Nanthawan Laithong

ชวนเบิ่ง ผลประกอบการ “โรงพยาบาลกรุงเทพ” ที่มีเครือข่ายอยู่ในภาคอีสาน

แต่ละหม่องเป็นจังใด๋แหน่? อ้างอิงจาก: เว็บไซต์ของบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โรงพยาบาลกรุงเทพ #โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น #โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา #โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร

พามาเบิ่ง ผลประกอบการ “ทัสคานี วิลล์” อาณาจักรอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในภาคอีสาน

โครงการได้รับแรงบันดาลใจมาจากความงดงามของภูมิทัศน์ และบ้านเมืองในแคว้นทัสคานี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี โครงการจึงถูกตั้งชื่อว่า ทอสกานา วัลเล่ ทีมงานตั้งใจที่จะสร้างสถานที่ให้เป็นที่อยู่อาศัย ที่มีสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวก มีเอกลักษณ์ และไลฟ์สไตล์ ดังเช่น เมืองในชนบทของอิตาลี จึงออกแบบโครงการให้เป็นมากกว่า การตัดถนนแบ่งแปลงจัดสรร แต่ได้ออกแบบชุมชนเมืองในชนบทที่น่าอยู่ ที่เป็นที่พักผ่อน เป็นที่สังสรรค์ และเป็นที่ ๆ มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม บริษัทฯ ประเดิมทุนครั้งแรกด้วยจำนวน 60 ล้านบาท จากนั้นเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกในปี 2554, 2557 และ 2560 เพิ่มเป็น 200 ล้านบาท, 1,000 ล้านบาท และ 1,240 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน อยู่ที่ 1,500 ล้านบาท ปี 2556 มีรายได้ 377 ล้านบาท และมีกำไร 1 ล้านบาท ปี 2557 มีรายได้ 506 ล้านบาท และมีกำไร 8 ล้านบาท ปี 2558 มีรายได้ 495 ล้านบาท และมีกำไร 13 ล้านบาท ปี 2559 มีรายได้ 225 ล้านบาท และมีกำไร -64 ล้านบาท ปี 2560 มีรายได้ 580 ล้านบาท และมีกำไร 114 ล้านบาท ปี 2561 มีรายได้ 469 ล้านบาท และมีกำไร 443,045 บาท ปี 2562 มีรายได้ 176 ล้านบาท และมีกำไร -119 ล้านบาท ปี 2563 มีรายได้ 292 ล้านบาท และมีกำไร -25 ล้านบาท ปี 2564 มีรายได้ 892 ล้านบาท และมีกำไร 201 ล้านบาท หากพิจารณาจากข้อมูลการเพิ่มทุนจดทะเบียน และตัวเลขกำไรรวมที่งบการเงินที่ปรากฏ จะพบว่า มีการเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะกำไรจากปี 2562 ที่ติดลบมากถึงหลักร้อยล้านบาท แต่บริษัทฯ ก็สามารถทำกำไรในปี 2564 พุ่งไปสูงถึงหลักหลายร้อยล้าน อย่างไรก็ตาม ในการทำธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการจัดการกับความเสี่ยงที่ต้องเจอให้เหมาะสม …

พามาเบิ่ง ผลประกอบการ “ทัสคานี วิลล์” อาณาจักรอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ซอมเบิ่ง 7 อันดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ในภาคอีสาน

เปลี่ยนไปส่ำใด๋แหน่ในช่วง 3 ปี อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/ranking… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจที่มีมูลค่าบริษัทรวมมากที่สุด #อันดับธุรกิจที่มีมูลค่าบริษัทรวมมากที่สุด #ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

พาซอมเบิ่ง ผลประกอบการ “3 เอี่ยม แห่งภาคอีสาน” อาณาจักรผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง

เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่ม บริษัท เอี่ยมบูรพา เป็นอย่างไร?? กว่า 30 ปี ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังของ คุณสมศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล ได้ประสบผลสำเร็จในการก่อตั้ง บริษัท เอี่ยมเฮง เมื่อปี 2540 โดยต่อมาได้มองว่าจังหวัดสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีการเพาะปลูกมันสำปะหลังกันเป็นจำนวนมาก ทางคุณสมศักดิ์ จึงได้ก่อตั้ง บริษัท เอี่ยมบูรพา ขึ้นมา เพื่อใช้ผลิตแป้งมันสำปะหลังจากการรับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะปลูกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พอกิจการของเอี่ยมบูรพาเติบโต ก็มีการขยายตัวและมีโรงงานเพิ่มในจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ธุรกิจโรงงานแป้งมันนั้น เป็นการรับซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกร แล้วทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง หรือสตาร์ช ซึ่งเป็นสินค้าหลักของโรงงาน โดยมีการปรับสเปกตามแต่ความต้องการของลูกค้า เช่น ส่งออกไปยังบางประเทศก็มีเงื่อนไขเพิ่มเติม ลูกค้าบางรายอาจมีเงื่อนไขอัตราส่วนสารเคมี หรือบางรายก็กำหนดว่าจะใช้ผลิตเป็นอาหาร ก็ต้องมีสัดส่วนองค์ประกอบให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ อ้างอิงจาก: https://datawarehouse.dbd.go.th/…/profile/5/0335553000111 https://datawarehouse.dbd.go.th/searchJuristicInfo https://datawarehouse.dbd.go.th/…/profile/5/0335559000113 http://www.eiamburapa.com/index_th.php?lang=TH https://brandinside.asia/eiamburapa-starches-business/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เอี่ยมบูรพา #เอี่ยมอุบล #เอี่ยมศิริ #เอี่ยมอำนาจ #ผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง #มันสำปะหลัง

ชวนเบิ่ง “ตั้งงี่สุน” อาณาจักรซูเปอร์สโตร์รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

ตั้งงี่สุน ถือเป็นซูเปอร์สโตร์ขึ้นชื่อ ที่ทำธุรกิจมาอย่างยาวนานในอุดรธานี และที่สำคัญ ตั้งงี่สุนยังมีรายได้มากถึง 3.7 พันล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ตั้งงี่สุนเกิดมาจากร้านโชห่วยเล็ก ๆ ในจังหวัดอุดรธานีเท่านั้น ต้นกำเนิดของตั้งงี่สุนมาจากอากงของ คุณมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ทายาทรุ่นที่ 3 ของตั้งงี่สุน ที่แบกเสื่อผืนหมอนใบจากเมืองจีนมาตั้งรกรากอยู่ที่อุดรธานี และประกอบอาชีพขายสินค้าเบ็ดเตล็ดในรูปแบบร้านโชห่วยค้าส่ง-ค้าปลีกมาอย่างยาวนาน จนในปี 2530 ตั้งงี่สุนได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจจากร้านยี่ปั๊วที่ขายสินค้าให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าแบบค้าส่งแบบดั้งเดิม ที่บริการส่งสินค้าถึงร้านค้าของลูกค้าที่ซื้อสินค้าในราคาส่ง สู่ร้านซูเปอร์สโตร์ที่มีการจัดวางสินค้าบนเชลฟ์ เพื่อให้ลูกค้าได้เข้ามาเดินเลือกซื้อในร้านและขนสินค้ากลับไปกันเอง ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งนั้นถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับวงการค้าส่งในประเทศไทย ที่ยังไม่มียี่ปั๊วคนไหนกล้าที่จะทำ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มาจากคุณแม่เสาวลักษณ์ ซึ่งเป็นภรรยาของคุณพ่อปรีชา วีระรัตนโรจน์ ลูกชายของอากง ที่แต่งงานมาช่วยกิจการได้เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศและสังเกตเห็นร้านไฮเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศ ซึ่งมีรูปแบบเป็นร้านโชห่วยขนาดใหญ่ และมีเชลฟ์วางสินค้าให้ลูกค้าได้หยิบเลือกเอง ไฮเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศนี้เอง ทำให้คุณแม่เสาวลักษณ์ได้นำมาปรับใช้กับตั้งงี่สุนธุรกิจของพ่อสามี ซึ่งในตอนแรกที่มีการปรับร้านใหม่ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าค้าส่งว่า ไม่ได้รับความสะดวกสบาย เพราะต้องเดินทางมาซื้อสินค้าเอง แทนการโทรมาสั่งสินค้าจำนวนมาก ๆ และเรื่องนี้คุณแม่เสาวลักษณ์ได้แก้เกมว่า การเดินทางมาซื้อเองที่ร้านตั้งงี่สุนจะสามารถซื้อสินค้าในจำนวนเท่าไรก็ได้ จะซื้อเพียง 1 ชิ้นก็ขาย นอกจากนี้ ตั้งงี่สุนยังมีการนำระบบไอทีมาใช้ในการชำระค่าสินค้า เพื่อให้ราคาสินค้าเป็นราคาเดียวกันทั้งหมด แม้ใครจะเป็นคนขายก็ตาม เพื่อขจัดปัญหาเดิมที่เคยเป็นอยู่คือราคาที่ขายให้กับลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน และการปรับเปลี่ยนนี้ได้กลายเกิดเป็นต้นแบบที่ทำให้ตั้งงี่สุนผ่านร้อนผ่านหนาวในการแข่งขันจากคู่แข่งที่เป็นเชนสโตร์ได้จนถึงวันนี้ สิ่งที่ทำให้ “ตั้งงี่สุน” ประสบความสำเร็จตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คืออะไร?? กลยุทธ์ราคาที่ทั้งแถมและถูก ราคาขายสินค้าปกติส่วนใหญ่มีราคาจำหน่ายต่ำกว่าร้านค้าอื่น ๆ ที่เป็นไฮเปอร์ เพราะราคาสินค้าถูก เป็นเหมือนแรงจูงใจชั้นดี ที่ทำให้โชห่วยเข้ามาซื้อสินค้าในร้านตั้งงี่สุนแทนคู่แข่ง และกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้านี้ยังเชิญชวนลูกค้าทั่วไปให้มาซื้อสินค้าปลีกในตั้งงี่สุนเช่นกัน นอกจากราคาที่ถูกแล้ว ยังมีกลยุทธ์ในการดึงดูดร้านค้าด้วยกลยุทธ์แถมสินค้าเพิ่มเข้าไป โดยในระยะเริ่มแรกของกลยุทธ์นี้ จะเน้นแถมสินค้าคนละ Category กับสินค้าที่จำหน่าย และสินค้านั้นเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับร้านโชห่วย เพื่อให้ร้านโชห่วยนำสินค้าไปขายต่อได้ หรือเป็นสินค้าที่คิดว่าลูกค้าทั่วไปจะสามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยตั้งงี่สุนใช้วิธีการมัดสินค้าที่แถมรวมกับสินค้าที่จำหน่าย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น และลดความยุ่งยากในการที่ต้องให้ลูกค้านำใบเสร็จไปรับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ทำเลที่ตั้ง ตั้งงี่สุน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก และจังหวัดอุดรธานียังติดกับหนองคายซึ่งเป็นจังหวัดติดชายแดน เลย หนองบัวลำภู และอื่น ๆ ทำให้ตั้งงี่สุนไม่ได้มีลูกค้าเฉพาะในอุดรธานีเท่านั้น แต่ยังมีลูกค้าจากจังหวัดอื่น ๆ ที่เดินทางเข้ามาซื้อสินค้าไปขายปลีกต่อ โดยในปัจจุบัน ตั้งงี่สุนมีสัดส่วนลูกค้าจากอุดรธานี 85% ลูกค้าจากจังหวัดใกล้เคียง 10% และอีก 5% ที่เหลือเป็นลูกค้าจากประเทศลาวและเวียดนาม นอกจากนี้ตั้งงี่สุนยังใช้กลยุทธ์ ไม่ต้องขยายสาขามากเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารการจัดการ แต่อยู่ในพื้นที่ที่ลูกค้าเดินทางสะดวก โดยสาขาแรกของตั้งงี่สุนอยู่ในตัวเมือง เจาะกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเมือง ส่วนสาขาที่สองอยู่ที่ถนนอุดร-เลย ห่างจากสาขาแรกประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักที่เดินทางสะดวก เจาะกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการฝ่ารถติดเข้ามาซื้อสินค้าจากตั้งงี่สุนในตัวเมืองอุดรธานี ศึกษาลูกค้าจากซัปพลายเออร์ ด้วยความเป็นร้านค้าในจังหวัดอุดรธานี การศึกษาเทรนด์ของผู้บริโภคจึงมาจากการพูดคุย ขอคำแนะนำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเซลส์ของซัปพลายเออร์ เพื่อหาสินค้าและแคมเปญต่าง ๆ มาทำให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในพื้นที่โดยเฉพาะ โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อไปซื้อข้อมูลจากบริษัท Research เพื่อมาทำตลาด ทั้งนี้ แม้การทำธุรกิจในวันนี้ตั้งงี่สุนอาจจะเจอคู่แข่งที่มากหน้าหลายตาที่เป็นยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกและค้าส่ง แต่เพราะการปรับตัวเสมอของตั้งงี่สุน ทำให้ตั้งงี่สุนยังคงเป็นซูเปอร์สโตร์ที่มีการเติบโตจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงทุกวันนี้ อ้างอิงจาก: https://marketeeronline.co/archives/115022 https://datawarehouse.dbd.go.th/…/profile/5/0415543000517 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน …

ชวนเบิ่ง “ตั้งงี่สุน” อาณาจักรซูเปอร์สโตร์รายใหญ่แห่งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง “จิ้งหรีด” โปรตีนทางเลือกในอนาคตที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจในภาคอีสาน แต่ละจังหวัดเป็นจังใด๋แหน่

ความมั่นคงทางอาหารและความนิยมในกลุ่มอาหารแห่งอนาคต (Future food) สามารถสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในภาคอีสาน ความต้องการอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับประสิทธิภาพการผลิตอาหารที่เริ่มชะลอตัวลงซึ่งกำลังกระทบกับความสามารถในการเข้าถึงอาหาร รวมถึงความมั่นคงทางอาหารในแต่ละประเทศ โปรตีนจากแมลงมีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มโปรตีนทางเลือกต่างๆ และมีการขยายตัวของมูลค่าตลาด และผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โปรตีนทางเลือกที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ โปรตีนจากแมลง และควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง แต่การเพาะเลี้ยงแมลงที่ข้อได้เปรียบชัดเจน คือไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี หรือ R&D ในการผลิตที่สูง รวมถึงการที่ตลาดมีการขยายและรองรับการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ โปรตีนจากแมลงจึงเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตที่สุด การเพาะเลี้ยงแมลงมีความต้องการในการใช้ทรัพยากรการผลิตที่น้อย รวมถึงยังมีการปล่อยก๊าซเรือน กระจกในระดับที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตโคเนื้อ ประกอบกับสินค้าแปรรูปของแมลง เช่น ผงจิ้งหรีด เป็นสินค้าจําพวกโปรตีนที่มีมูลค่าสูง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก ซึ่งที่ตั้งของไทยยังสะท้อนจุดแข็งในการเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมแมลง จากการที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงหลายชนิด และอยู่ใกล้กับตลาดผู้บริโภค แมลงที่กระจุกตัวในเอเชียตะวันออก โดยสินค้าแปรรูปของแมลง จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบพิเศษสําหรับการประกอบอาหาร ซึ่งจะเป็นกลุ่มอาหารโปรจีนที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น อีสานเป็นแหล่งที่เหมาะสมในการเป็นฐานผลิตแมลง ทั้งจากปัจจัยด้านสถานที่ตั้ง สภาพอากาศ รวมถึง ด้านต้นทุนที่อยู่ในจุดที่เหมาะสมกับภูมิภาคอื่น ​​สถานที่ตั้งและสภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะภาคอีสานเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงกินได้ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหลักกว่า 80% ของประเทศ อีกปัจจัยที่สนับสนุนโดยภาคอีสานมีฟาร์มจิ้งหรีดจำนวนมากที่สุด เป็นเพราะการใช้กากการของมันสำปะหลังที่สามารถทดแทนอาหารเพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก อีสานยังเผชิญความท้าทายในอุตสาหกรรมแมลงอยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ การที่ผลิตภัณฑ์ยังออกมาในรูปของสินค้าขั้นต้น ยังงขาดการแปรรูป และการบริโภคแมลงยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ผลิตภัณฑ์จากแมลงในปัจจุบันของไทย ยังอยู่ในรูปของสินค้าขั้นต้นเป็นหลัก เช่น แมลงแช่แข็ง และแมลงทอด ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้น้อย โดยการยกระดับอุตสาหกรรมแมลง ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถสร้างมูลเพิ่มได้มากขึ้น เช่น การแปรรูปเป็นผงหรือสารสกัดจากแมลง ข้อจํากัดหลักของตลาดอาหารจากแมลง คือ การขยายตัวของเขตเมือง ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของสังคมเมืองกระทบกับการรับรู้และความคุ้นเคยในการบริโภคแมลง และทำให้ความต้องการบริโภคแมลงลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบอีสานกับภูมิภาคอื่น อีสานมีการขยายตัวของเขตเมืองที่ช้ากว่า ซึ่งสะท้อนความเหมาะสมในการเป็นแหล่งเพาะเลี้ยง ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากแมลง อ้างอิงจาก: www.thaicricketdb.com #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผลิตภัณฑ์จากแมลง #แมลงแช่แข็ง #ธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม #แมลงทอด #อาหารแห่งอนาคต #โปรตีนจากแมลง #อุตสาหกรรมแมลง

ซอมเบิ่ง 8 อันดับธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษาที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน เปลี่ยนไปจังใด๋แหน่ในช่วง 3 ปี

อ้างอิงจาก: https://data.creden.co/ranking #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #อันดับธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #ธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา

ชวนเบิ่ง 10 อันดับธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม รีสอร์ท และห้องชุด ที่มีรายได้รวมมากที่สุด ในภาคอีสาน

อ้างอิงจาก: CredenData #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #อันดับธุรกิจที่มีรายได้รวมมากที่สุด #ธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม #ธุรกิจเกี่ยวกับรีสอร์ท #ธุรกิจเกี่ยวกับห้องชุด

พามาเบิ่ง เส้นทาง “กลุ่มบริษัท น้ำตาลเอราวัณ” อาณาจักรโรงงานน้ำตาลรายใหญ่ในภาคอีสาน

ปี 2549 เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานโดยลงเสาเอกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2549 และทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 บนพื้นที่มากกว่า 2,600 ไร่ และเริ่มปรับพื้นที่ ขุดสระน้ำดี บ่อน้ำเสีย และบ่อน้ำวน เป็นโครงการเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจการผลิตน้ำตาลทรายจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ กำลังการผลิตที่ได้รับอนุญาตที่ 8,117 ตันอ้อย/วัน ตามมติคณะรัฐมนตรี กากอ้อยที่เกิดจากกระบวนการผลิตน้ำตาลถือเป็นของเสียที่ทิ้งไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร จึงได้ก่อตั้ง บริษัท เอราวัณเพาเวอร์ จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ด้วยทุนจดทะเบียน 166 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล(กากอ้อย) และพลังงานไอน้ำ เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ปี 2550 เริ่มทำการหีบอ้อยได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลทรายดิบ เป็นปฐมฤกษ์ในฤดูกาลผลิต 2550/2551 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 เริ่มก่อตั้งบริษัท เอ็น.อี.โลจิสติกส์ จำกัด เมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2550 ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท เดิมดำเนินกิจการเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจขนส่งอ้อย น้ำตาล และสินค้าอื่น ๆ ของบริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด แต่ในปัจจุบันประกอบธุรกิจทั่วไปเกี่ยวกับด้านการขนส่งและขน ถ่ายสินค้าภายในประเทศ โดยควบคุมระบบการติดตามรถขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางการเดินรถที่ทันสมัย และปลอดภัยจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งให้บริการซ่อมแซม บำรุงรักษา ตรวจสอบ ยานพาหนะทุกประเภท โดยช่างผู้ชำนาญการ ปี 2551 ในฤดูกาลผลิตปี 2551/2552 บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้เพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมเป็น 20,117 ตันอ้อย/วัน และบริษัทเอราวัณเพาเวอร์จำกัด ได้ขยายกำลังการผลิตเป็น 16 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้า ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 500 ตัน/ชั่วโมง ปี 2556 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 700 ล้านบาท และได้ติดตั้งหม้อไอน้ำเพิ่มอีก 1 ลูก อีกทั้งยังเพิ่มกำลัง การผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็น 72 เมกะวัตต์ และผลิตไอน้ำ ได้ 800 ตัน/ชั่วโมง ปี 2557 นอกจากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว บริษัทฯ ยังคำนึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยติด ตั้งระบบดักฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ของหม้อน้ำแต่ละชุด เป็นแบบ Multicyclone และ Electrostatic Precipitator(ESP) เพื่อป้องกันการปลดปล่อยฝุ่นและก๊าซต่าง ๆ ออกสู่บรรยากาศ …

พามาเบิ่ง เส้นทาง “กลุ่มบริษัท น้ำตาลเอราวัณ” อาณาจักรโรงงานน้ำตาลรายใหญ่ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง รายได้รวมของนิติบุคคล ในภาคอีสาน ปีงบการเงิน 2564

ในปี 2564 รายได้รวมของนิติบุคคลในภาคอีสานอยู่ที่ 1,773,863 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.5% จากปี 2563 เนื่องจากมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น โครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน รวมทั้งการระดมฉีดวัคซีนให้กับประชาชน และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการ มีความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการหลายธุรกิจได้ปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินชีวิต วิถีใหม่ (New normal) และการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) มีธุรกิจบางประเภทที่ได้รับประโยชน์ จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อ้างอิงจาก: https://datawarehouse.dbd.go.th/area/overview #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #รายได้รวมของนิติบุคคล

Scroll to Top