Siree Jamsuwan

ส่องยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน ครึ่งปีแรก ทำรายได้เท่าไหร่ ?

ส่องยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน ครึ่งปีแรก ทำรายได้เท่าไหร่ ? สินค้า OTOP (One Tambon One Product) เป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล สะท้อนเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 10-20% ตั้งแต่ปี 2546 ในอนาคต สินค้าโอทอปหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสถานการณ์ของโลก โดยเฉพาะหลังโควิด-19 ซึ่งผู้บริโภคให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยั่งยืน ความเท่าเทียม ความแท้จริง ความหลากหลาย และสุขภาพที่ดี คุณค่าเหล่านี้จะต้องเข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์โอทอปยุคใหม่ นอกจากนี้ โลกได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ช่องทางออนไลน์และการชำระเงินแบบ cashless มีความสะดวกง่ายดาย โอกาสจึงเปิดขึ้นมาก โดยเฉพาะหากได้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และคล่องเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ ได้มีโอกาสกลับบ้านเกิด ภาครัฐจึงควรมีโครงการจูงใจให้คนกลับบ้าน สร้าง OTOP Academy เพื่อให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้กลับเข้าไปชุบชีวิตผลิตภัณฑ์เดิม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หมายเหตุ : รายได้รวม เป็นรายได้จากทางยอดขายออนไลน์ และประเภทสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด เป็นรายได้รวมจากการขายออนไลน์และหน้าร้าน อ้างอิงจาก: http://logi.cdd.go.th/otop/ https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1013822 http://logi.cdd.go.th/otop/cdd_report/otop_r10.php… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #OTOP #สินค้าOTOP #นครราชสีมา #อุดรธานี #ศรีสะเกษ #อุบลราชธานี #ขอนแก่น #ร้อยเอ็ด #สกลนคร #สุรินทร์ #บุรีรัมย์ #อำนาจเจริญ

นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี แห่งแรกในอีสานใต้ คาดเฟส 1 แล้วเสร็จปี 2565

นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี แห่งแรกในอีสานใต้ คาดเฟส 1 แล้วเสร็จปี 2565   นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายปองพล อดิเรกสาร ประธานกรรมการบริษัท อุบลราชธานีอินดรัสตี้ จำกัด นำคณะผู้บริหารบริษัทฯ เข้าพบ เพื่อรายงานความคืบหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นนิคมแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ตั้งอยู่ใน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน คาดว่าเฟสที่ 1 จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565 ในปี พ.ศ. 2565 ได้มีแผนดำเนินการดังนี้ EIA ได้รับการอนุมัติ (EIA: การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ), การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) อนุมัติโครงการ, เริ่มการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ และ ขายที่ดินโครงการ  ในปี พ.ศ. 2571 มีแผนพัฒนาโครงการดังนี้ การดำเนินโครงการ แล้วเสร็จ 50-70% และการขยายพื้นที่นิคมฯ นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีสอดรับกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องพัฒนาสังคม พื้นที่ และยังเป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศและต่างประเทศ  มีบทบาทเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ที่พร้อมไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์ และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลง จะสามารถแข่งขันในตลาด CLMV และช่วยให้เกิดการสร้างงานคนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงการค้าใน 4 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน มีรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่จะช่วยสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในระดับนานาชาติ รวมทั้งยังมีจุดผ่านแดนที่สำคัญ ที่จะทำให้การขนส่งจากกรุงเทพฯ หรือจากท่าเรือภาคตะวันออกไปสู่พื้นที่ได้สะดวกขึ้น   อ้างอิงจาก :  สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี https://www.ubi.co.th/our-latest-news/1292 https://aic.moac.go.th/downloads/document/aic160963/009.pdf  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี #อุบลราชธานี #อุบลราชธานีอินดรัสตี้

” อินทผาลัมโคราช ” พลิกเปลี่ยนไร่มันฯ ขยายตลาด เร่งขึ้นบัญชี พืชปลูกได้ในประเทศ

” อินทผาลัมโคราช “ พลิกเปลี่ยนไร่มันฯ ขยายตลาด เร่งขึ้นบัญชี พืชปลูกได้ในประเทศ   เปิดสวน“อินทผาลัมโคราช” พืชเศรษฐกิจมาแรงในยุคนี้ สร้างรายได้เกษตรกรปีละเป็นล้าน มีความพร้อมทั้งคุณภาพผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูก สมาคมผู้ปลูกฯ เดินหน้าผลักดัน ให้บรรจุอินทผาลัมเป็นพืชปลูกได้ในประเทศไทย เพื่อขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศ สวนอินทผาลัมโคราช เลขที่ 261 หมู่ที่ 13 หมู่บ้านอ่างห้วยยาง ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา นายประทิน  อภิชาตเสนีย์  เจ้าของสวนอินทผาลัมโคราช ปลูกอินทผาลัมรวมจำนวน 1,000 ต้น โดยเป็นสวนอินทผาลัมสวนแรกของจังหวัดนครราชสีมา จากเดิมเป็นพื้นที่ดังกล่าวปลูกมันสำปะหลังมาก่อน กระทั่งปี 54 จึงหันมาปลูกอินทผาลัมด้วยการเพาะเมล็ด เนื่องจากผลผลิตไม่ดีและกลายพันธุ์รสชาติไม่ดี จึงเปลี่ยนมาปลูกจากต้นพันธุ์ที่เพาะเนื้อเยื่อพันธุ์บาฮี ในปี 2559 เหลือต้นพ่อพันธุ์ประมาณ 4-5 ต้นเท่านั้น  การให้น้ำจะใช้ระบบปริงเกอร์เพื่อให้กระจายให้ทั่วโดยสวนอินทผาลัมโคราชเป็นสวนปลอดสารเคมี ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตระยะเวลา 3 เดือน ไม่มีการใช้สารเคมีจึงสามารถเด็ดจากต้นกินได้เลย ความโดดเด่นของอินทผาลัมที่นี่ คือ “ หวาน กรอบ อร่อย ปลอดภัยจากสารเคมี ” ซึ่งอินทผาลัมจะทยอยสุกและเริ่มตัดขายได้ตั้งแต่ กลางเดือน ก.ค. – ส.ค.  ราคาขายหน้าสวนอยู่ที่ กก.ละ 200 -300 บาท คาดว่าในปีนี้จะสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทและมีผลผลิตต่อปีหลายร้อยตัน   แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรคือด้านการขยายตลาด เนื่องจากอินทผาลัมเป็นพืชที่ยังไม่ได้รับการบรรจุให้เป็นพืชที่ปลูกในประเทศไทยได้ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ทางสมาคมผู้ปลูกอินทผาลัม ที่มีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศ กำลังอยู่ระหว่างการผลักดันให้กระทรวงเกษตรกรฯ บรรจุให้อินทผาลัมให้เป็นพืชปลูกได้ในประเทศไทย เพื่อให้อินทผาลัมส่งออกขายในต่างประเทศได้  ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอินทผาลัม ได้มีโอกาสขยายตลาดไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย มาเลยเซีย หรือในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะนี้ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงหวังว่าจะดำเนินการผลักดันให้เป็นรูปธรรมเพื่อเกษตรกรได้เดินหน้าต่อไป   อ้างอิงจาก :  https://www.thansettakij.com/economy/533259  https://mgronline.com/local/detail/9650000068900  https://www.nstda.or.th/home/news_post/pt-nstda-bcg-biotec/    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อินทผาลัมโคราช #นครราชสีมา 

การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองไมซ์ (MICE City) ของภาคอีสาน

การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองไมซ์ (MICE City) ของภาคอีสาน   เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สำคัญภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศไทยให้ก้าวผ่านพ้นกับดักรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศที่มีความพร้อมและมีเสถียรภาพ ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม   สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) ประเมินจังหวัดที่มีศักยภาพรองรับนักเดินทางกลุ่มไมซ์ หรือนักธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งปัจจุบันมี MICE City ในภาคอีสาน คือ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา เมืองที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุบลราชธานี และ บุรีรัมย์     อ้างอิงจาก:  สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) https://dtc.ac.th/what-is-mice/  https://www.businesseventsthailand.com/th/support-solution/regional-office/northeasternregionoffice/detail/mice-city  https://www.businesseventsthailand.com/th/support-solution/regional-office/northeasternregionoffice/detail/potential-city http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8376s/8376%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%20%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4.pdf    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #MICECITY #เมืองไมซ์ #ขอนแก่น #อุดรธานี #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #บุรีรัมย์

แนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาปี 2566-2570

พามาเบิ่ง แนวทางการยกระดับการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาปี 2566-2570   เศรษฐกิจอีสานในระยะสั้นมีความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ผู้บริโภคต้องการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้บริโภคหยุดหรือลดการใช้จ่ายในช่วงเหตุการณ์ COVID-19 (Pent-up demand) สิ่งนี้จะกระตุ้นให้การท่องเที่ยวอีสานได้   แต่สำหรับระยะยาว จากโครงสร้างเศรษฐกิจของอีสาน ที่ไม่ได้พึ่งพาการท่องเที่ยวมากนัก การยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง จึงเป็นการแก้จุดอ่อนหนึ่งของอีสาน เพื่อสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวให้มากขึ้นรวมถึงยกระดับรายจ่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวของภูมิภาค     #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การท่องเที่ยว 

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน Dairy Home vs Farm Chokchai

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน   ในปัจจุบันมีแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญอยู่ 4 แห่ง หนึ่งในนั้นคือจังหวัดนครราชสีมา ในภาคอีสานเรานี่เอง การเลี้ยงโคนมแม้มีรายจ่ายค่อนข้างสูง แต่ผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคนม จะสูงกว่าการทำนาทำไร่หลายเท่า จึงเป็นการสร้างรายได้ที่ดีของเกษตรกร ทั้งที่มีอาชีพเลี้ยงโคนมโดยตรง และที่เป็นอาชีพเสริม นับว่ามีส่วนช่วยในการ สร้างงานในชนบทของชาติ   วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาดู 2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ามีความเป็นมาอย่างไร?  Dairy Home ฟาร์มออร์แกนิกเจ้าแรกของไทย คำว่า ‘โฮม’ เป็นภาษาอีสาน หมายถึงการมารวมกัน ‘แดรี่ โฮม’ นอกจากจะหมายถึงบ้านของนมแล้วยังหมายถึงที่รวมผลิตภัณฑ์นมไว้ด้วยกันอีกด้วย   ก่อนรับบทบาทเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณพฤฒิเคยเป็นนักวิชาการสอนปรับปรุงพันธุ์โคนม ที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และเคยทำงานอยู่ที่ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านฟาร์มโคนมมายาวนาน 10 กว่าปี กระทั่งปี 2535 เขาลาออกจากงานประจำ เพื่อมาสร้างฝันให้เป็นจริง นั่นคือ อาณาจักรฟาร์มโคนมออร์แกนิก    ในปี 2542 แดรี่โฮม ถือกำเนิดขึ้นด้วยการจำหน่ายนมในขวดแก้ว น้ำนมที่ใช้เป็นนมออร์แกนิก ซื้อจากฟาร์มโคนมที่รู้จักกันให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ แต่ละวันรับนมเพียง 10 ลิตร จากนั้นขยับเพิ่มเป็น 100 ลิตร หลังกระแสการตอบรับดี ส่งเสริมเกษตรกรหน้าใหม่ให้เลี้ยงวัวออร์แกนิก   นอกจากนี้ ทางโรงงานยังเป็น Zero Waste ไม่ปล่อยของเสีย ดูแลสิ่งแวดล้อมครบวงจร โดยแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ให้พนักงานขายเป็นรายได้เสริม ขยะอาหารนำไปเลี้ยงสัตว์ มีโรงงานไบโอดีเซลขนาดเล็ก เพื่อนำน้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหาร นำไปผลิตน้ำมันดีเซลเติมรถปิกอัพสำหรับส่งนม   หนึ่งสิ่งที่ทำให้แบรนด์ Dairy Home แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาด ก็คือ การนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาสินค้า ซึ่งสินค้าที่ขึ้นชื่อคือ นม Bed Time ที่ช่วยให้หลับสบาย เป็นหนึ่งในสินค้าที่ใช้งานวิจัยเข้ามาพัฒนาสูตรด้วย     ฟาร์มโชคชัย ดินแดนแห่งคาวบอยเมืองไทย ก่อตั้งในปี 2500 โดยคุณโชคชัย บูลกุล ตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คุณโชคชัย เป็นผู้ที่ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบคาวบอยมาตั้งแต่เด็กและใฝ่ฝันจะเห็นฝูงโคตัวใหญ่ พร้อมกับเห็นฝูงม้าที่มีคาวบอยขี่   อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกนั้นคุณโชคชัยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จัดหาเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่กองทัพอากาศอเมริกัน ในปี 2512 บริษัทได้บุกเบิกกิจการฟาร์มโคเนื้อจนถึงปี 2519 ฟาร์มโชคชัยประสบปัญหาการผลิต ทำให้ผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจโคนม จนได้สร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมขึ้น ในปี 2535 เจอวิกฤตอีกครั้งทำให้มีหนี้สินกว่า 500 ล้านบาท จึงต้องขายธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์นมเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินในปี 2537 โดยคงไว้แต่เพียงธุรกิจหลักคือ ฟาร์มโคนม   หลังจากนั้นคุณโชค …

2 อาณาจักรน้ำนมวัวแห่งใหญ่ ของภาคอีสาน Dairy Home vs Farm Chokchai อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง  สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด

พามาเบิ่ง  สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานมากที่สุด ในแต่ละจังหวัด   สำหรับเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรมาระยะหนึ่งอาจเริ่มหาช่องทางการผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการขอรับรองมาตรฐานมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้สินค้านั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับการความต้องการ ตามข้อกำหนดในมาตรฐานเดียวกัน . มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) เป็นแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานรับรองแหล่งผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากไม่ใช้สารเคมีแล้ว เมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี หรือมาจากกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี และมีระยะปรับเปลี่ยนจากการปลูกแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สารเคมีในแปลงปลูกสลายตัวไปในระดับที่ปลอดภัย จึงจะได้รับการรับรอง   มาตรฐานการเกษตรของสินค้าเกษตรในอีสานยังมีจำนวนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มาตรฐาน GAP อยู่น้อยเมื่อเทียบกับทั้งประเทศ โดยอันดับ 1 ภาคเหนือ (37.1%) อันดับที่ 2 ภาคกลาง (26.2%) อันดับที่ 3 ภาคอีสาน (17.3%) และอันดับที่ 4 ภาคใต้ 16.4% ซึ่งหากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังจะเป็นจุดแข็งรายพื้นที่ ที่สามารถยกระดับภาคเกษตรของพื้นที่ได้   อ้างอิงจาก:  สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ https://actorganic-cert.or.th/th/manual-th/organicstandard-th/ https://www.baanlaesuan.com/233023/garden-farm/farm-guru/gapthai #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สินค้าเกษตร

ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16 อาชีพ กันยายน 2565

กันยายน 2565 ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 16 อาชีพ 400-650 บาทต่อวัน   วันที่ 13 มิถุนายน 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมตามกระทรวงแรงงานเสนอ โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ ทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2565   ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อ “พ้นกำหนด 90 วัน” นับตั้งแต่วันออกประกาศ (วันที่ 9 กันยายน 2565) และเมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป โดยการปรับขึ้นค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 16 อาชีพ     อ้างอิงจาก:  https://www.prachachat.net/csr-hr/news-953264  https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2022/06/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%8911.pdf    #ISANInsightAndOutlook #ค่าจ้างขั้นต่ำ #แรงงาน #อีสาน

พามาเบิ่ง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน ของภาคอีสาน

พามาเบิ่ง  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน ของภาคอีสาน ภาคอีสานมี ค่าเฉลี่ยของค่าแรงอยู่ที่อันดับที่ 4 ของประเทศ อัตราค่าจ้างของกรุงเทพฯถ้าเทียบกับต่างจังหวัดแล้ว อัตราค่าจ้าง และสวัสดิการของงานต่างๆสูงกว่าค่อนข้างมาก จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนต่างจังหวัดหลายคนจึงเลือกเข้าทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อรายได้และสวัสดิการอื่นๆที่เพิ่มขึ้น แต่ถึงแม้รายได้จะสูง ค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ก็สูงไม่ต่างกัน     อ้างอิงจาก: https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2020/01/Prakadwage10-6Jan2020.pdf  https://www.amarintv.com/spotlight/economy/detail/23019    #ISANInsightAndOutlook #ค่าจ้างขั้นต่ำ #แรงงาน #อีสาน

เกษตรกรเตรียมรับราคาปุ๋ยแพง หลังกระทรวงพาณิชย์ไฟเขียวขึ้นราคา

เกษตรกรเตรียมรับราคาปุ๋ยแพง หลังกระทรวงพาณิชย์ไฟเขียวขึ้นราคา   การนำเข้าปุ๋ยเคมีของไทย มีประมาณ ปีละ 5 ล้านตัน เป็นการนำเข้าจาก จีน ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย-เบลารุส แคนาดา เยอรมนี เบลารุส รัสเซีย ตะวันออกกลาง ยูเออี เป็นต้น  ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับสูงขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว จนถึงต้นปี 2565 ที่รัสเซียประกาศยึดยูเครนและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ยิ่งทำให้ราคาปุ๋ยปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกเท่าตัว    ซึ่งประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศเกือบ 100%  โดยในช่วงที่ผ่านมาผู้ค้าปุ๋ยเคมีบางราย มีการชะลอนำเข้าเนื่องจากประสบปัญหาการขาดทุนเนื่องจากไม่สามารถปรับราคาได้เพราะปุ๋ยเป็นสินค้าควบคุม ทางผู้ค้าปุ๋ยได้มีการยื่นเรื่องของปรับราคาปุ๋ยมาเป็นระยะๆแล้ว สุดท้ายกรมการค้าภายในก็ไฟเขียวให้ปรับราคาปุ๋ยหน้าโรงงานหลายสูตรตามที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้าเสนอมา   ทั้งนี้ก่อนหน้าเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านทางกลุ่มผู้ค้าและผู้ผลิตปุ๋ยไทย ระบุว่า  กรมการค้าภายในได้อนุญาตให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมี ทยอยปรับขึ้นราคาหน้าโรงงานแล้ว ตามต้นทุนแม่ปุ๋ย และค่าขนส่งปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี  ซึ่งจะทำให้ราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ที่กำลังมาถึงนี้มีราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20-30% จากต้นปี   จากข้อมูลเว็ปไซต์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานราคาปุ๋ยเคมีสูตรสำคัญ ตั้งแต่ ม.ค.-พ.ค. พบว่า  ราคาปุ๋ยเคมีสูตรสำคัญมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาขายปลีกท้องถิ่นของเดือนพ.ค.  ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 ราคา  27,200  บาทต่อตัน แม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 ราคา 25,204 บาทต่อตัน ปุ๋ยสูตร  16-20-0 ราคา 20,313 บาทต่อตัน   ส่งผลให้เกษตรกรต้องมีต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ต้องปรับราคาของผลผลิตที่ได้สูงขึ้น ผู้บริโภคคนไทยต้องเตรียมรับมือสินค้าเกษตรแพงและการขาดแคลนตลาดอีกด้วย     อ้างอิงจาก : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร https://www.bangkokbiznews.com/business/1012009  https://www.bangkokbiznews.com/news/1006058  https://www.thansettakij.com/economy/519298    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #น้ำตาล #ปุ๋ยแพง #ราคาปุ๋ย #ปุ๋ยเคมี