Siree Jamsuwan

Influencer ชื่อดังในอีสาน ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง 

Influencer ชื่อดังในอีสาน  ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง    อ้างอิงจาก:  https://www.bobswinereviews.com/11am-cafe-and-space/ https://www.youtube.com/watch?v=dK6xwmBpAtI  https://www.youtube.com/watch?v=LQylr-U1jaw  https://www.youtube.com/watch?v=8tJAia7VCKA  https://www.youtube.com/watch?v=2OXZKumgoy0  https://www.youtube.com/watch?v=y2lysYQ5JvM&t=8s    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #MayyR #11AM #Paweenees #Fromscrath #แตงโมอวบอึ๋ม #แตงโมแซ่บเวอร์ #ICEPADIE #ไอซ์พาดี้ #HappySunday

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง    เมื่อพูดถึงอีสาน หลายคนจะนึกถึงอาหารอีสานที่มีความแซ่บ ทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด เป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด วันนี้ ISAN Insight จะพาทุกคนมารู้จักกับร้านอาหารอีสาน ที่มาไกลถึงกรุงเทพฯ   ตำมั่ว (tummour) ตอนนี้ ตำมั่ว ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด ศิรุวัฒน์เสริมว่าการตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย อีกทั้งเพื่อให้จดจำง่ายสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ ได้ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นอย่าง Music marketing โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้องห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 50 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก   ซาว (ZAO) ซาวอุบล คือร้านอาหารอีสานบนถนนเลี่ยงเมืองอุบลที่ก่อตั้งโดย คุณณัฐธิดา พละศักดิ์ (อีฟ) อดีตแฟชั่นดีไซเนอร์ที่กลับบ้านมาตั้งหลักปักฐานทำธุรกิจรถไถนาและขยายออกมาเป็นร้านอาหารอีสานสูตรจากยายจุย ภูภักดี ก่อนจะเป็นร้านซาวอุบล อีฟเคยทำโปรเจกต์ลาวดีเพื่อหาคำตอบให้กับอาหารอีสาน และค่อยๆ เรียนรู้การเลือกใช้วัตถุดิบมาทำอาหารตามฤดูกาลของคนอีสาน การถนอมอาหาร รวมทั้งการปรุงอาหาร โดยเป้าหมายคือการขยายให้ซาวอุบลเติบโตเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน เพราะเลือกใช้พืชผัก เนื้อสัตว์ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาขายเอง ตั้งชื่อร้านว่า ซาวอุบล เพราะในภาษาภาษาอีสานคำว่า “ซาว” แปลว่าควานหรือคว้าอะไรบางอย่างมาใส่ สื่อได้ว่ามีอะไรก็ซาวมาทำอาหาร ซาวพืชผักสวนครัวมา ซาววัตถุดิบที่ชาวบ้านนำมาจากต่างอำเภอ    เผ็ดเผ็ด (Phed Phed) กว่า 6 ปี ของการเริ่มต้นทำร้านสาขาแรก (ตั้งแต่ปี 2559) มาวันนี้เผ็ดเผ็ดสามารถปักหมุดหมายให้บริการลูกค้าในกว่า 6 สาขา ท่ามกลางสถานการณ์ความซบเซาของเศรษฐกิจ และธุรกิจร้านอาหารอีสานที่ดูจะเป็น Red Ocean ในประเทศไทย  ไม่ต้องมีชะลอม กระติ๊บข้าวเหนียว หม้อดิน หรือพร็อพใดๆ ที่สื่อถึงความเป็นร้านอาหารอีสานให้มากความ เพราะเผ็ดเผ็ดเลือกที่จะหยิบจับความโมเดิร์น ความทันสมัย และลุคที่แตกต่างออกไปมาออกแบบร้านของพวกเขาในแต่ละสาขาให้หวือหวา และเก๋ไก๋ สาเหตุที่ทำให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายของ โควิด-19 ได้ คือเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยการรับลูกค้าในรูปแบบการ Take Away หรือเดลิเวอรี่ด้วย โดยปัจจุบันรายได้ของพวกเขาในส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วนมากถึงกว่า 40-50% ต่อสาขาเลยทีเดียว  เป้าหมายในอนาคต อาจจะเลือกแตกแบรนด์ไปทำอาหารในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ส้มตำ อาจจะเป็นแบรนด์สินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก โดยสาระสำคัญคือการที่ทั้งคู่ยังคงต้องสนุก และมีความสุขในสิ่งที่พวกเขาได้ทำ     อ้างอิงจาก:  https://sumrej.com/sumrej-class-best-tummour/ https://tummouroriginal.com/about/  https://adaymagazine.com/zao-ubon/  https://urbancreature.co/zao-ekkamai/  https://thestandard.co/zao-ekkamai-branch/  https://adaymagazine.com/taste-1/  https://www.phedphed.com/?fbclid=IwAR3n2QhxZm70dzOietrM36mGSeF2EauwhjOdDi4wYipzfK15WX0ExHDvWPg  https://thestandard.co/phed-phed-cafe-unique-strategy-that-no-one-else-does/    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ตำมั่ว #tummour #ซาว #ZAO …

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง อ่านเพิ่มเติม »

มิตรผล ฟื้นชีพตึกร้างทุ่มพันล้านพลิกโฉมสู่ “ Khon Kaen Innovation Center ”

มิตรผล ฟื้นชีพตึกร้างทุ่มพันล้านพลิกโฉมสู่  “ Khon Kaen Innovation Center ”   อาคารร้าง สูง 28 ชั้น ที่ตั้งใจกลางเมืองขอนแก่น ของกลุ่มโฆษะ มากว่า 23 ปี กำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่อประธานใหญ่ของกลุ่มน้ำตาลมิตรผล คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ได้ตัดสินใจเจรจากับประธานกลุ่มโฆษะ คุณชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์  ซื้อที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวเมื่อช่วงปลายปี 2560 พร้อมกับจัดตั้ง “บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด” ขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และให้บริการบริหารอาคารดังกล่าว ด้วยทุนจดทะเบียน 980 ล้านบาท   “ Khon Kaen Innovation Center ” ศูนย์นวัตกรรมด้านการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และไบโอเทค โดยหัวใจหลักคือ เป็นศูนย์นวัตกรรมที่เน้นการบ่มเพาะธุรกิจ (Incubation center) ให้กับสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในท้องถิ่นหรือทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาใช้บริการได้ ด้วยพื้นที่ห้องปฏิบัติการ 1,200 – 1,300 ตารางเมตร หรือกินพื้นที่ทั้งหมด 1 ชั้นครึ่งให้กับการวิจัยและการพัฒนาโดยเฉพาะ   อีกทั้งยังมีพื้นที่โรงแรมเพื่อเตรียมพร้อมรองรับคนจากที่ต่างๆ บริการโดยโรงแรม Ad Lib ซึ่งจะอยู่พื้นที่ด้านบนสุดของอาคาร ชั้น 27-28 เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว ที่ทันสมัย มีวิวทิวทัศน์สวยงาม เห็นตัวเมืองขอนแก่นได้โดยรอบ   ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ยังมีแผนที่จะเปิดเป็นศูนย์ธุรกิจด้านบริการสุขภาพ (Wellness Clinic) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีโครงการ Medical Hub ให้มีบริการที่ทันสมัยใจกลางเมือง ตอบโจทย์กับผู้มาใช้บริการ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังมี บมจ.บ้านปูเข้ามาช่วยดูแลพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ภายในอาคารให้อีกด้วย และจะมีการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar System) และศูนย์บริการให้เช่ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) ต่ออีกในอนาคต และ คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการในช่วงสิ้นปี 65 นี้   อ้างอิงจาก:  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://www.nia.or.th/KKInnoCenter  https://www.prachachat.net/local-economy/news-541037  ขอบคุณรูปภาพจาก: Khon Kaen Talk

Update “ถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช” ดำเนินการแล้วกว่า 80% คาดสร้างเสร็จปี 66

Update “ถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช”  ดำเนินการแล้วกว่า 85% คาดสร้างเสร็จปี 66   ถนนวงแหวน (Ring Road) เป็นถนนที่สร้างขึ้นล้อมรอบตัวเมือง สามารถเดินทางจากฝั่งเมืองหนึ่ง ไปอีกฝั่งหนึ่งของเมืองได้โดยไม่ต้องเข้าเมืองเพื่อเปลี่ยนเส้นทาง ช่วยแบ่งเบาภาระการจราจรและรองรับการขยายตัวของเมือง โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา (วงแหวนรอบเมืองโคราช) งบประมาณรวม 12,429 ล้านบาท มีระยะทางทั้งหมด 110 กิโลเมตร คืบหน้าแล้วกว่า 85% ปัจจุบันยังเหลือการก่อสร้างอีกประมาณ 30 กิโลเมตร คิดเป็น 15% จากงบประมาณรวมทั้งหมด คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการปี 2566   โครงการได้เริ่มก่อสร้างถนนวงแหวนรอบเมืองขึ้นในปี 2549 เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่จึงมีการแบ่งงานก่อสร้างออกเป็นช่วงๆ เริ่มตั้งแต่ทางหลวงหมายเลข 205 – ทางหลวงหมายเลข 224 อยู่ในพื้นที่ อ.ปักธงชัย, อ.เมืองนครราชสีมา และ อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นถนนวงแหวนรอบเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีระยะทางยาวที่สุดในต่างจังหวัด    อีกทั้งยังถือเป็นถนนวงแหวนที่มีระยะทางยาวเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองมาจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) การก่อสร้างของโครงการ แบ่งออกเป็น 11 ตอน ได้แก่ ทิศเหนือ 4 ตอน (ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร) ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 ตอน อีก 2 ตอนอยู่ระหว่างดำเนินการ และทิศใต้ 7 ตอน (ระยะทางประมาณ 62 กิโลเมตร) ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 ตอน อีก 5 ตอนอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยตลอดแนวที่ถนนตัดผ่านนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและพื้นที่เกษตรกรรม โดยที่ผ่านมา ได้เปิดใช้เส้นทางวงแหวนด้านใต้บางส่วน ระยะทางรวม 29.22 กิโลเมตร ที่ต้องการบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะเป็นเส้นทางที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เส้นทางและประชาชนในพื้นที่ตัวเมืองนครราชสีมาและโดยรอบ ส่งเสริมศักยภาพทางด้านการคมนาคม การค้า การขนส่ง โดยรวมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสามารถรองรับการขยายตัวของผังเมืองรวมในอนาคตอีกด้วย   อ้างอิงจาก : https://www.thansettakij.com/economy/534019  http://www.doh.go.th/content/page/news/144083  https://mgronline.com/columnist/detail/9650000004673  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โคราช #นครราชสีมา #ถนนวงแหวนรอบเมืองโคราช #วงแหวนรอบเมืองโคราช

พามาเบิ่ง สถิติจำนวนประชากรของภาคอีสาน ข้อมูลเดือน มิถุนายน 2565

พามาเบิ่ง สถิติจำนวนประชากรของภาคอีสาน ข้อมูลเดือน มิถุนายน 2565   จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ามีเปอร์เซ็นการเปลี่ยนแปลงของประชากร เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วส่วนใหญ่มีค่าติดลบ นั่นคือมีการลดลงของจำนวนประชากรในแทบทุกพื้นที่  อีกทั้งอัตราการเกิดของประชากรไทยที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ขณะที่ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะช้าลง สิ่งที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจมาจากความเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สมดุลประชากรไทยนั้นเปลี่ยนไปจากเดิม ตั้งแต่การแต่งงานช้า ความเครียดจากการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อบุตร และที่สำคัญก็คือภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วงวิกฤติโควิด   อ้างอิงจาก: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view  https://www.bangkokbiznews.com/columnist/984841    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ประชากรอีสาน #สถิติประชากร

แรงงานอีสาน ไปทำงานต่างประเทศ  ที่ประเทศไหนมากที่สุด ตั้งแต่ต้นปี 2565

แรงงานอีสาน ไปทำงานต่างประเทศ  ที่ประเทศไหนมากที่สุด ตั้งแต่ต้นปี 2565 (มกราคม – มิถุนายน 2565)   ตั้งแต่ เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2565 แรงงานภาคอีสานที่ไปทำงานที่ต่างประเทศเป็นจำนวนทั้งหมด 19,946 คน โดยประเทศที่แรงงานภาคอีสานเดินทางไปทำงานมีทั้งหมด 71 ประเทศ  โดยมี 5 อันดับแรกคือ ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, อิสราเอล, สวีเดน และ สาธารณรัฐเกาหลี   อ้างอิงจาก:  https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/e8a65d34d256eaa5599a4a95cce273ef.pdf  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แรงงานอีสาน

พามาเบิ่ง สำรวจแรงงานอีสานที่ไปทำงานต่างประเทศ ในครึ่งปีแรก 2565 

พามาเบิ่ง สำรวจแรงงานอีสานที่ไปทำงานต่างประเทศ ในครึ่งปีแรก 2565    ในครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน) แรงงานภาคอีสานที่ไปทำงานที่ต่างประเทศเป็นจำนวน 19,946 คน โดยจังหวัด (ตามภูมิลำเนา) ของแรงงานที่ไปทำงานมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ อุดรธานี, นครราชสีมา, ชัยภูมิ, ขอนแก่น และ บุรีรัมย์ ตามลำดับ   สาเหตุที่ทำให้แรงงานรุ่นใหม่ ออกไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากปัจจัยความต้องการแรงงานของหลายประเทศ ที่มีค่าแรงค่อนข้างสูง และบางประเทศประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ขาดแคลนแรงงาน เช่น เกาหลี และหลายประเทศในยุโรป    อีกทั้ง เนื่องจากสภาวะทางการเมืองในประเทศ และสถานการณ์โควิด ทำเด็กจบใหม่ไม่มีงานทำ เลยทำให้หลายคนต้องดิ้นรนไปหางานในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนที่จบการศึกษาสูง ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทย   ดังนั้นหน่วยงานรัฐ และกระทรวงแรงงาน ควรมีมาตรการสนับสนุนแรงงานรุ่นใหม่ ด้านการเติบโตทางตำแหน่งงาน และเงินเดือน ในด้านแรงงานที่ไปเรียนต่างประเทศ ควรมีการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้คนที่มีความถนัดเฉพาะทางกลับมาทำงานที่ไทย ในกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพมากขึ้น   อ้างอิงจาก: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/e8a65d34d256eaa5599a4a95cce273ef.pdf  https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/be8fae18f661917168e92fcbc2c1459b.pdf  https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2380467  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แรงงานอีสาน

ส่องยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน ครึ่งปีแรก ทำรายได้เท่าไหร่ ?

ส่องยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน ครึ่งปีแรก ทำรายได้เท่าไหร่ ? สินค้า OTOP (One Tambon One Product) เป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล สะท้อนเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 10-20% ตั้งแต่ปี 2546 ในอนาคต สินค้าโอทอปหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสถานการณ์ของโลก โดยเฉพาะหลังโควิด-19 ซึ่งผู้บริโภคให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยั่งยืน ความเท่าเทียม ความแท้จริง ความหลากหลาย และสุขภาพที่ดี คุณค่าเหล่านี้จะต้องเข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์โอทอปยุคใหม่ นอกจากนี้ โลกได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ช่องทางออนไลน์และการชำระเงินแบบ cashless มีความสะดวกง่ายดาย โอกาสจึงเปิดขึ้นมาก โดยเฉพาะหากได้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และคล่องเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ ได้มีโอกาสกลับบ้านเกิด ภาครัฐจึงควรมีโครงการจูงใจให้คนกลับบ้าน สร้าง OTOP Academy เพื่อให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้กลับเข้าไปชุบชีวิตผลิตภัณฑ์เดิม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หมายเหตุ : รายได้รวม เป็นรายได้จากทางยอดขายออนไลน์ และประเภทสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด เป็นรายได้รวมจากการขายออนไลน์และหน้าร้าน อ้างอิงจาก: http://logi.cdd.go.th/otop/ https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1013822 http://logi.cdd.go.th/otop/cdd_report/otop_r10.php… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #OTOP #สินค้าOTOP #นครราชสีมา #อุดรธานี #ศรีสะเกษ #อุบลราชธานี #ขอนแก่น #ร้อยเอ็ด #สกลนคร #สุรินทร์ #บุรีรัมย์ #อำนาจเจริญ

นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี แห่งแรกในอีสานใต้ คาดเฟส 1 แล้วเสร็จปี 2565

นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี แห่งแรกในอีสานใต้ คาดเฟส 1 แล้วเสร็จปี 2565   นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายปองพล อดิเรกสาร ประธานกรรมการบริษัท อุบลราชธานีอินดรัสตี้ จำกัด นำคณะผู้บริหารบริษัทฯ เข้าพบ เพื่อรายงานความคืบหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นนิคมแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ตั้งอยู่ใน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน คาดว่าเฟสที่ 1 จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565 ในปี พ.ศ. 2565 ได้มีแผนดำเนินการดังนี้ EIA ได้รับการอนุมัติ (EIA: การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ), การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) อนุมัติโครงการ, เริ่มการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ และ ขายที่ดินโครงการ  ในปี พ.ศ. 2571 มีแผนพัฒนาโครงการดังนี้ การดำเนินโครงการ แล้วเสร็จ 50-70% และการขยายพื้นที่นิคมฯ นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีสอดรับกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องพัฒนาสังคม พื้นที่ และยังเป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศและต่างประเทศ  มีบทบาทเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ที่พร้อมไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์ และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลง จะสามารถแข่งขันในตลาด CLMV และช่วยให้เกิดการสร้างงานคนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงการค้าใน 4 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน มีรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่จะช่วยสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในระดับนานาชาติ รวมทั้งยังมีจุดผ่านแดนที่สำคัญ ที่จะทำให้การขนส่งจากกรุงเทพฯ หรือจากท่าเรือภาคตะวันออกไปสู่พื้นที่ได้สะดวกขึ้น   อ้างอิงจาก :  สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี https://www.ubi.co.th/our-latest-news/1292 https://aic.moac.go.th/downloads/document/aic160963/009.pdf  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี #อุบลราชธานี #อุบลราชธานีอินดรัสตี้