Nanthawan Laithong

ชวนเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนกันยายนเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.23% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กันยายน 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 6.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ย. 64) ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 107.70 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 6.41% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ภาคที่ขยายตัวสูงสุด คือ ภาคเหนือ อยู่ที่ 6.80% รองลงมาเป็น กรุงเทพฯและปริมณฑล 6.54% ในส่วนภาคกลาง 6.26% และภาคใต้ 6.26% มีอัตราเงินเฟ้อที่เท่ากัน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 6.23% เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ขิง มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเหนียว ค่าส่งพัสดุ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้า เป็นต้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.12 เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.- ก.ย.) ปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 6.17 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 2.26 (AoA) อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น 1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 12.10% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 16.22% ได้แก่ ก๊าซหุงต้ม จากการปรับขึ้นราคาแบบขั้นบันได สำหรับค่ากระแสไฟฟ้า แม้จะมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในเดือนนี้ แต่ภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือสำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ซึ่งสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนได้ส่วนหนึ่ง 2. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 9.17% โดยเฉพาะข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นถึง 25.12% เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภาวะ น้ำท่วมขัง อีกทั้งยังมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ 3. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 6.31% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 15.9% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางตามสถานการณ์พลังงานโลก แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ในประเทศ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและอาหารโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับฐานราคาที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน …

ชวนเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนกันยายนเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.23% (YoY) อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับพันล้านในภาคอีสาน

บริษัทมีผลการดำเนินงานปี 2564 เติบโตกว่าปี 2563 ที่มีรายได้รวม 4,1288 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 504 ล้านบาท เป็นไปตามอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัทยังมีรายได้จากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามาเพิ่มเติม โดยมีการวางเป้าหมายมีสัดส่วนรายได้มากกว่า 30% ของรายได้รวม ซึ่งที่ผ่านมา PCSGH ก็ได้มีการทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ปี 63-67) ผ่านมาแล้ว 1 ปี เหลืออีก 4 ปี ในปีนี้บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นหลัก เนื่องด้วยปัจจุบันยังมีความต้องการมากอยู่จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยวางเป้าหมายจะมีสัดส่วนรายได้จากการผลิตชิ้นส่วน EV เพิ่มเป็น 52% ในปี 2568 ส่วนที่เหลือจะเป็นรายได้จากชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไม่ใช่ EV เนื่องจากเทรนด์ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมา บริษัทฯ ก็ได้เริ่มทำธุรกิจของรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ซึ่งด้วยความสามารถของ PCSGH ก็ถือว่ามีความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในหลายส่วน เช่น การลดน้ำหนักของตัวรถ โดยเปลี่ยนวัสดุหนักจากเหล็กให้กลายเป็นวัสดุเบาอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ สามารถขยับไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ และเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ก็เล็งเห็นว่าสินค้าของบริษัทฯ ในกลุ่มที่ไม่ใช่บิ๊กอัพ, ยานยนต์, เครื่องยนต์ และอื่นๆ ก็ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับโปรเจ็คต์ EV ที่น่าจะเริ่มผลิตได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะสามารถอนุมัติงบลงทุนได้ในช่วงกลางปีนี้ ขณะที่งบลงทุนอื่นๆ ในปีนี้วางงบไว้ราว 200 ล้านบาทเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบ Smart Factory ในเรื่องของดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/financial…/company-highlights https://www.pcsgh.com/th/about/business_overview https://www.moneyclub.asia/pcsgh-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0…/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ #ธุรกิจพันล้าน #นครราชสีมา

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน

น้ำมันถือเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ “คลังน้ำมัน” ก็จัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการกระจายน้ำมันให้ครอบคลุม​ ​PTC หรือ บมจ. พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจ “คลังน้ำมันอิสระ” ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอีสาน และเป็นคลังน้ำมันอิสระรายแรกในตลาดหุ้นไทย รองรับเทรนด์ Infrastructure Sharing ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการกระจายน้ำมันทั่วพื้นที่ภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง ผ่านคลังที่ขอนแก่นและศรีสะเกษ ​โดยปัจจุบัน PTC มีรายได้สม่ำเสมอจากผู้เช่าที่เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ และสามารถสร้างอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยสูงกว่า 40% ต่อปี​ วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาเบิ่งเส้นทางของ PTC ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการคลังรับ เก็บ และจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยวิสัยทัศน์ และประสบการณ์ของครอบครัวบูรพพัฒนพงศ์ (ผู้ก่อตั้ง) ซึ่งอยู่ในธุรกิจให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงมานานกว่า 20 ปี โดยเริ่มเปิดให้บริการคลังน้ำมันแห่งแรกที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในปี 2557 ภายใต้ชื่อคลังน้ำมัน PTC ขอนแก่น ด้วยกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุด 3.2 ล้านลิตร เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นผู้ใช้บริการในปีเดียวกัน โดยมีสัญญาให้บริการระยะยาว ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ลงทุนเพิ่มกำลังการจ่าย และรับน้ำมันเพิ่มอีกอย่างละ 2 ช่องจ่าย โดยทำให้มีกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 4.2 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังทำการติดตั้งระบบป้องกันการรับน้ำมันผิดผลิตภัณฑ์ (Product Unload Contaminated Protection) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันการผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายกับคุณภาพน้ำมันที่บริษัทฯได้พัฒนาขึ้นมาเอง ในปี 2559 บริษัทฯ ได้ลงทุนก่อสร้างคลังน้ำมันแห่งที่สอง ที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในการกระจายน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และเป็นคลังน้ำมันตั้งอยู่บนทำเลที่สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟได้ทำให้สามารถลดต้นทุนในการขนส่งได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังออกแบบคลังน้ำมันแห่งนี้ให้เป็นระบบ In-Line Blending ทำให้มีความยืดหยุ่นในการปรับสูตรผลิตภัณฑ์และสามารถลดต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบได้มาก ในปี 2561 บริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างต่างๆของบริษัทฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2015, มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001 : 2018, มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO …

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน

รู้หรือไม่ว่าแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพของประเทศไทยนั้น นอกจากพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกแล้ว ยังมีอีกพื้นที่หนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกยางพารา และสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพไม่แพ้ที่อื่น ๆ นั่นคือ พื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งกินพื้นที่กว่า 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพาไปดู NER ทำธุรกิจอะไรบ้าง และเติบโตมาไกลแค่ไหน ? จุดเริ่มต้น NER ก่อตั้งโดย คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ เดิมทีครอบครัวคุณชูวิทย์ประกอบอาชีพทำลานมันเส้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2527 คุณพ่อของคุณชูวิทย์ได้ริเริ่มการปลูกยางพาราในพื้นที่อีสานใต้ ทำให้เกษตรกรในภาคอีสาน เริ่มสนใจและหันมาปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นก็คือ ที่ภาคอีสานนั้น “ไม่มีสถานที่รับซื้อยางพารา” คุณชูวิทย์และเกษตรกรคนอื่น ๆ ต้องนำผลผลิตยางพาราที่ได้มาไปขายที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและโดนกดราคา แต่ปัญหาดังกล่าวก็ได้ทำให้คุณชูวิทย์เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจ โดยเขาได้ตัดสินใจตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราขึ้นมาชื่อว่า “นอร์ทอีส รับเบอร์” หรือ NER ในปี พ.ศ. 2549 โดยเริ่มจากการรับซื้อยางจากเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันขายให้กับคู่ค้าทั่วประเทศ แต่ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้น บริษัทได้เจอวิกฤติครั้งใหญ่ จากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ไม่สต็อกของไว้ในมือ เมื่อราคาของยางพาราวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทไม่มีเงินพอไปซื้อของมาขายตามที่สัญญาไว้ได้ ตอนนั้นคุณชูวิทย์มีทางเลือกอยู่สองทาง หนึ่งคือ การไม่ทำตามสัญญาแล้วออกจากธุรกิจนี้ไป สองคือ การไปเจรจากับคู่ค้าโดยตรง คุณชูวิทย์ตัดสินใจบินไปหาคู่ค้าที่สิงคโปร์ด้วยตัวเองและชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยขอผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวกับคู่ค้าแทน ซึ่งคู่ค้าก็เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการแจ้งล่วงหน้า 3 เดือน ทำให้มีเวลาในการปรับตัว และยังสามารถเป็นคู่ค้ากันต่อไปได้ ผลจากวิกฤติครั้งนี้ทำให้บริษัทเรียนรู้ข้อผิดพลาด และเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจโดยการไม่ยุ่งกับตลาดซื้อขายล่วงหน้าอีก แต่ใช้วิธี “Matching” คือ ซื้อเข้ามาแล้วขายออกเลย หรือรับออร์เดอร์ขายเข้ามาก่อน แล้วค่อยซื้อเข้ามาเก็บไว้ ทำให้บริษัทไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของต้นทุนสินค้าอีกต่อไป จุดนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว แม้ว่าวัตถุดิบอย่างยางพาราจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ตัวหนึ่งที่มีวัฏจักรราคาหรือรอบของมันก็ตาม เมื่อบริษัทมีความมั่นคงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถขยายโรงงานเพิ่มกำลังการผลิต และออกสินค้าตัวอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา อย่างยางอัดแท่ง และยางผสม ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ หากพิจารณาผลประกอบการของ NER เป็นอย่างไรบ้างในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ? รายได้และกำไรของ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2561 รายได้ 10,074 ล้านบาท กำไร 487 ล้านบาท ปี 2562 รายได้ 13,021 ล้านบาท กำไร 539 ล้านบาท ปี 2563 รายได้ 16,365 ล้านบาท กำไร …

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ธุรกิจสินเชื่อน้องใหม่มาแรง “เงินเทอร์โบ” ขวัญใจคนอีสาน

“เงินเทอร์โบ” ผู้เล่นตลาดสินเชื่อรายย่อย ที่ตัดสินใจกระโดดเข้ามาท้าชิงส่วนแบ่ง ‘เค้กก้อนโต’ จากคู่แข่งในสนามเดียวกัน เพราะเชื่อในการทำธุรกิจที่นึกถึงเบื้องลึกคนรากหญ้า การพัฒนาบุคลากร และตั้งใจคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง บริษัท เงินเทอร์โบ เผยผลประกอบการ 3 ปี โตเกินเท่าตัวทุกปี ชูจุดเด่นเข้าใจความต้องการของลูกค้า สร้างกระแสการแนะนำปากต่อปาก เล็งเข้าตลาดหุ้นกลางปี 65 เสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ขยายบริการครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อแตะหมื่นล้านภายในปีหน้าเปิดครบ 3,000 สาขา ภายในปี 68 คุณสุธัช เรืองสุทธิภาพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เงินเทอร์โบ จำกัด ผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้แบรนด์ “เงินเทอร์โบ ” เปิดเผยว่า บริษัทมีอัตราการเติบโตที่ดีมาก ทั้งรายได้ รวมถึงฐานลูกค้า และจำนวนสาขามาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยปี 63 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้โตขึ้น 3 เท่าจากปี 62 ส่วนปีนี้ คาดว่าจะมีรายได้โตเกือบเท่าตัวจากปีก่อน ขณะที่ปี 65 น่าจะมีรายได้โตอีกเกือบเท่าตัว ทั้งนี้ ผลประกอบการของบริษัทถือว่ามีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปัจจัยสำคัญในเรื่องของการให้บริการที่มีความรวดเร็ว จริงใจ ให้เกียรติ ตรงไปตรงมา สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด สามารถรับเงินได้ทันที ซึ่งมีผลทำให้บริษัทมีอัตราการเติบโตของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากรูปแบบการให้บริการดังกล่าวได้กลายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญของบริษัท เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้นมาจากการแนะนำกันแบบปากต่อปากของลูกค้าที่เคยใช้บริการสินเชื่อของบริษัท โดยบริษัทจะปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรให้กับพนักงาน ซึ่งจะมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นลำดับแรก อีกทั้งยังมีความเข้าใจสภาพคล่องทางการเงินของลูกค้าที่อาจจะไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเมื่อลูกค้ามีปัญหาก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ทำให้เกิดความผูกพันระหว่างบริษัทกับลูกค้า คุณสุธัช กล่าวต่อไปว่า บริษัทมีแผนที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ช่วงปี 65 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินมาใช้ในการขยายธุรกิจ ซึ่งบริษัทมีแผนจะขยายสาขาให้ได้ 3,000 สาขาในปี 68 เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้ครอบคลุมทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่บริษัทมีสาขาเปิดให้บริการอยู่กว่า 550 สาขา โดยที่สิ้นปีนี้จะเปิดให้บริการเพิ่มเป็น 650 สาขา รวมถึงการนำเงินไปลงทุนขยายทีมเทคโนโลยี ซึ่งบริษัทมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำธุรกิจในอนาคต อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0125560019860 https://www.prachachat.net/public-relations/news-736935 https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/279348 https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce511/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจสินเชื่อ #สินเชื่อ #เงินเทอร์โบ

พาซอมเบิ่ง เส้นทาง “ห้างทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์”

หลายบริษัทที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท มักมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ แล้วขยายออกสู่ต่างจังหวัด แต่ไม่ใช่ “ทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์” ซึ่งมีผู้ก่อตั้งธุรกิจที่เป็นคนภาคอีสาน ​​สำหรับคนบุรีรัมย์และชาวอีสานใต้คงคุ้นหูกับชื่อ “ห้างทวีกิจ” ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองบุรีรัมย์มายาวนานกว่า 45 ปี ทวีกิจ เริ่มต้นมาจากร้านขายของชำเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง จนก้าวขึ้นมาเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของจังหวัด ขยายกิจการใหญ่โต และที่สำคัญเส้นทางของทวีกิจกว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ธรรมดาเพราะต้องฝ่าฟันวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ชนิดแทบเอาตัวไม่รอดด้วยพลังของผู้ชายหัวใจสิงห์ที่ชื่อ “คุณทวี โรจนสินวิไล” ผู้ก่อตั้ง กับคุณปราณี โรจนสินวิไล ภรรยาและลูก ๆ จนสามารถกลับมาเริ่มต้นธุรกิจได้อีกครั้งในปี 2545 ภายใต้ชื่อ “ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์” นอกจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ คือ ทวีกิจ พลาซ่า, ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ในจังหวัดบุรีรัมย์ และทวีกิจคอมเพล็กซ์ จังหวัดสระบุรีแล้ว ยังมีร้านค้าสาขาในอาณาจักรทวีกิจอีก 166 สาขา กระจายอยู่ในพื้นที่อีสานใต้ อาทิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม นครราชสีมา สระแก้ว และอุบลราชธานี คุณทวี เพลิดเพลินกับการขยายสาขาและการลงทุนแบบไม่ทันยั้งคิดว่า มรสุมก้อนใหญ่กำลังเคลื่อนเข้ามาแค่เอื้อม วีมาร์ท เปิดเมื่อประมาณวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ช่วงนั้นธุรกิจค้าปลีกประเภทซูเปอร์เซ็นเตอร์กำลังมาแรง คุณทวีได้ไอเดียมาจากห้าง Wall Mart ที่อเมริกา เมื่อเขามีวอล์ลมาร์ท เราก็มีวีมาร์ท โดยที่ไม่ทันฉุกคิดว่าจะเจอวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งด้วยความที่หอบเงินลงทุนก้อนโตลุยขยายกิจการ เมื่อภัยต้มยำกุ้งมาเยือน ทำให้คุณทวีและครอบครัวประสบปัญหาหนักที่สุดในชีวิต เกิดหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะกู้เงินมาขยายสาขา หมุนเงินไม่ทัน จำต้องปิดสาขาวีมาร์ททั้ง 2 สาขา เพื่อห้ามเลือดให้หยุดไหล เหลือเพียงทวีกิจพลาซ่าหน้าอำเภอ และทวีกิจคอมเพล็กซ์สระบุรี “วีมาร์ท” จึงถูกปิดตัวลงเมื่อววันที่ 13 เดือนเมษายน พ.ศ.2541 หลังจากเปิดบริการได้เพียง 6 เดือนเท่านั้นด้วยหัวใจที่ปวดร้าวแต่ในใจของทวีคิดแต่เพียงว่าเขาจะต้องเปิดห้างนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งให้ได้ วันนี้ ทวีกิจ ขยายสาขาไปตามอำเภอ และตำบลต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง รวมแล้ว 166 สาขา และจะขยายสาขาต่อไปอย่างน้อยปีละ 10 สาขา โดยเน้นนโยบายทำเลจากใกล้ไปไกล ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปแและยังยืนยันที่จะลงทุนเองทั้งหมด ยังไม่มีแผนขายแฟรนไชส์แต่อย่างใด ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจดังเดิม ที่ว่า “ทวีกิจนำความประหยัดและความสุขไปสู่ชุมชน” ที่สำคัญ ทวีกิจทุกสาขา ไม่ขายเหล้า เบียร์ บุหรี่ แม้ว่าจะมียอดขายและกำไรที่ดีมากก็ตาม ตามสโลแกนที่ว่า ทวีกิจไม่ขายเหล้าเบียร์ บุหรี่ เพราะเราห่วงใยคุณและทุกคนในครอบครัว ปัจจุบัน ทวีกิจ บริหารงานโดยทายาทรุ่นที่ 2 ที่ยอมรับว่า การเปิดตัวของโมเดิร์นเทรดในจังหวัดบุรีรัมย์ทำให้ทวีกิจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมองว่าคู่แข่งที่เข้ามาทำให้ทวีกิจได้พัฒนาห้างอย่างก้าวกระโดดเพื่อสามารถแข่งขันและรองรับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ สุดท้ายนี้ “คุณดรุณี – คุณศิรินันท์ โรจนสินวิไล” บอกว่า …

พาซอมเบิ่ง เส้นทาง “ห้างทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์” อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจผับรายใหญ่ ในภาคอีสาน

การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0343547001053 https://www.awaygpub.com/u-bar-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8…/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจผับ #ยูบาร์ #Ubar #อุบลราชธานี

ชวนเบิ่ง “ข้าวไดโนเสาร์” สุดยอดแบรนด์ข้าวหอมมะลิของคนอีสาน

“ข้าวไดโนเสาร์” เป็นชื่อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดบนโลกโซเชียลในขณะนี้ ซึ่งหาไม่ได้ง่าย ๆ ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดูจุดเริ่มต้นและความลับของข้าวไดโนเสาร์ว่ามีอะไรบ้าง?? จุดเริ่มต้นของ “ข้าวไดโนเสาร์” คุณจำนงค์ รุ่งโรจน์นิมิตชัย เล่าว่า “สมัยก่อนคุณพ่อเคยเป็นหลงจู๊หรือเป็นผู้จัดการโรงสีให้คนอื่นเขา ตั้งแต่เด็กๆ เราก็ได้ช่วยงานพ่อ เป็นเสมียนคอยดูข้าว ชั่งข้าว ทำให้เราซึมซับมาเรื่อย ๆ และกลายเป็นงานที่เราถนัด จนกระทั่งเรียนจบ เราก็มาซื้อโรงสีเก่าขนาดเล็กๆ ต่อจากเค้า แล้วก็ปรับปรุงมาเรื่อย ๆ จากโรงสีขนาดเล็กก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นมาทีละนิด จนตอนนี้ก็ทำมา 30 ปีแล้วครับ” จากโรงสีเก่าขนาดเล็กในอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ก็ค่อย ๆ เติบโตและกลายเป็นโรงสีพงษ์ชัยธัญญาพืช ต้นกำเนิดข้าวไดโนเสาร์” ซึ่ง “ข้าวไดโนเสาร์” จะใช้ข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ชื่อเต็มของข้าวหอมมะลิคือข้าวขาวดอกมะลิ ปลูกในนาปี คือปลูกได้เฉพาะฤดูฝนเพราะเป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อแสง ข้าวนาปีต้องปลูกให้ตรงตามฤดูถึงจะได้คุณภาพ พอเข้าสู่ฤดูหนาวที่ช่วงแสงสั้นลง ข้าวมันจะรู้เองอัตโนมัติว่าถึงเวลาต้องออกรวงแล้ว แม้จะปลูกต่างกัน 10 วัน ก็เกี่ยวพร้อมกัน ซึ่งโดยปกติข้าวหอมมะลิจะใช้เวลา 170-175 วัน โดยจะแตกต่างจากข้าวนาปรังที่ปลูกได้ทั้งปี ครบ 90-100 วันแล้วก็เกี่ยว คุณจำนงค์ยังเล่าด้วยว่า เรื่องของดินก็มีผลต่อข้าวเหมือนกัน “ข้าวหอมมะลิจะปลูกดีในนาทราย อย่างข้าวที่ปลูกในนาทรายแถบภาคอีสานเม็ดจะเรียวและขาวใสกว่า จะไม่อ้วนเท่ากับข้าวหอมมะลิที่ปลูกทางภาคกลางซึ่งเป็นนาดินเหนียว แต่ว่าความหอมเนี่ยจะขึ้นอยู่กับอายุของข้าว ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่เหมาะสมตามฤดูกาล ในขณะที่ข้าวไม่สุกจนเกินไป ก็จะได้ความหอมขึ้นมา รวงของเขาจะเป็นสีเหลืองพลับพลึง เหลืองเหมือนกล้วยอมเขียวนิด ๆ แสดงว่าเริ่มเกี่ยวได้แล้ว ถ้าปล่อยให้ข้าวกลายเป็นสีเหลืองน้ำตาลมันจะสุกเกินไป แต่ชาวบ้านหลายคนเกี่ยวในช่วงนี้เพราะจะได้ปริมาณแป้งและได้น้ำหนักที่มากขึ้น” สิ่งที่ทำให้ข้าวไดโนเสาร์พิเศษกว่าข้าวอื่น ๆ คือ กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพดีอย่างพิถีพิถัน โดยเริ่มจากวัตถุดิบที่ดีก่อน เวลาชาวบ้านขายข้าวเปลือกมาให้ สิ่งแรกที่ต้องดูคือเป็นข้าวหอมมะลิแท้หรือไม่ มีข้าวพันธุ์อื่นปนมามั้ย จากนั้นก็จะทำการคัดเกรดข้าว โดยคุณสมบัติ 2 ข้อที่ขาดไม่ได้คือความหอมและความนุ่ม โดยใช้หม้อหุงข้าวเล็ก ๆ หุงชิมตรงนั้นเลย ชิมเองบ้าง เสมียนชิมบ้าง แม่บ้านชิมบ้าง เพราะในสายพันธุ์ข้าวหอมไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิ ข้าวปทุมก็หอม ข้าวกข79 ก็หอม ทุกสายพันธุ์จะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ทีมงานจะจำรสชาติข้าวหอมมะลิได้เพราะชิมทุกวัน ชิมแล้วรู้เลยว่าตัวนี้ผ่านหรือไม่ผ่าน พอคัดข้าวเปลือกดีแล้ว อีกขั้นตอนที่สำคัญก็คือการจัดเก็บ โดยจะนำข้าวเปลือกไปเก็บไว้ในถังไซโลแล้วอัดอากาศเย็นและแห้งขึ้นไปจากด้านล่าง เพื่อรักษาอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 25-28 องศา ให้ข้าวคงความหอมนุ่ม พอมีออเดอร์มาแล้ว จะมีการปล่อยข้าวจากถังไซโลออกมาสี ซึ่งจะไม่สีแล้วกองทิ้งไว้ เพราะการเก็บเป็นข้าวเปลือกจะคงคุณภาพได้ดีกว่า พอสีเสร็จแล้วก็แพ็กขายย่อยทุกวัน วันละ 1-2 คันรถเท่านั้น เหตุผลที่ไม่มีขายในห้าง จนกลายเป็น Rare item หลายคนพยายามเสิร์ชหาในกูเกิลว่าข้าวไดโนเสาร์ซื้อได้ที่ไหน เพราะมันไม่ได้วางขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งจะเกี่ยวกับปริมาณวัตถุดิบที่ปีนึงโรงสีจะซื้อข้าวคุณภาพดีมาได้เท่านี้ มีห้างมาชวนหลายเจ้า แต่ด้วยปริมาณของของโรงสีมีจำกัด โดยในขณะนี้ก็ยังคงขายอยู่ในร้านค้าแบบดั้งเดิม บางร้านก็นำไปขายบนออนไลน์อย่าง Shopee หรือ LAZADA ซึ่งก็สะดวกกับผู้บริโภค …

ชวนเบิ่ง “ข้าวไดโนเสาร์” สุดยอดแบรนด์ข้าวหอมมะลิของคนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง เส้นทาง Class Café

“สตาร์บัคส์แห่งภาคอีสาน” จะเป็นของใครไปไม่ได้ นอกจาก “ร้านกาแฟสัญชาติไทย Class Café” ขวัญใจชาวอีสาน จากร้านกาแฟที่มีขนาดพื้นที่เล็ก ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ทำยอดขายได้วันละไม่กี่สิบแก้ว ผ่านมากว่า 8 ปี Class Café ประสบความสำเร็จอย่างมาก พร้อมขึ้นแท่นร้านกาแฟขวัญใจ Youth Generation ที่มีดีไซน์เฉพาะตัว เรียบง่าย ทันสมัย และมีความเป็น Co-working Space ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักเรียน นักศึกษา และคนทำงานฟรีแลนซ์ จุดเริ่มต้น Class Café คุณกอล์ฟ มารุต ชุ่มขุนทด หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท คลาส คอฟฟี่ จำกัด เจ้าของร้านกาแฟ Class Café เคยทำงานในสายเทคโนโลยีมาตลอด แต่เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ธุรกิจร้านกาแฟยังไม่เป็นที่นิยมมากในเมืองไทย ทำให้เริ่มมองเห็นช่องว่างทางการตลาดเลยตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัท แล้วชักชวนญาติอีก 2 ท่าน มาทำร้านกาแฟด้วยกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ สร้างคาแรกเตอร์ของร้านกาแฟที่สมบูรณ์แบบและแตกต่างจากร้านอื่น โดยผมรับหน้าที่ดูแลเรื่องมาร์เก็ตติ้ง ส่วนผู้ร่วมก่อตั้งอีก 2 ท่าน ดูแลเรื่องอาหาร และวัตถุดิบ ปัจจุบันผมและร่วมผู้ก่อตั้งบริษัทถือหุ้นรวมกันประมาณ 75% คุณกอล์ฟ เล่าว่า ในช่วงปีแรกที่มียอดขายเยอะ มีการวางแผนเปิดสาขาใหม่ สัปดาห์ละ 1 สาขา เพราะอยากมีสาขาให้มากที่สุด เคยวางเป้าหมายไว้ว่า จะต้องมีสาขา 50-100 สาขา ภายใน 3 ปีข้างหน้า (ปี 2562-2564) พร้อมกับวางแผนระยะยาวว่า จะต้องสร้างเชนร้านกาแฟใหญ่ ๆ แต่เมื่อเกิด Covid-19 ทำให้ต้องกลับมาทบทวนโมเดลธุรกิจกันใหม่ เพราะธุรกิจทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคครั้งใหญ่ ในช่วงเกิด Covid-19 ในเมื่อ Class Café ทำธุรกิจแบบ Open Coffee Platform ฉะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องขยายสาขาใหม่ถี่ ๆ เหมือนแต่ก่อน แต่ควรจะหันมาใช้ประโยชน์จากการมี Platform ของตัวเองมากกว่า เช่น ไม่จำกัดตัวอยู่เพียงเครื่องดื่มกาแฟ แต่กระจายตัวไปสู่สินค้าประเภทอื่น ๆ เช่น น้ำผลไม้, โยเกิร์ต, เบเกอรี่, หูฟัง, ลูวิ่ง, โลชั่นทาผิวที่ทำมาจากชาเขียว รวมถึงการเปลี่ยนคู่แข่งให้เป็นคู่ค้า ด้วยการขายโปรดักส์ของเราให้กับคู่แข่ง เพื่อให้สินค้าถึงมือลูกค้าเร็วขึ้น เป็นต้น ปัจจุบัน Class Café มีทั้งหมด 21 สาขา กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ตามต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ในส่วนของต่างจังหวัดจะเน้นเปิดสาขาตามแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง เช่น นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุดรธานี, …

พาส่องเบิ่ง เส้นทาง Class Café อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง อาณาจักร Mongni Cafe ชานมไข่มุกรายใหญ่ในภาคอีสาน

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่ฮิตและปังที่สุดในตอนนี้ ก็คงจะหนีไม่พ้น “ชานมไข่มุก” โดยวันนี้เราจะพามาที่ร้าน “Mongni Cafe” ร้านชานมไข่มุกขอนแก่น ที่ฮอตฮิตจนขยายแฟรนไชส์ไปแล้วหลายจังหวัด ! Mongni cafe เดิมทีเป็นร้านคาเฟ่ธรรมดา ๆ ในย่านกังสดาล ม.ขอนแก่น Mongni Cafe ชื่อภาษาอังกฤษ อ่านว่า “หม่อง-นี่ คาเฟ่” ร้านชานมขนาดเล็ก โดยชื่อออกเสียงเข้ากับสไตล์คาเฟ่ดูเป็นญี่ปุ่น แต่ที่แท้เป็นภาษาอีสาน บ่งบอกที่มา ก่อตั้งขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยชาวอีสาน ก่อนจะขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ราว ๆ 60 แห่งแล้ว รวมทั้งที่ ภูเก็ต เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ต่อมาชานมไข่มุกกำลังดังในช่วงนั้นพอดี ทางร้านจึงได้เดินทางไปไต้หวัน เพื่อไปลองชิมไข่มุกลาวา และได้นำมาดัดแปลงสูตร จนได้นำไปออกบูธของทางร้าน แถมได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก ลูกค้าต่างชื่นชอบและติดใจ จึงมีการเรียกร้องให้นำมาขายที่ Mongni Cafe ทำให้ชานมไข่มุกลาวา ถือกำเนิดขึ้นในชื่อติดปากว่า “ชานมหม่องนี่” Mongni Cafe มีสไตล์การตกแต่งแบบโทนสีเหลืองสดใส มีโลโก้ที่เป็นเอกลักษณ์และจำง่าย ความพิเศษไม่เหมือนใครอยู่ที่ตัวไข่มุกหวานอุ่น กับน้ำที่รสจืดทั้งหมด โดยไข่มุกลาวาที่เป็นไข่มุกสูตรเฉพาะของทางร้าน Mongni Cafe ที่นำมาเคี่ยวกับน้ำตาล ทำให้มีรสชาติหอมหวานและมีกลิ่นไหม้นิด ๆ อันเป็นเสน่ห์ของไข่มุกลาวา แล้วนำมาใส่ในเครื่องดื่มเพื่อชูรสหวาน อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/company/general/0413562002358 https://data.creden.co/company/general/0405562005260 https://food.trueid.net/detail/yGQgayk1QdN7 https://marketeeronline.co/archives/209512 https://www.wongnai.com/articles/mongni-cafe-khonkaen #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ชานมไข่มุก #MongniCafe #Mongni #หม่องนี่ #ขอนแก่น

Scroll to Top