสีในร้อยเอ็ดมีรายได้รวม ‘มากที่สุดในอีสาน’ กว่า 1.11 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ทั้งภูมิภาคถึง 17% ในส่วนของอันดับ 2 – 5 จังหวัดที่มีรายได้รวมสูงสุด ได้แก่ ศรีสะเกษ 0.93 หมื่นล้านบาท สุรินทร์ 0.78 หมื่นล้านบาท นครราชสีมา 0.72 หมื่นล้านบาท อุบลราชธานี 0.59 หมื่นล้านบาท   โรงสีข้าวร้อยเอ็ด ใหญ่อันดับต้นๆของอีสาน ชูจุดแข็ง

ธุรกิจโรงสีข้าวร้อยเอ็ด มีรายได้รวมมากที่สุดในอีสาน แต่กระจุกตัวเพียงไม่กี่รายจริงหรือไม่? อ่านเพิ่มเติม »

ประเทศไทย ประเทศเทา รายได้ใต้เงา กับธุรกิจนอกระบบในสังคมไทย

ธุรกิจรายย่อยในประเทศไทยนับหมื่นรายถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทั้งในแง่ของการจ้างงาน และการสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ไม่มากก็น้อย แม้ว่าธุรกิจในกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยแต่ผู้ประกอบการธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายไม่ได้มีการจดทะเบียนธุรกิจอย่างถูกกฎหมายหรือเรียกว่าธุรกิจนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนพาณิชย์หรือนิติบุคคลก็ตาม ส่งผลให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้ได้อย่างเต็มเม็ดเต้มหน่วย อีกทั้งธุรกิจนอกระบบเหล่านี้เนื่องจากไม่ได้มีการจดทะเบียนทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มีการส่งเข้าสู่ระบบประกันสังคมซึ่งถือเป็นสิทธิ์ของลูกจ้างเช่นกัน รายงานจากธนาคารโลก (World Bank) ในปี พ.ศ. 2563 ระบุว่า ประเทศไทยมีขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก และใหญ่ที่สุดในอาเซียน คิดเป็นมูลค่าราว 7 ล้านล้านบาท จากมูลค่า GDP ที่ 15.7 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งหากรวมเศรษฐกิจนอกระบบเข้าไปจะทำให้ GDP โดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 22.7 ล้านล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ถูกนำมาบันทึกในระบบ และบ่งชี้ว่า หากสามารถดึงสัดส่วนที่อยู่นอกระบบเหล่านี้เข้าสู่ระบบได้ ก็จะทำให้รายได้ของรัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น มีแหล่งรายได้เพิ่มเติม และสามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้มากขึ้น และจากรายงานของ OECD ระบุว่า ในภูมิภาคอาเซียนกว่า 80% ของธุรกิจ และ 55% ของแรงงาน ยังคงอยู่นอกระบบ ซึ่งหมายความว่าแรงงานจำนวนมหาศาลไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ขาดหลักประกันทางสังคม และไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แม้จะเป็นแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก รูปที่ 1 ขนาดเศรษฐกิจนอกระบบทั่วโลก พ.ศ. 2563 ที่มา: World Bank เมื่อพิจารณาจากธุรกิจทั่วประเทศ พบว่า จากการรายงานของ สสว. ประเทศไทยมีผู้ดำเนินกิจการประมาณ 3.2 ราย แต่มีเพียง 890,000 รายเท่านั้นที่จดมีการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่แจ้งว่ามีจำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนและยังดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้นราว 9.3 แสนแห่ง สะท้อนว่าเกือบ 3 ใน 4 ของผู้ประกอบการรายย่อยยังคงดำเนินกิจการอยู่นอกระบบ ซึ่งเป็นผลจากทั้งอุปสรรคเชิงโครงสร้าง เช่น ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ซับซ้อน การขาดความรู้ด้านบัญชีและกฎหมาย ตลอดจนปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น ไม่เห็นความจำเป็นในการเข้าสู่ระบบ ซึ่งหากผู้ประกอบการที่เหลือมีการเข้าสู่ระบบทั้งหมด จะทำให้ GDP ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้อีกกว่า 2.6 ล้านล้านบาท ธุรกิจนอกระบบมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากธุรกิจในระบบอย่างชัดเจน โดยมักดำเนินการอยู่ในระดับครัวเรือนหรือรายบุคคล เช่น ร้านขายของชำขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย ร้านอาหารในชุมชน ช่างฝีมืออิสระ และบริการพื้นฐานอื่นๆ ซึ่งกระจายอยู่ในหลากหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม การค้าปลีกขนาดเล็ก และภาคบริการ รูปที่ 2 สัดส่วนธุรกิจที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภาคอีสานเป็นภาคที่มีสัดส่วนของธุรกิจนอกระบบสูงที่สุด โดยกว่า 90% ของร้านค้าในพื้นที่ไม่ได้จดทะเบียนกับภาครัฐ รองลงมาคือภาคเหนือ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน ปัจจัยที่มีผล ได้แก่ ระดับรายได้เฉลี่ยของประชาชนในพื้นที่ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความพร้อมด้านทักษะและเทคโนโลยี ตลอดจนการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ยังไม่เพียงพอ สถานการณ์นี้ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคดังกล่าวขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนหรือการสนับสนุนด้านพัฒนาอาชีพ และต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากธุรกิจในระบบที่มีสิทธิประโยชน์มากกว่า รูปที่ 3 สัดส่วนธุรกิจนอกระบบ แบ่งตามภูมิภาค

ประเทศไทย ประเทศเทา รายได้ใต้เงา กับธุรกิจนอกระบบในสังคมไทย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐พลังงานข้ามพรมแดนไทยพึ่งพาไฟฟ้าจากลาวแค่ไหน

ฮู้บ่ว่า? สปป.ลาว เป็นแหล่งซื้อไฟฟ้าที่สำคัญที่สุดของไทย ด้วยข้อตกลงการซื้อไฟฟ้ากว่า 10,500 เมกะวัตต์ ผ่านจุดรับในภาคอีสาน กระจายสู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ . ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ขยายความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ความร่วมมือนี้ได้พัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ภายใต้แนวคิด “Battery of Southeast Asia” ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้ารายหลักจากลาวอย่างต่อเนื่อง . ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า ไทยมีข้อตกลงซื้อไฟฟ้าจากลาวรวมสูงถึง 10,500 เมกะวัตต์ โดยได้ลงนามในสัญญาไปแล้วประมาณ 9,342 เมกะวัตต์ และมีการรับไฟฟ้าในปี 2567 แล้วประมาณ 5,936 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นราว 10% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งประเทศ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนน้ำเทิน 2 และเขื่อนน้ำงึม 2 (พลังน้ำ) รวมถึงโรงไฟฟ้าหงสา (ถ่านหิน) . สาเหตุที่ไทยนำเข้าไฟฟ้าจากลาวมีหลากหลายปัจจัย ทั้งในด้านต้นทุนที่อาจต่ำกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากลาวมีทรัพยากรพลังน้ำที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในบางโครงการต่ำกว่าการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในไทย อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงแรงต่อต้านจากสาธารณชนภายในประเทศ โดยเฉพาะในกรณีของถ่านหินและพลังน้ำ ที่มักมีข้อถกเถียงด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน . อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาไฟฟ้าจากลาวในระดับสูง อาจสร้างความกังวลในด้านความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาว เพราะการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมากเกินไป อาจทำให้ไทยเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ ภัยพิบัติในลาว หรือความไม่แน่นอนด้านนโยบาย นอกจากนี้ ยังมีข้อห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อมจากโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ที่ส่งผลต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขง และชุมชนในลาว ซึ่งอาจกลายเป็นประเด็นจริยธรรมที่ไทยในฐานะผู้บริโภคพลังงานต้องพิจารณา . หากเกิดวิกฤต ไม่ว่าจะจากภัยธรรมชาติ หรือความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างไทยกับลาว พื้นที่ภาคอีสานซึ่งเป็นจุดรับและกระจายไฟฟ้าจากลาว อาจได้รับผลกระทบเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะหากมีการหยุดส่งไฟฟ้าชั่วคราวหรือระยะยาว ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและกิจกรรมในพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ หากกำลังการผลิตภายในประเทศไม่สามารถทดแทนได้ทัน . แม้ระบบพลังงานข้ามพรมแดนนี้จะช่วยให้ไทยได้รับประโยชน์ด้านต้นทุนและความยืดหยุ่นเชิงนโยบายอย่างมาก แต่ความสมดุลระหว่าง “ต้นทุนทางเศรษฐกิจ” กับ “ต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม” จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งควรมีแผนสำรองรองรับความเสี่ยงจากการพึ่งพาแหล่งพลังงานภายนอกมากเกินไป ซึ่งอาจกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

พามาเบิ่ง🧐พลังงานข้ามพรมแดนไทยพึ่งพาไฟฟ้าจากลาวแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เมื่อค่าแรงไล่ตาม “ค่าครองชีพ” ไม่ทัน จากราคาสินค้าปี 2559 สู่ 2568 พุ่งทะยาน

ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567 ปี 2568 300 บาท 305-308 บาท 310-320 บาท 310-320 บาท 313-325 บาท 313-325 บาท 328 – 340 บาท 328 – 340 บาท 340-352 บาท 347-359 บาท   ทอง (1 บาท) 2559 21,500 บาท 2568 51,550 บาท เพิ่มขึ้น 30,050 บาท ≈ 139.77%   หมู (เนื้อแดง สะโพก ตัดแต่ง)  2559 152.50 บาท/กก. 2568 175.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 22.50 บาท ≈ 14.75%   ไข่ไก่ (เบอร์ 1) 2559 3.75 บาท/ฟอง 2568 4.70 บาท/ฟอง เพิ่มขึ้น 0.95 บาท ≈ 25.33%   ทุเรียนหมอนทอง 2559 110.00 บาท/กก. 2568 225.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 115.00 บาท ≈ 104.55%   น้ำมันปาล์ม (ขวด1 ลิตร) 2559 40.00 บาท/ขวด 2568 57.50 บาท/ขวด เพิ่มขึ้น 17.50 บาท ≈ 43.75%   ข้าวสารเจ้า 100% ธรรมดา (ข้าวใหม่) 2559 405.00 บาท/15 กก. 2568 425.00 บาท/15

พามาเบิ่ง เมื่อค่าแรงไล่ตาม “ค่าครองชีพ” ไม่ทัน จากราคาสินค้าปี 2559 สู่ 2568 พุ่งทะยาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top