ปี 2559 | ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | ปี 2563 | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 | ปี 2568 |
300 บาท | 305-308 บาท | 310-320 บาท | 310-320 บาท | 313-325 บาท | 313-325 บาท | 328 – 340 บาท | 328 – 340 บาท | 340-352
บาท |
347-359 บาท |
ทอง (1 บาท)
- 2559 21,500 บาท
- 2568 51,550 บาท
- เพิ่มขึ้น 30,050 บาท ≈ 139.77%
หมู (เนื้อแดง สะโพก ตัดแต่ง)
- 2559 152.50 บาท/กก.
- 2568 175.00 บาท/กก.
- เพิ่มขึ้น 22.50 บาท ≈ 14.75%
ไข่ไก่ (เบอร์ 1)
- 2559 3.75 บาท/ฟอง
- 2568 4.70 บาท/ฟอง
- เพิ่มขึ้น 0.95 บาท ≈ 25.33%
ทุเรียนหมอนทอง
- 2559 110.00 บาท/กก.
- 2568 225.00 บาท/กก.
- เพิ่มขึ้น 115.00 บาท ≈ 104.55%
น้ำมันปาล์ม (ขวด1 ลิตร)
- 2559 40.00 บาท/ขวด
- 2568 57.50 บาท/ขวด
- เพิ่มขึ้น 17.50 บาท ≈ 43.75%
ข้าวสารเจ้า 100% ธรรมดา (ข้าวใหม่)
- 2559 405.00 บาท/15 กก.
- 2568 425.00 บาท/15 กก.
- เพิ่มขึ้น 20.00 บาท ≈ 4.94%
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95
- 2559 24.60 บาท/ลิตร
- 2568 32.85 บาท/ลิตร
- เพิ่มขึ้น 8.25 บาท ≈ 33.54%
น้ำมันดีเซลพรีเมียม
- 2559 26.49 บาท/ลิตร
- 2568 43.94 บาท/ลิตร
- เพิ่มขึ้น 17.45 บาท ≈ 65.88%
หมายเหตุ: 1) เป็นข้อมูลราคาเฉลี่ยสินค้าปี 2559 เปรียบเทียบกับปี 2568 ณ วันที่ 5 พ.ค. 2568
2) ราคาน้ำมันอ้างอิงจาก บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
เมื่อค่าแรงไล่ตาม “ค่าครองชีพ” ไม่ทัน จากราคาสินค้าปี 2559 สู่ 2568 พุ่งทะยาน
ข้อมูลราคาสินค้าเปรียบเทียบระหว่างปี 2559 และ 2568 จะเห็นได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ที่ราคาต่อบาทเพิ่มขึ้นกว่า 139.77% จาก 21,500 บาทในปี 2559 เป็น 51,550 บาทในปี 2568 หรือ หมูเนื้อแดง ที่ขยับราคาจากกิโลกรัมละ 152.50 บาท เป็น 175 บาท เพิ่มขึ้น 14.75% แม้แต่ ไข่ไก่ ยังปรับตัวสูงขึ้นถึง 25.33% เช่นเดียวกับ น้ำมันปาล์ม ที่ราคาต่อขวดสูงขึ้น 43.75% และ น้ำมันดีเซล ที่กระโดดขึ้นถึง 65.88%
.
การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าเหล่านี้ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งอาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในการจัดสรรเงินเพื่อซื้อสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน
.
.
ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำของภาคอีสานในช่วงเวลาเดียวกันนี้ แม้จะมีการปรับเพิ่มขึ้น แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าแล้ว อาจตั้งคำถามว่า “ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั้น สามารถชดเชยภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้จริงหรือไม่?”
.
อีสานอินไซต์ขอยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นแรงงานรายวันในโรงงาน หรือเกษตรกรที่ต้องทำงานหนัก เทียบกับค่าแรงที่ได้รับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ต้องแบกรับภาระค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย ที่ต่างพากันปรับตัวสูงขึ้น แล้วพวกเขาเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจริงหรือไม่ หรือกำลังวิ่งตามเงาของค่าครองชีพที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
.
โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อภาคธุรกิจอีกด้วยเช่นกัน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่แพงขึ้น อาจบีบให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องปรับราคาสินค้าและบริการตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคในนั่นเอง
.
นอกจากนี้ การที่ค่าครองชีพสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีสานของนักลงทุนจากภายนอก เนื่องจากต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นอาจไม่ดึงดูดเท่าที่ควร ซึ่งอาจส่งผลต่อโอกาสในการสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว
.
.
อ้างอิงจาก:
- Sale Here
- กระทรวงแรงงาน
- กระทรวงพาณิชย์
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
- ราคาทองคําวันนี้
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ค่าครองชีพ #ของแพงขึ้น #ค่าแรงขั้นต่ำ
พามาเบิ่ง👩🎓👩🔧 ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเฮาและเพื่อนบ้าน GMS เฮา