Siree Jamsuwan

นำร่องแล้ว!  โลตัส ร่วม ม.ขอนแก่น เพิ่มมูลค่าอาหารค้างสต็อค  บริจาคให้เกษตรกรใช้เลี้ยงแมลงโปรตีน

นำร่องแล้ว!  โลตัส ร่วม ม.ขอนแก่น เพิ่มมูลค่าอาหารค้างสต็อค  บริจาคให้เกษตรกรใช้เลี้ยงแมลงโปรตีน   นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย ได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ภายใต้โครงการ กินได้ไม่ทิ้งกัน โดยเริ่มนำร่องจากโลตัสในกรุงเทพและปริมณฑล โดยร่วมมือกับมูลนิธิ SOS ในการนำอาหารส่วนเกินที่ยังรับประทานได้ ส่งมอบให้ผู้ที่ยากไร้ แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหารซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม   ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โลตัส เดินหน้าขยายโครงการไปสู่พื้นที่อื่น ๆ รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรในการหาทางออกในการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้ว อาทิ โครงการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับสวนสัตว์ โครงการทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร   เมื่อไม่นานนี้ โลตัส ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ต่อยอดโครงการกินได้ไม่ทิ้งกันของโลตัส เพื่อลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2030 (Zero food waste to landfill by 2030)   โดยการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากโลตัส 30 สาขาในจังหวัดขอนแก่นและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) ซึ่งเป็นแมลงที่ปลอดภัยต่อพืชและชุมชน ไม่เป็นพาหะนำโรค และตัวหนอนยังมีคุณค่าทางอาหารสูง นำร่องสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกรภาคอีสาน 24 ราย ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ทางการเกษตรกว่าครึ่ง เตรียมขยายผลสู่การสนับสนุนเกษตรกรทั่วไทย   ซึ่งเกษตรกรสามารถนำหนอนเหล่านี้เสริมในอาหารสัตว์ ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ไปได้กว่า 50% นอกจากนี้ยังได้ปุ๋ยจากมูลหนอนอีกกว่า 2,200 กิโลกรัม และซากแมลงโปรตีน อีกทั้งยังสร้างผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจใหม่ภายใต้ BCG Economy Model    ความตั้งใจของเราคือการขยายผลโครงการแมลงโปรตีนไปสู่กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ เพื่อนำแมลงโปรตีนและผลพลอยได้ไปใช้ในการเกษตร รวมถึงศึกษาแนวทางต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแมลงโปรตีนทางการเกษตรเพิ่มเติมต่อไป   อ้างอิงจาก :  https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000084280   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มข  #โลตัส #เกษตรอีสาน

CPN ประกาศความสำเร็จ “ เซ็นทรัล โคราช ” Mixed-Use ศูนย์การค้า-คอนโดฯ-โรงแรม กระตุ้นเศรษฐกิจ

CPN ประกาศความสำเร็จ “ เซ็นทรัล โคราช ” Mixed-Use ศูนย์การค้า-คอนโดฯ-โรงแรม กระตุ้นเศรษฐกิจ     Mixed-Use คือ โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ผนวกรวมโครงการที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดและโครงการเพื่อการพาณิชยกรรมเข้าไว้ด้วยกัน เป็นศูนย์กลางของการอยู่อาศัย จับจ่ายใช้สอยขนาดใหญ่ที่ครบครัน ทำให้เกิดความสะดวกสบาย ดึงดูดผู้คนมาอยู่อาศัย มาทำงานและทำธุรกิจภายในพื้นที่โครงการ   CPN ประกาศความสำเร็จ “เซ็นทรัล โคราช” โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มูลค่ารวมกว่า 10,000 ล้านบาท โดยผนึกกำลังศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช, คอนโดมิเนียมเอสเซ็นท์ โคราช และโรงแรม Centara Korat ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13 ก.ย. 2565    ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา Head of Marketing บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เผยว่า การพัฒนาโครงการนี้เป็นความตั้งใจตั้งแต่ในปี 2560 เพื่อมอบความเป็นที่สุดให้กับจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพในทุกๆ ด้าน ยกระดับทั้งเศรษฐกิจและการเดินทางท่องเที่ยวทั้งระบบ โดยมีกลยุทธ์สำคัญ   Develop New District สร้างเมือง เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิต, เขตเศรษฐกิจใหม่ (New CBD of Korat) และการเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  ให้การสนับสนุน MICE Events ของภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเตรียมรองรับเครือข่ายคมนาคมในอนาคต กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองรองด้วยโรงแรม Centara Korat ที่ตอบโจทย์ทุกการเดินทาง    Strong Synergy & Ecosystem เชื่อมโยงธุรกิจภายในมิกซ์ยูส ทั้งศูนย์การค้า-คอนโดมิเนียม-โรงแรม โดย Privilege ของการมีที่อยู่อาศัยหรือมาพักในโรงแรมที่อยู่ติดศูนย์การค้า คือความสะดวกสบาย    Community at Heart ความภูมิใจของชาวโคราช เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตและดูแลชุมชน พร้อมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัด โดยล่าสุดเปิด Cen’za Sport Stadium ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช เพื่อเป็น Sport Community ให้กับชาวโคราช นอกจากนี้ยังเปิดพื้นที่จัด MICE Events ร่วมมือกับเมืองจัดงานประชุมและสังสรรค์ของหน่วยงานราชการต่างๆ เป็นแลนด์มาร์กของงานเทศกาลตลอดปีทั้ง ด้านสิ่งแวดล้อม ติด Solar Rooftop และเป็นอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รางวัล ASEAN Energy Awards 2020 จากกระทรวงพลังงานอีกด้วย   อ้างอิงจาก :  ผู้จัดการออนไลน์ REIC ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์   …

CPN ประกาศความสำเร็จ “ เซ็นทรัล โคราช ” Mixed-Use ศูนย์การค้า-คอนโดฯ-โรงแรม กระตุ้นเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก Medical Hub  แผนพัฒนาเศรษฐกิจไทย 

พามาฮู้จัก Medical Hub  แผนพัฒนาเศรษฐกิจไทย    การระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง แนวคิดการรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ดีนั้นจึงกำลังเป็นที่สนใจของประชากรทั่วโลก การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ Medical Hub เป็นหนึ่งในเป้าหมายของภาครัฐ ที่ต้องการให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จึงมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.2560-2569)   อีกทั้งมีการยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้แก่สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย และภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพแบบไทย ทั้งยังสนับสนุนความร่วมมือและเชื่อมโยงผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ของไทยกับผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพทั่วโลกอีกด้วย   อย่างไรก็ดี การจะผลักดันให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยขึ้นแท่นผู้นำในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรจนกลายเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) อย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่เอื้อให้เกิดการลงทุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและ พัฒนาด้านการแพทย์ควบคู่กับการลงทุนจากภาคเอกชนที่มีความพร้อมท้ังด้านองค์ความรู้ ทรัพยากร และเงินลงทุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการลงทุนอย่างบูรณาการ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันท้ัง Ecosystem   อ้างอิงจาก :  https://www.khonkaenuniversity.in.th/95518/  https://rmuti.ac.th/main/news180365-2/  https://hss.moph.go.th/fileupload/2560-102.pdf https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_467Medical_Hub.pdf  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #MedicalHub #แผนพัฒนาเศรษฐกิจไทย #ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

คนอีสาน มีหนี้ต่อครัวเรือน จากอิหยังบ้าง ?

คนอีสาน มีหนี้ต่อครัวเรือน จากอิหยังบ้าง ?   อ้างอิงจาก :  สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #คนอีสาน #หนี้ครัวเรือน #หนี้ครัวเรือนอีสาน

ย้อนเบิ่ง  จำนวนวัดในภาคอีสานมีท่อใด๋ ในปี 2564

ย้อนเบิ่ง  จำนวนวัด  ภาคอีสานมีท่อใด๋ ในปี 2564 เมื่อลองดูสถิติจำนวนวัดในภาคอีสานแล้ว จะเห็นได้ว่าภาคอีสานมีจำนวนวัดมากที่สุดในประเทศเลยทีเดียว อีกทั้งคนไทยหันมาหาที่พึ่งทางจิตใจเยอะมากขึ้นเนื่องจากมีสถานการณ์โควิด-19 จากงานวิจัยของ นายบุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อการตลาด ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,200 ตัวอย่าง พบว่า ปัจจัยที่ทำให้คนไทยเกิดความกังวล ได้แก่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 คิดเป็น 76.8% จากความกังวลและความไม่แน่นอนดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้คนไทยต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึก จนเกิดปรากฏการณ์ 3 อย่าง หนึ่งในนั้นคือหันหน้าพึ่งสายมูเตลู หรือมีความเชื่อโชคลาง จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจด้านนี้ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการวัด การทำบุญ หรือ มูเตลู ได้รับความสนใจมากขึ้น อีกทั้งเหล่าผู้ประกอบการน้อยใหญ่ต่างปรับกลยุทธ์การตลาดให้เท่าทันไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถประคองตัวผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ อ้างอิงจาก : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-732999 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ภาคอีสาน #วัดอีสาน #วัด

4 งาน Craft ของใช้สุดปัง  จากการต่อยอดของท้องถิ่นแดนอีสาน 

4 งาน Craft ของใช้สุดปัง  จากการต่อยอดของ ท้องถิ่นแดนอีสาน  แนวโน้มของงานคราฟต์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร  • เน้นที่การใช้งานมากขึ้น การออกแบบจะต้องแก้ปัญหาไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใช้ แต่ต้องคำนึงถึงตัวชุมชนด้วย • มุมมองของการทำงานคราฟต์ หลังจากนี้จะเพื่อการฟื้นฟูเยียวยาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจมากขึ้น ตลาดตรงนี้ยังมีที่ว่างให้สร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลายรูปแบบ • การสื่อสารจึงไม่ใช่แค่พยายามเน้นการขายสินค้าอย่างเดียว แต่คือการใส่เรื่องราวลงในสินค้า เพื่อสร้างคุณค่าและสร้างความเข้าใจว่าทำไมถึงราคานี้ • สิ่งหนึ่งที่กำลังเกิดปัญหาในวงการแฟชั่นตอนนี้คือสินค้าค้างสต็อก เพราะ Fast Fashion มันขึ้นกับฤดูกาล แต่งาน คราฟต์ มันไม่มีเก่า ไม่มีตกรุ่น จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีมากๆที่จะนำเสนอคุณค่าเหล่านั้นของงานคราฟต์ ออกมา ในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังมองหาความคุ้มค่าในรูปแบบตัวตนเฉพาะของตัวเอง อ้างอิงจาก: https://readthecloud.co/isan-craft-products/ https://www.prachachat.net/spinoff/lifestyle/news-333386 https://www.cea.or.th/…/single…/crafts-industry-covid-19 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #Craftอีสาน #คราฟต์อีสาน #อำนาจเจริญ #Thorr #สกลนคร #ดอนหมูดิน #มหาสารคาม #LITIN #เลย #FolkCharm

มาทำความฮู้จัก  เหล้าอุ สุราแช่พื้นเมืองอีสาน 

มาทำความฮู้จัก  เหล้าอุ สุราแช่พื้นเมืองอีสาน  จังหวัดนครพนม พื้นที่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น จึงไม่แปลกนักหากจะมีประเพณีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอันแตกต่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเมนูเครื่องดื่มพื้นเมือง ที่ภายหลังถูกยกให้เป็นของฝากของดีและมีการจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำอำเภอเรณูนคร อ้างอิงจาก : http://www2.nakhonphanom.go.th/otop/detail/4 https://www.silpa-mag.com/culture/article_36143 https://craftnroll.net/craft-insight/ . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เหล้าอุ #นครพนม #เรณูนคร #เหล้าสาโท #เหล้าโท

ฉุดบ่อยู่ ! นวยนาด แบรนด์เครื่องหอม งาน Craft แดนอีสาน ดังไกลถึงต่างประเทศ 

ฉุดบ่อยู่ ! นวยนาด แบรนด์เครื่องหอม  งาน Craft แดนอีสาน ดังไกลถึงต่างประเทศ  . งานหัตถศิลป์ หรือ งานคราฟต์ คือ งานฝีมือ ที่มีกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงาน จัดเป็นผลงานศิลป์อย่างหนึ่ง เหมาะที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย อาศัยความปราณีตพิถีพิถัน และแรงบันดาลใจจากผู้สร้างงาน แถมยังคงความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป . เส้นทางของแบรนด์ที่ใส่ใจรายละเอียด การหยิบยกของท้องถิ่นมาต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นใบย่านางเป็นผักที่สะท้อนวิถีชีวิตคนอีสานได้เป็นอย่างดี, เนื้อครามอินทรีย์จาก จ.สกลนคร และไวน์หมากเม่า โดยครูคณพ วรรณวงค์ ผู้ก่อตั้งและผู้ที่ทำไวน์หมากเม่าคนแรกของอำเภอภูพาน จ.สกลนคร . อีกทั้งแบรนด์นวยนาดได้รับรางวัลดีไซน์จาก DEmark (Design Excellence Award) จากตัวเทียนหอมและร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สามารถนำสิ่งที่ทำกับชุมชน ออกสู่นอกประเทศให้คนอื่นได้เห็นฝีมือของคนโคราชในรูปแบบใหม่ นอกจากเเค่ดินด่านเกวียนที่มักจะใช้ปั้นเป็นตุ๊กตาดิน กระถางต้นไม้สีน้ำตาล หินทรายที่เอาไว้แค่เเกะสลักองค์พระ หรือนำหินไปทำเป็นกระเบื้องประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งความจริงสามารถต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้ ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน . นอกจากจะสร้างเอกลักษณ์ให้แบรนด์แล้ว ยังเพิ่มโอกาสทำให้คนในชุมชนได้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการทำงานฝีมือในแต่ละชิ้น ทำให้ต่างประเทศได้เห็นว่างานฝีมือของคนอีสาน ของคนโคราชมีดีและมีเอกลักษณ์ที่สวยงาม . . อ้างอิงจาก: https://urbancreature.co/nuaynard-korat/ https://www.nuaynardhandcraft.com/our-story https://adaybulletin.com/life-spaceandtime-nuaynard/52656 . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นวยนาด #Craftอีสาน #คราฟต์อีสาน #nuaynard #nuaynardhandcraft

5 จังหวัด 5 งานฝีมือ ผ้าไทยอีสาน

5 จังหวัด 5 งานฝีมือ ผ้าไทยอีสาน 🧵🤎  งานฝีมือที่ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย มีความละมุนและสวยงามมากยิ่งขึ้น 🥰   อ้างอิงจาก https://readthecloud.co/isan-craft-products/  https://readthecloud.co/la-orr-thai-silk/  https://www.soimilk.com/fashion/news/bhukram-collection    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผ้าไหมอีสาน #ผ้าภูอัคนี #กลุ่มทอผ้าบ้านเจริญสุข #ผ้าไหมปักธงชัย #LaOrr #ผ้าไหมมัดหมี่ #แต้มหมี่ #สุภาณีไหมไทย #ผ้าขาวม้าโคลนพันปี #ดารานาคี #ผ้าคราม #ภูคราม

พามาเบิ่ง BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา

พามาเบิ่ง BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา   นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์    นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย บริการอื่นที่จำเป็น เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น    ในด้านภาคอีสาน มีจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ความพร้อมของแรงงาน และพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว . ดังนั้นแล้ว ภาคอีสานจึงมีความสำคัญในฐานะที่มีความหลากหลายของทรัพยากรและเป็นที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในภาคอีสาน และนิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน คือ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี   การพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG Economy Model นี้ จะเห็นได้ว่ามีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานและประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน มีการพัฒนาโดยอาศัยจุดแข็งของภาคอีสานในด้านต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น และดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว  ซึ่งพบว่าภาคอีสานมีความเหมาะสมต่อรูปแบบการพัฒนานี้เป็นอย่างมาก และจะช่วยให้อีสานเป็นภูมิภาคที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย   อ้างอิงจาก:  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BCGModel #นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี #นิคมกรีนอุดร #นิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน

Scroll to Top