พามาเบิ่ง
BCG Model: นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี อีสานบ้านเฮา
นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์
นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย บริการอื่นที่จำเป็น เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น
ในด้านภาคอีสาน มีจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ความพร้อมของแรงงาน และพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว .
ดังนั้นแล้ว ภาคอีสานจึงมีความสำคัญในฐานะที่มีความหลากหลายของทรัพยากรและเป็นที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในภาคอีสาน และนิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน คือ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี
การพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG Economy Model นี้ จะเห็นได้ว่ามีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสานและประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน มีการพัฒนาโดยอาศัยจุดแข็งของภาคอีสานในด้านต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น และดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว
ซึ่งพบว่าภาคอีสานมีความเหมาะสมต่อรูปแบบการพัฒนานี้เป็นอย่างมาก และจะช่วยให้อีสานเป็นภูมิภาคที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย
อ้างอิงจาก:
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #BCGModel #นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี #นิคมกรีนอุดร #นิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน