SHARP ADMIN

ปริมาณการผลิตและสายพันธ์ุหมูท้องถิ่นในกลุ่มประเทศ GMS

กัมพูชามีปริมาณการผลิตหมูต่อปีที่ 101,251.76 ตัน  อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อหมูในกัมพูชาปัจจุบันมีการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากการเลี้ยงหมูในกัมพูชาเองยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคที่มีประชากรใกล้เคียงกัน การขยายการเลี้ยงหมูของ CP Cambodia เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการลงทุนดังกล่าว มุ่งเน้นการปรับปรุงเทคนิคการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดการนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ พันธ์ุหมูท้องถิ่นในกัมพูชา มีดังนี้ พันธุ์หมูเขมรแดง (Khmer Rouge): พันธุ์หมูเขมรแดงเป็นพันธุ์หมูที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกัมพูชา เนื่องจากมีความทนทานและต้านทานโรคได้ดี อย่างไรก็ตาม พันธุ์นี้มีนิสัยก้าวร้าวมาก จึงไม่เหมาะกับการเลี้ยงในที่แคบกับคนหรือสัตว์อื่น ๆ พันธุ์หมูกัมพูชาขาว (Cambodian White): พันธุ์หมูกัมพูชาขาวเป็นอีกพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในกัมพูชา มีความก้าวร้าวน้อยกว่าหมูเขมรแดง แต่มีโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี พันธุ์หมูแม่น้ำโขงแดง (Mekong Red): พันธุ์หมูแม่น้ำโขงแดงเป็นหมูขนาดเล็กจากเวียดนาม แม้ว่าจะไม่ต้านทานโรคได้ดีเท่ากับสองพันธุ์ที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ก็มีนิสัยสงบและง่ายต่อการเลี้ยง   จีนมีปริมาณการผลิตหมูต่อปีที่ 56,321,097.32 ตัน  ประเทศจีน เป็นประเทศที่ผลิตและบริโภคเนื้อหมูมากที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา การผลิตเนื้อหมูสเกลขนาดใหญ่ได้เข้ามาแทนที่ระบบการผลิตเนื้อหมูที่เคยทำโดยครอบครัว การใช้เทคโนโลยีการผสมพันธุ์ การให้อาหาร การฉีดวัคซีน และการจัดการแบบสมัยใหม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยยังคงมีสัดส่วนมากในอุตสาหกรรมนี้ การผลิตเนื้อหมูในจีนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเข้มข้นในการใช้เทคโนโลยีอีกในอนาคต จากการเข้ามาของระบบปฎิบัตการ AI ในการช่วยบริหารและควบคุมคุณภาพ แต่การผลิตเนื้อหมูในจีนปัจจุบันยังมีความท้าทายในมิติการผลิตอย่างไรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน พันธ์ุหมูท้องถิ่นในจีน มีดังนี้ หมูไท่หู (TAIHU): หมูไท่หูมาจากหุบเขาไท่หู ใกล้กับเซี่ยงไฮ้ ในพื้นที่การเกษตรที่มีชื่อเสียง มีสภาพอากาศกึ่งเขตร้อนชื้น ฝนตกเหมาะสม และผลผลิตพืชสูง หมูไท่หูแบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เหม่ยซาน เฟิงจิง เจียซิงดำ และเอ่อหัวเหลียน หมูไท่หูมีหัวใหญ่ หน้าผากกว้าง ผิวหนาและเหี่ยวย่น หูและปากใหญ่ตกลง มีขนสีดำบนตัวที่หนาและเป็นกลุ่ม หมูเหม่ยซานมีขนาดตัวใหญ่ที่สุดและมีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง หมูจินหัว (JINHUA): หมูจินหัวมาจากภาคกลางของจีนในเขตที่มีอากาศชื้นและอบอุ่น เป็นพันธุ์ขนาดกลาง มีลำตัวสีขาว หัวและสะโพกสีดำ จึงถูกเรียกว่า “สองปลายดำ” หมูจินหัวเจริญเติบโตเร็วและมีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ ทำน้ำซุป และผลิตแฮม หมูจินหัวมีไขมันสะสมมาก ทำให้เนื้อมีรสชาติหวาน แฮมจินหัวเป็นที่รู้จักทั่วโลกในเรื่องรสชาติและสีชมพูอ่อน   ลาวมีปริมาณการผลิตหมูต่อปีที่ 101,253 ตัน  ในประเทศลาว เนื้อหมูเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญอันดับสองรองจากปลา และความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี การผลิตหมูในเขตเมืองเวียงจันทน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ตั้งแต่ระบบการผลิตขนาดใหญ่เข้ามาแทนที่การผลิตแบบครัวเรือน ในปี 2020 ลาวมีจำนวนหมูประมาณ 4.3 ล้านตัว โดย 91% เป็นหมูพื้นเมือง และ 54% ของหมูทั้งหมดถูกเลี้ยงในเวียงจันทน์ ราคาเนื้อหมูเฉลี่ยในปี 2020 อยู่ที่ 46,000 กีบ/กก. เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2019 และ 11% จากปี …

ปริมาณการผลิตและสายพันธ์ุหมูท้องถิ่นในกลุ่มประเทศ GMS อ่านเพิ่มเติม »

12 นักกีฬาไทย ตะลุยโอลิมปิก จากแดนอีสาน

จุฑามาศ รักสัตย์ : มวยสากล รุ่น 50 กก.หญิง  โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 ภูมิลำเนา: บุรีรัมย์    ใบสน มณีก้อน : มวยสากล รุ่น 75 กก. หญิง โอลิมปิก 2 สมัย : 2020, 2024 ภูมิลำเนา: จ. กาฬสินธุ์     จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง : มวยสากล รุ่น 66 กก. หญิง โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 ภูมิลำเนา: จ. หนองคาย   บรรจง สินศิริ : มวยสากล รุ่น 63.5 กก. ชาย โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 ภูมิลำเนา : จ. ศรีสะเกษ   วีระพล จงจอหอ : มวยสากล รุ่น 80 กก. ชาย โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 “วีระพล” หลานสมจิตร จงจอหอ ภูมิลำเนา : จ. นครราชสีมา   อรวรรณ พาระนัง : เทเบิลเทนนิส หญิงเดี่ยว, ทีมหญิง โอลิมปิก 2 สมัย : 2020, 2024 ภูมิลำเนา : จ. อุบลราชธานี   “เมย์” รัชนก อินทนนท์ : แบดมินตัน ประเภทหญิงเดี่ยว โอลิมปิก 4 สมัย : 2012, 2016, 2020 และ2024 ภูมิลำเนา : จ. ยโสธร   สุภัค จอมเกาะ : แบดมินตัน …

12 นักกีฬาไทย ตะลุยโอลิมปิก จากแดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ถนนไปที่ไหน ความเจริญไปที่นั่น จาก “สุดบรรทัด-เจนจบทิศ สู่ มิตรภาพ” เส้นทางประตูสู่อีสาน

เราสัญจรบน ถนนมิตรภาพมานาน แต่น้อยคนจะรู้ที่มาของชื่อ “มิตรภาพ” นั้นหมายถึงมิตรภาพระหว่างใคร บ้างก็ว่าเป็น มิตรภาพไทย-ลาว แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ และยิ่งไปกว่านั้น ก่อนจะมาเป็นชื่อ “มิตรภาพ” ทางหลวงสายนี้ยังเคยใช้ชื่ออื่นมาก่อนด้วย ประวัติความเป็นมาของ ถนนมิตรภาพ ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสหรัฐในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ตั้งชื่อถนนช่วงสระบุรี–ปากช่อง–นครราชสีมาว่า “ถนนสุดบรรทัด” และในช่วงนครราชสีมา–ขอนแก่น–อุดรธานี–หนองคายได้รับการตั้งชื่อถนนว่า “ถนนเจนจบทิศ” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ก่อนที่จะได้รับการสนันสนุนการก่อสร้างจากสหรัฐ ซึ่งเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2498 จากสระบุรีจนถึงนครราชสีมา ระยะทางประมาณ 148 กิโลเมตร โดยการสร้างถนนจากสระบุรี-นครราชสีมา ระยะแรกเริ่มต้นจากจังหวัดสระบุรี ไปสิ้นสุดที่จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 148 กิโลเมตร จะมีช่วงถนนผ่านเข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ผ่านอำเภอปากช่อง เป็นอำเภอแรกสุดของการเดินทางจากถนนมิตรภาพเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สีคิ้ว, สูงเนิน, และอำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จากนั้นเส้นทางออกจากเมืองขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอเฉลิมพระเกียรติ, โนนสูง, คง, โนนแดง, สีดา และอำเภอบัวลาย ก่อนเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น ต่อมาได้สร้างต่อไปยังจังหวัดหนองคาย รวมเป็นระยะทาง 509 กิโลเมตร ถนนสายนี้เริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2508 นับว่าถนนมิตรภาพเป็นถนนสายหลักที่สามารถเดินทางไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามสำนวนที่ว่า เปิดประตูสู่อีสาน เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2498 โดยรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USOM) ในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง พร้อมทั้งได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันมาช่วยให้คำแนะนำ ส่วนการออกแบบและการก่อสร้างอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมทางหลวง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต เพื่อแสดงถึงมิตรภาพของประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในการก่อสร้างถนนร่วมกัน จึงขนานนามถนนสายนี้เป็น ถนนมิตรภาพ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระอริสริยศในขณะนััน) เสด็จพระราชดำเนินมาทรประกอบพิธีเปิดถนนมิตรภาพบริเวณกิโลเมตรที่ 33 อำเภอมวกเล็ก จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 และมีพิธีมอบถนนให้ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500  และได้เปลี่ยนชื่อ ขนานนามใหม่ให้ถนนสายนี้ว่า ถนนมิตรภาพ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เพื่อแสดงถึงมิตรภาพของประเทศไทยกับสหรัฐในการก่อสร้างถนนร่วมกัน โดยมีพิธีมอบถนนให้ประเทศไทย ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2501   ป้ายอนุสรณ์ ความร่วมมือ มิตรภาพ สหรัฐอเมริกา-ไทย   ถนนมิตรภาพ ช่วงลำตะคอง โคราชในอดีต เมื่อปี พ.ศ.2514 อนุสาวรีย์จำลอง อนุสรณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เดิม …

ถนนไปที่ไหน ความเจริญไปที่นั่น จาก “สุดบรรทัด-เจนจบทิศ สู่ มิตรภาพ” เส้นทางประตูสู่อีสาน อ่านเพิ่มเติม »

“ปลาหมอคางดำ” ชี้แพร่ถึงอีสานยากแต่ยังมีโอกาส นักวิชาการ มข.แนะทางแก้เอเลี่ยนสปีชีส์ “เจอต้องจับ”

“ปลาหมอคางดำ” กลายเป็นคำค้นหายอดนิยมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จนทำให้บางคนอาจสงสัยว่าปลาชนิดนี้คือออะไร มีที่มาจากไหน รวมถึงมีประโยชน์หรืออันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร วันนี้ 16 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชวนมารู้จักกับ “ปลาหมอคางดำ” พร้อมไขคำตอบวิธีแก้ไขปัญหาการระบาดของเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) กับ ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ ปลาหมอคางดำ (Blackchin tilapia) ว่า มีลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ  ปลานิล แต่บริเวณใต้คางจะมีสีดำ และโดยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า ปลาชนิดนี้ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา กระทั่งถูกนำเข้ามายังประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนจนเกิดการแพร่ระบาด แต่ยังไม่เป็นที่สนใจเพราะยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่มีผลกระทบต่อการทำการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จนไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น  ปัจจุบันข้อมูลจากกรมประมงที่มีการรายงาน  พบว่า ปลาหมอคางดำ มีการแพร่กระจายออกไปแล้ว 13 จังหวัด ตั้งแต่อ่าวไทยรูปตัวกอ เช่น จังหวัดระยอง  ลงไปถึงทางใต้ในจังหวัดสงขลา “จะสังเกตว่า ปลาหมอคางดำอยู่บริเวณเขตชายฝั่งของประเทศไทยและแม่น้ำ ลำคลองที่เชื่อมต่อกับชายฝั่งเป็นหลัก โดยปัจจัยที่มีการแพร่กระจาย คือ ปลาหมอคางดำสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็มตั้งแต่ 0-45 PPT คือ อยู่ได้ทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และอาศัยอยู่ได้ดีมากในบริเวณน้ำกร่อย  อีกปัจจัย คือ ปลาหมอคางดำมีการฟักไข่ในปาก โดยเฉลี่ยครั้งหนึ่งจะมีไข่ 50-300 อาจจะถึง 500 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาด ซึ่งตัวผู้จะดูแลตัวอ่อนค่อนข้างดี ทำให้อัตราการรอดตายของลูกสูงขึ้น คอกหนึ่งอาจจะรอดถึง 90-95% และเมื่อลูกออกมาจากปากก็จะตัวโตพอหาอาหารได้เองแล้ว”   ภาพ : เว็บไซต์กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผศ.ดร.พรเทพ กล่าวต่อว่า สำหรับปลาหมอคางดำนั้น มีประโยชน์ คือ สามารถนำมาเป็นอาหารให้มนุษย์บริโภคได้ ทั้งผลิตเป็นปลาเค็มแดดเดียว น้ำปลา น้ำปลาร้า หรือนำไปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างการทำปลาป่น หรือนำไปทำเป็นปลาเหยื่อเลี้ยงปลาเนื้อ แต่อีกด้านปลาหมอคางดำก็มีลักษณะพิเศษ คือ หาอาหารเก่ง กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ทำให้ไปแย่งอาหารปลาธรรมชาติ นอกจากนี้ ปลาหมอคางดำยังไปทำลายตัวอ่อนของสัตว์น้ำ กินได้ทั้งลูกกุ้ง ลูกปู ลูกปลา ทำให้สัตว์น้ำในธรรมชาติก็ค่อย ๆ ลดลงไป และตัวมันก็แพร่พันธุ์เร็วและมากยิ่งขึ้น สำหรับโอกาสที่ปลาหมอคางดำจะแพร่มายังภาคอีสานหรือไม่นั้น  หัวหน้าสาขาวิชาประมง ระบุว่า ยังมีโอกาสอยู่ แต่การจะแพร่ตามธรรมชาติคงต้องใช้เวลา เนื่องจากภูมิประเทศ และระบบลำน้ำของภาคอีสานไม่ได้เชื่อมต่อกับภาคกลางมากนัก ซึ่งการแพร่พันธุ์จะเน้นแพร่มาจากแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งระบบลำน้ำปกติแล้วจะไหลออกไปยังแม่น้ำโขง ดังนั้น หากจะแพร่มาภาคอีสานได้อาจจะเข้ามาทางแม่น้ำโขง แต่ตัวการที่ทำให้เกิดการแพร่พันธุ์ คือ มนุษย์ที่นำพาปลาหมอคางดำเข้ามา จุดนี้เป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ “คนเราต้องการอาหารโปรตีน ภาคอีสานการเลี้ยงสัตว์น้ำมันยาก เพราะดินไม่เหมาะสม การเก็บน้ำไม่อยู่ สารพัดอย่าง เพราะฉะนั้นแหล่งโปรตีนเราก็ต้องการ คนอีสานก็ชอบ ถ้าเกิดมาอยู่อีสานก็อาจจะหมดเลยก็ได้ในอนาคต เหมือนหอยเชอรี่ที่เมื่อก่อนก็เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ระบาดไปทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันในอีสานเริ่มขาดแคลนจนมีการเลี้ยงเพราะเป็นเมนูโปรดของหลายคน แต่ทางที่ดีคือ อย่ามีใครนำมาแพร่กระจายในภาคอีสานจะดีที่สุด ” แนะ 3 วิธีแก้ปัญหาปลาหมอคางดำแพร่ระบาดในแหล่งน้ำธรรมชาติ ผศ.ดร.พรเทพ แนะนำว่า วิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเผชิญกับเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) อย่างปลาหมอคางดำ สิ่งสำคัญ คือ “เจอต้องจับ” เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดไปยังแหล่งน้ำอื่น ควบคุมไม่ให้สถานการณ์แย่ไปกว่านี้ อีกวิธี คือ …

“ปลาหมอคางดำ” ชี้แพร่ถึงอีสานยากแต่ยังมีโอกาส นักวิชาการ มข.แนะทางแก้เอเลี่ยนสปีชีส์ “เจอต้องจับ” อ่านเพิ่มเติม »

“มูเตลู” การท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม จะต่อยอดการท่องเที่ยวอีสานได้อย่างไร?

เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวหลายคนอาจนึกถึงการเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ ๆ การพักผ่อนที่โรงแรมหรู หรือการชมธรรมชาติที่สวยงาม แต่ยังมีมิติหนึ่งของการท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเปี่ยมไปด้วยความลึกลับน่าค้นหา นั่นคือการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางจิตวิญญาณและพิธีกรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น หนึ่งในนั้นคือ “มูเตลู” ความเชื่อที่ลึกซึ้งและพิธีกรรมที่น่าหลงใหลที่ถักทอเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในหลายชุมชน ทั้งยังเป็นสะพานเชื่อมโยงประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน มาร่วมค้นหามิติของมูเตลูและสัมผัสความงดงามของการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรมไปพร้อมกับ ดร.ริณา ทองธรรมชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านบทความนี้ไปด้วยกัน (ภาพที่ 1 : ดร.ริณา ทองธรรมชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ความหมายและมิติของความเชื่อใน “มูเตลู” “มูเตลู” คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เรื่องลี้ลับ ของขลัง ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ การดูไพ่ การเสริมดวงและโชคชะตา การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในปัจจุบัน “มูเตลู” เป็นการหลอมรวมความเชื่อพุทธ พราหมณ์ การนับถือผี และสิ่งเร้นลับเข้าด้วยกัน และกลายเป็นความเชื่อที่เสริมกำลังใจผู้นับถือบูชาให้สมหวังในสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น มูเตลูด้านการงาน การเงิน และความรัก (ThaiPBS, 2566) โดยความเชื่อในมูเตลูมีรากฐานมาจากความศรัทธาในวิญญาณของบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่ถูกนับถือในท้องถิ่น อาทิ ผีบ้าน ผีเรือน และผีฟ้า การปฏิบัติตามความเชื่อเหล่านี้มักจะมีพิธีกรรมและประเพณีที่เข้มงวด เช่น พิธีสู่ขวัญ พิธีไหว้ครู พิธีแห่นางแมว และบุญบั้งไฟ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงถึงความศรัทธา แต่ยังเป็นวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย (ภาพที่ 2 : ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร. ราชกิจ กรรณิกา, 2562) ดังนั้นคำว่า “มูเตลู” นำมาอธิบายกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่ไม่ได้เคร่งทางศาสนา และในปัจจุบันการมูเตลูถูกมองผ่านเครื่องประดับหรือเครื่องรางของขลังทั้ง พระเครื่อง หินสี สร้อยข้อมือมงคล นอกจากนี้ยังมีการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พราหมณ์ พญานาค พระพิฆเนศ รวมถึงผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การทำบุญ การไหว้พระ การสวดมนต์ หรือแม้กระทั่งการดูไพ่ยิปซี ภาพหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่เป็นรูปเทพต่าง ๆ  หรือกิจกรรมที่ทำแล้วสบายใจ ไม่เครียด เข้าถึงง่ายและเหมือนแฟชั่นหรือการตามเทรนด์ แทนการเข้าวัดหรือสถานที่ทางศาสนานั่นเอง (ภาพที่ 3 : การดูไพ่ยิปซี. สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 2566) มูเตลูกับการท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม Paranormal Tourism หรือ การท่องเที่ยวเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นการเยี่ยมชมสถานที่ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับผี วิญญาณ หรือปรากฏการณ์ลี้ลับต่าง ๆ นักท่องเที่ยวที่สนใจในรูปแบบการท่องเที่ยวลักษณะนี้ ต้องการสัมผัสหรือเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและตำนานที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ต่าง ๆ เหล่านั้น ในประเทศไทยมีการท่องเที่ยวเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอยู่ทุกพื้นที่ทุกจังหวัด โดยเป็นการเข้าร่วมพิธีกรรมและการบูชา เช่น การไหว้พระ การทำบุญ การสวดมนต์ การขอพรจากพระพิฆเนศ เจ้าแม่กวนอิม หรือพญานาค รวมถึงการเยี่ยมชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ …

“มูเตลู” การท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวัฒนธรรม จะต่อยอดการท่องเที่ยวอีสานได้อย่างไร? อ่านเพิ่มเติม »

รายชื่อและเส้นทาง 51 นักกีฬาไทย ตะลุยศึก โอลิมปิก เกมส์ 2024

รายชื่อและเส้นทาง 51 นักกีฬาไทย ตะลุยศึก โอลิมปิก เกมส์ 2024 26 มิถุนายน 2567 เดินทางเข้าสู่ทางตรง 100 ม. สุดท้ายของการคัดเลือก โอลิมปิก “ปารีส 2024” ที่ประเทศฝรั่งเศส กันแล้ว ในส่วนของนักกีฬาไทยเวลานี้ผ่านการคัดเลือกแล้วทั้งหมด 51 โควตา มีการประกาศรายชื่อใครบ้างและเส้นทางกว่าจะได้โควตาของแต่ละคนเป็นอย่างไรติดตามพร้อมกันได้ที่นี่     ธันยพร พฤกษากร (ยิงปืน : ปืนสั้นระยะ 25 ม. หญิง) โอลิมปิก 5 สมัย : 2008, 2012, 2016, 2020 และ 2024 ธันยพร เป็นนักกีฬาไทยคนแรกที่คว้าได้สิทธิ์เข้าร่วมโอลิมปิก 2024 โดยตั๋วใบนี้ได้มาจากการคว้าอันดับ 5 ในศึกยิงปืนชิงแชมป์โลก ที่เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2023 เดิมทีในอีเวนต์ปืนสั้นระยะ 25 ม. หญิง ที่เธอลงแข่ง มีตั๋วโอลิมปิกมอบให้แค่นักกีฬา 3 อันดับแรก แต่เนื่องจากอันดับ 1-4 ซึ่งประกอบด้วย เยอรมนี, ยูเครน, ลัตเวีย และอิหร่าน นั้นต่างก็ได้โควตาโอลิมปิกกันไปก่อนหน้านี้แล้ว สิทธิ์จึงขยับมาเป็นของ ธันยพร     กมลลักษณ์ แสนชา : ยิงปืน ปืนสั้นอัดลมหญิง ระยะ 10 เมตร โอลิมปิก 1 สมัย : 2024 นักแม่นปืนสาววัย 16 ปี สร้างเซอร์ไพร์คว้าตั๋วโอลิมปิกเกมส์ 2024 ได้เป็นคนที่ 3 ของนักกีฬายิงปืน โดยผ่านการคัดเลือกจากรายการสุดท้าย รายการ ISSF Final Olympic Qualify Championship 2024 ที่ประเทศบราซิล เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผานมา ในประเภทปืนสั้นอัดลมหญิง ระยะ 10 เมตร มีโควตาโอลิมปิกแค่ 2 ที่นั่งมอบให้แชมป์กับรองแชมป์เท่านั้น แต่ทว่า กมลลักษณ์ กลับทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ผ่านเข้ามาถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในรอบนี้ต้องยิงคนละ 24 นัด ซึ่ง กมลลักษณ์  ยิงทำคะแนนรวมได้ 240.5 คะแนน คว้าเหรียญเงินมาครองคว้าพร้อมสิทธิ์เข้าร่วมโอลิมปิก 2024 ที่ประเทศฝรั่งเศส     ทองผาภูมิ วงศ์สุขดี (ยิงปืน : …

รายชื่อและเส้นทาง 51 นักกีฬาไทย ตะลุยศึก โอลิมปิก เกมส์ 2024 อ่านเพิ่มเติม »

Soft Power แบบไทยๆ แข็งก่อน ค่อยอ่อนไหม?

🇹🇭🌏Soft Power แบบไทยๆ แข็งก่อน ค่อยอ่อนไหม? 📃โดย นรชิต จิรสัทธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ผมเข้าใจว่ากระแส #softpower ในประเทศไทยได้ถูกปลุกขึ้นเมื่อสัก 2 ปีก่อน โดยนักร้องมิลลิได้โชว์กินข้าวเหนียวมะม่วงในงานแสดงคอนเสิร์ตจนกลายเป็นไวรัลไปทั่ว จนปัจจุบันคำว่า “soft power” กลายเป็นคำฮิต ติดเทรนด์ การผลักดัน soft power เป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลแสดงความตั้งใจถึงกับตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อขับเคลื่อนด้านนี้โดยเฉพาะ ด้วยความเชื่อที่ว่าการเผยแพร่คุณค่าแบบไทยให้รู้จักในสากล จะช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกและความน่าดึงดูดใจให้แก่ประเทศ จนสุดท้ายการผลักดัน soft power ให้กระจายไปทั่วโลกจะเป็นเครื่องจักรช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง หลายองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต่างตอบรับนโยบายนี้ มีการจัดอีเว้นท์ภายใต้ชื่อ soft power มากมาย ซึ่งแรงจูงใจในการร่วมขบวนนโยบายนี้คงมีหลากหลาย บางคนอาจร่วมด้วยความชอบพอทางการเมืองหรือมีผลประโยชน์ได้เกาะเกี่ยวกับผู้มีอำนาจกันไป บางคนอาจร่วมด้วยเพราะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจบางอย่าง บางคนก็ร่วมด้วยความจำเป็นเพราะถูกบังคับให้ทำ บางคนอาจร่วมด้วยอย่างน้ำใสใจจริงเพราะเชื่ออย่างใจจริงว่า soft power มีความจำเป็นจริงๆในการขับเคลื่อนประเทศ ภาพ MILLI ศิลปินหญิงเดี่ยวไทยรายแรกบนเวที เทศกาลโคเชลลา กับการกิน ‘ข้าวเหนียวมะม่วง’ แซะรัฐบาล . ใครจะร่วมแบบไหน ด้วยแรงจูงใจอย่างไรผมคงไม่พูดถึงเพราะยากที่จะหยั่งถึงใจคน แต่ประเด็นที่อยากชวนให้คิดในวันนี้คือ ท่ามกลางกระแส #softpower ที่เอ่อล้นไปทางเดียว ราวกับว่าทุกๆคนเห็นดีเห็นงามกับมันไปด้วยนี้ พวกเราได้ลืมฉุกคิดถึงอะไรบางอย่างไปหรือไม่ ข้อเขียนตรงนี้จึงเหมือนเป็นการรวบรวมข้อสังเกตบางประการที่ผมได้เฝ้ามองความเป็นไปของ soft power มาจนถึงตอนนี้ . 📌ประเด็นแรก soft power ตามความหมายตั้งต้นที่น่าจะทราบทั่วกันคือ “ความสามารถสร้างอิทธิพลต่อผู้อื่นและทำให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการ ด้วยการดึงดูดและจูงใจ ไม่ใช่ด้วยกำลังบังคับหรือใช้เงินซื้อ” ดังนั้นปฏิบัติการ soft power จึงต้องตั้งอยู่บินการใช้ “อำนาจยินยอม” (consent power) และหนึ่งในอำนาจยินยอมก็คือการชักจูงด้วยวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เข้าใจผิดและพบเห็นมากคือ เรามักพูดถึง “สินค้าวัฒนธรรม” ราวกับว่ามันเป็น soft power ในตัวเอง ซึ่งไม่จริง สินค้าวัฒนธรรมอาจเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ soft power ได้ แต่ตัวมันเองไม่ได้เป็น soft power เสมอไป บางสินค้าทางวัฒนธรรมที่ฮิตก็อาจจะมีความ exotic บางอย่างทำให้คนตื่นตา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสร้างพลัง soft power ได้ ภาพ : ลำดับขั้นสู่การผลักดันจากสินค้าในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สู่การเป็น Soft Power . 📌ประเด็นที่สอง คณะทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการอ้าง Joseph Nye เรื่ององค์ประกอบที่จำเป็น และความหมายที่เปลี่ยนแปลงและเติบโตได้ของ soft power (จำได้ว่าคุณแพรทองธารก็เคยพูดถึง) ตรงนี้ไม่ผิด แต่สิ่งที่ Nye เน้นตลอดคือ soft power มันไม่ใช่ …

Soft Power แบบไทยๆ แข็งก่อน ค่อยอ่อนไหม? อ่านเพิ่มเติม »

สกลนคร เมือง 3 ธรรมแห่งอีสาน พร้อมพัฒนาสู่ Smart City

⛰สกลนคร เมือง 3 ธรรมแห่งอีสาน พร้อมพัฒนาสู่ Smart City . . เมื่อพูดถึงจังหวัดในภาคอีสาน หลายคนอาจคิดถึงวัดวาอารามหรือวัฒนธรรมประเพณีที่เราคุ้นเคยกันดี แต่สําหรับที่ “สกลนคร” นั้นต่างออกไป เพราะเมืองรองแห่งนี้เต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งด้านธรรมะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ จึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “เมือง 3 ธรรม” ของภาคอีสาน . 👱‍♂️โดยสกลนครมีทรัพยากรและภูมิปัญญาที่น่าสนใจ จากการที่เป็นดินแดนของ 6 ชนเผ่า 2 ชนชาติ ซึ่งร่วมสร้างวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของเมือง ทำให้มีวิถีชีวิตที่ผสานหลายวัฒนธรรมอย่างลงตัว และสร้างความดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่ม และปัจจุบันสกลนครมีความพร้อมที่จะยกระดับเป็น Smart City อีกจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานอีกด้วย . สกลนคร มีทรัพยากรและภูมิปัญญาที่น่าสนใจอย่างไร และมีความพร้อมที่จะเป็น Smart City ในด้านใดบ้าง ? อีสานอินไซต์ จะพามาเบิ่ง . 📌สกลนคร ตั้งอยู่ทางตอนบนของภาคอีสาน โดยห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 647 กิโลเมตรทางรถยนต์ ห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 120 กิโลเมตร และสะพานมิตรภาพ ไทย – ลาวแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม ประมาณ 90 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว . โดยสกลนครมีขนาดพื้นที่ 9,606 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 1.1 ล้านคน และมีขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่ 70,457 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับกลางๆของภาคอีสาน ดังนั้นทางสกลนครจึงได้มีการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวให้เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น โดยสกลนครได้สร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่มีชื่อว่า “สกลนคร เมือง 3 ธรรม” ซึ่งมาจากคำว่า ธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม . โดยสกลนคร มีบูรพาจารย์ที่เป็นอริยสงฆ์ ซึ่งได้รับความเลื่อมใส รวมทั้งการมีสถานที่สำคัญทางศาสนา จึงมีประชาชนทั่วไปมาเที่ยวชมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งธรรมะ” และจากการที่มีเทือกเขาภูพานอันเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง และมีทะเลสาบหนองหาร ที่เป็นแหล่งน้ำจืดที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย มีขนาดพื้นที่ 123 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ กว่า 20 เกาะ จึงทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งธรรมชาติ” อีกทั้งสกลนครเป็นเมืองที่มีชนเผ่าพื้นเมืองจำนวน 6 เผ่า ได้แก่ เผ่าภูไท ญ้อ ไทโส้ ไทกะเลิง ไทโย้ย ไทลาวอิสาน และ 2 เชื้อชาติ คือ …

สกลนคร เมือง 3 ธรรมแห่งอีสาน พร้อมพัฒนาสู่ Smart City อ่านเพิ่มเติม »

ททท. จัดงาน Vijitr วิจิตร 5 ภาค @อุบลราชธานี จัดเต็มปรากฎการณ์แสง สี ศิลป์ รวม 15 จุดการแสดงใน 7 พื้นที่ประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี

ททท. จัดงาน Vijitr วิจิตร 5 ภาค @อุบลราชธานี จัดเต็มปรากฎการณ์แสง สี ศิลป์ รวม 15 จุดการแสดงใน 7 พื้นที่ประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการจัดการดำเนินงานของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดทำโครงการ VIJITR 5 ภาค ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย กับงาน VIJITR 5 ภาค @อุบลราชธานี “แสงศิลป์แห่งศรัทธา” ในวันที่ 13-21 กรกฎาคม 2567 ณ จังหวัดอุบลราชธานี จัดเต็มปรากฎการณ์แสง สี ศิลป์ รวม 15 จุดการแสดงใน 7 พื้นที่ประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่แรกของการจัดงาน ถือเป็นกิจกรรมโครงการตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะช่วยสร้างการรับรู้พื้นที่อัตลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีได้อย่างชัดเจน แล้วยังมีการผสมผสานวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ก่อให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในยามค่ำคืน ทำให้เกิดการขยายเวลาการท่องเที่ยวในช่วงกลางคืนได้เป็นอย่างดี ภาพบรรยากาศพิธีเปิดงาน “VIJITR 5 ภาค @อุบลราชธานี” แสงศิลป์แห่งศรัทธา ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2567 งานแสดง แสง สี เสียง สุดยิ่งใหญ่ ในจังอุบลราชธานี #ที่ไม่ควรพลาด เชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านมาชมและสัมผัสกับความสวยงาม ของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี ผ่านการแสดงเทคนิคแสง สี เสียงในรูปแบบสมัยใหม่ ทั้ง Light Up, Projection Mapping, การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่สะท้อนความงดงามของวิถีชีวิต ภูมิปัญญาและประเพณีท้องถิ่น ใน 7 พิกัด 15 จุดการแสดง คือ ทุ่งศรีเมือง 6 จุด 1.ประเพณีแห่งศรัทธา 2.แสงเรืองรองส่องศรัทธา 3.แสงศิลป์ยุคสมัย 4.สถาปัตยศิลป์ 5.วันวานที่สานศิลป์ 6.เปลวเทียนส่องศิลป์ ศาลหลักเมือง 1 จุด 7.แสงศิลป์ ศิวิไล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี 4 จุด 8.แสงสี ศิลป์ ราชธานี 9.รากเหง้าศรัทธาศิลป์ 10.ศรัทธาที่ผลิบาน 11.เจริญศิลป์เรืองรอง วัดสุปัฏนารามวรวิหาร 1 จุด 12.สุปัฏตยศิลป์ วัดทุ่งศรีเมือง หอไตรกลางน้ำ 1 จุด 13.แสงศิลป์ยอดพระไตร วัดบูรพาราม 1 จุด 14.แสงศิลป์บัวพ้นน้ำ วัดมหาวนาราม 1 จุด 15.สวรรค์แสงศิลป์ #เข้าชมฟรี 13 – 21 …

ททท. จัดงาน Vijitr วิจิตร 5 ภาค @อุบลราชธานี จัดเต็มปรากฎการณ์แสง สี ศิลป์ รวม 15 จุดการแสดงใน 7 พื้นที่ประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี อ่านเพิ่มเติม »

แห่เทียน 67 อุบลจัดใหญ่ “คัมโฮม อุบล 2024” โซนกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ ฟังลำ เสพศิลป์ กินข้าว

  🎈มื้อสันวันดี 18 – 22 กรกฎาคม ปีนี้ เฮามีนัดกันที่หน้า รร 9 ชั้นเด้ออ กับ… กิจกรรม “คัมโฮม อุบล 2024” วันที่ 18,19,22 เริ่มตั้งแต่เวลา 15.00-22.00 น. และวันที่ 20,21 (วันแห่เทียน)เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น. แผนผังโซนกิจกรรม 🌟ไฮไลท์เด็ด🌟 ✅Street Food ✅Street Art ✅Music Show ✅WorkShop 🕺🏻💃🏻 มาม่วนนำกัน เมือมาบ้าน มาโฮมกัน มานั่งเล่น ฟังลำ เฮามีอาหาร เครื่องดื่ม มีแนวเฮ็ดตะฮักๆ ไว้คอยต้อนรับพี่ๆน้องๆทุกคน แล้วพ้อกันที่งาน “คัมโฮม อุบล” เด้อค่าา 💖 เพจ:ComeHomeUbon ปล.ไผมาบ่ถืก โลเคชั่นตามนี้เลยนะคะ 🔻 📍โลเคชั่น รร 9 ชั้นค่าาา (อุบลโฮเต็ล) #comehomeubon #งานประเพณีแห่เทียนพรรษา2567 #คัมโฮมอุบล #CandleFestival2024 #เมืองเก่าอุบล #หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี #YECUBON #แห่เทียนอุบล

Scroll to Top