ทั่วราชอาณาจักร | แห่ง | 1,401 |
เตียง | 171,359 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | แห่ง | 390 |
เตียง | 43,943 |
เรียงน้อยไปมากโดย อิงจากจำนวนสถานพยาบาล เป็นหลัก
จังหวัด | แห่ง | เตียง |
1.นครราชสีมา | 47 | 5,901 |
2.อุบลราชธานี | 35 | 4,326 |
3.ขอนแก่น | 33 | 5,291 |
4.อุดรธานี | 29 | 3,166 |
5.บุรีรัมย์ | 25 | 2,876 |
6.ศรีสะเกษ | 24 | 2,344 |
7.ร้อยเอ็ด | 21 | 2,237 |
8.สุรินทร์ | 20 | 2,707 |
9.สกลนคร | 20 | 2,284 |
10.กาฬสินธุ์ | 19 | 1,839 |
ชัยภูมิ | 18 | 2,008 |
เลย | 17 | 1,370 |
มหาสารคาม | 15 | 1,567 |
นครพนม | 14 | 1,194 |
หนองคาย | 12 | 1,180 |
ยโสธร | 11 | 955 |
มุกดาหาร | 8 | 710 |
บึงกาฬ | 8 | 671 |
อำนาจเจริญ | 7 | 674 |
หนองบัวลำภู | 7 | 643 |
หมายเหตุ: จำนวนโรงพยาบาลรวมทั้งภาครัฐและเอกชน ข้อมูลมาจากปี 2566
สัดส่วนสถานพยาบาลรายภูมิภาคของไทย
สัดส่วนจำนวนสถานพยาบาลรายภูมิภาคของไทย | |
กรุงเทพฯ | 10.35% |
ภาคกลาง | 26.91% |
ภาคเหนือ | 19.34% |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 27.84% |
ภาคใต้ | 15.56% |
สัดส่วนจำนวนตียงรายภูมิภาคของไทย | |
กรุงเทพฯ | 17.91% |
ภาคกลาง | 26.99% |
ภาคเหนือ | 16.53% |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 25.64% |
ภาคใต้ | 12.93% |
👀🫵🏻”เบิ่งให้ชัด! สถานพยาบาลและเตียงผู้ป่วยในภาคอีสาน—พอไหมหรือยังต้องเพิ่ม?”
.
🏥ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถานพยาบาลที่สามารถรองรับผู้ป่วยค้างคืนได้ 390 แห่ง และมีเตียงรวม 43,943 เตียง ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน ประมาณ 2 เตียงต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานสากลที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 3-5 เตียงต่อประชากร 1,000 คน (World Health Organization, 2023)
.
🔬ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์ในภาคอีสานยังเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ประชาชนต้องเดินทางไกลเพื่อเข้าถึงบริการสุขภาพ แม้ว่าจะมีสถานพยาบาลจำนวนมาก แต่โรงพยาบาลขนาดเล็กยังคงมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ ทำให้หลายพื้นที่เผชิญปัญหาเตียงเต็ม โดยเฉพาะช่วงที่เกิดโรคระบาดหรือเหตุฉุกเฉิน ส่งผลให้ผู้ป่วยจำนวนมากต้องเดินทางไปโรงพยาบาลใหญ่ในตัวเมือง ซึ่งเพิ่มทั้งค่าใช้จ่ายและระยะเวลาการรักษา
.
🎯การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขเป็นเรื่องสำคัญ การเพิ่มจำนวนเตียงในโรงพยาบาลชุมชน กระจายบริการทางการแพทย์ให้ทั่วถึง และสนับสนุนระบบดูแลสุขภาพที่บ้านหรือศูนย์พักฟื้น จะช่วยให้การรักษาพยาบาลเข้าถึงง่ายและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนมากขึ้น
.
สธ.วางแผนแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุข “แพทย์-พยาบาล” อย่างไร?
ย้อนดูทางแก้ปัญหากำลังคนด้านสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข สรุปประเด็น คำถาม คำตอบ ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2568 มีแนวทางอย่างไรเมื่อบุคลากรขาดแคลน ย้ำความก้าวหน้าของวิชาชีพสาธารณสุข ต้องสอบ ก.พ.ก่อนถึงจะได้บรรจุข้าราชการ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำ “รายงานสรุปประเด็นคำถาม คำตอบ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของกระทรวงสาธารณสุข” เพื่อรวบรวมข้อมูลในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ สังกัดกระทรวงสาธารสุข (สธ.) ที่ใช้สนับสนุนข้อมูลประกอบการชี้แจงแก่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
โดยหนึ่งในประเด็นที่สำคัญคือ แนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรหรือกำลังคนด้านสุขภาพ สู่ People Excellence แบ่งออกเป็น
วางมาตรการลดแพทย์ลาออก
1.ควรจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอ
โดยวางมาตรการการลาออกของแพทย์ให้เข้มงวดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน ปรับเงินแพทย์ที่ลาออกให้มากขึ้นจากอัตราเดิม ให้เหมาะสมกับทุนของรัฐที่ต้องเสียไป จากการผลิตแพทย์ที่ลาออกในปัจจุบันที่สูงขึ้นอย่างมาก
– สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมาตรการในการสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับแพทย์ โดยกำหนดหลักสูตรลาศึกษาของแพทย์ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ถือว่าเป็นการไปปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร สร้างศักยภาพแหล่งฝึกในสังกัดสำนักงานปลัดฯ ให้ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัย และธำรงรักษาบุคลากรให้อยู่ในรนะบบ เพื่อรองรับการจัดบริการที่มีคุณภาพ เนื่องจากการลาศึกษาของแพทย์เป็นลักษณะของการไปศึกษาควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจากการให้รักษาพยาบาลจริง
ข้อมูล : กองบริหารทรัพยากรบุคคล
เพิ่มพยาบาลจบใหม่ 450 อัตรา
2.การเพิ่มบุคลากรสาธารณสุข พยาบาลจบใหม่เพียงพอ
การเพิ่มบุคลากรสาธารณสุข พยาบาลจบใหม่เพียงพอแต่ไม่มีอัตราบรรจุในโรงพยาบาลรัฐบาล แบ่งได้ดังนี้
ควรมีมาตรการจูงใจหมอจบใหม่
3. ควรมีมาตรการจูงใจบุคลากรแพทย์ที่จบใหม่
โดยปรับเปลี่ยนแรงจูงใจด้านสวัสดิการต่าง ๆ เช่น การเพิ่มค่าตอบแทน เพิ่มโอกาสในการเรียนต่อเฉพาะทาง และลดเวลาทำงาน รวมถึงควรมีมาตรการ ดูแลปัญหาสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ และลดชั่วโมงการทำงาน เพื่อจูงใจให้บุคลากร ทางการแพทย์ยังอยู่ในระบบของรัฐมากขึ้น
แนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ดังนี้
- เพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปีละ 50 อัตรา รวมทั้งสิ้น 450 อัตรา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2568) เป็นระยะเวลา 9 ปี
- สรรหาและคัดเลือกบุคลากรเข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษจากสายงานสอบแข่งขัน จำนวน 9 สายงาน
- การจ้างงานในรูปแบบพิเศษ ในสายงานแพทย์เฉพาะทาง สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักเวชศาสตร์ สื่อความหมาย นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ช่างกายอุปกรณ์/นักกายอุปกรณ์
- กำหนดตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 10,124 ตำแหน่ง
- การลาศึกษาต่อของแพทย์ให้ถือว่าเป็นการไปปฏิบัติราชการ
ข้อมูล : กองบริหารทรัพยากรบุคคล สป.สธ.
ความก้าวหน้าของวิชาชีพสาธารณสุข
4.ความก้าวหน้าของวิชาชีพสาธารณสุข ซึ่งต้องสอบ ก.พ.ก่อนถึงจะได้บรรจุข้าราชการ
– การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขัน ได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับ การสอบแข่งขัน ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
ข้อมูล: กองบริหารทรัพยากรบุคคล สป.สธ.
หนุนพยาบาลเข้าสู่ระบบราชการ
5. ควรสนับสนุนการบรรจุพยาบาลเพื่อเข้าสู่ระบบราชการ เพื่อสร้างความก้าวหน้า
1) การเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (พยาบาลวิชาชีพ) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 อนุมัติการ จำนวน 450 อัตรา เพื่อบรรจุพยาบาลวิชาชีพ ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการผลิตบุคลากรพยาบาลเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนในจังหวัดชายแดนภาค ตามรอยสมเด็จย่า
2) การบรรจุผู้ได้รับการจ้างงานอื่นในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเข้ารับราชการในตำแหน่งว่าง เดิม จำนวน 3,000 ตำแหน่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการไปยังเขตสุขภาพ ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 3,228 อัตรา จาก 3,318 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 97.29
ข้อมูล: กองบริหารทรัพยากรบุคคล สป.สธ.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #Politics #Social #สังคมอีสาน #สังคม #โรงพยาบาล #โรคระบาด