SHARP ADMIN

พามาเบิ่ง KUBOTA ผู้นำเบอร์ 1 รถเพื่อการเกษตรในไทย

ผู้ก่อตั้ง: Gonshiro Kubota ชื่อบริษัท: บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ปีที่ก่อตั้ง: พ.ศ. 2521 ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: ปทุมธานี รายได้: 54,347 ล้านบาท (-7.6% YoY) กำไร (ขาดทุน): 4,838 ล้านบาท (-13.9% YoY) ยอดรถแทรกเตอร์จดทะเบียนครั้งแรกปี 2567: ทั่วประเทศ 40,222 คัน / ภาคอีสาน 19,606 คัน   จังหวัด จำนวนศูนย์บริการ (แห่ง) จำนวนตัวแทนจำหน่าย (แห่ง) รายได้จากตัวแทนจำหน่าย (ล้านบาท) จำนวนรถรถแทรกเตอร์คูโบต้าจดทะเบียนครั้งแรก ปี 2567 (คัน) ชัยภูมิ ศูนย์บริการเทคนิค 1 8 1,335.7 1,876 ยโสธร ศูนย์บริการเทคนิค 1 5 540.9 452 อุบลราชธานี ศูนย์บริการเทคนิค 1 16 4,334.6 1,430 ศรีสะเกษ – 14 1,188.7 919 บุรีรัมย์ – 11 1,132.2 1,125 นครราชสีมา ศูนย์บริการเทคนิค 1 ศูนย์กระจายอะไหล่ 2 คลังสินค้า 8 28 3,165.3 3,153 สุรินทร์ ศูนย์บริการเทคนิค 1 11 1,806.1 869 อำนาจเจริญ – 4 259.8 336 หนองบัวลำภู – 5 977.3 729 บึงกาฬ – 7 3.2 216 หนองคาย – 4 722.9 353 เลย ศูนย์บริการเทคนิค 1 7 735.4 682 อุดรธานี ศูนย์บริการเทคนิค 1 15 3,552.8 1,754 นครพนม ศูนย์บริการเทคนิค 1 7 401.1 426 สกลนคร ศูนย์บริการเทคนิค 1 10 […]

พามาเบิ่ง KUBOTA ผู้นำเบอร์ 1 รถเพื่อการเกษตรในไทย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐โรงไฟฟ้า พลังงานทดแทนทุกประเภทในอีสาน

พามาเบิ่ง “โรงไฟฟ้า” พลังงานทดแทนทุกประเภทในอีสาน . ภาคอีสานของเรา เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีศักยภาพด้านพลังงานทดแทนสูง ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวม 2,842 เมกะวัตต์ (MW) เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากภาคกลางที่มีกำลังการผลิต 4,143 MW และสูงกว่าภาคเหนือ (2,387 MW) และภาคใต้ (989 MW) โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในภาคอีสานมีหลายประเภท โดยลมเป็นแหล่งพลังงานหลัก รองลงมาคือชีวะมวลและ พลังงานแสงอาทิตย์   โดยสามารถจำแนกศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในภาคอีสานได้ดังนี้ – โรงไฟฟ้าพลังงานลม (Wind Power Plants) – 1,266 MW พลังงานลมกลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของภาคอีสาน ด้วยศักยภาพกระแสลมที่เหมาะสมในบางพื้นที่ ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง – โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plants) – 691 MW ภาคอีสานมีวัตถุดิบชีวมวลที่อุดมสมบูรณ์ เช่น เศษวัสดุจากการเกษตร อ้อย ข้าว และมันสำปะหลัง ทำให้ชีวมวลเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างยั่งยืน – โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plants) – 551 MW ด้วยปริมาณแสงแดดที่มีตลอดปี ทำให้ภาคอีสานเหมาะสมต่อการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนพลังงานในระยะยาว – โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ (Large Hydro Power Plants) – 238 MW แม้ว่าภาคอีสานจะไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่เท่าภาคเหนือ แต่ยังสามารถใช้ศักยภาพของแม่น้ำสายสำคัญเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ – โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plants) – 80 MW โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพใช้ของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งเชื้อเพลิง ช่วยลดปัญหามลพิษและสร้างพลังงานสะอาด – โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก (Mini-Hydro Power Plants) – 6 MW แม้กำลังการผลิตจะไม่สูงมาก แต่โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กยังสามารถช่วยกระจายพลังงานไฟฟ้าไปยังพื้นที่ห่างไกลได้ – โรงไฟฟ้าขยะ (Waste Power Plants) – 10 MW การนำขยะมาใช้ผลิตไฟฟ้าช่วยลดปริมาณขยะในชุมชนและเป็นอีกแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน – โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Power Plants) – 0 MW ยังไม่มีการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานนี้   ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ เหมาะสำหรับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานลมและแสงอาทิตย์ซึ่งต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลมหากได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี การลงทุน และนโยบายที่ส่งเสริมพลังงานทดแทน ภาคอีสานสามารถเป็นศูนย์กลางพลังงานสะอาดที่สำคัญของไทยที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานได้ในอนาคต . ที่มา: กระทรวงพลังงาน   หมายเหตุ: 1. ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2567 2.ไม่รวมกำลังการผลิตไฟฟ้านอกระบบ

พามาเบิ่ง🧐โรงไฟฟ้า พลังงานทดแทนทุกประเภทในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

บุรีรัมย์ โมโตจีพี มหกรรมความเร็วระดับโลก เเรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 25,000 ล้านบาท

ศึกจักรยานยนต์ทางเรียบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกหรือ MotoGP ฤดูกาล 2025 ก็จะเริ่มเปิดสนามอย่างเป็นทางการกันแล้ว และสนามแรกก็ประเดิมที่บ้านเราเลยกับ ‘พีที กรังด์ปรีซ์ ออฟ ไทยแลนด์’ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคมนี้ ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ แถมในปีนี้แฟนกีฬามอเตอร์สปอร์ตไทยก็มีเรื่องราวให้น่ายินดีมากขึ้นไปอีกเพราะเราจะได้เชียร์ ‘คิงคองก้อง’ สมเกียรติ จันทรา นักบิดไทยคนแรกที่ได้ลงแข่ง MotoGP ไปกันยาวๆ ในซีซั่นนี้  โดยมีแข่งขันสนามแรกประจำฤดูกาลที่บุรีรัมย์ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพปีที่ 6 ซึ่งดอร์นา สปอร์ต เปิดเผยว่า ทั้ง 3 อีเวนต์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศไทย ใช้เงินลงทุนไปมากกว่า 23 ล้านยูโร หรือประมาณ 819 ล้านบาท ไม่รวมกับงบประมาณจัดงานจากฝั่งการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. ซึ่งบทบาทในปีนี้ถือเป็นโอกาสทองจาก 22 สนามที่จะถูกจัดขึ้นทั้งปีทั่วโลก เนื่องจากได้รับความสนใจจากทั้งสื่อมวลชนและแฟนความเร็วมากที่สุด เพราะจะได้เห็นนักแข่งกับการวางแผนทำงานของทีมแข่ง ภายใต้รถแข่งในเทคโนโลยีใหม่, ผลงานภายใต้สนามนี้ เรียกว่าเป็นสนามที่จะชี้ชะตาของฤดูกาล 2025 เลยก็ว่าได้ และการได้รับโอกาสเหล่านี้ล้วนชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของ “สนามประเทศไทย” ที่โดดเด่นมากที่สุดสนามหนึ่งของโลก โมโตจีพี MotoGP ในปีนี้เป็นปีที่ทุบสถิติในแทบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจเเละตัวเลขผู้ชมที่มากเป็นประวัติการณ์ในปี 2568 . กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเผยข้อมูลสำคัญ PT Grand Prix of Thailand 2025 ระหว่างวันที่ 28 ก.พ.-2 มี.ค. 2025 ที่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมงานรวมกว่า 224,634 คน เป็นคนไทย 172,565 คน ชาวต่างชาติ 52,069 คน มูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 5,043 ล้านบาท กระตุ้นการใช้จ่ายกว่า 4,268 ล้านบาท ใช้งบจัดงาน 775 ล้านบาท สร้างงาน 7,772 ตำแหน่ง ภาษีที่รัฐเก็บได้กว่า 318 ล้านบาท ที่มา : กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา . .   Motorsports: กีฬาความเร็วกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ Motorsports หรือกีฬาแข่งขันความเร็วที่ใช้ยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมทั่วโลก การแข่งขันรายการใหญ่ เช่น Formula 1, MotoGP, Nascar และ IndyCar  ดึงดูดแฟนกีฬาจำนวนมาก และมีการจัดแข่งขันในหลายประเทศ ทำให้ Motorsports

บุรีรัมย์ โมโตจีพี มหกรรมความเร็วระดับโลก เเรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 25,000 ล้านบาท อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน

จังหวัด GPP นครราชสีมา 343,510 ล้านบาท ขอนแก่น 225,107 ล้านบาท อุบลราชธานี 143,160 ล้านบาท อุดรธานี 124,478 ล้านบาท บุรีรัมย์ 108,467 ล้านบาท สุรินทร์ 92,775 ล้านบาท ร้อยเอ็ด 85,660 ล้านบาท ศรีสะเกษ 83,905 ล้านบาท ชัยภูมิ 78,665 ล้านบาท สกลนคร 71,494 ล้านบาท มหาสารคาม 69,450 ล้านบาท กาฬสินธุ์ 66,077 ล้านบาท เลย 62,798 ล้านบาท นครพนม 52,184 ล้านบาท หนองคาย 48,887 ล้านบาท ยโสธร 34,343 ล้านบาท หนองบัวลำภู 32,332 ล้านบาท มุกดาหาร 31,189 ล้านบาท บึงกาฬ 29,879 ล้านบาท อำนาจเจริญ 24,053 ล้านบาท   โครงสร้างเศรษฐกิจ ภาคการบริการ 816,521 ล้านบาท ภาคการผลิต 386,347 ล้านบาท ภาคการเกษตร 378,955 ล้านบาท ภาคการค้า 226,591 ล้านบาท   GRP ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ปี 2552 ปี 2554 ปี 2556 ปี 2558 ปี 2560 ปี 2562 ปี 2564 ปี 2566 938,863 ล้านบาท 1,150,743 ล้านบาท 1,373,084 ล้านบาท 1,363,564 ล้านบาท 1,510,987 ล้านบาท 1,580,912 ล้านบาท 1,691,117 ล้านบาท 1,808,413 ล้านบาท   มูลค่าเศรษฐกิจภาคอีสานเติบโตขึ้นกว่า 93% เมื่อเทียบกับปี 2552 หมายเหตุ: GPP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด) = ผลรวมของมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ของจังหวัดต่างๆ   GPP อีสานปีล่าสุด 2566

พาส่องเบิ่ง GPP อีสานปีล่าสุด 2566 จังหวัด Big 5 of ISAN มีมูลค่ามากกว่า 50% ของขนาดเศรษฐกิจทั้งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

อีสาน 11 ปีที่เปลี่ยนไป พาส่องเบิ่ง รายได้ต่อหัวแต่ละจังหวัด ใครคือ “ดาวรุ่ง” ใครยัง “ท้าทาย”

GPP per Capita หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน มิใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ GPP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หมายถึง ผลรวมของมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Product) ของจังหวัดต่างๆ . และ GPP per Capita หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่แสดงมูลค่าการผลิตของจังหวัดต่าง ๆ เฉลี่ยต่อประชากร 1 คน . GPP per Capita จะเป็นรายได้คาดการณ์ที่คน 1 คนจะทำรายได้ให้จังหวัด ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่แสดงระดับรายได้ที่ประชาชนได้รับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าจังหวัดที่มี GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita ไม่ได้อยู่อันดับต้นๆตามอันดับของ GPP เลย . สาเหตุมาจากอะไร? อีสานอินไซต์จะพาไปเบิ่ง . . จังหวัดที่มี GPP สูงที่สุดอย่างนครราชสีมาและขอนแก่น เป็นเพียง 2 จังหวัดที่มีอันดับของมูลค่า GPP สัมพันธ์กับอันดับของ GPP per Capita ที่เป็นอันดับ 1 และ 2 เหมือนกัน ถึงแม้จะมีประชากรจำนวนมาก แต่ประชากรยังสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดได้มาก เพราะ 2 จังหวัดนี้เน้นการทำอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้สูง แต่เมื่อสังเกตจังหวัดอื่นๆ เช่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ที่มีมูลค่า GPP อยู่ในอันดับต้นๆของภาค กลับมี GPP per Capita น้อยกว่าจังหวัดที่มีมูลค่า GPP ต่ำกว่า . สาเหตุหนึ่งเป็นผลมาจาก หลายจังหวัดสามารถสร้างมูลค่า GPP มาจากภาคเกษตรเป็นหลัก ซึ่งมีความไม่แน่นอนทั้งด้านปริมาณและราคาผลผลิต . ส่วนการผลิตภาคนอกเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก จะมีสัดส่วนที่น้อย ทำให้ศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับจังหวัดโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และก็จะมีจังหวัดที่มี GPP per Capita สูงเป็นอันดับต้นๆ เช่น เลย หนองคาย และนครพนม แต่มีขนาดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยเมื่อสังเกตจะพบว่าจังหวัดที่มี GPP per Capita สูง จะเป็นจังหวัดที่ติดกับชายแดน สามารถค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นตัวดึงดูดนักลงทุนและทำให้มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตหรือการค้าของจังหวัดมากพอ โดยการค้าผ่านชายแดนของไทยถือว่ามากเป็น 10% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุให้จังหวัดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ในจังหวัดจะมีจำนวนประชากรที่น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ . สรุปได้ว่า จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆ ไม่จำเป็นที่ประชากรในพื้นที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ได้มากตามไปด้วย

อีสาน 11 ปีที่เปลี่ยนไป พาส่องเบิ่ง รายได้ต่อหัวแต่ละจังหวัด ใครคือ “ดาวรุ่ง” ใครยัง “ท้าทาย” อ่านเพิ่มเติม »

“พามาเบิ่ง! 🚨 7 วันอันตรายในอีสานบ้านเฮา! อุบัติเหตุสงกรานต์พุ่งสูง 🚨” สงกรานต์คือช่วงเวลาแห่งความสุข แต่ก็เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในรอบปี 😢

“พามาเบิ่ง!  7 วันอันตรายในอีสานบ้านเฮา! อุบัติเหตุสงกรานต์พุ่งสูง ” สงกรานต์คือช่วงเวลาแห่งความสุข แต่ก็เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในรอบปี  สถิติรวม จำนวนอุบัติเหตุ 303 จำนวนผู้บาดเจ็บ 283 จำนวนผู้เสียชีวิต 90 สาเหตุ อุบัติเหตุ การเสียชีวิต ขับรถเร็วเกินกำหนด 35% 44.4% ดื่มแล้วขับ 34.3% 22.2% ทัศวิสัย 24.4% 23.3% ยานพาหนะ รถจักรยานยนต์ 259 คัน รถปิกอัพ/กระบะ 52 คัน รถเก๋ง 22 คัน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงที่สุด มุกดาหาร 39 ขอนแก่น 36 สกลนคร 29 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุด ร้อยเอ็ด 15 ขอนแก่น 12 นครราชสีมา 11 จังหวัดที่มีอุบัติเหตุสูงที่สุด ขอนแก่น 43 มุกดาหาร 39 ร้อยเอ็ด 28 . จากสถิติล่าสุดปี 67 เกิดอุบัติเหตุกว่า 303 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 283 คน และเสียชีวิตถึง 90ราย  .  สาเหตุหลักของอุบัติเหตุ: ขับรถเร็วเกินกำหนด เมาแล้วขับ ทัศนวิสัย . พาหนะที่เกิดเหตุบ่อยที่สุด: มอเตอร์ไซค์ . วิธีป้องกันง่าย ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยง: งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับ ใส่หมวกกันน็อกทุกครั้ง ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง เคารพกฎจราจร  สงกรานต์ปีนี้ เราไม่อยากเห็นใครต้องจบชีวิตกลางถนนไม่อยากให้ครอบครัวไหนต้องรอคนที่ไม่มีวันกลับและไม่อยากให้เทศกาลที่ควรเต็มไปด้วยความสุข กลายเป็นความทรงจำที่เจ็บปวด “ขับขี่ปลอดภัย ไม่ประมาท ไม่ประสบอุบัติเหตุ” . ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ISANPolitics #สงกรานต์2568 #7วันอันตราย #เมาไม่ขับ #ขับขี่ปลอดภัย

“พามาเบิ่ง! 🚨 7 วันอันตรายในอีสานบ้านเฮา! อุบัติเหตุสงกรานต์พุ่งสูง 🚨” สงกรานต์คือช่วงเวลาแห่งความสุข แต่ก็เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในรอบปี 😢 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 13 “ถนนข้าว” มหาสงกรานต์ ในภาคอีสานมีอะไรบ้าง ?

ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น  📍ถนนศรีจันทร์  ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร เริ่มจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น – สี่แยกธนาคารแห่งประเทศไทย    ถนนข้าวแดง จังหวัดขอนแก่น 📍ทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดขอนแก่น โดยจะมีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร แห่พระ สรงน้ำ    ถนนข้าวโพด จังหวัดนครราชสีมา 📍เทศบาลเมืองปากช่อง อ.ปากช่อง  ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถนนเทศบาลตั้งแต่สี่แยกกลางเมือง – สายน้ำคลองลำตะคอง   ถนนข้าวปุ้น จังหวัดนครพนม 📍บริเวณหอนาฬิกา ถนนสุนทรวิจิตร เลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง    ถนนข้าวเย็น จังหวัดศรีสะเกษ 📍เทศบาลเมืองศรีสะเกษ  สำนักงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ – สี่แยกถนนวันลูกเสือ    ถนนข้าวฮาง จังหวัดหนองบัวลำภู 📍สนามนเรศวร ริมหนองบัว  ระยะทางประมาณ 800 เมตร    ถนนข้าวฮาง/ถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร 📍ถนนหน้าวัดพระธาตุเชิงชุมฯ จ.สกลนคร  ถนนข้าวฮาง ถิ่นไทสกลล่ะเบ๋อ หรือเส้นถนนผ้าครามนั่นเอง   ถนน(ข้าว)ลอดช่อง จังหวัดยโสธร 📍เทศบาลเมืองยโสธร ระยะทางประมาณ 1 กิโล เมตร  ที่มาของถนนนี้ “ลอดช่อง” ที่เป็นของหวานขึ้นชื่อของจังหวัดยโสธร     ถนนข้าวเม่า จังหวัดมหาสารคาม 📍หอนาฬิกา เทศบาลเมืองมหาสารคาม  แยกหอนาฬิกา ถนนผดุงวิถี และถนนนครสวรรค์    ถนนข้าวเปียก จังหวัดอุดรธานี 📍ถนนเทศาภิบาล จ.อุดรธานี ที่มาของชื่อถนนนี้ “ข้าวเปียก” ซึ่งเส้นเป็นอาหารที่เข้ามาพร้อมกับชาวเวียดนามที่ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากในไทย เดิมเมนูนี้เรียกว่า “จ๋าว” ซึ่งชาวอุดรธานีนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า    ถนนข้าวก่ำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 📍เขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์   ถนนภิรมย์ – ถนนกาฬสินธุ์ – ถนนข้าวก่ำ (ถนนอนรรฆนาค)   ถนนข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ด 📍สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ กลางเมืองร้อยเอ็ด    ถนนข้าวหลาม จังหวัดเลย 📍เทศบาลเมืองเลย ถนนเสริมศรี ศาลหลักเมืองเจ้าพ่อกุดป่อง – สามแยกตลาดนัดคลองถม   ฮู้บ่ว่า ? ถนนข้าวเหนียว จ.ขอนแก่นนั้น มีการเล่นคลื่นมนุษย์ในทุกๆปี โดยมีสถิติที่ทำไว้เมื่อปี 2562 ครั้งนั้นมีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งนักท่องเที่ยวไทย-ต่างชาติกว่า 150,000  คนเลยทีเดียว   ที่มา : thaipbs, travel trueid

พามาเบิ่ง 13 “ถนนข้าว” มหาสงกรานต์ ในภาคอีสานมีอะไรบ้าง ? อ่านเพิ่มเติม »

ทำไมศรีสะเกษ ถึงเป็นแดน ทุเรียนภูเขาไฟ เปิดเบื้องหลังขุมทรัพย์ทางธรณีดินภูเขาไฟ

Key Points “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (Lava Durian Sisaket)” หมายถึง ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว ทุเรียนที่มีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง เนื้อละเอียด แห้ง สีเนื้อเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล ซึ่งปลูกในพื้นที่อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอศรีรัตนะ ของจังหวัดศรีสะเกษ “ทุเรียนภูเขาไฟ” ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตั้งแต่ปี 2562 ทุเรียนชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากทุเรียนที่ปลูกในภาคอื่น เนื่องจากสภาพดินภูเขาไฟในศรีสะเกษ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO), แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และโพแทสเซียมออกไซด์ (K₂O) ซึ่งช่วยให้ทุเรียนมีรสชาติที่เข้มข้นและเนื้อสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ ภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด ระยอง) ผลิตมากที่สุด 1,045,410 ตัน หรือคิดเป็น เกือบ 75% ของผลผลิตทั้งประเทศ ส่วนภาคอีสาน นำโดย ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ผลิต ประมาณ 14,000 ตัน และยังเน้นตลาดผู้บริโภคภายในประเทศ การผลักดันจากทางจังหวัด และภาครัฐ ในการเป็นจุดยุทธศาสตร์อีสานใต้ ภาครัฐได้ดำเนินโครงการ “เกษตรแปลงใหญ่” โดยสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มอำนาจต่อรองทางการตลาด นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนา “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ยังมีบทบาทสำคัญในการศึกษาพันธุ์ทุเรียนและพัฒนาเทคนิคการปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) และรองรับตลาดส่งออก ศรีสะเกษ: เมืองเกษตรกรรมแห่งอีสานใต้ และบทบาทของทุเรียนภูเขาไฟในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ   จังหวัดศรีสะเกษเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของภาคอีสานตอนล่าง ด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะ ทุเรียนภูเขาไฟ ซึ่งเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดในระดับประเทศและกำลังขยายสู่ตลาดต่างประเทศอย่างมีศักยภาพ ด้วยพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 3.71 ล้านไร่ หรือเกือบ 68% ของพื้นที่ทั้งหมด ศรีสะเกษจึงกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของภาคอีสาน โดยมีพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ หอมแดง กระเทียม พริก และทุเรียนภูเขาไฟ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสินค้าหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ   .    ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ: สินค้า GI ที่สร้างชื่อเสียงระดับประเทศ “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (Lava Durian Sisaket)” หมายถึง ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว ทุเรียนที่มีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง เนื้อละเอียด แห้ง สีเนื้อเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล ซึ่งปลูกในพื้นที่อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอศรีรัตนะ ของจังหวัดศรีสะเกษ หนึ่งในจุดเด่นของศรีสะเกษที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคือ “ทุเรียนภูเขาไฟ” ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตั้งแต่ปี 2562 ทุเรียนชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากทุเรียนที่ปลูกในภาคอื่น ๆ โดยมี

ทำไมศรีสะเกษ ถึงเป็นแดน ทุเรียนภูเขาไฟ เปิดเบื้องหลังขุมทรัพย์ทางธรณีดินภูเขาไฟ อ่านเพิ่มเติม »

ศรีสะเกษเมืองหนังแดนอีสาน ไทบ้าน สตูดิโอ เดินหน้าหนังใหม่ 3 เรื่องรวดทั้ง 🎬สัปเหร่อ 2 🎬ผีเข้า 🎬เทยไทบ้าน ผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ที่บริเวณหน้าศาลหลักเมือง ถนนเทพา อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชจังหวัดศรีสะเกษ นายรัฐวิทย์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ ทีมงานไทบ้าน สตูดิโอ ประกอบพิธีบวงสรวงเปิดกล้องภาพยนตร์จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย “เรื่อง จักรวาลไทบ้าน เทยไทบ้าน เรื่อง สัปเหร่อ 2 โลกหลังความตาย และ เรื่อง ผีเข้า” เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้การถ่ายทำให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสำเร็จ โดยมีทีมงานผู้จัด ผู้กำกับภาพยนตร์ ดารา นักแสดงภาพยนตร์ ร่วมประกอบพิธีบวงสรวงในครั้งนี้อย่างคึกคัก ไทบ้านสตูดิโอและกลุ่มพันธมิตร ตอกย้ำความเป็นเมืองภาพยนตร์ของศรีสะเกษ เดินหน้าหนังใหม่ 3 เรื่องรวด พร้อมประกอบพิธีบวงสรวงเปิดกล้องหนังใหม่ วานนี้ บริเวณศาลหลักเมืองศรีสะเกษ โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาคมเมืองศรีสะเกษ ร่วมพิธีพร้อมหน้า สัปเหร่อ 2 ผีเข้า เทยไทบ้าน ศรีสะเกษ เมืองภาพยนตร์-ดนตรี แดนอีสาน ซึ่งทำรายได้เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาค จากอุตสาหกรรมภาพยนตร์และธุรกิจบันเทิงที่เกี่ยวข้อง จากจักรวาลไทบ้าน สู่ปรากฏการณ์สัปเหร่อ และกวาดหลายรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ปี 2567 ที่ผ่านมา นายธิติ ศรีนวล หรือ ต้องเต ผู้กำกับหนังสัปเหร่อ เปิดเผยว่า กล่าวว่า นักแสดงเรื่องสัปเหร่อ 2 รอบนี้จะเป็นนักแสดงทั้งกลุ่มใหม่ และกลุ่มเดิม ในเรื่องคนที่รับบทเป็นนางเอกใหม่ คือ น้องอุ้ม นักแสดงจากช่อง 3 และ โจอี้ ภูวศิษฐ์ นักร้องนักแสดง โดยความคาดหวังกับ เรื่องสัปเหร่อภาค 2 ผู้จัดคาดหวังว่าขอให้รายได้เท่าทุน หรือไม่เจ๊งก็เพียงพอแล้ว จะให้ยอดทะลุ 800 ล้านบาท เหมือนภาคแรก ทางตนก็ไม่ได้คาดหวังขนาดนั้น ตนอยากฝากหนังเรื่องสัปเหร่อ 2 ให้มาชมกันเยอะๆหนังจะเข้าประมาณวันที่ 6 พฤศจิกายน 2568 นี้ ไปดูไปชมกันถ้าไม่ดีไม่สนุกด่าได้ ด้าน น้องอุ้ม อิษยา ฮอสุวรรณ เปิดเผยว่า รอบนี้ตนได้รับบทแสดงเป็นนางเอก ในเรื่องสัปเหร่อ 2 ตนรู้สึกตื่นเต้นและดีใจ ในครั้งนี้ที่ได้โอกาสมาร่วมแสดงในหนัง สัปเหร่อ 2 แล้วรู้สึกสนุกมาก ตนหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆกับหนังเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงในหนังเรื่อง ผีเข้า ทั้งนี้ตนขอฝากภาพยนตร์เรื่องสัปเหร่อ 2 เรื่องผีเข้า และเรื่องเทยไทบ้าน ทั้ง 3 เรื่อง ที่มีทั้ง 3 รสชาติให้แฟนภาพยนต์ได้ติดตามชมกันด้วย

ศรีสะเกษเมืองหนังแดนอีสาน ไทบ้าน สตูดิโอ เดินหน้าหนังใหม่ 3 เรื่องรวดทั้ง 🎬สัปเหร่อ 2 🎬ผีเข้า 🎬เทยไทบ้าน ผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อ่านเพิ่มเติม »

ผู้ประกอบการ กุมขมับ🥊สงครามการค้า ขึ้นภาษีรัวๆ ราวกับประมูล Apple จำเป็นต้องย้ายฐานการผลิต! หรือไม่?

ถ้าจะถามว่าใคร คือ ผู้ประกอบการ หรือ บริษัทที่เจ็บหนักที่สุดในเวลานี้คงนี้ไม่พ้น บริษัท แอปเปิ้ล นั่นเอง ที่ผลจากภาษีทำให้สินค้าเรือธงของบริษัทอย่าง iPhone ราคาพุ่งขึ้นทันที 3-4 เท่า สวนทางกับราคาหุ้นร่วงทันทีสูญมูลค่าหลายล้านเหรียญ Apple จำเป็นต้องย้ายฐานการผลิต! หรือไม่? เตรียมตั้งโรงงานนอกจีน เล็งสหรัฐฯ หลังโดนภาษีนำเข้ากระทบ — Luxshare ผู้ผลิตรายใหญ่ของ Apple ที่ประกอบ iPhone และ AirPods กำลังพิจารณาย้ายสายการผลิตบางส่วนออกจากจีนไปยังประเทศอื่น รวมถึงสหรัฐอเมริกา หลังเจอแรงกดดันจากภาษีนำเข้าชุดใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่งเริ่มมีผลเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คุณ Wang Laichun ประธานบริษัท Luxshare เผยกับนักวิเคราะห์ว่า ภาษีใหม่นี้แทบไม่กระทบกำไรหรือรายได้ เพราะสินค้าส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งออกไปสหรัฐฯ โดยตรง แต่บริษัทก็ยังต้องปรับตัว เช่น ชะลอลงทุนในจีน และอาจเพิ่มกำลังการผลิตในต่างประเทศแทน Luxshare บอกว่ามีลูกค้าติดต่อมาเพื่อขอให้ไปตั้งฐานการผลิตในอเมริกา โดยเฉพาะสายการผลิตที่ใช้ระบบอัตโนมัติสูง ซึ่งบริษัทก็ยินดีพิจารณา แต่ขอความชัดเจนจากลูกค้าก่อน ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนระยะยาวหรือไม่ — ปัจจุบัน Luxshare มีโรงงานทั้งในมาเลเซีย ไทย เวียดนาม สหรัฐฯ และเม็กซิโก โดยคุณ Wang ก็แย้มว่ามีแผนจะขยายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อด้วย แม้เวียดนามจะโดนภาษีสูงถึง 46% (มากกว่ามาเลเซียที่ 24% และไทยที่ 36%) แต่ก็ยังถือว่าเป็นฐานการผลิตที่มั่นคง เพราะโครงสร้างพื้นฐานและแรงงานพร้อม ส่วนอินเดียยังไม่มีแผนเข้าไปตอนนี้ แต่ถ้าลูกค้ารายใหญ่เรียกร้องก็คงต้องพิจารณา เพราะการตั้งไลน์การผลิตใหม่ในโรงงานที่มีอยู่เดิมก็ใช้เวลาราว 1-1.5 ปี ด้านผลกระทบเรื่องต้นทุน คุณ Wang บอกว่า ตอนนี้บริษัทฮาร์ดแวร์ยังไม่ได้จ่ายภาษีหรือค่าขนส่งเอง แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีแรงกดดันจากลูกค้าให้ลดราคาลง ซึ่งการร่วมมือกับซัพพลายเออร์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันก็เป็นสิ่งที่ทำกันอยู่แล้ว — แม้จะไม่ได้เอ่ยชื่อ Apple โดยตรง (ตามธรรมเนียมของซัพพลายเออร์) แต่ทั้งหมดนี้ก็สะท้อนว่าห่วงโซ่อุปทานของ Apple เองก็กำลังเจอศึกหนักจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ เช่นกัน คิดว่า Apple ควรย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้นมั้ย? หรือไปประเทศอื่นดีกว่า?  — ที่มา: iclarified https://www.iclarified.com/…/apple-supplier-luxshare…

ผู้ประกอบการ กุมขมับ🥊สงครามการค้า ขึ้นภาษีรัวๆ ราวกับประมูล Apple จำเป็นต้องย้ายฐานการผลิต! หรือไม่? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top