5 กุญแจไขรหัสความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง “สัปเหร่อ” : เจาะลึกเบื้องหลังความประทับใจ กับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ หนังไทยวิถีไทบ้านอีสาน 700 ล้าน และ 7 รางวัลสุพรรณหงส์
สัปเหร่อ (อังกฤษ: The Undertaker) เป็นภาพยนตร์ไทยภาษาอีสานแนวตลก ดราม่า สยองขวัญเหนือธรรมชาติ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2566 และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 6 ภาคแยกในจักรวาลไทบ้าน เดอะซีรีส์ กำกับโดยธิติ ศรีนวล นำแสดงโดย ชาติชาย ชินศรี นฤพล ใยอิ้ม อัจฉริยะ ศรีทา สุธิดา บัวติก ภาพยนตร์ได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของความเชื่อพื้นถิ่น วิถีชีวิตของอาชีพสัปเหร่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับคนตายที่สัมพันธ์กับคติธรรมเรื่องของการปล่อยวาง ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนของภาพยนตร์ไทยท้องถิ่นอีสาน[1] เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ภาพยนตร์ ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ ที่เข้าฉายเมื่อปี พ.ศ. 2557[2] รวมถึงเป็นหนึ่งในสิบอันดับภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด ซึ่งเป็นภาพยนตร์จากบริษัทผู้สร้างอิสระเรื่องเดียวที่ติดอันดับดังกล่าว ทำเงินเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 244.95 ล้านบาท (ทำเงินรวมทั่วประเทศ 729.6 ล้านบาท) จากทุนสร้าง 15 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์จากจักรวาลไทบ้านที่ทำเงินเปิดตัวได้สูงสุดและทำรายได้สูงสุด[3] ภาพยนตร์เรื่อง “สัปเหร่อ” ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมชาวไทยเป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อหาที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยที่ผูกพันกับความตายได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง ลองมาวิเคราะห์กันว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้โดดเด่นและประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ “สัปเหร่อ” คว้าไป 7 รางวัล #สุพรรณหงส์ครั้งที่32[4] ได้แก่ 🏆 รางวัลสุพรรณหงส์ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ สัปเหร่อ 🏆 รางวัลสุพรรณหงส์ ผู้กำกับยอดเยี่ยม ได้แก่ ธิติ ศรีนวล จาก สัปเหร่อ 🏆 รางวัลสุพรรณหงส์ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้แก่ ชาติชาย ชินศรี จาก สัปเหร่อ 🏆 รางวัลสุพรรณหงส์ บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ สัปเหร่อ 🏆 รางวัลภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุดประจำปี 2566 ได้แก่ สัปเหร่อ 🏆 รางวัลสุพรรณหงส์ เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลงยื้อ – ปรีชา ปัดภัย จาก สัปเหร่อ 🏆รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม ได้แก่ สัปเหร่อ