Siree Jamsuwan

ปังหลาย ! “ผ้าขาวม้า” มุ่งสู่การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม

ปังหลาย ! “ผ้าขาวม้า” มุ่งสู่การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม การเดินทางของ “ผ้าขาวม้า” ผ่านกาลเวลาวัฒนธรรมหลายยุคสมัย กลายเป็น SoftPower ของไทย มุ่งสู่การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมในอนาคต ครม.เห็นชอบเสนอผ้าขาวม้าขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) หวังกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่นำไปสู่การสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก ถ้าพูดถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างหนึ่ง “ผ้าขาวม้า” ก็คือความภาคภูมิใจที่อยู่คู่ประเทศไทยมานานหลายยุคสมัย แต่ละท้องถิ่นในประเทศต้องมีไว้ใช้ จนกลายเป็นผ้าสามัญประจำบ้าน แต่รู้ไหมว่า ผ้าขาวม้า ได้ผ่านกาลเวลาวัฒนธรรมหลายยุคสมัย ผ่านความคิด จิตวิญญาณ กลายเป็นเอกลักษณ์แสดงความเป็นไทย เป็น SoftPower ของไทยเลยทีเดียว คนไทยรู้จักใช้ผ้าขาวม้ามาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ราวยุคสมัยเชียงแสน ได้รับอิทธิพลจากชาวไทยใหญ่ที่ใช้ผ้าขาวม้า โพกศีรษะ ต่อมาผู้ชายไทยใช้ผ้าเคียนเอว (ผูกเอว) และยังประยุกต์ใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น ใช้ห่อเก็บสัมภาระเดินทาง ห่ออาวุธ นุ่งเวลาอาบน้ำ เช็ดตัว ปูนอน ยุคแรกคนไทยจะเรียกผ้าสารพัดประโยชน์ผืนนี้ว่า “ผ้าเคียนเอว” ก่อนจะเปลี่ยนเป็นผ้าขาวม้าในภายหลัง ที่จริงแล้ว “ผ้าขาวม้า” ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับ “ผ้าขาว” และ “ม้า” แต่มาจากเปอร์เซียคำว่า “กามาร์บันด์” (Kamar Band) ซึ่งหมายถึง เอว หรือ ท่อนล่างของร่างกาย “บันด์” หมายถึง การพัน รัด หรือ คาด เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงหมายถึง เข็มขัด ผ้าพัน หรือ คาดสะเอว มีงานวิจัยเสนอว่า ผ้าขาวม้าเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “กามา” (Kamar) ซึ่งเป็นภาษาอิหร่านที่ใช้กันอยู่ในประเทศสเปน เพราะประวัติศาสตร์ ทั้ง 2 ประเทศติดต่อกันมาช้านาน ต่อมาประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางภาษามาด้วย   เหตุผลชู “ผ้าขาวม้า”  ด้วยผ้าที่มีลวดลายตารางสี่เหลี่ยมเป็นเอกลักษณ์ พบการใช้ประโยชน์อยู่ทุกภาคและชุมชน รวมถึงชาติพันธุ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มไทลื้อ ไทยวน ไทยลาว ภูไท ส่วย กูย  มีลวดลายหรือสีแตกต่างกันตามเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เข้าถึงง่ายและผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยหลายด้าน นอกจากนี้การเสนอขึ้นทะเบียนผ้าขาวม้า จะส่งเสริมการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมฯ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่นำไปสู่การสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมในระดับโลก และแสดงถึงความสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ    อ้างอิงจาก: ฐานเศรษฐกิจ thaipbs workpointtoday บทความวิชาการ วัฒนธรรมสร้างสรรค์มนต์เสน่ห์แห่งผืนผ้าลายตาราง นามว่า “ผ้าขาวม้าสารพัดนึก”   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผ้าขาวม้า #ยูเนสโก #เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม #UNESCO #มรดกทางวัฒนธรรม

ปลอดภัยหลายกว่าเดิม ! ธปท. ประกาศ “โอนเงินเกิน 50000” ต้องสแกนใบหน้า เริ่ม มิ.ย.นี้

ปลอดภัยหลายกว่าเดิม ! ธปท. ประกาศ “โอนเงินเกิน 50000” ต้องสแกนใบหน้า เริ่ม มิ.ย.นี้   ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยได้วางแผนการป้องกันการทุจริตเพิ่มเติม โดยให้ธนาคารต้องเพิ่มมาตรการการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า (ไบโอแมตริกซ์) เมื่อทำธุรกรรมผ่าน mobile banking เมื่อมีรายการการโอนเงิน หรือเติมเงินพร้อมเพย์/G-Wallet ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ หรือยอดสะสมต่อวัน ครบทุก 200,000 บาท หรือต้องการปรับเพิ่มวงเงินโอนเงิน จ่ายเงินผ่านแอปฯ    ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารได้ออกมาตรการดังกล่าวและทำการแจ้งเตือนลูกค้าผู้ใช้บริการ mobile banking ให้สามารถนำบัตรประชาชนปอัปเดตข้อมูล และสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนที่ธนาคารสาขาใกล้บ้านได้ตั้งแต่วันนี้   ​ธปท. ประกาศ 3 ชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน  โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ มาตรการป้องกัน ▪️ เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ให้ สถาบันการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล ▪️ งดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย ▪️ จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละ สถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น ▪️ โดย สถาบันการเงินต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง ▪️ พัฒนาระบบความปลอดภัยให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ▪️ ยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วยการใช้เทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของลูกค้า (biometrics) โดยกำหนด 3 ธุรกรรม ที่จะต้องมีการยืนยันตัวตน ▪️ การโอนวงเงินเกิน 50,000 บาทต่อรายการ ▪️ โอนวงเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน ▪️ การปรับเพิ่มวงเงินเกิน 50,000 บาทต่อวัน มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัย ▪️ กำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด เพื่อให้ สถาบันการเงินรายงานไปสำนักงาน ปปง. ▪️ สถาบันการเงินต้องมีระบบตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบ near real-time เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบ มาตรการตอบสนองและรับมือ ▪️ เพื่อจัดการปัญหาให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องมีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (hotline) ตลอด 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ ▪️ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็ว รวมทั้งให้ดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของสถาบันการเงิน   อ้างอิงจาก: https://www.tba.or.th/transfers-over-50000-must-scan-faces-starting-this-june/  https://www.chillpainai.com/scoop/15285    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธนาคารแห่งประเทศไทย #โอนเงิน #ทำธุรกรรมทางการเงิน #พร้อมเพย์ …

ปลอดภัยหลายกว่าเดิม ! ธปท. ประกาศ “โอนเงินเกิน 50000” ต้องสแกนใบหน้า เริ่ม มิ.ย.นี้ อ่านเพิ่มเติม »

“ประเพณีบุญบั้งไฟ”  ชวนเลาะ 6 จังหวัด แดนอีสาน

“ประเพณีบุญบั้งไฟ”  ชวนเลาะ 6 จังหวัด แดนอีสาน   “ประเพณีบุญบั้งไฟ” เป็นประเพณีของภาคอีสานของไทย มีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานกล่าวถึงการจัดงานบุญบั้งไฟ เพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทั้งยังมีความเชื่อว่า หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ในงานประเพณีบุญบั้งไฟ มีกิจกรรมหลายอย่าง ตั้งแต่การจัดขบวนแห่บั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟ และการละเล่นต่างๆ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เช่น การทอดแหหาปลา การสักสุ่ม ขบวนเซิ้งแต่งกายสวยงามแบบโบราณ เซิ้งเป็นกาพย์ให้คติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาอันงดงาม    บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลานานเป็นเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟทำเป็นรูปต่าง ๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากและลิ้นพ่นน้ำได้ ตัวบั้งไฟจะนำไปตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะ นำมาเดินแห่ตามประเพณี โดยมีหลายชนิด ทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นใช้ดินประสิวหนัก 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสนใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหน จึงหาช่างมาทำโดยช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมากต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวนผสมดินประสิวกับถ่านไม้ หากทำไม่ถูกบั้งไฟจะแตกและไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่ทำเป็นเสาบั้งไฟนั้นต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะนำส่วนโคนต้นเพราะมีความหนาและเหนียว นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ ซึ่งจะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกโยนลงในโคลน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาอีกด้วย   สำหรับ “ประเพณีบุญบั้งไฟ” ประจำปี 2566 มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ถึง 6 จังหวัดในภาคอีสาน โดยเพจข่าวสารท่องเที่ยว ททท. ได้โพสต์เชิญชวนเที่ยวงานประเพณีบุญบั้งไฟ ให้ได้ปักหมุดเดินทางท่องเที่ยว โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร จัดขึ้นที่สวนสาธารณะพญาแถน 17 – 21 พฤษภาคม 2566  รายละเอียดกิจกรรม 19 พ.ค. 66 โชว์บั้งไฟโบราณ บั้งไฟเอ้สวยงาม การประกวดบั้งไฟโก้ การประกวดกาพย์เซิ้งบั้งไฟ การประกวดเทพพระบุตร-เทพธิดาบั้งไฟโก้ การประกวดคณะกองเชียร์บั้งไฟ ประจำปี 2566  20 พ.ค. 66 ชมพิธีเปิดงานและขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม จาก 9 คุ้มวัด และ 9 อำเภอ 21 พ.ค. 66 การแข่งขันการจุดบั้งไฟประเภทต่าง ๆ อาทิ บั้งไฟแฟนซีและบั้งไฟขึ้นสูง   ประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านบ้านกุดหว้า จัดขึ้นที่เทศบาลตำบลกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์ 20 – 21 พฤษภาคม 2566  ชมการจุดตะไลแสน ตะไล …

“ประเพณีบุญบั้งไฟ”  ชวนเลาะ 6 จังหวัด แดนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

รายได้รัฐบาลไทย ได้จากภาษีอะไรบ้าง? (ข้อมูล ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค. ปีงบฯ 66)

รายได้รัฐบาลไทย ได้จากภาษีอะไรบ้าง? (ข้อมูล ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค. ปีงบฯ 66)   อ้างอิงจาก : กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมธนารักษ์ กรมบัญชีกลาง  และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #กรมสรรพากร #กรมสรรพสามิต #กรมศุลกากร 

งบประมาณแผ่นดิน ในอีสาน หลายปานใด๋ในแต่ละจังหวัด ?

งบประมาณแผ่นดิน ในอีสาน หลายปานใด๋ในแต่ละจังหวัด ?   อัพเดทงบประมาณของปี 2566 จะเห็นได้ว่าจังหวัดที่ได้งบประมาณสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา 25,644 ล้านบาท, ขอนแก่น 18,667 ล้านบาท, อุบลราชธานี 14,750 ล้านบาท แต่เมื่อมาลองดูจังหวัดที่มีจำนวนงบประมาณต่อประชากร 1 คนนั้น จะเห็นได้ว่า จังหวัดที่ได้สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ หนองคาย บึงกาฬ และมุกดาหาร    อ้างอิงจาก:  สำนักงบประมาณ Agenda   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #งบประมาณแผ่นดิน #งบประมาณอีสาน #งบประมาณ #นครราชสีมา #ขอนแก่น #อุบลราชธานี #หนองคาย #บึงกาฬ #มุกดาหาร 

ทำความฮู้จัก ควายไทย บ้านเฮา  ควายปลัก & ควายแม่น้ำ 

ทำความฮู้จัก ควายไทย บ้านเฮา  ควายปลัก & ควายแม่น้ำ    เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ถือเป็น “วันอนุรักษ์ควายไทย” ควายในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นควายบ้านหรือควายป่า ต่างก็มีความผูกพันกับการดำรงชีพของคนไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานโดยเฉพาะภาคการเกษตร เพราะควายสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนจัด และยังช่วยทุ่นแรงได้เป็นอย่างดี ควายไทยถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างช้านาน ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีความอดทน ทนแดด ทนร้อน ทนสภาพอากาศแห้งแล้งได้ ทำให้กลายเป็นเครื่องมือไถนาชั้นดี นอกจากนี้แล้วการเดินทางในสมัยก่อนก็ยังใช้ควายเทียมเกวียน เพื่อทุ่นแรงในการเดินทางไกลอีกด้วย แต่ปัจจุบันควายไทยถูกลดความสำคัญลง จนกลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น   สถานการณ์ควายไทย ในปี 2565 มีทั้งหมด 1,741,141 ตัว โดยแบ่งเป็นเพศเมีย 1,251,030 เพศผู้ 490,111 โดย 10 อันดับแรกมาจากภาคอีสานทั้งหมดเลยทีเดียว นั่นคือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สกลนคร นครราชสีมา นครพนม ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อุดรธานี ตามลำดับ ควายไทยเป็นที่รู้กันว่ามีราคาที่สูงมาก ซึ่งรายได้จากควายถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ กลุ่มเลี้ยงควายพันธุ์ หรือควายสวยงาม และกลุ่มควายเนื้อ หรือเลี้ยงเพื่อขายเนื้อหนังของควาย โดยราคาของควายเนื้อ คือ เพศผู้น้ำหนัก 600 กก. ราคาอยู่ที่ 85-88 บาท/ กก. หรือประมาณ 50,000 – 52,000 บาท เพศผู้น้ำหนัก 500 กก. ราคาอยู่ที่ 83-85 บาท/ กก. หรือประมาณ 41,500 – 42,500 บาท   สามารถรีดน้ำเชื้อและฝากทับได้เช่นกัน สำหรับราคาน้ำเชื้อชุดนึงอยู่ที่ 5,000 – 30,000 บาท/ ชุด (ชุดนึงมี 10 โดส) โดยการรีดน้ำเชื้อขึ้นอยู่กับพ่อพันธุ์บางตัวรีดได้ทุก 2-3 อาทิตย์ บางตัว 2-3 เดือน และอายุของพ่อพันธุ์ที่รีดน้ำเชื้อได้อยู่ที่ 2.5 – 3 ปี สำหรับราคาฝากทับ หรือฝากผสมอยู่ที่ 5,000 บาท/ ครั้ง ถ้าต้องการฝากทางฟาร์มเลี้ยงดูต่อราคาอยู่ที่ 100 – 150 บาท/ วัน . อ้างอิงจาก: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สํานักงานปศุสัตว์อําเภอ  ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (IBIC) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้จัดการออนไลน์ …

ทำความฮู้จัก ควายไทย บ้านเฮา  ควายปลัก & ควายแม่น้ำ  อ่านเพิ่มเติม »

เรื่องของ “งัว” จำนวนโคเนื้อ และ ตลาดนำเข้า-ส่งออก ของไทย 2565

เรื่องของ “งัว” จำนวนโคเนื้อ และ ตลาดนำเข้า-ส่งออก ของไทย 2565 กับข้อได้เปรียบจากการเลี้ยง เพื่อการส่งออกของอีสาน    🐂 จำนวนโคเนื้อ  ในปี 2565 ประเทศไทยมีโคเนื้อกว่า 9.39 ล้านตัว โดยภูมิภาคที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด คือ ภาคอีสาน 3.97 ล้านตัว (56.1%) รองลงมาเป็น ภาคกลาง 1.53 ล้านตัว (16.3%) ภาคเหนือ 1.45 ล้านตัว (15.5%) และภาคใต้ 1.13 ล้านตัว (12.1%)  🥩 การนำเข้า-ส่งออกโคเนื้อ ก่อนอื่นต้องรู้ว่า การนำเข้า-ส่งออก สินค้าที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อ จะแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้ โคเนื้อมีชีวิต ประกอบด้วย โคมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ และโคมีชีวิตอื่น ๆ เนื้อโคและส่วนอื่นที่กินได้ ประกอบด้วย เนื้อโคสดแช่เย็น เนื้อโคสดแช่แข็ง และเครื่องในโคเนื้อและส่วนอื่นที่บริโภคได้  ผลิตภัณฑ์เนื้อโค เช่น เนื้อโคแปรรูป 📌 ข้อได้เปรียบจากการเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อการส่งออกของอีสาน สำหรับภาคอีสาน นอกจากจะเป็นภูมิภาคที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด เหมาะกับการต่อยอด ยังมีความได้เปรียบด้านแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น กากมันสำปะหลัง ฟางข้าว และเปลือกข้าวโพด ที่นิยมนำมาผสมเป็นอาหารข้นเลี้ยงโคขุน เนื่องจากมีราคาถูก และให้คุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารหยาบ (หญ้าสด) รวมไปถึงความได้เปรียบในเส้นทางคมนาคมไปจีน   ที่มา: สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมปศุสัตว์,  https://region6.dld.go.th/webnew/pdf/zoo65/T2-1-Cattle.pdf, https://www.salika.co/2020/12/10/thailand-meat-industry-go-inter/  และ https://pasusart.com/การเลี้ยงโคขุน-ไม่ยาก-แ/   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โคเนื้อ #ส่งออก #นำเข้า #สุรินทร์ #นครราชสีมา #อุบลราชธานี

พามาเบิ่ง พระโคพันธุ์ไทย 4 พันธุ์โคไทย 4 ภาคพื้นเมือง

พามาเบิ่ง พระโคพันธุ์ไทย 4 พันธุ์โคไทย 4 ภาคพื้นเมือง   โคพื้นเมือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bos Taurus L. เป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีขนาดเล็ก ทนร้อน ทนต่อโรคและแมลง หากินเก่ง ให้ลูกดก สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง  การเลี้ยงโคพื้นเมืองจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่เกษตรกรรายย่อยนำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ แต่ ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันโคพื้นเมืองมีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการนำโคสายเลือดยุโรปมาผสมพันธุ์ และมีการขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้โคลูกผสมที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น ได้คุณภาพเนื้อและราคาที่ดีกว่า ดังนั้นโคพื้นเมืองจึงมีปริมาณลดลง เนื่องจาก นโยบายการเลี้ยงโคที่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ได้เน้นการผลิตเพื่อบริโภคและทดแทนการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยง โคพันธุ์ต่างประเทศทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมจนทำให้โคพื้นเมืองไม่ได้รับความเอาใจใส่ในด้านการเลี้ยงดู การปรับปรุงพันธุ์และขาดการอนุรักษ์พันธุ์อย่างจริงจัง ทำให้โคพื้นเมืองซึ่งสามารถเจริญเติบโตและขยาย พันธุ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรถูกละเลยไป ทั้งๆที่โคพื้นเมืองมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเหมาะสมกับ สภาพการเลี้ยงดูของเกษตรกรและสภาพท้องถิ่นมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังใช้ ต้นทุนในการเลี้ยงดูต่ำกว่าโคพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ   ข้อดีของโคพื้นเมือง เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหาร เพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยงแบบไล่ต้อน โดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มีอย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี ใช้แรงงานได้ดี แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มันโคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือโคกบินทร์บุรี มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารไทยสามารถใช้งานได้ ข้อเสีย เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือที่น้ำหนักมีชีวิต 450 กก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็ก จึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โรเล่ส์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการคลอดยาก   อ้างอิงจาก:  ตลาดโค และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์วัวภาคอีสาน #วัวอีสาน #วัวไทย #วัวพันธุ์ไทย #วันพืชมงคล #อุบลราชธานี #ชัยภูมิ   

ทำความฮู้จัก 8 พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน 

ทำความฮู้จัก 8 พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน    วันพืชมงคลในปีนี้ ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จัดตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงเกษตรกรของชาติ มีมานานตั้งแต่สมัยอยุธยา ในพิธีกรรมนั้น จะใช้พระโคเสี่ยงทาย หากพระโคทานสิ่งไหน จะมีความหมายอย่างไร โดยอาหารเสี่ยงทาย #วันพืชมงคล ประกอบด้วย  ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น คือ ข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี ถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี น้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง   โดยวันนี้ทาง ISAN Insight จะพามาฮู้จัก 8 #พันธุ์ข้าวอีสาน และแนวโน้มโอกาสด้านอุตสาหกรรมข้าว ในปี 2566-2568  ผลผลิตข้าวมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย โดยยังมีปัจจัยบวกด้าน (1) ปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะเอื้ออำนวย (ปี 2567-2568 คาดว่ายังได้อานิสงส์จากภาวะ La Niña) และ (2) มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ    อย่างไรก็ตาม ผลผลิตยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก (1) เกษตรกรหันไปปลูกพืชพลังงานและพืชสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นที่มีราคาสูงทดแทน อาทิ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ (2) ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นโดยเฉพาะราคาปุ๋ยทำให้เกษตรกรบางส่วนลดการใช้ปุ๋ยอาจทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง การบริโภคในประเทศคาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หนุนความต้องการจากร้านอาหาร โรงแรม การผลิตอาหาร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ด้านการส่งออกข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก (1) ภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่น่าจะเริ่มทยอยฟื้นตัวในปี 2567-2568 และ (2) ความต้องการสต็อกอาหารต่อเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ   อ้างอิงจาก: กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.thaipbs.or.th/news/content/327620  https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์ข้าวภาคอีสาน #ข้าวอีสาน #มหาสารคาม #ร้อยเอ็ด #ยโสธร #ศรีสะเกษ #สุรินทร์ #สกลนคร #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #นครราชสีมา #บุรีรัมย์ #ขอนแก่น #หนองคาย

ในปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้ ราคาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด๋ ?

ในปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้ ราคาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด๋ ?    ความต้องการสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกและบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ข้าวเปลือก ไก่เนื้อ และไข่ไก่สดคละ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณผผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมูและกุ้งขาว   แนวโน้มความต้องการของสินค้าเกษตร เดือนพฤษภาคม ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ และข้าวเปลือก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นความต้องการข้าวหอมมะลิเพื่อใช้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น และจากสต็อกข้าวของผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ของโลกลดลงอาทิ จีน อินโดนีเซีย อีกทั้งผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดเริ่มลดลงเนื่องจากเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง    หมู มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น จากปัจจัยราคาวัตถุดิบ อาหารสัตว์และต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ปัญหาสภาพอากาศร้อน ทำให้สุกรเจริญ เติบโตช้าปริมาณ ผลผลิตเนื้อสุกรจึงออกสู่ตลาดได้น้อย   กุ้ง มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากคาดว่าการส่งออกกุ้งของไทยจะมีแนวโน้มลดลง จากความต้องการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เช่น ตลาดญี่ปุ่นที่เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อในระดับสูง และจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงในช่วงสิ้นสุดฤดู High Season ขณะที่คาดว่าปริมาณกุ้งจะยังคงออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการที่เกษตรกรยังคงเร่งจับกุ้งในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัดเพื่อลดความเสียหาย ซึ่งคาดการณ์ว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2566   อ้างอิงจาก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส.   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ราคาสินค้าเกษตร #ราคาสินค้าเกษตร66 

Scroll to Top