ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

ธุรกิจหมอลำในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

 

มื้อนี่ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0

 

สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

  1. ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง  คณะเศรษฐศาสตร์ 
  2. รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  คณะเศรษฐศาสตร์ 
  3. ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์ 
  4. ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม   วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น 
  5. นางสาวรพีพรรณ แคนลาด  ผู้ช่วยนักวิจัย 
  6. นางสาวอัจฉราภรณ์ มงคลคำ  ผู้ช่วยนักวิจัย 
  7. นายอัษฎาวุฒิ ศรีทน   ผู้ช่วยนักวิจัย 
  8. นายศุภชัย เสถียรหมั่น   ผู้ช่วยนักวิจัย

 

การแสดงหมอลำเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านดั้งเดิมของอีสานและเป็นการแสดงวัฒนธรรมทางดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ฤดูกาลแสดงในรอบหนึ่งปีจะเริ่มต้นหลังจากเทศกาลออกพรรษา และทำการแสดงต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 เดือน (ตุลาคม – พฤษภาคม) ก่อนที่จะปิดฤดูกาลหรือพักวงเป็นเวลา 4 เดือนในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – กันยายน) 

หากพิจารณาธุรกิจหมอลำตามการลงทุนและการจ้างงาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ราคาจ้างงาน 240,000-300,000 บาท ขนาดกลางราคาค่าจ้าง 200,000-240,000 บาท และขนาดเล็กราคาค่าจ้าง 150,000-200,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ต้องเดินทางไปจัดการแสดง

การแสดงหมอลำเป็นธุรกิจบันเทิงที่ทำให้เกิดการจ้างแรงงานในหลายรูปแบบ อาทิ นักแสดงหมอลำ นักดนตรี แดนเซอร์ พนักงานประกอบเวที คนขับรถ เป็นต้น ในภาพรวมของธุรกิจหมอลำมีการจ้างงานไม่น้อยกว่า 2,000 คนต่อปี แสดงให้เห็นว่าความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจหมอลำส่งผลต่อการพัฒนาหรือกระตุ้นเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปด้วย 

ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาอุตสาหกรรมหมอลำมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? มีผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจอีสานมากน้อยเพียงใด ? โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ COVID-19 นั่นเอง

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผลกระทบทางด้านอุตสาหกรรมหมอลำบันเทิง เมื่อสถานการณ์ปกติ ผลผลิตรวมมูลค่า 6,615.2 ล้านบาท แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีผลผลิตรวมน้อยลงอย่างมากซึ่งเหลือเพียง 1,153.4 ล้านบาท และทางด้านงผลกระทบต่อการจ้างงาน เมื่อสถานการณ์ปกติ การจ้างแรงงานเฉพาะในส่วนของการจัดแสดงหมอลำประมาณ 4,811 คน เมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 มีการจ้างงานที่น้อยลงเหลือเพียงประมาณ 1,399 คน เท่านั้น

 

📌 สามารถอ่านวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=362&fbclid=IwAR11ktt2ff5LKbh1UlB5-3LY79Eq-DNH2otxXAeE55_CdTuFB_MYVP7j9AA 

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ 

Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ 

Website : https://isaninsight.kku.ac.th

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #หมอลำ #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ #มข #คณะเศรษฐศาสตร์ 

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top