SHARP ADMIN

พามาเบิ่ง🧐 ขุมทรัพย์ทองคำ 64 ต้น 🪙 1 ในแนวแร่ทองคำในไทย : “แนวเลย – เพชรบูรณ์ – ปราจีนบุรี”

แร่ทองคำเป็นทรัพยากรธรณีที่มีมูลค่าสูงและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาตั้งแต่สมัยอดีต ด้วยคุณสมบัติที่หายากและมีความคงทน ทองคำจึงถูกนำมาใช้ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เครื่องประดับ และการลงทุน ในประเทศไทยก็มีการใช้ประโยชน์จากทองคำมาตั้งแต่โบราณ ทราบจากหลักฐานโบราณวัตถุและบันทึกต่างๆ ซึ่งในพื้นที่ประเทศไทยมีแหล่งแร่ทองกระจายอยู่หลายแหล่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีจำนวน 32 แหล่ง มีทรัพยากรแร่ทองคำประมาณ 148 ตัน โดยสามารถแบ่งพื้นที่แหล่งแร่ทองคำในไทยออกเป็นแนวพื้นที่ จำนวน 5 แนวหลักทั่วประเทศ โดยอีสาน อินไซต์ จะพามาทำความรู้จักกับ 1 ในแนวแร่ที่มีพื้นที่ตัดผ่านบางพื้นที่ภาคอีสาน ตัวอย่างแหล่งแร่ รวมไปถึงกรณีศึกษาการทำเหมืองแร่ในอีสาน แนวแร่ทองคำที่กล่าวไปข้างต้นคือ “แนวเลย – เพชรบูรณ์ – ปราจีนบุรี” แนวแร่ทองคำแห่งนี้เริ่มต้นตั้งแต่จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี เพชรบูรณ์ พิจิตร ลพบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว จัดเป็นแนวที่มีศักยภาพทางแร่ทองคำสูงที่สุดใน 5 แนวของไทย โดยลักษณะการเกิดทองคำบริเวณแนวนี้เป็นแบบปฐมภูมิหมายถึง แหล่งแร่ทองคำที่เกิดร่วมกับหินต้นกำเนิด หรือแทรกอยู่ในหินท้องที่ โดยจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่ามีปริมาณทรัพยากรแร่ทองคำประมาณ 64 ตัน ยกตัวอย่างแหล่งแร่ทองคำ และแหล่งศักยภาพในอีสานบริเวณแนวแร่นี้ เช่น แหล่งแร่ภูพระ อ.เมือง จ.เลย แหล่งภูทับฟ้า อ.วังสะพุง จ.เลย แหล่งภูปักธง อ.เมือง จ .เลย แหล่งบ้านชำเจียง อ.สังคม จ.หนองคาย แหล่งบ้านเทพประทาน อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี แม้ว่าจะมีหลายพื้นที่ที่เป็นแหล่งทองคำและแหล่งศักยภาพ แต่ก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะทำการทำเป็นเหมือง อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ภูทับฟ้า ภูเหล็ก และภูซำป่าบอน อ.วังสะพุง จ.เลย ได้รับการสำรวจว่ามีปริมาณแร่ทองคำเพียงพอที่จะทำเป็นเมือง ในช่วงปี 2530 ซึ่งต่อมา “บริษัท ทุ่งคำ จำกัด” ได้ทำการเข้ามาสำรวจพื้นที่ และได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองและประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ การเข้ามาทำเหมืองบริเวณพื้นที่ ไม่เป็นดั่งที่หลายคนคาดหวัง เนื่องจากได้ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แหล่งน้ำบาดาลบริเวณนั้นถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด ซึ่งนำไปสู่การการรวมกลุ่มของชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาตลอดช่วงปี 2550 – 2557 ซึ่งนำไปสู่การฟ้องร้อง การประท้วง และความรุนแรงต่อร่างกายและความเสียหายต่อทรัพย์สินของชาวบ้านขึ้น จังหวัดเลยเป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรณีหลากหลายชนิด นอกจากทองคำแล้วยังมีแร่เหล็ก ทองแดง แกรนิต และอื่นๆ อีกมากมาย จากกรณีของเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่า หากมีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้โดยปราศจากการวางแผนอย่างรอบคอบและไม่คำนึงถึงผลกระทบในทุกมิติ อาจนำไปสู่ความเสียหายทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในระยะยาว ที่มา: กรมทรัพยากรธรณี, มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน, มิตรเอิร์ธ  

พามาเบิ่ง🧐 ขุมทรัพย์ทองคำ 64 ต้น 🪙 1 ในแนวแร่ทองคำในไทย : “แนวเลย – เพชรบูรณ์ – ปราจีนบุรี” อ่านเพิ่มเติม »

ผู้ประกันตน 24 ล้าน ในภาคอีสาน 2 ล้าน กับวิกฤติความเชื่อมั่น กองทุนประกันสังคม ฿2.65 ล้านล้าน

ประเด็นร้อน สิทธิบัตรทอง ในอีสาน 19 ล้านคน “ทำฟันฟรี คลินิกเอกชน” ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอน ฯ 3 ครั้ง/ปี ไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนสิทธิผู้ประกันตนในอีสาน 2 ล้านคน ทำฟันไม่เกิน ฿900 /ปี . เงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ 31 ธันวาคม 2567 มูลค่าทั้งสิ้น 2,657,245 ล้านบาท แบ่งเป็น หลักทรัพท์มั่นคงสูง 71.58% และหลักทรัพย์เสี่ยง 28.42% โดยมีการกระจายการลงทุนในประเทศ จำนวน 1,800,064 ล้านบาท คิดเป็น 67.74% และลงทุนต่างประเทศ จำนวน 857,181 คิดเป็นสัดส่วน 32.26% กองทุนประกันสังคม มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี อยู่ที่ 2.29% ส่วนอัตราผลตอบแทนปี 2567 อยู่ที่ 5.34% . ปัจจุบันเงินลงทุนรวมของกองทุน #ประกันสังคม มูลค่ารวม 2,657,245 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1. เงินสมทบสะสมจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล จำนวน 1,666,556 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 62.72% 2. เงินผลประโยชน์สะสมที่ได้รับจากการลงทุน จำนวน 990,689 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 37.28% . ในปี 2567 กองทุน ประกันสังคม มีผลประโยชนจากการลงทนที่รับรู้แล้ว จำนวน 71,960 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.) ดอกเบี้ยรับและกำไรจากการขายตราสารหนี้ 42,774 ล้านบาท 2.) เงินปันผลรับและกำไรจากการขายหุ้น นวน 29,186 ล้านบาท . จะเห็นว่าผลกำไรส่วนใหญ่ของประกันสังคมนั้นยังคงมาจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน และตราสารหนี้ต่างประเทศ เนื่องจากกรอบนโยบายการลงทุนยังคงจำกัดอยู่ที่สินทรัพย์มั่นคง (เสี่ยงต่ำ) มากถึง 60% แต่ในอีกแง่ก็เป็นเกราะกำบังให้กองทุนประกันสังคมไม่เคยลงทุนแล้ว “ขาดทุน” มาตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา . กองทุนประกันสังคม เตรียมปรับยุทธศาสตร์พอร์ตลงทุนครั้งใหญ่ ในปี 2568-2570 โดยการเพิ่มลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเป็น 60% และสินทรัพย์มั่นคง 40% วางเป้าหมายพอร์ตการลงทุนต้องสร้าง “ผลตอบแทน” หรือ “Return Income”

ผู้ประกันตน 24 ล้าน ในภาคอีสาน 2 ล้าน กับวิกฤติความเชื่อมั่น กองทุนประกันสังคม ฿2.65 ล้านล้าน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐เปิดประตูโคราช ส่องขุมทรัพย์การลงทุนจากแดนอาทิตย์อุทัย🇯🇵

จังหวัดนครราชสีมา หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “โคราช” ถือเป็นประตูสู่ภาคอีสาน ที่มีศักยภาพครบครันทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ดินที่กว้างขวาง และแรงงานคุณภาพจำนวนมาก ด้วยขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้หลายบริษัทเลือกใช้จังหวัดนี้เป็นฐานการผลิตและจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่บางส่วนของจังหวัดจึงถูกพัฒนาเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และเขตอุตสาหกรรมสุรนารี ซึ่งกลายเป็นศูนย์รวมของโรงงานผลิตจากทั้งในประเทศและต่างประเทศในภาคอีสาน เมื่อกล่าวถึงการลงทุนในคงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะมีเพียงนักลงทุนชาวไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ ความสามารถของแรงงานไทย และต้นทุนค่าแรงที่สามารถแข่งขันได้ ประเทศที่มีการลงทุนในภาคอีสานมากที่สุดคือ ญี่ปุ่นด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณ 7,500 ล้านบาท ตามมาด้วยเกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 4,600 ล้านบาท และ 2,200 ล้านบาทตามลำดับ อีสานบ่ธรรมดา! ต่างชาติทุ่มทุนมหาศาล พาส่อง ต่างชาติแห่ลงทุน มูลค่ารวมทะลุสองหมื่นล้าน ญี่ปุ่นคือ 1 ในนักลงทุนหลักของภาคอีสานมาตลอด 3 ทศวรรษ จำนวนบริษัทญี่ปุ่นในภาคอีสาน: ประมาณ 130 บริษัท มูลค่าการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในอีสาน: ประมาณ 7,500 ล้านบาท   จำนวนบริษัทญึ่ปุ่นในนครราชสีมา: ประมาณ 70 บริษัท มูลค่าการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในนครราชสีมา: ประมาณ 6,700 ล้านบาท   บริษัทญี่ปุ่นในนครราชสีมาที่มีรายได้มากที่สุด 10 อันดับแรก บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ประเภทธุรกิจ: ผลิตนาฬิกา ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2530 มูลค่าการลงทุน: 1,020 ล้านบาท รายได้รวมปัจจุบัน: 7,984 ล้านบาท (-9.6%YoY) กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 287 ล้านบาท (7.8%YoY)   บริษัท ฮิตาชิ แอสเตโม โคราช เบรก ซิสเตมส์ จำกัด ประเภทธุรกิจ: ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆสำหรับยานยนต์ ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2543 มูลค่าการลงทุน: 74 ล้านบาท รายได้รวมปัจจุบัน: 7,759 ล้านบาท (5.4%YoY) กำไร (ขาดทุน) สุทธิ: 885 ล้านบาท (5.3%YoY)   บริษัท ฮิตาชิ แอสเตโม โคราช จำกัด ประเภทธุรกิจ: ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆสำหรับยานยนต์ ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2538 มูลค่าการลงทุน: 217 ล้านบาท รายได้รวมปัจจุบัน: 4,231 ล้านบาท (9.8%YoY) กำไร

พามาเบิ่ง🧐เปิดประตูโคราช ส่องขุมทรัพย์การลงทุนจากแดนอาทิตย์อุทัย🇯🇵 อ่านเพิ่มเติม »

วิกฤติเหล็กจีนทุ้มตลาดเหล็กไทย ปัญหาที่ถูกกลบใต้พรมฟุ้งกระจาย ถ่ามกลางกองซากตึก สตง. ปี 67 โรงงานเหล็กของไทย ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง

  🏗️ปี 2567 โรงงานเหล็กของไทย🇹🇭 ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง ฮู้บ่ว่า? ปัญหาด้านโครงสร้างอาคารและเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานในประเทศไทย อาจไม่ได้เกิดจากการก่อสร้างที่ผิดพลาดเพียงอย่างเดียว หากแต่มีปัจจัยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง ทั้งการนำเข้าเหล็กจากจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการย้ายฐานการผลิตของโรงงานจีนเข้ามาในไทย ซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาจเป็นผลทำให้อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังอยู่ในอาการที่น่าห่วง จากต้องต่อสู้กับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากเหล็กนำเข้าที่โหมกระหนํ่าเข้ามาตีตลาดอย่างไม่ขาดสาย มีทั้งเหล็กคุณภาพดีและเหล็กไม่ได้มาตรฐานปะปนมาขายในราคาตํ่า ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ได้เริ่มที่จะฟุ้งกระจาย จากกรณีอาคารถล่มและเหตุแผ่นดินไหวที่จุดประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพวัสดุก่อสร้าง ไทยมีการพึ่งพาการนำเข้าเหล็กจากจีนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะสินค้าทะลักจากจีน ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเหล็กรีดเย็น เหล็กโครงสร้าง และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศจากการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาด้านคุณภาพของสินค้าที่สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคภายในประเทศไทย นอกจากการทะลักของเหล็กจากต่างประเทศที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคแล้ว ยังมีโรงงานเหล็กจีน ที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ที่ยิ่งเร่งการแข่งขันต่อผู้ประกอบการในประเทศ ตลอดจนปัญหาที่ถูกเปิดเผยในกรณีของตึกถล่ม ที่เป็นโครงการก่อสร้างจากผู้รับเหมาชาวจีน และมีแนวโน้มที่จะใช้วัสดุโครงสร้างจากเหล็กจีน ที่มาจากโรงงานจีนที่ย้ายฐานมาในประเทศไทย ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมโรงงานอุตสาหกรรม . การย้ายฐานการผลิตของโรงงานจีนเข้าสู่ไทย ยิ่งเพิ่มการแข่งขันในตลาดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า มีโรงงานผลิตเหล็กใหม่ในไทยมากกว่า 28 แห่ง ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการลงทุนจากจีนและกระจุกตัวอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสร้างความกังวลทั้งด้านความปลอดภัยและภาพลักษณ์ของสินค้าเหล็กไทยในตลาดส่งออกเนื่องจากเหล็กในประเทศมีการปะปน ทั้งจากสินค้านำเข้าจากจีน และสินค้าที่โรงงานจีนเป็นผู้ผลิต การขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ต่อผลิตภัณฑ์เหล็กและอลูมิเนียม ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับไทย ไม่เพียงแค่ทำให้ต้นทุนส่งออกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เหล็กจากประเทศอื่นๆ ที่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้หันมาระบายสินค้าสู่ไทยแทน สถานการณ์นี้จึงไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาทางเทคนิคในอุตสาหกรรมก่อสร้าง แต่เป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ต้องอาศัยการกำกับดูแลอย่างรอบด้าน ทั้งในมิติคุณภาพสินค้า มาตรการทางการค้า และการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้แข่งขันได้ในระยะยาว   สาเหตุที่เหล็กไทยพ่ายเหล็กจีน ธุรกิจเหล็กทรงยาว (บิลเลต) ของไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความท้าทายครั้งใหญ่จากโรงงานเหล็กจากจีน สาเหตุหลักมาจากปัจจัย 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรก โรงงานเหล็กจากจีนใช้เตาหลอมแบบ IF ซึ่งเป็นเตาประเภทที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและในประเทศจีนไม่อนุญาตให้ใช้เตาหลอมแบบนี้แล้ว ทำให้โรงงานเหล็กเตาหลอม IF จากจีน ต้องย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ขณะที่เดิมโรงงานเหล็กไทยจะใช้เตาหลอมแบบที่เรียกกว่า EAF หรือ electric arc furnace ซึ่งเตาหลอมแบบ IF มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเตาหลอมแบบ EAF ส่งผลให้โรงงานเหล็กจีนสามารถผลิตเหล็กได้ในราคาที่ต่ำกว่าโรงงานเหล็กไทย อย่างที่สอง โรงงานเหล็กจากจีนมีการทุ่มตลาดเหล็กลวดเข้ามาในประเทศไทย ส่งผลให้ราคาเหล็กลวดในประเทศลดลงอย่างมาก โรงงานเหล็กไทยที่ผลิตเหล็กลวดจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก และหลายแห่งต้องปิดกิจการลง จากปัจจัยทั้งสองประการข้างต้น ทำให้ธุรกิจเหล็กทรงยาวของไทยกำลังถูกบีบให้ต้องแข่งขันอย่างยากลำบาก และมีโอกาสสูงที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับโรงงานเหล็กจากจีน พามาเบิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน ปัญหาที่เป็นฝุ่นใต้ซากตึกถล่ม โผล่ มาทีละนิด ทัวร์ศูนย์เหรียญ นิคม/โรงงานศูนย์เหรียญ วิซ่านักท่องเที่ยว/นักศึกษา แต่มาทำงาน คำถามคือมหาวิทยาลัยใด รับรองวิซ่าการศึกษาต่อของคนจีนเหล่านี้? นอมินีบริษัทจีน โมเดล หุ้นลม คนไทยถือหุ้นใหญ่ 1 คน 49% คนจีน 2 หุ้นรวมกัน 51% การฮั๊วประมูล และสืบทราบราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐ การประมูล ต่ำกว่าราคากลาง มีการตั้งข้อสังเกตว่า

วิกฤติเหล็กจีนทุ้มตลาดเหล็กไทย ปัญหาที่ถูกกลบใต้พรมฟุ้งกระจาย ถ่ามกลางกองซากตึก สตง. ปี 67 โรงงานเหล็กของไทย ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง อ่านเพิ่มเติม »

อีสานโพล เผย คนอีสานยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง คะแนนรัฐบาลโดยรวมยังค่อนข้างนิ่งมา 3 ไตรมาสติด วอนเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ

เศรษฐกิจครัวเรือนอีสานไตรมาส 1/2568 ยังแย่ต่อเนื่อง ไม่มีสัญญาณดีขึ้น จี้รัฐบาลแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง การอยู่รอดของผู้ประกอบการและเกษตรกร รายได้ครัวเรือนต่ำ และหนี้ครัวเรือนสูง เกินครึ่งยังไม่เอากาสิโนแม้จะมีเกณฑ์เงินฝาก 50 ล้านบาทควบคุม  อภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้านได้ 6.3 เต็ม 10 รัฐบาลได้ 5.0 ตามที่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 1/2568 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2568” ผลสำรวจพบว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 1/2568 (มกราคม–มีนาคม 2568) เท่ากับ 32.5 เต็ม 100 อยู่ในระดับแย่ ใกล้เคียงไตรมาสก่อนซึ่งมีค่า 32.8 ซึ่งดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนไม่ควรต่ำกว่า 40.0 เป็นเวลานาน และคาดว่าดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 2/2568 (เมษายน-มิถุนายน 2568) จะเท่ากับ 32.6 โดยยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ประเมินคะแนนรัฐบาลด้านเศรษฐกิจได้ 30.6 เต็ม 100  และวอนให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง การอยู่รอดของผู้ประกอบการและเกษตรกร รายได้ครัวเรือนต่ำ และหนี้ครัวเรือนสูง ร้อยละ 50.9 ยังไม่เอาบ่อนกาสิโนแม้จะมีเกณฑ์เงินฝาก 50 ล้านบาทเพื่อควบคุมการเข้าเล่นพนันของคนไทย ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ฝ่ายค้านได้คะแนน 6.3 เต็ม 10 รัฐบาลได้ 5.0 รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนด้านต่างๆ และคำนวณดัชนีภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 1/2568 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2568 พร้อมประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจและภาพรวม และมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบ่อนกาสิโนและการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 –  31 มีนาคม 2568 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,114 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด   คนอีสานยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง คะแนนรัฐบาลโดยรวมยังค่อนข้างนิ่งมา 3 ไตรมาสติด เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ รายได้และทรัพย์สินครัวเรือน โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้ และการซื้อของมูลค่าสูง และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งค่าดัชนีมีค่าระหว่าง 0 – 100 หากดัชนีอยู่ระหว่าง 0 – 19.9 คือ แย่มาก ระหว่าง 20.0 – 39.9 คือ แย่ ระหว่าง

อีสานโพล เผย คนอีสานยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง คะแนนรัฐบาลโดยรวมยังค่อนข้างนิ่งมา 3 ไตรมาสติด วอนเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ อ่านเพิ่มเติม »

“อีสานจน”จริงหรือ? ค้นหาปัจจัยที่ทำให้มูลค่าเศรษกิจอีสานไม่สู้ดี

ประเทศไทยมีจังหวัดทั้งหมด 77 จังหวัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค โดยในแต่ละภูมิภาคนั้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ เช่น ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่หรือภาษาที่แตกต่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ภาคอีสาน” ซึ่งภาคอีสานนั้นเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ แต่ภาคอีสานนั้นมีภาพจำในแง่ลบอยู่นั่นก็คือ “ภาคอีสานนั้นยากจน” ดังนั้นจึงเกิดมาเป็นรายการ “อีสาน อิหยังวะ” เพื่อเผยแพร่ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ข้อมูลเชิงลึกที่คนส่วนใหญ่นั้นเข้าใจผิด โดยใน ep.1 จะเป็นการพูดถึงภาพรวมเศรษฐกิจในภาคอีสานว่าจริงๆแล้ว “อีสานจน จริงหรือไม่” โดยวัตถุประสงค์ของรายการนี้เพื่อเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ทั้งเชิงเศรษฐศาสตร์และวัฒนธรรมหรือมุมมองและแนวคิดต่างๆที่คนส่วนใหญ่อาจยังเข้าใจผิดอยู่ โดยในปัจจุบันคนอีสานกว่า 3.74 ล้านครัวเรือนซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก พื้นที่กว่า 63.8 ล้านไร่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ประกอบด้วยพื้นที่ทำนา 41.7 ล้านหรือคิดเป็น 65% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ซึ่งถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจหลักภายในภาคอีสาน แต่ถ้าหากดูที่มูลค่าเศรษฐกิจแล้วจะเห็นได้ว่ามูลค่า GRP ของอีสานในภาคการเกษตรนั้นมีมูลค่าต่ำที่สุด โดยเรียงจากมูลค่าที่สูงที่สุดไปต่ำที่สุดได้แก่ ภาคการค้าและบริการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร เมื่อเจาะลึกรายได้ในภาคอีสาน จากพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรในภาคอีสานที่มีเยอะ แต่มูลค่าจากภาคการเกษตรกลับไม่ได้เด่นที่สุดภายในภูมิภาคอีสาน โดยมูลค่าที่สูงที่สุดกลับเป็นภาคการค้าและบริการ อาจเป็นเพราะภาคอีสานนั้นมีประชากรที่มากที่สุดภายในประเทศจึงทำให้มูลค่าการบริการนั้นสูงขึ้นตามโดย “ยิ่งคนเยอะ ก็จะยิ่งบริโภคเยอะ” จึงไม่พ้นทำให้ภาคการค้าและบริการภายในภาคอีสานนั้นมีมูลค่าสูงที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นที่ภาคอีสานเพียงภาคเดียว โดยหากดูภาครวมทั้งประเทศแล้วจะพบว่าแนมโน้มมูลค่าทางเศรษฐกิจของแต่ละภาคนั้นมีขนาดใกล้เคียงกันทุกๆภูมิภาค แรงงานคนไทยภายในประเทศนั้นเป็นคนอีสานอยู่ที่ประมาณ หนึ่งส่วนสี่ ของแรงงานทั้งหมดภายในประเทศ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาคอีสานมีคนเยอะ แปลว่าจำนวนแรงงานก็จะเยอะตาม โดยพบว่าแรงงานนอกระบบในปี 2567 กว่า 54.2% นั้นทำงานในภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยทั้งหมด 40.04 ล้านคนเป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 21.0 ล้านคนโดยคิดเป็นร้อยละ 52.7% ซึ่งมากกว่าแรงงานภายในระบบเสียอีก โดยร้อยละ 47.3% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบนั้นอยู่ในช่วงอายุ 40-59 ปี อีกทั้งยังมีกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 21.7% อีกด้วย หากเจาะลึกลงไปในตัวเลขรายภูมิภาคนั้นจะพบได้ว่าแรงงาน 40.04 ล้านคนนั้น ภาคอีสานมีแรงงานเป็นรองเพียงแค่ภาคกลางเท่านั้น ซึ่งในจำนวนแรงงานของภาคกลางนั้นมีคนอีสานที่ย้ายภูมิลำเนาเพื่อมาทำงานอีกด้วย ซึ่งการย้ายภูมิลำเนาเพื่อการมาทำงานนั้นเรียกอีกว่า “แรงงานไหล” โดยสาเหตุที่ภาคอีสานนั้นเกิดแรงงานไหลเข้ากรุงเทพฯ ที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น มูลค่าทางเศรษฐกิจ อัตราค่าแรงขั้นต่ำโดยกรุงเทพฯนั้นมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 372 บาท ซึ่งมากกว่าจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน หรือ เงินเดือนเฉลี่ยของลูกจ้างโดยในกรุงเทพฯนั้นมีเงินเดือนเฉลี่ยมากกว่าภาคอีสานประมาณ 1.62 เท่า และยังเป็นเมืองหลวงของประเทศอีกด้วยฃ โดยการที่เศรษฐกิจภายในประเทศนั้นเกิดการกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดแรงงานไหล ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ภาคอีสานเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานในภูมิภาคอื่นๆ อีกด้วย โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจย้อนหลัง 10 ปีของกรุงเทพฯ นั้นมีมูลค่าประมาณ 46.3%ของมูลค่าทั่วประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจุกตัวของเศรษกิจในประเทศไทย แต่ก็ใช่ว่าภาคอีสานจะไร้ซึ่งศักยภาพทางเศรษฐกิจซะทีเดียว โดยในภาคอีสานนั้นก็มีจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ด้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยจังหวัดชั้นนำทางเศรษฐกิจของภาคอีสานได้แก่ ”นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุบลราชธานีและอุดรธานี” ตามลำดับมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Big4 ของภาคอีสาน” โดยจังหวัดเหล่านี้เป็นจังหวัดที่มูลค่าสูงที่สุดในภาคอีสาน อีกทั้งยังมีประชากรเยอะและได้รับการพัฒนา แต่ไม่ได้แปลว่าจังหวัดอื่นๆนั้นจะด้อยพัฒนา เพียงแต่อาจไม่เป็นที่จับตามองของนักลงทุนเนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นหากเทียบกับภูมิภาคอื่น หรือการขาดระบบการคมนาคมที่เอื้ออำนวย เป็นต้น

“อีสานจน”จริงหรือ? ค้นหาปัจจัยที่ทำให้มูลค่าเศรษกิจอีสานไม่สู้ดี อ่านเพิ่มเติม »

ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่ง(คนขาย)ลอตเตอรี่”

ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งลอตเตอรี่” จังหวัดที่มีประชากร 6.3 แสนคน แต่มีรายได้/หัว สูงอันดับ 3 ของภาคอีสาน.ลอตเตอรี่…แผ่นกระดาษแห่งความหวังของคนไทยสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่เพียงแค่เกมเสี่ยงโชค แต่ยังสะท้อนถึงความหวัง ความเชื่อ และพฤติกรรมทางสังคมของคนไทย ลอตเตอรี่กลายเป็นกิจกรรมที่คนทุกชนชั้น ทุกวัย มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานรายวัน พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงข้าราชการและนักธุรกิจ ทุกคนต่างมีความหวังว่าตัวเลขบนสลากหนึ่งใบอาจเปลี่ยนชีวิตได้ โดยภาคอีสาน เป็นภาคที่ประชาชนมีการซื้อลอตเตอรี่หรือเล่นหวย กว่า 8.1 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประเทศ ส่วนหนึ่งจากจำนวนประชากรที่มาก และยังสะท้อนถึงพฤติกรรมการชอบเสี่ยงโชคของคนอีสาน.เมืองเลย เมืองแห่งลอตเตอรี่โดยหากพูดถึงลอตเตอรี่ในภาคอีสานแล้ว จังหวัดที่เรียกได้ว่าเป็น “เมืองแห่งลอตเตอรี่” ทั้งในระดับภาคอีสานและประเทศ นั่นคือจังหวัดในอีสานตอนบนอย่าง เลย คนในจังหวัดเลยมีความผูกพันธ์กับการซื้อขายล็อตเตอรี่อย่างมากจนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรม ถึงขนาดที่มีความคิดเห็นที่ว่าพ่อค้าแม่ค้าที่เดินขายล็อตเตอรี่อยู่ทั่วประเทศไทยนั้นมีโอกาสสูงที่จะมาจากจังหวัดเลย.เหตุผลอันเนื่องมาจากที่เลยมีตลาดนัดค้าส่งลอตเตอรี่ขนาดใหญ่อย่าง ‘ตลาดลอตเตอรี่วังสะพุง’ ตั้งอยู่ที่ ถนนมลิวรรณ บ้านน้อยนา ต.ศรีสงคราม อ.วังสะพุง จ.เลย ถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในอีสานและใหญ่ระดับต้นๆของประเทศ มีพ่อค้ารายย่อยทั่วสารทิศทั้งในและนอกภาคอีสานมาซื้ออย่างมากมายในช่วงออกรางวัล สร้างเม็ดเงินกว่า 1,500-2,000 ล้านบาทต่องวด.‘ลุงเยี่ยน’ ผู้บุกเบิกอาชีพขายลอตเตอรี่ใน จ.เลยวัฒนธรรมการขายลอตเตอรี่ในจ.เลย ถูกบุกเบิกมาจากชายหนุ่มคนหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘นายยศพล มูลกองศรี’ หรือคนท้องที่เรียกเขาว่า ‘ลุงเยี่ยน’ เป็นชาวบ้านโพนงาน อ.ทรายขาว จ.เลย เกิดเมื่อปีพ.ศ.2499 โดยประมาณ ช่วงปีพ.ศ.2520 ลุงเยี่ยนซึ่งในขณะนั้นอายุ 20 ต้นๆ ได้ปลดประจำการจากการเป็นพลทหาร และได้มีโอกาสเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำอาชีพเสริมเป็นการปั่นจักรยานเร่ขายลอตเตอรี่ตามชุมชน.ลุงเยี่ยนเป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารี เมื่อไรก็ตามที่พี่น้องญาติมิตรหรือชาวบ้าน เดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ ลุงเยี่ยนก็ยินดีให้พักอาศัยด้วยเสมอ และลุงเยี่ยนจึงได้แนะนำชาวบ้านให้ทำอาชีพเร่ขายลอตเตอรี่ซึ่งเป็นอาชีพสุจริต หวังสร้างรายได้ให้แก่ญาติมิตร โดยเริ่มแรกลุงเยี่ยนเป็นคนออกทุนให้ก่อน จากชาวบ้านกลุ่มเล็กๆที่ได้เริ่มอาชีพนี้ และได้บอกกันปากต่อปากจนคนอำเภอวังสะพุงจึงเริ่มนิยมทำอาชีพนี้มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งในที่สุดอาชีพเร่ขายลอตเตอรี่จึงได้กลายเป็นอาชีพหลักของคนอำเภอวังสะพุงและกระจายไปทั่วจังหวัด.กระทั่งในปี 2542 ปริมาณคนขายลอตเตอรี่เพิ่มมากขึ้น นายชิติพัทธ์ กิ่งแก้ว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสหกรณ์วังสะพุง จำกัด ได้ริเริ่มเปิดตลาดนัดลอตเตอรี่ที่สามแยกนาหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าสลาก ทั้งรายใหญ่ รายย่อย และผู้เดินขาย ลดความจำเป็นในการเดินทางไปซื้อถึงกรุงเทพฯ ต่อมาปี 2553 จึงย้ายไปขอใช้โกดังสหกรณ์การเกษตรวังสะพุงจนมาถึงปัจจุบัน โดยจากความคิดรอเริ่มของลุงเยี่ยน ได้ส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นหลายหมื่นรายสร้างอาชีพและมีรายได้.เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ลุงเยี่ยนได้เสียชีวิตในวัยเพียง 38 ปี แต่ญาติมิตรและคนที่ลุงเยี่ยนเคยช่วยเหลือไว้ก็ไม่เคยลืมบุญคุณ เพื่อเป็นการระลึกความมีเมตตาและคุณงามความดีในการบุกเบิกอาชีพขายลอตตอตรี่แก่คนในจังหวัด จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ลุงเยียนขนาดเท่าตัวจริงขึ้น เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2565 ตั้งอยู่ที่หน้า ตลาดนัดลอตเตอรี่ เจมส์-ออย อ.วังสะพุง จ.เลย.ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป กระทบอาชีพขายลอตเตอรี่หลังจากที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้เปิดตัว ‘สลากดิจิทัล’ ซึ่งเป็นการขายล็อตเตอรี่ผ่านแอพลิเคชั่นเป๋าตังตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2565 ด้วยราคาที่แน่นอนที่ 80 บาท เพิ่มตัวเลือกให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งจากลอตเตอรี่ที่ขายบนแผงมักมีราคาที่สูงกว่าจากมีต้นทุนเพิ่มเติม และจำนวนโควตาลอตเตอรี่ของพ่อค้าแม่ค้าที่ขายบนแผงที่ลดลง นอกจากนั้นการมาของสลาก L6 และ N3 ซึ่งมีการขายเฉพาะรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งผู้ซื้อสลากสามารถเลือกตัวเลขได้ตามความต้องการ มีรางวัลพิเศษ และได้รับรางวัลแน่นอน

ทำไม ‘เลย’ ถึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่ง(คนขาย)ลอตเตอรี่” อ่านเพิ่มเติม »

⛺️เลย ดินแดนอีสานภูมิประเทศแบบภาคเหนือ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดอันดับ 3 ของอีสาน🪙

เลย ดินแดนอีสานภูมิประเทศแบบภาคเหนือ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดอันดับ 3 ของอีสาน..ถ้าถามว่า จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆในภาคอีสาน มีจังหวัดไหนบ้าง ?.หลายคนอาจคิดว่าเป็นจังหวัด Big 4 ของอีสาน.แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัว สูงเป็นอันดับ 3 ในภาคอีสาน กลับเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจ (GPP) อันดับที่ 13 อย่าง “เลย”.ทำไมจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจระดับกลางๆของภูมิภาค ถึงกลายเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าเศรษฐกิจต่อหัว(รายได้ต่อหัว)มากเป็นอันดับ 3 ในภาคอีสาน ?.อีสานอินไซต์จะพาไปเบิ่ง..เลย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนบนสุดของภาคอีสาน มีพื้นที่ 11,424 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของภาคอีสาน.แต่เลยมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 600,000 คน โดยจัดเป็นอันดับที่ 14 ของภูมิภาค.ถึงแม้จะเป็นจังหวัดที่มีประชากรเพียงไม่กี่แสนคน และมีมูลค่าเศรษฐกิจในระดับกลางๆของภาคอีสาน.แต่ถ้าหากลองมาดู รายได้ต่อหัวในปี 2565.จะพบว่า เลย มีรายได้ต่อหัว 114,156 บาทเป็นรองเพียงแค่นครราชสีมา และขอนแก่น ที่มีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 134,338 บาท และ 126,636 ตามลำดับ.ปัจจัยที่ทำให้ เลย มีรายได้ต่อหัวสูง มีตั้งแต่– เป็นแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของภาคอีสาน– มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่มีชื่อเสียง– มีชายแดนที่ติดกับประเทศลาว..1.ภูมิประเทศเมื่อพูดถึงแหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของประเทศ ภาคอีสานของเราถือว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญภาคหนึ่ง จากการที่มีพื้นที่เพาะปลูกยางพารา คิดเป็นสัดส่วน 26.7% ของขนาดพื้นที่เพาะปลูกยางพาราที่กรีดได้ทั้งหมดในประเทศ โดยเป็นรองเพียงแค่ภาคใต้เท่านั้น.ซึ่งในปี 2565 จังหวัดเลย ถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกยางพาราที่กรีดได้มากทึ่สุดในภาคอีสาน อยู่ที่ 853,798 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.5%.โดยมีผลผลิตยางพาราสูงถึง 194,127 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่สามารถปลูกยางพาราได้เป็นอันดับ 2 ของภาคอีสาน.และเมื่อดูสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรมมีมูลค่ามากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึง 28% จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มูลค่าเศรษฐกิจของ “เลย” ถูกขับเคลื่อนด้วยพืชเศรษฐกิจหลัก อย่าง “ยางพารา” มากที่สุด.นอกจากยางพาราแล้ว เลย ยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟมากที่สุดในอีสานที่ 3,226 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 2,370 ไร่ และมีผลผลิตต่อปีกว่า 166 ตัน โดยถือเป็นพื้นที่กว่า 76% ของพื้นที่เพาะปลูกกาแฟทั้งหมดภาคอีสาน.ถึงแม้จะมีผลผลิตยังไม่มากหากเทียบกับภาคเหนือ แต่เนื่องจากข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ทำให้ เลย เป็นจังหวัดที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟอาราบิก้ามากที่สุดในอีสาน (กาแฟพันธุ์ อาราบิก้า ต้องการพื้นที่เพาะปลูกสูงกว่า กาแฟพันธุ์ โรบัสต้า).บวกกับการบริโภคกาแฟในไทยสูง และยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ที่มีความต้องการการบริโภคมากกว่าปีละ 9 หมื่นตัน/ปี มูลค่าตลาดมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/ปี.ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ยังมีรายได้ที่ดี และยังมีโอกาสเติบโตตามตลาดการบริโภคกาแฟของไทย.และยังมีพืชผัก สวน ไร่ ไม้เมืองหนาว ที่ได้ผลประโยชน์จากข้อดีทางภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศ ที่ทำให้มีผลผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปีอีกด้วย..2.สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและสิ่งที่ทำให้เลยมีรายได้ต่อหัวสูงอีกอย่าง คือมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่มีชื่อเสียง.หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดในจังหวัดเลย ทุกคนคงนึกถึง “ภูกระดึง” ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตสำหรับสายรักธรรมชาติที่เมื่อมาเลยแล้วต้องมาพิชิตภูกระดึงซักครั้งหนึ่งในชีวิต.ซึ่งนอกจากภูกระดึงแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติภูเรือ

⛺️เลย ดินแดนอีสานภูมิประเทศแบบภาคเหนือ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดอันดับ 3 ของอีสาน🪙 อ่านเพิ่มเติม »

ไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 คมนาคมเผยไม่ใช้🇨🇳จีนคุมงาน “โคราช-หนองคาย” ลั่น! “ไทย” 🇹🇭คุมงานเองทั้งหมด ตั้งเป้าใช้วัสดุและผู้รับเหมาในประเทศ

“สุริยะ” เผยไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 “โคราช-หนองคาย” ลั่น! “ไทย” คุมงานเองทั้งหมด ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100% ยันมาตรฐานสากล สั่ง รฟท. – ขร. เข้มงวดมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 32 เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 – 3 เดือน จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคา และก่อสร้างภายในปี 2568 เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ สปป.ลาว และจีน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาค สำหรับการประกวดราคา ระยะที่ 2 นั้น จะไม่ใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย โดยยืนยันว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 นายสุริยะ กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ฝ่ายไทยจะควบคุมงานการก่อสร้างเอง รวมถึงออกแบบ และตรวจแบบเองทั้งหมด พร้อมทั้งจะใช้วัสดุภายในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีการตรวจสอบทั้งระบบอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นในความสามารถของวิศวกรของไทย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล และฝ่ายจีนยอมรับได้ นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ รฟท. และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำกับติดตามอย่างเข้มงวดให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และมีเหตุอาคารถล่ม ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ต้องทบทวนกระบวนการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างทั้งระบบ โดยเฉพาะงานโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ รฟท. ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรับแรงสั่นสะเทือนและต้านทานแผ่นดินไหว โดยจะนำบทเรียนต่าง ๆ มาปรับใช้ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มเติม ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในเรื่องการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะต้องมีการตรวจรับรองคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ กล่าวคือ อาทิ การตรวจโรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต อีกทั้งก่อนที่จะนำเหล็กจากโรงงานมาใช้ต้องมีการทดสอบคุณภาพของเหล็กตามข้อกำหนด โดยจะมีการทดสอบที่เพิ่มจากมาตรฐานของไทย คือ ต้องมีการทดสอบความล้าของเหล็กแต่ละขนาด ขณะเดียวกัน เมื่อนำเหล็กมาถึงโครงการก่อสร้าง จะต้องมีการเก็บ Tag ของเหล็กไว้ตรวจสอบ และจะต้องมีการสุ่มตัวอย่างโดยผู้ควบคุมงานและทำการทดสอบตามข้อกำหนด ขณะที่ ก่อนทำการเทคอนกรีต ผู้ควบคุมงานจะทำการสุ่มตรวจจำนวน

ไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 คมนาคมเผยไม่ใช้🇨🇳จีนคุมงาน “โคราช-หนองคาย” ลั่น! “ไทย” 🇹🇭คุมงานเองทั้งหมด ตั้งเป้าใช้วัสดุและผู้รับเหมาในประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

วิกฤติคนสูงวัยขาดเเคลนที่อยู่อาศัยในอนาคต กระจุกตัว เติบโตช้า เเละไม่พอความต้องการ

“เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมา ได้ยินเสียงเข็มนาฬิกาเดินช้า ๆ ราวกับนับถอยหลังให้ใครบางคนที่เคยนั่งอยู่ตรงนี้ บ้านหลังเดิมที่เคยอบอุ่นด้วยเสียงหัวเราะของลูกหลาน บัดนี้กลับกว้างขวางเกินไปเมื่อต้องอยู่เพียงลำพังพร้อมกับร่างกายที่โรยรา เมื่ออายุเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ปลอดภัยกลับลดลง สังคมที่เคยโอบอุ้ม อาจกำลังทิ้งใครไว้ข้างหลัง พวกเขาเหล่านี้จะใช้ชีวิตบั้นปลายที่ไหน?” . “ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” เป็นประโยคที่ได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลายมายาวนาน โดยนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา จำนวนผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในไทย คิดเป็น 10% ของประชากรทั้งหมดประเทศ ซึ่งอยู่ในระดับที่เรียกว่าสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) . เเต่ในปัจจุบันโครงสร้างประชากรไทยเเละโดยเฉพาะภาคอีสานอยู่ในสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) โดยจะมีลักษณะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะเป็นปิรามิดประชากรแบบหดตัว เป็นผลจากอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และการย้ายถิ่นของประชากรวัยแรงงาน ส่งผลให้ในอนาคตภาคอีสานมีแนวโน้มที่จะ เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด ซึ่งอาจนําไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การเพิ่มภาระการพึ่งพาต่อประชากรวัยทํางาน และแรง กดดันต่อภาครัฐจากภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ที่มา : บทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน กุมภาพันธ์ 2568 ISAN INSIGHT & OUTLOOK . ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ลําพังมากขึ้น ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคู่สมรส บุตรหลาน ญาติ หรือบุคคลอื่น อย่างไรก็ดี สัดส่วนผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 6.3% ในปี 2545 เป็น 12% หรือราว 1.6 ล้านคน ในปี 2564 เช่นเดียวกับจำนวนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่แค่สองคนกับคู่สมรสที่มีทิศทางเติบโตขึ้น จนอยู่ที่ 2.8 ล้านคนในปี 2564 สะท้อนว่า ผู้สูงวัยไทยใช้ชีวิตกันโดยลำพังมากขึ้น ที่มา : วิจัยกรุงศรี โดยทั่วไปเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ผู้สูงอายุที่พอดูแลตัวเองได้อาจพักอาศัยในบ้านเดิมของตนเอง หรือบ้าน/คอนโดมิเนียมที่ออกแบบสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีพื้นที่ส่วนกลางให้พูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ส่วนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิต สามารถอยู่อาศัยในบ้านพักเฉพาะผู้สูงอายุ (Residential Care Home / Assisted Living Community) ที่มีผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงสถานบริบาล (Nursing Home) ซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญดูแลตลอด 24 ชั่วโมง โดยราคาที่พักผู้สูงอายุจะแพงขึ้นตามสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการช่วยเหลือ . สถานการณ์ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับผู้สูงอายุในไทยปัจจุบันยังคงเติบโตช้า และ ‘ไม่เพียงพอ’ ต่อความต้องการของผู้สูงอายุในปัจจุบัน . โดยมีทั้งที่พัฒนาโดยรัฐและเอกชน มีช่วงราคาและบริการที่แตกต่างหลากหลาย ทว่าเมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่าผู้สูงอายุไม่ได้มีทางเลือกหลากหลายอย่างแท้จริง ราคาขั้นต่ำยังคงแพงเกินเอื้อมสำหรับคนส่วนใหญ่เเละยังขาดทางเลือกในการใช้ชีวิตบั้นปลายตามเงื่อนไขที่ตนเองต้องการ ​​ในขณะที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ . ผลการสำรวจสถานการณ์ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทั่วประเทศ ปี 2567 พบว่า จำนวนโครงการที่เปิดให้บริการทั้งหมด จำนวน 916โครงการ .

วิกฤติคนสูงวัยขาดเเคลนที่อยู่อาศัยในอนาคต กระจุกตัว เติบโตช้า เเละไม่พอความต้องการ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top