Nanthawan Laithong

พาส่องเบิ่ง ศึกธุรกิจน้ำปลาร้า ของเหล่าคนดังในภาคอีสาน

หากมองเข้ามาที่ตลาดน้ำปลาร้าของบ้านเราที่มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาทแล้ว จะพบว่า การเข้าตลาดนี้มีอุปสรรคในการเข้าค่อนข้างต่ำ เพราะนอกจากจะมีโรงงานที่ผลิตสินค้าทำ OEM เพื่อนำไปติดแบรนด์ของตัวเองกระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นจำนวนมากแล้ว หากคนที่จะเข้ามาทำตลาดเป็นคนที่มีชื่อเสียง หรือเป็นดารา นักร้อง ที่สามารถเอา Personal Brand ของตัวเองไป Endorse เพื่อทำแบรนด์น้ำปลาร้าของตัวเองเข้าทำตลาด ก็จะทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทำให้ตลาดน้ำปลาร้าในปัจจุบัน มีแบรนด์อยู่ในตลาดถึง 200 – 300 แบรนด์เลยทีเดียว ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็คือเหล่าบรรดาคนที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ต่างก็เข้ามาทำแบรนด์ของตัวเองเพื่อลุยตลาด ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลาร้าแบรนด์แซ่บไมค์ ของนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “ไมค์ ภิรมย์พร” น้ำปลาร้าแบรนด์หม่ำ จ๊กม๊ก หรือแม้แต่น้ำปลาร้าสุนารี ไม่เว้นแม้แต่นักมวยดังอย่าง “บัวขาว บัญชาเมฆ” ก็มีน้ำปลาร้า แบรนด์บัญชาเมฆ กับเขาด้วย อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าตลาดนี้จะทำได้ค่อนข้างง่าย แต่การจะทำให้ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่ดูเหมือนง่าย แต่ทำออกมาค่อนข้างยาก เพราะแม้จะมีชื่อเสียงของตัวเองเข้ามา Endorse ไปกับแบรนด์ แต่หากไม่มีกลยุทธ์การตลาดที่ดีเข้ามาประกอบ โดยเฉพาะเรื่องของการจัดจำหน่าย โอกาสที่จะสามารถสร้างสเกลให้เป็นแมสตามคุณสมบัติของสินค้าตัวนี้ก็มียากขึ้นตามไปด้วย อ้างอิงจาก: https://www.brandage.com/article/20910/ZAB-MIKE https://data.creden.co/company/general/0125562012391 https://data.creden.co/company/general/0105562115165 https://data.creden.co/company/general/0105560011401 https://data.creden.co/company/general/0405560004169 https://www.nationtv.tv/entertainment/378862786 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจน้ำปลาร้า #น้ำปลาร้า #น้ำปลาร้าแซ่บไมค์ #น้ำปลาร้าสุนารี #น้ำปลาร้าเอ็มยูเอ็มรสชาตินัว #น้ำปลาร้าบัญชาเมฆ

พามาเบิ่ง ศึกอาณาจักรโรงน้ำแข็ง รายใหญ่ในภาคอีสาน

อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0453544000187 https://data.creden.co/company/general/0335547000105 https://www.facebook.com/ejan2016/videos/370209933581379/ https://www.youtube.com/watch?v=VnqHL47TQVU #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โรงน้ำแข็ง #กรเดช #วารีเทพ

พาซอมเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนสิงหาคมเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า สูงขึ้น 7.34% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน สิงหาคม 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 7.86% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ส.ค. 64) ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 107.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.86% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้น โดยในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อของภาคเหนือสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้น 8.24% รองลงมาได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ สูงขึ้น 7.98% 7.94% และ 7.88% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงขึ้นในอัตราท่ีต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 7.34% เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ผักและผลไม้ อาทิ ขิง มะนาว และสับปะรด อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น 1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 14.9% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 28.4% เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 8.5% โดยเฉพาะน้ำมันและไขมันสูงขึ้นถึง 29% 3. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 8.4% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 21.4% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก 4. หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 7.7% โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 62.7% ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (FT) ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2565 แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกันยายน ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มขยายตัวแต่ในอัตราท่ีชะลอลง จากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน อาหาร และสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุน ซึ่งยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการท่องเที่ยวในประเทศ และการส่งออก ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลต่อต้นทุนการน้าเข้าสินค้า อย่างไรก็ตาม ฐานราคาที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนเดียวกันปีก่อน จะเป็นปัจจัยทอนต่อการสูงขึ้นของเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันดิบท่ีมีความผันผวน จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ท้าให้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อมีความไม่แน่นอน นอกจากนั้น มาตรการลดค่าไฟฟ้าของรัฐ ที่คาดว่าจะออกมาในช่วงที่เหลือของปีจะมีส่วนชะลอการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ท่ีระหว่างร้อยละ 5.5 – …

พาซอมเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนสิงหาคมเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า สูงขึ้น 7.34% (YoY) อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง “ขอนแก่นแหอวน” จาก Family Business สู่ธุรกิจแหอวนระดับโลก

วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูเส้นทาง “ขอนแก่นแหอวน” ว่ามีความเป็นมาอย่างไร?? จุดเริ่มต้นจากร้านโชห่วยในรุ่นพ่อ ที่ช่วยกันพัฒนาจากพี่น้องสามคนของตระกูล ‘เสรีโยธิน’ จนขยายกิจการเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายแห อวน ตาข่าย และอุปกรณ์การประมง การเกษตร ภายใต้แบรนด์สินค้าตรา ‘เรือใบ’ หรือ SHIP ในนามบริษัทขอนแก่นแหอวน จำกัด หรือ KKF ที่ผงาดสู่ระดับโลกได้สำเร็จ จากแนวคิด Family Business ของ คุณบวร เสรีโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด หนึ่งในผู้ก่อตั้งธุรกิจแหอวนระดับโลกจากสามพี่น้องตระกูลเสรีโยธิน คุณบวร เล่าว่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยเริ่มจากที่อยากพัฒนาบ้านเกิดตนเอง ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่เริ่มจากรับสินค้าจากชาวบ้านในจังหวัดขอนแก่น ที่ถักแหอวนด้วยมือ แล้วส่งไปขายต่อ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ยุคสั่งสินค้า semi product จากญี่ปุ่น ก็มีการสั่งสินค้านำมาแปรรูปใส่ตะกั่วใส่ทุ่นเพิ่มทำให้อวนสำเร็จรูปมากขึ้น แล้วส่งขายไปทั่วภาคอีสาน เมื่อมีปริมาณการซื้อเพิ่มมากขึ้น จึงขยายตลาดไปภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ จุดพลิกผันด้านกำแพงภาษี ก่อนแจ้งเกิดระดับโลก จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ครอบครัวเสรีโยธินต้องพัฒนาสินค้าขึ้นเอง ตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นใย ด้วยเหตุที่ญี่ปุ่นตั้งกำแพงภาษีสำหรับสินค้าเส้นใย ทำให้ต้นทุนมีราคาที่สูงขึ้น จนหันมาตั้งโรงงานและเป็นผู้ผลิตแทนการนำเข้า โดยเริ่มจากการซื้อเครื่องจักรมือสองของไต้หวัน 10 เครื่อง ปัจจุบันยังมีการปรับใช้ Know-how ต่างๆ เข้าไปเพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นระบบออโตเมชั่น ทำให้การใช้แรงงานคนลดน้อยลง วิกฤตสร้างโอกาส ขยายตลาดไม่หยุดยั้ง ปี 2540 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ต้องมีการกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อขยายกิจการ จึงเป็นที่มาทำให้ขอนแก่นแหอวนหันไปบุกตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง เพื่อนำเงินสกุลต่างประเทศมาชดเชยกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในช่วงนั้น หลังจากที่เติบโตมาได้ระดับหนึ่ง ทำให้มองเห็นช่องทางโอกาสในการเติบโตที่มากขึ้น จึงค่อยๆ ขยายโรงงานเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีโรงงานอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 6 แห่ง ประเทศจีน 2 แห่ง และประเทศเมียนมา 2 แห่ง ซึ่งกว่า 60% กระจายไปในตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ส่วนอีก 40% กระจายอยู่ในประเทศไทย สร้างจุดแข็งด้วยกลยุทธ์ Holding Company นอกจากมีการจัดตั้งธรรมนูญครอบครัว ขอนแก่นแหอวนยังมีกลยุทธ์ในการวางแผนบริหารธุรกิจโดยการจัดตั้ง Holding Company โดยผู้บริหารมาจากคนในตระกลูทั้งหมด โดยแบ่งหน้าที่ให้สอดคล้องกับความชำนาญของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจครอบครัวมักที่จะใช้ในการวางแผนบริหารธุรกิจ แนวคิด ‘ธรรมนูญครอบครัว’ เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน ขอนแก่นแหอวนถือเป็นต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวที่ดีเยี่ยมมากว่า 44 ปี โดยมีการบริหารจัดการธุรกิจแบบ ‘ธรรมนูญครอบครัว’ ซึ่งเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยสมาชิกที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วม มีสิทธิและเสียงในการสร้างข้อตกลงต่างๆ ขึ้นมา สำหรับธรรมนูญครอบครัวของขอนแก่นแหอวน คุณบวรเล่าว่า เนื่องจากเป็นธุรกิจครอบครัวและมีหลายเจนเนอเรชั่น จึงจำเป็นต้องสร้างหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมให้กับทุกคนในครอบครัว เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยมีการประชุมกงสีทุกไตรมาส ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี เพื่อให้แต่ละเจนเนอเรชั่นเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เชื่อว่าถ้ามีความสามัคคีกันจะทำให้แข็งแกร่งและอยู่ได้อย่างยั่งยืน …

พาส่องเบิ่ง “ขอนแก่นแหอวน” จาก Family Business สู่ธุรกิจแหอวนระดับโลก อ่านเพิ่มเติม »

ดัน “ไส้กรอกอีสาน” Soft Power หลังติด 50 สตรีทฟู้ดเอเชีย

รัฐบาล ผลักดัน “ไข่เจียวปู ข้าวซอย ไส้กรอกอีสาน” ของไทย เป็นอีกหนึ่ง Soft Power ของไทยในด้านอาหาร และด้านอื่น ๆ สู่เวทีโลก เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ หลัง CNN Travel จัดให้ติด 50 อันดับสตรีทฟู้ดที่ดีที่สุดในเอเชีย นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ สตรีทฟู้ด (Street foods) หรืออาหารข้างทางของไทยยังคงสร้างความประทับใจให้คนทั่วโลก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า CNN Travel ได้ระบุว่า ไข่เจียวปู เป็นเมนูไข่ที่มีรสชาติดีกว่าเมนูไข่ประเภทอื่น ส่วนผสมของไข่และเนื้อปูทำให้อาหารจานนี้ทั้งกรอบและเนื้อนุ่มฟูน่าทาน โดยหากรับประทานพร้อมซอสพริกจะยิ่งทำให้เมนูนี้อร่อยมากยิ่งขึ้น ส่วน ข้าวซอย เป็นอาหารของทางภาคเหนือของไทย มีส่วนผสมของซุปที่มีเครื่องแกงกะหรี่ ผสมกับน้ำกะทิที่เข้มข้น ราดบนเส้นบะหมี่ที่มีน่องไก่หรือเนื้อวัว และโรยด้วยเส้นบะหมี่ทอด ขณะที่ ไส้กรอกอีสาน เป็นอาหารข้างทางที่พบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นไส้กรอกหมูปรุงรสผสมข้าวเหนียว กระเทียม นำไปหมักและตากแห้งจนมีรสเปรี้ยว “ประเทศไทยได้รับความนิยมด้านความหลากหลายของอาหาร ซึ่งเกิดจากความแตกต่าง เรื่องพื้นที่เพาะปลูกทำปศุสัตว์ของท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค ทำให้อาหารไทยมีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมาตลอด” ทั้งนี้ รัฐบาลตระหนักถึงข้อได้เปรียบ และได้เดินหน้าผลักดัน ส่งเสริมการขยายผล Soft power ของไทยทั้งในด้านอาหาร และด้านอื่น ๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ อ้างอิงจาก: https://www.thansettakij.com/economy/538262 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ไส้กรอกอีสาน #SoftPower #อาหารอีสาน

“KGO Token” เหรียญดิจิทัลเหรียญแรกของไทย พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวขอนแก่น

SMART BUSINESS EXPO 2022 งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีดิจิทัลครั้งใหญ่ระดับภูมิภาค กำหนดจัดระหว่างวันที่ 5-9 ต.ค. 2565 นี้ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติขอนแก่น (ไคซ์) ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่หลายภาคส่วนสะดุดตากับข้อความประชาสัมพันธ์ “ใครที่มีเหรียญ KGO Token นำมาใช้เป็นแต้มส่วนลดในรายการโปรโมชันของบูทขายสินค้าและบริการต่างๆ ภายในงานได้” แต่ก็มีไม่น้อยที่มีคำถามว่า KGO Token คืออะไร? . สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) ในฐานะเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง KGO Token (Founder KGO) ภายใต้การบริหารจัดการโดย บริษัทอินฟินิทแลนด์ โทเคน จำกัด อธิบายว่า KGO ย่อมาจาก Knowledge Governance Token เป็นเหรียญที่ถูกกำหนดค่าขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนได้ใช้เป็นแต้มส่วนลดสินค้าและบริการหรือใช้ร่วมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ โดยเหรียญนี้จะอยู่ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) สามารถสร้างเศรษฐกิจใหม่ในระบบดิจิทัล ซึ่งยังไม่เคยทำกันมาก่อนในเมืองไทย เหรียญนี้ทำหน้าที่เหมือน E-Voucher สามารถเปลี่ยนมือผ่านการแลกเปลี่ยนเหรียญ โอนมอบให้กันได้ผ่านแอปพลิเคชันหรือกระเป๋าผู้ใช้งาน KGO wallet ที่เราสร้างขึ้น . KGO Token ไม่สามารถใช้แทนเงิน แต่ใช้ควบคู่กับเงินบาท เช่นร้านอาหาร A จัดโปรโมชัน สั่งอาหารและเครื่องดื่มครบ 500 บาท/ครั้งขึ้นไป ลูกค้าจะได้รับโอนเหรียญ KGO Token จำนวน 200 KGO สามารถนำมาใช้เป็นแต้มส่วนลดในการรับปรเทานอาหารครั้งถัดไป เช่น ลูกค้าใช้ 100 KGO เพื่อแลกส่วนลดค่าอาหาร 10% หรือใช้ 300 KGO กับเงินอีก 30 บาทแลกซื้อน้ำผลไม้ปั่นได้ 1 แก้ว จากปกติน้ำผลไม้ปั่นมีราคาขายอยู่ที่แก้วละ 60 บาท . สุรเดชบอกว่า ปัจจุบันเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีผู้ใช้งาน KGO Token มากกว่า 25,000 กระเป๋า ขณะที่บรรดาร้านค้าที่รับแต้มส่วนลดด้วยเหรียญนี้มีไม่ต่ำกว่า 600 ร้านค้า ส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารและร้านขายเครื่องดื่ม คนที่ถือเหรียญ KGO สามารถใช้เป็นแต้มส่วนลดค่าสินค้าหรือบริการกับร้านค้าทั้งที่อยู่ในระบบออฟไลน์และโลกเสมือนได้หมด เริ่มเก็บสะสมเหรียญได้จากตอนลงทะเบียนครั้งแรก แค่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนก็สแกนเพื่อโหลดกระเป๋า KGO Token มาไว้บนหน้าจอได้ง่ายๆ เหมือนโหลดแอปพลิเคชันอื่นๆ ทั่วไป . หากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีร้านค้า มีองค์กรเครือข่ายที่ได้รับการกระจายเหรียญดิจิทัลตัวนี้ไปมากขึ้นเชื่อว่าผู้คนในสังคมจะรู้จักและเข้าถึงกระเป๋า KGO Token เร็วขึ้น ที่สำคัญคือมีความเข้าใจและใช้เป็น จะทำให้การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในโลกเสมือนก็จะขยายตัวเติบโตเร็วขึ้น เป็นสิ่งที่นักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวขอนแก่นอยากเห็นอยากให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด . ปัจจุบันเครือข่ายองค์กรที่ได้รับมอบ KGO Token ไปแล้วมีหลากหลายหน่วยงาน เช่น …

“KGO Token” เหรียญดิจิทัลเหรียญแรกของไทย พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

ศึกธุรกิจเครื่องดื่มวิตามินซีรายใหญ่

ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา หนึ่งในตลาดที่ถือว่าร้อนแรง และมีผู้เล่นหลายราย ต่างเข้ามาลงเล่นในตลาด เพื่อหวังชิงเม็ดเงินจากกระเป๋าของผู้บริโภคมากที่สุด คือ ตลาดเครื่องดื่มประเภทวิตามิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำวิตามินซี, น้ำวิตามินรวม รวมไปถึงน้ำดื่มผสมวิตามิน ด้วยเทรนด์รักสุขภาพของผู้คน ที่อยากรูปร่างดี ผิวสวย และสุขภาพแข็งแรง อาจสงสัยว่าตลาดนี้ มีใครเป็นผู้เล่นหลัก ๆ บ้าง ? โดยในปี 2563 สำหรับแบรนด์ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มวิตามินซีมากที่สุด ได้แก่ – C-vitt ของโอสถสภา 70.7% – Double C ของหนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ 19.0% – Vit A Day ของเจนเนอรัล เบฟเวอร์เรจ 7.8% – Woody C+ Lock ของคาราบาวกรุ๊ป 1.5% – อื่น ๆ 1.0% ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า อันดับที่ 1, 3 และ 4 ล้วนเป็นแบรนด์จากบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของประเทศ ที่มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหลายประเภท อยู่ในพอร์ตสินค้าของบริษัท เช่น น้ำดื่ม, เครื่องดื่มบำรุงกำลัง, เกลือแร่, กาแฟ อยู่แล้ว ก่อนจะเข้ามาลงเล่นในตลาดนี้ แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้เล่นที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์อันดับ 2 อย่าง Double C กลับไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศแต่อย่างใด เป็นบริษัทที่คนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นหู และมีจุดเริ่มต้นมาจากจังหวัดหนองคาย แต่สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง ที่เป็นบริษัทเครื่องดื่มแนวหน้าของประเทศ และคว้าส่วนแบ่งการตลาดอันดับต้น ๆ มาได้ บริษัท หนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2555 ที่จังหวัดหนองคาย ปัจจุบันดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มวิตามินซี ภายใต้แบรนด์ “Double C” โดยจุดเริ่มต้นของ Double C เกิดจากสองพี่น้องผู้บริหารหนุ่มไฟแรง คุณชนินทร์ เฮ้งเจริญสุข และคุณสรวิศ เฮ้งเจริญสุข สองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ จำกัด ได้เล่าว่า เดิมทีบริษัทก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลัง ภายใต้แบรนด์ “ช้างแดง” แต่ด้วยสภาพการแข่งขันที่สูง และมีผู้เล่นเจ้าตลาดอยู่แล้ว ทำให้บริษัทเจาะตลาดไม่สำเร็จ และกิจการประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง คุณชนินทร์ และคุณสรวิศ จึงตัดสินใจมองหาธุรกิจใหม่ แล้วพบว่า ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ กำลังเติบโตได้ดี และมีแนวโน้มโตอย่างต่อเนื่อง จากเทรนด์รักษาสุขภาพที่เริ่มเข้มข้นขึ้น แถมตอนนั้นคู่แข่งยังมีไม่มาก เลยมีพื้นที่ให้ทำตลาดอีกเยอะ ประกอบกับบริษัทมีทรัพยากรเดิมอยู่แล้ว เช่น เครื่องจักร ที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจใหม่ได้ จึงเดินหน้าวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่รวมวิตามินซีจากผลไม้ 2 …

ศึกธุรกิจเครื่องดื่มวิตามินซีรายใหญ่ อ่านเพิ่มเติม »

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่แดนอีสาน ลงมิชลินไกด์ ปี 66

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทยปักหมุด 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธาน และขอนแก่น เพื่อผลักดัน การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) เผยอัตลักษณ์โดดเด่นด้านอาหารและวัฒนธรรม เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ รองรับนักชิมและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ฉบับปี 2566 ของไทย ขยายขอบเขตการคัดสรรแนะนำร้านอาหารเข้าสู่ 4 จังหวัดภาคอีสาน เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมอาหารอีสานที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มาพร้อมรสชาติจัดจ้าน มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจโดยได้รับอิทธิพลจากหลากหลายวัฒนธรรม มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีความโดดเด่น ตลอดจนเสน่ห์ของวิถีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มและยังสามารถเดินตามรอยร้านอร่อยที่ “มิชลิน ไกด์” ได้คัดสรรไว้ให้ ซึ่งในปัจจุบันมีเชฟชาวอีสาน จำนวนมากที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านอาหารจากร้านอาหารชื่อดังในต่างประเทศ กลับมาเปิดร้านอาหารที่บ้านเกิดของตนเอง โดยเลือกนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรุงอย่างพิถีพิถันเพื่อยกระดับอาหารอีสานให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารแก่นักเดินทาง ดังนั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เล็งเห็นถึงความพร้อมของ 4 จังหวัดที่สามารถสะท้อน วัฒนธรรมอาหาร การกินของคนไทย และสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดสู่ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) นำไปสู่การกระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการในพื้นที่ เห็นได้จากรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ของจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และ อุดรธานี รวมกันประมาณ 30,511 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติใช้ไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มรวมกันประมาณ 7,442 ล้านบาท ซึ่งสูงเป็น อันดับ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายหมวดอื่น ๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าของที่ระลึก และค่าคมนาคมขนส่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมเดินหน้ากระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยว สอดรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดแรงส่งไปถึงฤดูการท่องเที่ยวช่วงปลายปีต่อเนื่องไปถึงต้นปีหน้า ซึ่งการขยายขอบเขตการคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ประจำปี 2566 จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป อ้างอิงจาก: ​​https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1013739 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #อุดรธานี #ขอนแก่น #ตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร #มิชลินไกด์

กงสุลจีนเตรียมเสนอรัฐบาลจีน เล็งใช้นิคมฯ อุดรธานีเป็นฐานพักสินค้าส่งออกนำเข้าจีน-ไทย

อุดรธานี – กงสุลใหญ่จีนลงพื้นที่อุดรธานี สำรวจติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม รวบรวมข้อมูลเสนอรัฐบาลจีน เพื่อใช้เป็นจุดพักก่อนขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนและจีนมาไทย เผยล่าสุดผู้ประกอบการจากภาคใต้ก็สนใจขนสินค้าอาหารทะเลและผลไม้มาพักเพื่อส่งออกไปจีน นายเหลี้ยวจวิ้นหยุน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น และคณะได้เดินทางมาดูพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี และรับทราบความคืบหน้าการสร้างนิคมฯ โดยมีนายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานบริหารบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด นางอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธานฯ และนายพิสิษฐ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ รวมถึงอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับและให้ข้อมูล การเข้าเยี่ยมชมโครงการฯ ครั้งนี้ ทางคณะได้มารับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลดีผลเสียผลกระทบต่อการเปิดรถไฟจีน-ลาวที่มีต่อจังหวัดอุดรธานี จะดำเนินการอย่างไรในการเชื่อมโยงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการค้าและการขนส่งเพื่อรองรับการเปิดบริการรถไฟจีน-ลาว พร้อมกับติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม และทางนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีได้เตรียมตัวอย่างไรกับการใช้ประโยชน์จากการเปิดรถไฟสายจีน-ไทย นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานบริหารบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี เปิดเผยว่า การเดินทางลงมาในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีทางกงสุลต้องการข้อมูลของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีว่าตอนนี้ทางนิคมมีความพร้อมมากน้อยขนาดไหน และมารับทราบข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโลจิสติกการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนและจีนมาไทย จากนั้นทางกงสุลก็จะไปร่วมประชุมและเสนอกับทางรัฐบาลต่อไป นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานียังไม่คิดขนส่งทางรถไฟ แต่นิคมจะแก้ปัญหาโดยใช้รถบรรทุกขนจากนิคมขนสินค้าไปยังเวียงจันทน์ โดยเราจะยกตู้สินค้าไปวางที่จุดขนถ่ายที่ สปป.ลาว เพราะระยะทางจากนิคมฯ ไปที่เวียงจันทน์ประมาณ 70 กิโลเมตร และสินค้าจากทางจีนที่จะมาไทยสามารถยกใส่รถบรรทุกกลับมาได้ ขณะนี้ทางนิคมฯ ได้เตรียมพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ไว้รองรับ ขณะนี้มีผู้ประกอบการจากทางภาคใต้เดินทางมาดูพื้นที่นิคมฯ แล้วหลายราย คาดว่าจะนำสินค้าจากภาคใต้จำพวกผลไม้ อาหารทะเล มาจัดเก็บมาพักไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ก่อนจะลำเลียงส่งออกไปยังประเทศจีน และเร็วๆ นี้ทางหอการค้าภาคเหนือก็จะนำผู้ประกอบการเดินทางมาดูพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีเช่นกัน โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกใช้พื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ และเฟส 2 อีกราว 1,000 ไร่ตามแผนงานต้องสร้างแวร์เฮ้าส์ทั้งหมด 25 หลัง ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อให้โรงงานต่าง ๆ เช่าเพื่อเก็บสินค้า นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนอุตสาหกรรม และส่วนโลจิสติกส์ โดยในส่วนของโลจิสติกส์ปาร์กจะประกอบด้วย สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือ ICD เขตปลอดอากร (FREE ZONE) คลังสินค้า ซึ่ง ICD จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในภาคอีสานตอนบนในการที่จะส่งสินค้าออกต่างประเทศหรือนำของเข้ามาในประเทศ ซึ่งส่วนนี้มีความจำเป็นเกี่ยวกับศุลกากรในเรื่องนำเข้าและส่งออก จุดนี้จะสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าให้นำเข้าและส่งออกสินค้าต่างประเทศได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางผู้บริหารโครงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เคยระบุว่าอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีใน 4 เรื่อง คือ ปรับปรุงพัฒนาบริเวณทางแยกเข้านิคมให้สามารถอำนวยความสะดวกต่อการวิ่งของยวดยานพาหนะทุกประเภท, การลากรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่นิคมฯ รองรับการขนส่งสินค้า, NEC สิทธิพิเศษ สิทธิประโยชน์ และขอสิทธิพิเศษเขตเศรษฐกิจชายแดนจากหนองคายให้ครอบคลุมมาถึงอุดรธานี อ้างอิงจาก: https://mgronline.com/local/detail/9650000061261 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #กงสุลจีน #อุดรธานี #นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

2 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในปี 2565 (ม.ค. – ก.ค.)

ในเดือน มกราคม – กรกฎาคม 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ กัมพูชา 7,922 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 6.8% ของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 5,245 ล้านบาท ลดลงจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า -27% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 2,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 71.8% สินค้าส่งออกหลัก 1.รถยนต์ อุปกรณ์ 2.เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 3.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้าหลัก 1.ผักและของปรุงแต่งจากผัก 2.อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ 3.ลวดและสายเคเบิลฯ แนวโน้มการค้าชายแดนไทยหลังจากนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าปัจจัยสนับสนุนการค้าชายแดนและผ่านแดน คือ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่สามารถเดินทางเข้าไทยทางจุดผ่านแดนถาวร (ทางบก) ได้โดยไม่ต้องกักตัว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา ขณะที่กัมพูชาก็ผ่อนคลายมาตรการโดยเปิดให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบเกณฑ์สามารถเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัวเช่นกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าในพื้นที่ชายแดนของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวต้องขึ้นกับความพร้อมของแต่ละจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้านด้วย ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น รวมถึงการผลักดันเปิดจุดผ่านแดนเพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด https://www.dft.go.th/Portals/3/2.1.1%20Info%20มค-เมย.%202565.pdf https://www.thansettakij.com/economy/531292 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยกัมพูชา #กัมพูชา #สุรินทร์ #บุรีรัมย์

Scroll to Top