ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 52.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -1.1
แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน?
ภาคธุรกิจโดยเฉพาะการค้า และบริการมีกำลังซื้อที่ลดลง เนื่องจากก่อนหน้ามีการขยายตัวของกำลังชื่อที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มแรงงานที่กลับภูมิภาคในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะมาจากกรุงเทพฯ และตะวันออก ทำให้ปัจจุบันยอดขายปรับตัวลดลงโดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรและบางธุรกิจปรับตัวดีขึ้น เช่น การซ่อมบำรุงยานพาหนะขยายตัวขึ้น จากการเข้าสู่ช่วงเพาะปลูกนาปี
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ SMEs ภาคธุรกิจ เป็นอย่างไร?
ภาคการค้าและการบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ขยายตัวจากกำลังซื้อและการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสงกรานต์
ภาคการผลิต 51.9 ลดลง -1.0 จากเดือนเมษายน
ภาคการผลิตชะลอตัวลง โดยเฉพาะกับกลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่เผชิญกับราคาทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์สด ผักและผลไม้ ในขณะที่การผลิตไม้และเฟอร์นิเจอร์จากคำสั่งชื้อของคู่ค้า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคการค้า 50.1 ลดลง -3.9 จากเดือนเมษายน
ภาคการค้าปรับตัวลดลงทั้งการค้าปลีกและค้าส่งจากกำลังซื้อที่ลดลง เนื่องจากการสิ้นสุดเทศกาลที่ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอย และการเดินทาง ซึ่งปรับลดลงในทุกภูมิภาค
ภาคการบริการ 56.2 ลดลง -2.2 จากเดือนเมษายน
ภาคการบริการที่ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวปรับตัวลดลงในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบทางลบจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น แต่กลุ่มบริการอื่น ๆ ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง เช่น การก่อสร้าง หรือกลุ่มบริการกีฬา
ภาคการเกษตร 51.1 ลดลง -0.5 จากเดือนเมษายน
ธุรกิจการเกษตรในกลุ่มของการค้าขายสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรมียอดขายที่ลดลง แต่ในหลายพื้นที่กิจกรรมการเพาะปลูกปรับตัวดีขึ้น เช่น ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเข้าถึงช่วงเพาะปลูกข้าวนาปี
หมายเหตุ: ดัชนี SMEs มีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าฐานเท่ากับ 50
ดัชนี > 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ดีขึ้น” จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนี = 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ทรงตัว” จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนี < 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า
อ้างอิงจาก:
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม