Siree Jamsuwan

เริ่ดคัก ! ขอนแก่นจัดงาน “KhonKaen Pride For All” ส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ

เริ่ดคัก ! ขอนแก่นจัดงาน “KhonKaen Pride For All” ส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ   วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น. ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เป็นประธานเปิดงาน “KhonKaen Pride For All” เทศกาลไพรด์ Pride Month LGBTQ Pride Parades ไพรด์พาเหรด สำหรับงาน “KhonKaen Pride For All” เทศกาลไพรด์ Pride Month LGBTQ Pride Parades เป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์การค้าเซ็นทรัลขอนแก่น ร่วมกับ เทศบาลนครขอนแก่น / มหาวิทยาลัยขอนแก่น /มหาวิทยาลัยศรีปทุม / บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง / เครือข่ายความหลากหลายทางเพศภาคอีสาน(IDGN) และสปป.ลาว ร่วมสร้างปรากฏการณ์เฉลิมฉลองความสำเร็จแบบจัดเต็มทุกมิติของความไพรด์ การขับเคลื่อนให้มีการยอมรับ กลุ่ม LGBTQ+ ในเดือนมิถุนายนของทุกปีในหลายประเทศจะมีการจัดงานของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่เราเรียกกันว่า เป็นเดือนแห่ง เทศกาลไพรด์ หรือ Pride Month โดยมักจะมีการเดินพาเหรดที่เรียกว่า LGBTQ Parades หรือ ไพรด์พาเหรด (Pride Parade) เป็นเทศกาลที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก ร่วมโบกธงสีรุ้ง เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเสมอภาคของชาว LQBTQ+ ทั่วโลก โดยภายในงานประกอบไปด้วย ขบวน Pride Parade ชมพาเหรดสีรุ้ง กับแฟชั่นสุดปังอลังการ รวมที่สุดแห่งความหลากหลาย , สนุกกับการประกวด Pride Contest Fashion Show พร้อมร่วมประกวด Miss LGBTQ+ Khonkaen ชิงเงินรางวัลกว่า 30,000 บาท และชมแฟชั่นโชว์สุดปัง! Rainbow Runway จากเหล่านางงาม และเซเลบริตีชื่อดัง   อ้างอิงจาก:  https://www.77kaoded.com/news/aekkapongputta/2444090    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #Pride Month #ขอนแก่น #LGBTQ #ความหลากหลายทางเพศ 

สัตว์น้ำจืดอีสาน จังหวัดใด๋มีหลายที่สุด ? 

สัตว์น้ำจืดอีสาน จังหวัดใด๋มีหลายที่สุด ?    ที่มา: กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สัตว์น้ำจืด #สัตว์น้ำจืดอีสาน

พามาเบิ่ง 5 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ในอีสาน

จากกระแสเงือกน้อยเมอร์เมด  มื้อนี่ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่ง 5 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในอีสาน   พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย จ.หนองคาย พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ตั้งอยู่ในตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย เป็นส่วนจัดแสดงสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ตื่นตาไปกับอุโมงค์ใต้น้ำยาวหลายสิบเมตร เหมือนกับการจำลองโลกใต้บาดาลลงไปสู่ชั้นล่าง ซึ่งเป็นโซนแสดงปลาน้ำจืด และปลาโบราณพื้นบ้าน ปลาลุ่มน้ำโขง ที่จัดแสดงไว้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือภายในอุโมงค์ใต้น้ำ ที่นักท่องเที่ยวจะได้ตื่นตาตื่นใจกับฝูงปลานานาชนิด มีทั้งปลาบึก ปลาตะเพียนสีสันสวยงาม และปลาอื่น ๆ อีกมากมาย การแสดงโชว์ดำน้ำ – วันอังคาร-ศุกร์ รอบ 14.00-14.30 น. – วันเสาร์-อาทิตย์ รอบ 11.00-11.30 น. และ 14.00-14.30 น.  วันและเวลาทำการ : ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00-17.00 น. ที่ตั้ง : เลขที่ 112 หมู่ 7 ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย https://goo.gl/maps/AJnFHBcRK1tdxVVZ7  ค่าเข้าชม เด็ก นักเรียน นักศึกษา 30 บาท, ผู้ใหญ่ 50 บาท ยกเว้นค่าเข้าชม ผู้สูงอายุแสดงบัตรประจำตัวประชาชน และเด็กที่มีความสูงน้อยกว่า 90 เซนติเมตร   สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด  จัดแสดงปลาและสัตว์น้ำจืด พร้อมทั้งนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับปลาและสัตว์น้ำจืดชนิดต่างๆ มีส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วย ตู้ปลาขนาดเล็กที่ฝังอยู่ในผนังรอบๆ อาคาร จำนวน 24 ตู้ ช่วงตรงกลางของอาคาร เป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร พร้อมอุโมงค์แก้วผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิดและรอบทิศทาง ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ : ถนนสุนทรเทพ (หน้าวัดบึงพระลานชัย) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทรศัพท์ : 043-511-286 https://goo.gl/maps/iUxed16UvtqWwLAf7  วันและเวลาทำการ : เปิดให้เข้าชม วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 08.30 – 16.30 น. ค่าเข้าชม ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม (แต่มีตู้สำหรับให้บริจาคค่าอาหารสัตว์น้ำแทน)   สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด จ.สกลนคร ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนคร มีพื้นที่ทั้งหมด 157 ไร่ …

พามาเบิ่ง 5 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง  6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2566 (ม.ค. – เม.ย.)

พาส่องเบิ่ง  6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2566 (ม.ค. – เม.ย.)   ในเดือน มกราคม – เมษายน 2566 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 74,160 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า   อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก   อ้างอิงจาาก: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว #หนองคาย #มุกดาหาร #อุบลราชธานี#เลย #นครพนม #บึงกาฬ

พฤติกรรมผู้ชมของธุรกิจหมอลำ และ การออกแบบบริการสำหรับผู้ชมหมอลำ (Service Design)

มื้อนี่ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0   พฤติกรรมผู้ชมของธุรกิจหมอลำ และ การออกแบบบริการสำหรับผู้ชมหมอลำ (Service Design)   สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง  คณะเศรษฐศาสตร์  รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม   วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  นางสาวรพีพรรณ แคนลาด  ผู้ช่วยนักวิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์ มงคลคำ  ผู้ช่วยนักวิจัย  นายอัษฎาวุฒิ ศรีทน   ผู้ช่วยนักวิจัย  นายศุภชัย เสถียรหมั่น   ผู้ช่วยนักวิจัย   📌 สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=362&fbclid=IwAR11ktt2ff5LKbh1UlB5-3LY79Eq-DNH2otxXAeE55_CdTuFB_MYVP7j9AA     ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/   Website : https://isaninsight.kku.ac.th    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #หมอลำ #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ #มข #คณะเศรษฐศาสตร์   

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?    มื้อนี่ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0   สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง  คณะเศรษฐศาสตร์  รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์  ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม   วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  นางสาวรพีพรรณ แคนลาด  ผู้ช่วยนักวิจัย  นางสาวอัจฉราภรณ์ มงคลคำ  ผู้ช่วยนักวิจัย  นายอัษฎาวุฒิ ศรีทน   ผู้ช่วยนักวิจัย  นายศุภชัย เสถียรหมั่น   ผู้ช่วยนักวิจัย   การแสดงหมอลำเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านดั้งเดิมของอีสานและเป็นการแสดงวัฒนธรรมทางดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ฤดูกาลแสดงในรอบหนึ่งปีจะเริ่มต้นหลังจากเทศกาลออกพรรษา และทำการแสดงต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 เดือน (ตุลาคม – พฤษภาคม) ก่อนที่จะปิดฤดูกาลหรือพักวงเป็นเวลา 4 เดือนในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – กันยายน)  หากพิจารณาธุรกิจหมอลำตามการลงทุนและการจ้างงาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ราคาจ้างงาน 240,000-300,000 บาท ขนาดกลางราคาค่าจ้าง 200,000-240,000 บาท และขนาดเล็กราคาค่าจ้าง 150,000-200,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ต้องเดินทางไปจัดการแสดง การแสดงหมอลำเป็นธุรกิจบันเทิงที่ทำให้เกิดการจ้างแรงงานในหลายรูปแบบ อาทิ นักแสดงหมอลำ นักดนตรี แดนเซอร์ พนักงานประกอบเวที คนขับรถ เป็นต้น ในภาพรวมของธุรกิจหมอลำมีการจ้างงานไม่น้อยกว่า 2,000 คนต่อปี แสดงให้เห็นว่าความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจหมอลำส่งผลต่อการพัฒนาหรือกระตุ้นเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปด้วย  ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาอุตสาหกรรมหมอลำมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? มีผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ COVID-19 นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผลกระทบทางด้านอุตสาหกรรมหมอลำบันเทิง เมื่อสถานการณ์ปกติ ผลผลิตรวมมูลค่า 6,615.2 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีผลผลิตรวมน้อยลงอย่างมากซึ่งเหลือเพียง 1,153.4 ล้านบาท และทางด้านงผลกระทบต่อการจ้างงาน เมื่อสถานการณ์ปกติ การจ้างแรงงานเฉพาะในส่วนของการจัดแสดงหมอลำประมาณ 4,811 คน เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีการจ้างงานที่น้อยลงเหลือเพียงประมาณ 1,399 คน เท่านั้น   📌 สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=362&fbclid=IwAR11ktt2ff5LKbh1UlB5-3LY79Eq-DNH2otxXAeE55_CdTuFB_MYVP7j9AA    ติดตาม ISAN Insight & …

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

ปังหลาย “ตำนัว” รุกตลาดเรดโอเชียน  ส่ง“น้ำปลาร้าปรุงรส” หนุน MUT 2023

ปังหลาย “ตำนัว” รุกตลาดเรดโอเชียน  ส่ง“น้ำปลาร้าปรุงรส” หนุน MUT 2023   “ตำนัว” รุกตลาดน้ำปลาร้าสำเร็จรูปส่ง 2 สูตรใหม่เสริมทัพชิงส่วนแบ่งตลาดเรดโอเชียน งัดกลยุทธิ์การตลาดหนุนส่งสาวงามจากจังหวัดสกลนครสู่เวทียูนิเวิร์สชิงมงกุฏนางงามระดับประเทศ Miss Universe Thailand 2023 นางสาวนิภารัตน์ สหเจริญพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง บริษัท ไทยโคริ โนมิโมโน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำปลาร้าปรุงรส “ตำนัว” เผยว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีในการดำเนินธุรกิจผลิตน้ำปลาร้าสำเร็จรูปแบรนด์ “ตำนัว” บริษัทสามารถสร้าการเติบโตและขยายตลาดออกไปได้ทั่วประเทศและต่างประเทศ สร้างยอดขายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านขวด สร้างมูลค่ารายได้กว่า 300 ล้านบาท ปัจจุบันแบรนด์น้ำปลาร้าตำนัวมีวางจำหน่าย 2 สูตรหลัก คือ สูตรดั้งเดิม มี 2 ขนาด คือ 350 มล. และ 1,500 มล. ซึ่งเป็นสูตรที่ขายดีที่สุด เนื่องจากรสชาติที่ถูกปาก นำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย และ สูตรกัญชา เป็นสูตรที่จัดทำพิเศษสำหรับผู้ที่ต้องการความผ่อนคลายแต่ยังคงรสชาติและกลิ่นปล้าร้าอยู่ ซึ่งแบรนด์ของเราสามารถขอใบอนุญาตได้เป็นเจ้าแรกในไทย ใส่ได้กับอาหารทุกอย่าง แกง ตำ ยำ ซึ่งจะมีความเข้มข้นและนัวถูกปากคนไทย   พร้อมกันนี้ยังได้ ฉบับปรับสูตรใหม่ล่าสุด ให้สอดรับความต้องการบริโภคจากลูกค้า คือ สูตรดับเบิ้ลโหน่ง สำหรับกลุ่มลูกค้าสายอีสานฮาร์ดคอร์ ชอบกลิ่นโหน่ง แรงๆ มีกลิ่นเท็กซ์เจอร์ของเนื้อปลาที่ฉุน มีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งเป็นสูตรที่ค่อนข้างผลิตยาก ด้วยความซับซ้อนของกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ความเข้มข้น และกลิ่นที่เป็นสูตรเฉพาะตามแบบฉบับของตำนัวเท่านั้น และ สูตรอโรมา กลิ่นไม่แรงมาก สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มลองทานปลาร้า แต่รับรองว่าได้รสนัวไม่แพ้รสอื่นๆ   นอกจากนี้ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคและสร้างประสบการณ์ร่วมกับผลิตภัณฑ์สูตรใหม่ บริษัทฯ ได้เตรียมจัดกิจกรรมการตลาดครอบคลุม 360 องศา และร่วมสนับสนุนเวทีการประกวดระดับโลกเพื่อแสดงถึงความเป็นสากลอย่างเวทีมิสยูนิเวิร์สไทย์แลนด์ โดยได้ร่วมเป็น City Director ในเวที MUT Sakon Nakhon ส่งตัวแทนสาวงามจากสกลนครสู้ศึกในระดับประเทศ และพร้อมเสิร์ฟน้ำปลาร้า “ตำนัว” ทุกสูตรทั่วโลกในปี 2566 นี้   สำหรับแผนการขยายธุรกิจแบรนด์น้ำปลาร้าตำนัวในระยะ 1-5 ปีจากนี้ บริษัทฯ วางเป้าหมายการขยายฐานการผลิตเตรียมลงทุนกว่า 200 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานหมักปลาร้า ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อควบคุมควบคุมมาตรฐานตั้งแต่ต้นน้ำไปยันปลายน้ำถึงมือผู้บริโภค รวมถึงเป็นการช่วยลดต้นทุนขาย ดันมาร์จินเพิ่มจากค่าขนส่งปลาร้าหมักจากเดิมเรามีพาร์ทเนอร์ที่จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนส่งมาที่โรงงานผลิต 2 แห่ง ที่จังหวัดหนองคายซึ่งเป็นโรงงานขนาดกลาง และที่จังหวัดสกลนครเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ปัจจุบันกำลังการผลิตอยู่ที่ 120,000 ขวดต่อวัน เพื่อจำหน่ายภายใต้แบรนด์ตำนัวและช่องทาง OEM ซึ่งเป็นรายได้หลัก 2 ทางของบริษัทฯ …

ปังหลาย “ตำนัว” รุกตลาดเรดโอเชียน  ส่ง“น้ำปลาร้าปรุงรส” หนุน MUT 2023 อ่านเพิ่มเติม »

มาฮู้จัก  “แก่งสามพันโบก” แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน  สุด Unseen หนึ่งเดียวในไทย

มาฮู้จัก  “แก่งสามพันโบก” แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน  สุด Unseen หนึ่งเดียวในไทย   #แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน สุด Unseen หนึ่งเดียวในไทย ที่ “#สามพันโบก” จ.อุบลราชธานี ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เชิญชวนประชาชนเดินทางท่องเที่ยวเช็คอิน โดยใช้การเดินทางผ่านถนนทางหลวงชนบทสาย อบ.4090 จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศให้เป็นที่รู้จักสู่ระดับสากล เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม     “สามพันโบก” แกรนด์แคนยอนแดนอีสาน แหล่งท่องเที่ยว Unseen เป็นความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น อยู่ที่ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ริมแม่น้ำโขงที่ถูกสายน้ำกัดเซาะเป็นแอ่งกว่า 3,000 โบก โบก หมายถึง แอ่ง หรือบ่อน้ำลึก นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่แนะนำให้ไปถ่ายรูปเช็คอินแล้ว ยังมีความพิเศษตรงที่จะมีมัคคุเทศน์ท้องถิ่นพานำเยี่ยมชมจุดต่าง ๆ พร้อมแนะนำการถ่ายภาพสะท้อนผืนน้ำในโบกที่รับรองว่าทุกท่านที่ได้มาจะกลับไปพร้อมความประทับใจอย่างแน่นอน   ทั้งสระมรกต โบกวัดใจ หินมิกกี้เมาส์ หินหัวสุนัข โบกส่องจันทร์ และอีกมากมาย ซึ่งสามพันโบกจะปรากฏในช่วงน้ำลดเท่านั้น หรือช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน ของทุกปี โดยช่วงเวลาที่เหมาะจะมาเที่ยวคือช่วงเช้า หรือช่วงบ่ายถึงช่วงเย็น  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมล่องเรือกลางแม่น้ำโขงที่จะได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน และเห็นฝั่งประเทศลาวที่อยู่ตรงข้าม โดยจะมีจุดท่องเที่ยวใกล้เคียงอย่าง หาดหงส์ ผาหินศิลาเลข ลานหินปะการัง ลานหินสี ผาวัดใจ และหินแจกันเทวดาอีกด้วย   อ้างอิงจาก: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สามพันโบก #แกรนด์แคนยอน #เที่ยวอีสาน #Unseen #อุบลราชธานี 

เหตุเกิดจาก มิ้นท์ช็อกฟีเวอร์ อีสาน ปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย

เหตุเกิดจาก มิ้นท์ช็อกฟีเวอร์  ฮู้บ่ว่า ? ช็อกโกแลตมาจากโกโก้  อีสาน ปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทยเลยเด้อ   มินต์ช็อก ภาษาอังกฤษมาจากคำว่า Mint Chocolate เป็นรสชาติที่ค้นพบในยุคศตวรรษที่ 16 มีผู้บันทึกไว้ว่าเป็นรสชาติที่เกิดจากชาวยุโรปใส่มินต์ไปกับช็อกโกแลต หลังจากค้นพบรสชาตินี้จากอเมริกาใต้ รสชาติของมินต์ช็อก จะเป็นกลิ่นช็อกโกแลตผสมสมุนไพร บางคนเทียบคล้ายกับรสชาติยาสีฟัน ซึ่งช็อกโกแลตนั้นทำมาจากโกโก้นั่นเอง เป็นวัตถุดิบสำคัญในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และขนม แต่หลายคนคงยังไม่รู้ว่าทุกภูมิภาคของไทยรวมถึงภาคอีสานก็สามารถปลูกต้นโกโก้ได้ ซึ่งเป็นเพราะเหตุใด และมีโอกาสพัฒนาต่อยอดหรือไม่ วันนี้อีสานอินไซต์จะเล่าให้ฟัง   ทำไมภาคอีสานถึงปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย ก่อนหน้านั้นภาคอีสานมีเกษตรกรปลูกโกโก้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีความรู้ ปลูกมาแล้วผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ต้องเผชิญกับราคาต่อกิโลกรัมที่ไม่สูง และมีตลาดรับซื้อน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งก็มักมีปัญหาหลอกขายกล้าพันธุ์และไม่มารับซื้อตามสัญญา ประกอบกับสภาพภูมิอากาศของภาคที่ไม่ได้ร้อนชื้นหรือมีฝนตกชุก ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าอีสานไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้ ทั้งที่ปลูกได้ แต่หากอยากให้มีผลผลิตตลอดทั้งปีอาจต้องลงทุนระบบน้ำเพิ่ม ส่วนการที่ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกโกโก้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคใต้ เนื่องจากภายหลังความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงมีแนวคิดขยายพื้นที่เพาะปลูกในอีสาน โดยส่งเสริมให้ปลูกแทนสวนยางพาราที่มีอายุมากกว่า 25 ปีและให้น้ำยางน้อย หรือปลูกแซมพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเป็นรายได้เสริม   โอกาสในการเติบโตของโกโก้ไทย หากมองความได้เปรียบเชิงพื้นที่ที่สามารถเพาะปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศ บวกกับปัจจัยสนับสนุนอย่างเทรนด์รักสุขภาพ เนื่องจากโกโก้สามารถช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยให้อารมณ์ดี เพิ่มประสิทธิภาพความจำ และป้องกัน/รักษาโรคซึมเศร้าได้ รวมถึงเทรนด์ความยั่งยืนแบบ Zero Waste เพราะทุกส่วนของโกโก้สามารถนำมาแปรรูปได้ ก็ถือเป็นโอกาสเติบโตของโกโก้ไทยในอนาคต   ทั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ เกษตรกรที่สนใจควรศึกษาข้อมูลโกโก้ให้รอบด้านก่อนเริ่มเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปรับปรุงดิน และการจัดการน้ำ รวมถึงการเข้าใจ Contract Farming และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญา โดยเฉพาะคุณภาพผลผลิตที่โรงงานรับซื้อ และความเสียหายหากมีการยกเลิกสัญญา ส่วนภาคเอกชน ควรหาทางเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ผ่านการสร้างเอกลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการยกระดับคุณภาพสินค้าสู่มาตรฐานสากลเพื่อการขยายฐานลูกค้า และภาครัฐ ควรเป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรกับบริษัทที่รับซื้อ/โรงงานในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และอาจต้องอำนวยความสะดวกด้านระบบฐานข้อมูลให้ครบวงจร ตั้งแต่ทะเบียนสายพันธุ์ เนื้อที่ จำนวนเกษตรกร บริษัทที่รับซื้อ/โรงงาน ตลอดจนการนำเข้าและส่งออก เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรและเอกชนใช้วางแผนด้านการผลิต การตลาด และการลงทุน   อ้างอิงจาก กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานในการประชุมหารือพืชทางเลือกที่มีอนาคต (Future crops)   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โกโก้ #โกโก้ไทย #มิ้นท์ช็อก 

มาฮู้จัก “โคราชจีโอพาร์ค” (Korat Geopark) ที่ UNESCO รับรองเป็นอุทยานธรณีโลก

มาฮู้จัก “โคราชจีโอพาร์ค” (Korat Geopark) ที่ UNESCO รับรองเป็นอุทยานธรณีโลก   ยูเนสโกรับรอง #โคราชจีโอพาร์ค (Khorat Geopark ถูกรับรองเป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) แห่งที่ 2 ของไทย พ่วงด้วยการรับรองให้ จ.นครราชสีมา เป็นเมืองแห่ง 3 มงกุฎ เมืองที่ 4 ของโลก #จีโอพาร์ค (Geopark) หรืออุทยานธรณีคือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่นและวัฒนธรรมที่สำคัญและสัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งในด้านการอนุรักษ์การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจากล่างสู่บน (Bottom-up) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) รับรองให้ โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark) จังหวัดนครราชสีมา เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ถือเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้ไทยสร้างอีกประวัติศาสตร์ จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองแห่ง 3 มงกุฎ หรือ ทริปเปิลคราวน์ (Triple Crown) ถือเป็นเมืองที่ 4 ของโลก ต่อจากอิตาลี เกาหลีใต้ และจีน ที่มีดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก ในจังหวัดเดียวกัน ประกอบด้วย มรดกโลก (กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่), มนุษย์และชีวมณฑล (พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช) และ จีโอพาร์คโลก (โคราชจีโอพาร์ค) ทั้งนี้ โคราชจีโอพาร์ค มีความแตกต่างจากจีโอพาร์คโลก ที่มีอยู่ 177 แห่งทั่วโลก คือ เป็นดินแดนแห่งเควสตาและ ฟอสซิล (Cuesta & Fossil Land) ที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และวิถีชีวิตผู้คนกว่า 4,000 ปี ในพื้นที่ภูมิศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำลำตะคองตอนกลางถึงตอนล่าง โดยพัฒนาต่อยอดและขยายจากสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ดำเนินโครงการในระยะแรก นับตั้งแต่ปี 2537   อ้างอิงจาก: บทความ โคราชจีโอพาร์ค สู่จีโอพาร์คโลกยูเนสโก  ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : …

มาฮู้จัก “โคราชจีโอพาร์ค” (Korat Geopark) ที่ UNESCO รับรองเป็นอุทยานธรณีโลก อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top