Nanthawan Laithong

พาส่องเบิ่ง จังหวัดใด๋แหน่ที่มีมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติ ในภาคอีสาน

เปลี่ยนไปส่ำใด๋ในช่วง 3 ปีนี้ อ้างอิงจาก: – กรมที่ดิน – ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุด #การถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุด #มูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติ #มูลค่าการถือครองของชาวต่างชาติ #การถือครองของชาวต่างชาติ #ห้องชุด

พาส่องเบิ่ง จังหวัดใด๋แหน่ที่มีมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของชาวต่างชาติ ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง อาณาจักรเซ็นทรัลแห่ง BIG 4 of ISAN แต่ละหม่องแตกต่างกันจั่งใด๋??

บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ก้าวเข้ามาลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าครั้งแรกเมื่อปี 2552 เป็นการเข้ามาซื้อกิจการของกลุ่มเจริญศรีและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี” นับเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นก็ทยอยขยายกิจการและเปิดเพิ่มอีก 3 แห่งคือ เซ็นทรัลพลาซ่าขอนแก่น ในปี 2552 เซ็นทรัลพลาซ่าอุบลราชธานี ในปี 2556 และ เซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา ในปี 2560 นับเป็นการเข้ามาเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของ 4 จังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – UBON NOW #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เซ็นทรัลพัฒนา #เซ็นทรัลอุดร #เซ็นทรัลขอนแก่น #เซ็นทรัลอุบล #เซ็นทรัลโคราช

ชวนเบิ่ง อาณาจักรเซ็นทรัลแห่ง BIG 4 of ISAN แต่ละหม่องแตกต่างกันจั่งใด๋?? อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 10 อันดับขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน มีบริษัทใด๋แหน่ อ้างอิงจาก: – CredenData #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ #อันดับธุรกิจขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ #ขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

พามาเบิ่ง 10 อันดับขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อ่านเพิ่มเติม »

ออนซอนคักหลาย “สมใจ” จับมือ “เงินติดล้อ” ใช้แพลตฟอร์มไอที หนุนธุรกิจพันธมิตรผู้ขายรถจักรยานยนต์

นางสาวธนิตตา ชัยคณารักษ์กูล และ นายบัณฑิต ประดิษฐ์สุขถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สมใจ 2559 จำกัด (“สมใจ”) ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อและผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ จับมือ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดยนายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อร่วมลงทุนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยได้เสนอขายหุ้นให้ บมจ.เงินติดล้อ ไม่เกิน 10% ด้านนายบัณฑิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สมใจ 2559 จำกัด กล่าวว่า “สมใจ” มีประสบการณ์การดำเนินธุรกิจเช่าซื้อและผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ มากกว่า 40 ปี ซึ่งปัจจุบันสมใจมีพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์กระจายตัวอยู่หลากหลายภูมิภาคทั่วประเทศ และยังคงเปิดรับพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนบริการด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ให้กับพันธมิตรผ่านการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Platform) ของเงินติดล้อ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ท่ามกลางการกำกับดูแลธุรกิจที่เข้มข้นจากหน่วยงานภาครัฐในปัจจุบัน โดยการจับมือกับเงินติดล้อในฐานะผู้นำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถที่มีจุดแข็งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีไอทีในครั้งนี้ เพื่อติดปีกสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับสมใจและพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น 1.การใช้ช่องทางการขายร่วมกันเพื่อเพิ่มยอดขายรถจักรยานยนต์ให้กับพันธมิตร 2.การทำการตลาดร่วมกันเพื่อเพิ่มการรับรู้และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้กับพันธมิตรในแต่ละพื้นที่ 3.การให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการขยายเครือข่ายสาขาของพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ 4.การบริหารและการควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน เป็นต้น นายปิยะศักดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ”เงินติดล้อ” กล่าวว่า เหตุผลที่เงินติดล้อร่วมลงทุนใน บริษัท สมใจ 2559 จำกัด นั้น เนื่องจากประทับใจการดำเนินงานโดยผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์และความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างและสร้างสรรค์ นอกจากนี้ การใช้สินเชื่อเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์อาจถือเป็นการกู้ยืมเงินในระบบครั้งแรกของประชาชน เงินติดล้อจึงต้องการมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานและความเป็นธรรมในกระบวนการสินเชื่อประเภทนี้อีกด้วย อ้างอิงจาก: https://www.koratdaily.com/blog.php?id=15514 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เงินติดล้อ #สมใจ

ออนซอนคักหลาย “สมใจ” จับมือ “เงินติดล้อ” ใช้แพลตฟอร์มไอที หนุนธุรกิจพันธมิตรผู้ขายรถจักรยานยนต์ อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง “Double C” อาณาจักรเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ

แบรนด์ Double C ของบริษัท หนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ จำกัด เกิดมาจากธุรกิจ SME ที่สามารถสอดแทรกตัวเองเข้ามาอยู่ในกลุ่มบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย แถมยังมียอดขายเป็นอันดับต้น ๆ อีกด้วย วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาเบิ่ง ว่า แบรนด์ Double C มายืนหม่องนี้ได้จั่งใด๋ ?? เดิมทีบริษัทแห่งนี้ทำธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง ใช้ชื่อแบรนด์ “ช้างแดง” แต่ด้วยสภาพตลาดแข่งขันรุนแรง และผู้บริโภคส่วนใหญ่คุ้นเคยกับผู้เล่นเจ้าหลักในตลาด อย่าง M-150 ของโอสถสภา, กระทิงแดง ของกลุ่ม TCP จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะไปแย่งชิงยอดขาย ทำให้บริษัทในตอนนั้นขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองพี่น้องเลยตัดสินใจมองหาธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่ม แต่ด้วยต้นทุนเดิมทางธุรกิจที่มีอยู่แล้วคือ เครื่องจักรในการผลิตและโรงงาน จนมาพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ตลาดเครื่องดื่มสุขภาพกำลังค่อย ๆ ได้รับความนิยม อีกทั้งคู่แข่งในตลาดก็ยังมีไม่มาก ที่สำคัญ ณ เวลานั้น ผู้บริโภคยังไม่ยึดติดแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมากนัก ขณะเดียวกัน Double C ก็ทำลายกำแพงทางความรู้สึกของผู้บริโภคได้สำเร็จ เมื่อคนส่วนใหญ่พอคิดถึงเครื่องดื่มสุขภาพ ก็มักจะคิดว่ารสชาติไม่ค่อยอร่อย แต่ Double C เมื่อเริ่มต้นวางขายในตลาดก็เกิดกระแสบอกต่อความอร่อยใน Facebook หรือ Instagram อีกทั้งยังมีราคาที่เป็นมาตราฐานของตลาดคือ 15 บาท แต่สิ่งที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่าแบรนด์คู่แข่ง คือ “การมีปริมาณน้ำวิตามินในขวดที่มากกว่า” Double C มีปริมาณน้ำวิตามิน ซี อยู่ที่ 160 มิลลิลิตร ขณะที่คู่แข่งอยู่ที่ 140 – 160 มิลลิลิตร เหตุผลที่ทำให้ Double C สำเร็จอย่างสวยงาม ก็เพราะความแตกต่างของสินค้าและรสชาติอร่อยถูกปากในราคาที่เข้าถึงง่าย จึงทำให้สินค้าขายได้ด้วยตัวมันเอง แม้บริษัทจะไม่ได้ใช้เงินโฆษณามากนัก เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มวิตามินซีขวดอื่น ๆ ที่อยู่ในมือบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ จะเห็นได้ว่า การเดินทางของ “บริษัท หนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์” ได้ทำลายความเชื่อหลายอย่างเลยทีเดียว เมื่อหลายคนอาจคิดว่า มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่บริษัท SME เล็ก ๆ จะทำธุรกิจมียอดขายเทียบชั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่นักธุรกิจอายุน้อย ๆ จะประสบความสำเร็จในตลาดที่บริษัทยักษ์ใหญ่ได้เปรียบเกือบทุกมิติในการแข่งขัน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – ลงทุนแมน #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #DoubleC #หนองคายเพาเวอร์ดริ๊งก์ #เครื่องดื่มสุขภาพ #บริษัทเครื่องดื่มสุขภาพ #SME #ธุรกิจSME

ชวนเบิ่ง “Double C” อาณาจักรเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พาซอมเบิ่ง 8 อันดับอาณาจักรจำหน่ายรถเจ้าใหญ่ในภาคอีสาน

เปลี่ยนไปส่ำใด๋แหน่ในช่วง 3 ปีนี้ อ้างอิงจาก: – CredenData #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายรถ #อันดับธุรกิจจำหน่ายรถ #จำหน่ายรถ

พาซอมเบิ่ง 8 อันดับอาณาจักรจำหน่ายรถเจ้าใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ผลประกอบการ บริษัทใหญ่ในขอนแก่น ที่อยู่ในตลาดหุ้น

เป็นจังใด๋แหน่?? อ้างอิงจาก: – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทใหญ่ในขอนแก่น #บริษัทใหญ่ในขอนแก่นที่อยู่ในตลาดหุ้น

พาส่องเบิ่ง ผลประกอบการ บริษัทใหญ่ในขอนแก่น ที่อยู่ในตลาดหุ้น อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ศึกอาณาจักรวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ระดับประเทศ

ธุรกิจหลายบริษัทที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท มักมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ แล้วขยายออกสู่ต่างจังหวัด แต่ไม่ใช่สำหรับ “โกลบอลเฮ้าส์” และ “ดูโฮม” โดยบริษัททั้ง 2 มีผู้ก่อตั้งธุรกิจที่เป็นคนภาคอีสาน ซึ่งประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าโดยเน้นวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่ง บ้านและสวน เป็นต้น วันนี้ ISAN Insight&Outlook จะพามาดูเส้นทางของอาณาจักรค้าวัสดุก่อสร้างแต่ละรายนี้ เป็นมาอย่างไร? จุดเริ่มต้นของ “โกลบอลเฮ้าส์” มาจากคุณวิทูร สุริยวนากุล ผู้ก่อตั้งบริษัท ที่เกิดและเติบโตในจังหวัดร้อยเอ็ด หลังจากจบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณวิทูร ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอยู่ไม่นานก็ขยับขยายมาเปิดร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ชื่อว่า ร้อยเอ็ดฟาร์มโดยได้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ มีการทำระบบบาร์โคด คุมสต็อกสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าทันสมัยมาก หลังจากร้อยเอ็ดฟาร์มเติบโตมาเกือบ 10 ปี ก็กลายมาเป็น “โกลบอลเฮ้าส์” ในปี พ.ศ. 2540 โกลบอลเฮ้าส์ตั้งสาขาแรกที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีรูปแบบเป็น Warehouse Store ที่มีพื้นที่คลังสินค้าขนาดใหญ่ ที่รวบรวมสินค้าวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านครบวงจร อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของโกลบอลเฮ้าส์ คือ มีสินค้ามากกว่า 130,000 รายการ และมีพื้นที่แต่ละสาขากว้างถึง 18,000-32,000 ตารางเมตร มีศูนย์กระจายสินค้าที่ใช้ระบบหุ่นยนต์หยิบและเก็บของภายในคลังสินค้าสูง 11 ชั้น เพื่อให้การควบคุมศูนย์กระจายสินค้ามีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ในแต่ละสาขายังมีบริการ Drive-Thru ให้ลูกค้าสามารถขับรถมารับสินค้าจากหลังร้านได้ทันทีที่ซื้อ ในขณะที่ “ดูโฮม” เริ่มต้นจากการเป็นร้านค้าวัสดุก่อสร้างเล็ก ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี จนตอนนี้ได้ก้าวมาเป็นแนวหน้าของผู้ค้าวัสดุก่อสร้างในไทยและมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท โดยคุณอดิศักดิ์ ตั้งมิตรประชา และคุณนาตยา ตั้งมิตรประชา ได้ก่อตั้งร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้าง จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด “ศ. อุบลวัสดุ” ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการปรับรูปแบบร้านค้าให้เป็นโกดังขายสินค้าขนาดใหญ่ และมีการนำเทคโนโลยีจัดการคลังสินค้าและจัดการการขาย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “ดูโฮม” ภายใต้ชื่อว่า บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่ ดูโฮม ผลักดันเพื่อให้อัตราการทำกำไรของบริษัทสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ การเพิ่มยอดขายสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง (House Brands) คือบริษัทไปสั่งผลิตจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ทำให้บริษัทได้อัตรากำไรที่ดีกว่าการรับสินค้าของแบรนด์อื่นมาขาย จุดเริ่มต้นของโกลบอลเฮ้าส์และดูโฮม ให้แง่คิดหลายอย่างในการทำธุรกิจ ทำให้รู้ว่า การทำธุรกิจแต่ในต่างจังหวัดก็สร้างรายได้มหาศาลได้ ถ้ามีการจัดการอย่างเป็นระบบ เหมือนกับทั้ง 2 บริษัทก็สามารถยิ่งใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพ นอกจากนี้ การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/GLOBAL/company-profile/information https://www.set.or.th/…/product/stock/quote/DOHOME/price https://investor.dohome.co.th/…/corpora…/company-history https://www.longtunman.com/31150 https://www.longtunman.com/24154 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน

พามาเบิ่ง ศึกอาณาจักรวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ระดับประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก หุ้นที่เริ่มต้นธุรกิจในภาคอีสาน

หลาย ๆ บริษัทในไทยอาจมีจุดเริ่มต้นมาจากเมืองหลวงที่มีผู้บริโภคอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีการจับจ่ายใช้สอยและมีอัตราการเติบโตสูง แต่ก็มีอีกหลาย ๆ บริษัทที่เล็งเห็นโอกาสการทำตลาดจากต่างจังหวัด ซึ่งจะมีหุ้นอะไรบ้างที่เติบโตมาจากภาคอีสาน ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่กว่า 168,855 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทยและเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด แต่กลับเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศ ซึ่งในปี 2563 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดในภาคอีสานหรือ GPP (Gross Provincial Product) มีมูลค่าเท่ากับ 1.6 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 10.2% ของ GDP ประเทศไทย และมีค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว หรือ GPP per capita อยู่ที่ 86,233 บาทต่อปีเท่านั้น โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคอีสานทุก 100 บาท มาจากเกษตรกรรม 19.6 บาท อุตสาหกรรม 16.9 บาท การศึกษา 13.1 บาท การขายปลีก-ส่ง 14.3 บาท และอื่น ๆ อีก 36.1 บาท เมื่อพูดถึงภาคอีสาน คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการทำเกษตรกรรมอย่างการปลูกข้าวนาปี, ยางพารา, มันสำปะหลัง และอ้อย นอกจากนี้แรงงานกว่า 53% ก็อยู่ในภาคการเกษตรด้วยเช่นกัน นั่นจึงส่งผลดีต่อธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรอย่างน้ำตาลบุรีรัมย์ (BRR), แปรรูปมันสำปะหลัง (UBE), ยางแผ่น (NER) แต่ความมั่งคั่งของคนภาคอีสานนั้นกลับกระจุกตัวอยู่แค่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุบลราชธานี และอุดรธานี รวมกันกว่า 46.5% ของ GPP เรียกได้ว่าเกือบครึ่งของมูลค่าเศรษฐกิจของภาคอีสานเลยทีเดียว ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ เริ่มต้นจาก 4 จังหวัดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น จังหวัดขอนแก่นอย่างหลังคาเหล็กตรารถถัง (KCM), โรงพยาบาลราชพฤกษ์ (RPH), ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง (ACG) จังหวัดนครราชสีมาอย่างชิ้นส่วนยานยนต์ (PCSGH) จังหวัดอุบลราชธานีอย่างวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน (DOHOME) และจังหวัดอุดรธานีอย่างโรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์น – วัฒนา (NEW) อ้างอิงจาก: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #หุ้นที่เริ่มต้นธุรกิจในภาคอีสาน #หุ้นในภาคอีสาน

พามาฮู้จัก หุ้นที่เริ่มต้นธุรกิจในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ปังคักหลาย ธุรกิจหมอลำ ฟื้นจากโควิด เดินสายโกยรายได้ก่อนปิดฤดูกาล

กำลังครึกครื้นทั่วไทยสำหรับกิจกรรมการแสดงหมอลำ หนึ่งในเวทีความบันเทิงที่ฟื้นตัวกลับมาแล้วอย่างเต็มรูปแบบหลังเกิดโควิด-19 โดยเฉพาะเวทีหมอลำใหญ่ “ลำเรื่องต่อกลอน” ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากทุกเพศทุกวัย รวมยอดคนดูนับหมื่นคนต่อคืน สร้างรายได้และเงินสะพัดหลายล้านบาทต่อเดือน หมอลำเงินดีกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เฉพาะในจังหวัดขอนแก่น 26 อำเภอ ที่เป็นเมืองหมอแคนแดนหมอลำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีวงหมอลำกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ ช่วงการแสดงคือออกพรรษา-ช่วงเข้าพรรษา ระยะเวลารวมประมาณ 9 เดือน หลังจากนั้นถึงจะหยุดพักงาน โดยหมอลำกลอนแบบดั้งเดิมราคาจ้างอยู่ที่ 2-3 หมื่นบาท/งาน/วัน หมอลำซิ่งหรือหมอลำกลอนประยุกต์ราคาอยู่ที่ 4-6 หมื่นบาท/งาน/วัน ถัดมาเป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน ซึ่งเป็นหมอลำวงใหญ่และได้รับความนิยมมากที่สุด ในจังหวัดมีเกือบ 20 วง ทั้งวงเล็กวงใหญ่ ราคาเริ่มต้นที่ 2 แสนบาทขึ้นไป คณะใหญ่ที่มีชื่อเสียงหากไม่มีคนจ้างงานก็สามารถแสดงแบบเก็บบัตรหน้างานได้ เพราะมักจะมีแฟนคลับ มีพ่อยก แม่ยก เป็นจำนวนมาก “สำหรับหมอลำที่โด่งดังที่สุดในภาคอีสานขณะนี้ จะเป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน 3 อันดับแรก คือ ระเบียบวาทะศิลป์ ประถมบันเทิงศิลป์ และรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ราคาจ้างงานขั้นต่ำจะอยู่ที่ 2.5 แสนบาท/งาน/วัน บุคลากร 300-400 คน/วง คณะที่เหลือก็รองลงมา ทั้งคนและราคาจ้างก็ลดหลั่นลงตามลำดับ เรียกได้ว่าในธุรกิจหมอลำสร้างเงินสะพัดได้หลายร้อยบาทต่อเดือนต่อปี แต่ประเมินค่อนข้างยากเพราะแต่ละวงมีขนาดไม่เท่ากัน อัตราการจ้างงานก็ต่างกัน ความถี่การรับงานหรือการแสดงก็เฉลี่ยไม่ได้” “คุณราตรี ศรีวิไล” บอกว่า อาชีพหมอลำหากมีชื่อเสียงจะหาเงินได้มากกว่าเงินเดือนค่าแรงขั้นต่ำ อาจได้มากถึง 2-3 หมื่นบาท/เดือน ระดับแดนเซอร์เฉลี่ยขั้นต่ำ 500 บาท/คืน ยิ่งช่วงเทศกาลจะได้มากเป็นพิเศษ โดยคณะหมอลำใหญ่ที่มีชื่อเสียงเมื่อหักค่าใช้จ่ายหลังการแสดงและแบ่งค่าแรงในวงแล้ว จะได้กำไรไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท/วัน แต่อาชีพนี้มีความเสี่ยงคือความไม่แน่นอน เพราะไม่ใช่งานประจำที่มีเงินเดือนตลอด เป็นอาชีพที่กอบโกยได้เฉพาะในช่วงนี้เท่านั้น “อย่างไรก็อยากฝากถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้ามาช่วยดูแลสนับสนุนหมอลำพื้นถิ่นในพื้นที่มากขึ้น มากกว่าวงคอนเสิร์ตสตริงหรือเพื่อชีวิต และอยากให้เข้ามาพัฒนาหมอลำรุ่นใหม่เพื่อเชื่อมโยงศิลปะและวัฒธรรมมากขึ้น เพราะหมอลำยุคใหม่หลายคนไม่มีความรู้และวิ่งตามสื่อ วิ่งตามกระแสมากเกินไป จนขาดความเป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าแท้จริง” อ้างอิงจาก: https://www.prachachat.net/local-economy/news-1209533 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจหมอลำ #หมอลำ #การแสดงหมอลำ

ปังคักหลาย ธุรกิจหมอลำ ฟื้นจากโควิด เดินสายโกยรายได้ก่อนปิดฤดูกาล อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top