Siree Jamsuwan

ปังหลาย คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ  ขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก”

ปังหลาย คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ  ขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก”   องค์การยูเนสโก รับรอง “คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ” ตำนานพระธาตุพนม เอกสารโบราณสำคัญ ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาฉบับพื้นถิ่นภาคอีสานที่ใช้สำนวนภาษาเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค ขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก”   จากการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยโครงการและความร่วมมือกับองค์การอื่นๆ (Programme and External Relations Commission – PX) ในการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 ณ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้พิจารณาวาระการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลก (Nominations of new items of documentary heritage to be inscribed on the Memory of the World International Register) ซึ่งรวมถึงคัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ (National Collection of Palm-Leaf Manuscripts of Phra That Phanom Chronicle)   คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ จัดเป็นเอกสารโบราณสำคัญ เป็นของแท้ดั้งเดิมที่มีเพียงคัมภีร์เดียว เนื้อหาจัดเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาฉบับพื้นถิ่นภาคอีสานที่ใช้สำนวนภาษาเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค เป็นหนังสือใบลานจารด้วยอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย และภาษาบาลี ที่มีทำนองการแต่งเป็นภาษาโบราณแบบเฉพาะของท้องถิ่น มีความไพเราะ แทรกคติธรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี มีการใช้คำเป็นสำนวนภาษาให้เห็นภาพพจน์ ทำนองเปรียบเทียบ มีจำนวน 7 ผูก มีหลักฐานปรากฏอยู่ในลานหน้าสุดท้ายกล่าวไว้ชัดเจนว่าหนังสือฉบับนี้อาชญาเจ้าพระอุปราช พร้อมด้วยบุตร ภรรยา ให้สร้างขึ้นไว้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 อีกทั้งรูปอักษรธรรมอีสานนี้ใช้จารเรื่องในคัมภีร์ก็เป็นอักษรโบราณที่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว สภาพทั่วไปแข็งแรง เส้นอักษรยังเห็นได้ชัดเจน เนื้อเรื่อง เบื้องต้นเกริ่นนำด้วยนิทานตำนานเมืองต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณริมฝั่งน้ำโขง   สาระสำคัญของเรื่องอยู่ที่อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ได้มาประดิษฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ด้วยอำนาจบารมีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้ ส่วนความสำคัญของเนื้อหา นอกจากจะสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมของชุมชนในท้องถิ่นที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งแล้ว ยังแสดงถึงความเป็นบทประพันธ์ประเภทวรรณกรรมพื้นบ้านที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม ความเชื่อของชุมชนในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ธรรมชาติ ความเอื้ออาทรต่อกันของคนในหมู่ชนที่ร่วมสังคมเดียวกันประดุจคนในครอบครัว ซึ่งเป็นพื้นฐานอันสอดคล้องกับวัฒนธรรม อารยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ที่แพร่กระจายอยู่โดยรอบภูมิภาคของพื้นถิ่น ซึ่งมีการอยู่อาศัยของผู้คนตลอดบริเวณพื้นที่แถบลุ่มน้ำโขงและใกล้เคียงอย่างยั่งยืน ยาวนานไม่ขาดช่วงจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในทางการเมืองจะมีการแบ่งเขตบ้านแดนเมืองเป็นประเทศต่างๆ กันแล้วก็ตาม แต่ความเคารพนับถือศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา อันมีพระธาตุพนมเป็นหลักชัย ยังยืนหยัดอย่างมั่นคง หลอมรวมจิตใจชาวพุทธ สืบสานกันมาตลอดสองฝั่งแม่น้ำโขง เป็นความเชื่อมโยงที่เหนียวแน่นชัดเจนตราบถึงทุกวันนี้   การขึ้นทะเบียนเอกสารหรือเหตุการณ์สำคัญเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก มีกระบวนการการพิจารณาโดย International Advisory Committee …

ปังหลาย คัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ  ขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก” อ่านเพิ่มเติม »

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? ปี 2566 (มกราคม-พฤษภาคม)

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? ปี 2566 (มกราคม-พฤษภาคม)   ภาคอีสานมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 17 ล้านคน และมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณอยู่ที่ 30,440 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52% จากปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) ที่มีรายได้ 20,019 ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากคนในประเทศ    5 จังหวัดภาคอีสาน ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ปี 2566 เทียบกับ ปี 2565 อันดับ 1. นครราชสีมา 5,347 ล้านบาท | 3,750 ล้านบาท อันดับ 2. ขอนแก่น 4,403 ล้านบาท | 3,344 ล้านบาท อันดับ 3. อุดรธานี 3,932 ล้านบาท | 2,190 ล้านบาท อันดับ 4. บุรีรัมย์ 2,910 ล้านบาท | 2,110 ล้านบาท อันดับ 5. หนองคาย 2,308 ล้านบาท | 990 ล้านบาท   จะเห็นว่า ปี 2566 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนและค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในภาคอีสานเติบโตได้ดีกว่าช่วง COVID-19 โดยเฉพาะจังหวัดเมืองรองที่อยู่ใกล้กับประเทศลาว ซึ่งได้รับผลดีจากการเปิดใช้รถไฟจีน-ลาว    อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/outlook    อ้างอิงจาก: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #รายได้ท่องเที่ยวอีสาน #ท่องเที่ยวอีสาน #เที่ยวอีสาน

เผยประวัติ “ หมู่บ้านช้างตากลาง ” สัมผัสวิถีคนกับช้าง เมืองสุรินทร์ถิ่นช้างไทย  

เผยประวัติ “ หมู่บ้านช้างตากลาง ” สัมผัสวิถีคนกับช้าง เมืองสุรินทร์ถิ่นช้างไทย     สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ ช้าง สัตว์ที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทยเป็นเวลาช้านาน และยังเป็นที่ตั้งของ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง หรือ ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ที่นี่ไม่เป็นเพียงหมู่บ้านช้างธรรมดาๆ ที่ให้พวกเราไปสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนและช้างเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวทุกคนได้ไปศึกษาชีววิทยา ประวัติ และอุปนิสัยของน้องๆ ด้วย โครงการโลกของช้าง “Elephant World” เกิดจากความร่วมมือของรัฐบาลจัดสรรงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ร่วมกับ งบส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เนรมิตรพื้นที่กว่า 500 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 2,700 ไร่ ให้เป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะจัดแสดงเรื่องราวของช้าง เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางวิชาการของช้าง และผลักดันให้ ‘โลกของช้าง’ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างแบบครบวงจร รวมทั้งจะมีช้างอยู่ที่นี่มากที่สุดในโลกอีกด้วย สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ประกอบด้วย สนามแสดงช้าง สระช้างเล่นน้ำ หอชมทิวทัศน์อิฐ (Brick Observation Tower) โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ และการท่องไพร เรียกว่าเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างแบบครบวงจรที่สุดในโลกก็ว่าได้ พิกัด : https://goo.gl/maps/goDi6Qw2CUMXvW5b9   อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ becommon.co travel.trueid   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ที่เที่ยวอีสาน #สุรินทร์ #หมู่บ้านช้างตากลาง 

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน ไตรมาส 2 ปี 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน ไตรมาส 2 ปี 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll   อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (E-Saan Center for Business and Economic Research – ECBER) โดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 2/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 3/2566”   รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนด้านต่างๆ และคำนวณดัชนีภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 2/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 3/2566 พร้อมประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจและภาพรวม ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 -2 กรกฎาคม 2566 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ18 ปีขึ้นไป 1,116 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด   เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ รายได้และทรัพย์สินครัวเรือน โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้และการซื้อของมูลค่าสูง และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งค่า ดัชนีมีค่าระหว่าง 0 – 100 หากดัชนีอยู่ที่ ระหว่าง 0 – 19.9   คือ แย่มาก ระหว่าง 20 – 39.9 คือ แย่  ระหว่าง 40 – 59.9 คือ ปานกลาง/พอใช้  ระหว่าง 60 – 79.9 คือ ดี  และ ระหว่าง 80 – 100 คือ ดีมาก   1) ดัชนีรายได้และทรัพย์สินครัวเรือนไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 33.1 หมายความว่า รายได้และทรัพย์สินครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่ แย่และแย่กว่าไตรมาสก่อนซึ่งมีค่าดัชนี33.8 และคาดว่าไตรมาสถัดไปดัชนีจะดีขึ้นเล็กน้อยเป็น 34.4 2) ดัชนีโอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 32.7 หมายความว่า  โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ในอีสาน อยู่ในระดับแย่และดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส ก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 31.8 และคาดว่าไตรมาสถัดไปดัชนีจะแย่ลงเล็กน้อยเป็น 31.9 3) ดัชนีการหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและช าระหนี้ไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 32.9 …

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน ไตรมาส 2 ปี 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll อ่านเพิ่มเติม »

ปัจจัยอิหยัง ? ก่อหนี้สินในอีสานหลายที่สุด ?  ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่ง

ปัจจัยอิหยัง ? ก่อหนี้สินในอีสานหลายที่สุด ?  ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่ง   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/Q2_2566.pdf     อ้างอิงจาก: ISAN Insight & Outlook แบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน  เมื่อวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 512 คน   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าใช้จ่าย #หนี้สิน #ภาระหนี้สิน #ครัวเรือนอีสาน 

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน ต้องการมาตรการช่วยเหลืออิหยังหลายที่สุด ?

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน ต้องการมาตรการช่วยเหลืออิหยังหลายที่สุด ?   มาตรการช่วยเหลือที่ครัวเรือนอีสานต้องการมากที่สุดคือการแจกเงินเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท ในขณะกลุ่มผู้ที่มีรายได้มากกว่านั้น ต้องการความช่วยเหลือที่ยั่งยืนมากขึ้น  เช่นการกระตุ้นการท่องเที่ยว การส่งเสริมผู้ประกอบการและการลงทุน   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/Q2_2566.pdf    อ้างอิงจาก: ISAN Insight & Outlook แบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน  เมื่อวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 512 คน   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าใช้จ่าย #หนี้สิน #ภาระหนี้สิน #ครัวเรือนอีสาน #มาตรการช่วยเหลือ

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน มีภาระหนี้สินจั้งใด๋แหน่ ?

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง ครัวเรือนอีสาน มีภาระหนี้สินจั้งใด๋แหน่ ?   ISAN Insight & Outlook ได้จัดทำแบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน จะเห็นพฤติกรรม 65% ของผู้ตอบแบบสำรวจในอีสานมีภาระทางหนี้สิน โดยเมื่อกระจายการออมเงินตามการมีภาระหนี้สิน กลุ่มผู้ที่ไม่มีภาระหนี้สินมีการออมเงินในสัดส่วนที่มากกว่าอย่างชัดเจน   อีกทั้งครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจในอีสานที่มีภาระหนี้สิน มีจำนวนหนี้สินคงเหลือน้อยกว่าจำนวนรายได้ในแต่ละเดือน แต่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนของผู้ที่มีหนี้สินสูงกว่ารายได้กว่าเท่าตัวในสัดส่วนที่มาก ซึ่งสะท้อนระยะเวลาการใช้หนี้ที่ยาวนาน โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อการบริโภคซึ่งไม่สร้างผลตอบแทนอีกด้วย   ด้านสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ปรับเพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ยิ่งมีรายได้มากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ก็เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น โดยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ตอบที่มีรายได้น้อย เผชิญกับปัญหาในการชำระหนี้ และยิ่งกว่านั้น 20% ของผู้ตอบที่มีรายได้น้อย เลือกที่จะหยุดชำระหนี้ในกรณีที่รายได้ไม่เพียงพอกับการชำระหนี้   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ : https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/Q2_2566.pdf    อ้างอิงจาก: ISAN Insight & Outlook แบบสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและหนี้สิน  เมื่อวันที่ 16-22 มิถุนายน 2566  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 512 คน    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าใช้จ่าย #หนี้สิน #ภาระหนี้สิน #ครัวเรือนอีสาน

สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานหลายที่สุด ในแต่ละจังหวัด มีอิหยังแหน่ ? 

สินค้าเกษตรที่ได้รับมาตรฐานหลายที่สุด ในแต่ละจังหวัด มีอิหยังแหน่ ?    สำหรับเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรมาระยะหนึ่งอาจเริ่มหาช่องทางการผลิตสินค้าให้ได้ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ส่งออกไปยังต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการขอรับรองมาตรฐานมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้สินค้านั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับการความต้องการ ตามข้อกำหนดในมาตรฐานเดียวกัน มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) เป็นแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นมาตรฐานรับรองแหล่งผลิตพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากไม่ใช้สารเคมีแล้ว เมล็ดพันธุ์ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี หรือมาจากกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี และมีระยะปรับเปลี่ยนจากการปลูกแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สารเคมีในแปลงปลูกสลายตัวไปในระดับที่ปลอดภัย จึงจะได้รับการรับรอง มาตรฐานการเกษตรของสินค้าเกษตรในอีสานยังมีจำนวนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มาตรฐาน GAP อยู่น้อยเมื่อเทียบกับทั้งประเทศ โดยอันดับ 1 ภาคเหนือ (37.1%) อันดับที่ 2 ภาคกลาง (26.2%) อันดับที่ 3 ภาคอีสาน (17.3%) และอันดับที่ 4 ภาคใต้ 16.4% ซึ่งหากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังจะเป็นจุดแข็งรายพื้นที่ ที่สามารถยกระดับภาคเกษตรของพื้นที่ได้   อ้างอิงจาก:  สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ https://actorganic-cert.or.th/th/manual-th/organicstandard-th/ https://www.baanlaesuan.com/233023/garden-farm/farm-guru/gapthai   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สินค้าเกษตร  #มาตรฐานGAP

ภาคอีสาน  5 อันดับ ผลผลิตทางการเกษตร  อิหยังหลายที่สุด ?

ภาคอีสาน  5 อันดับ ผลผลิตทางการเกษตร  อิหยังหลายที่สุด ?   ผลผลิตสินค้าทางการเกษตรรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ปี 2565 คือ 1. มันสำปะหลังโรงงาน โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.นครราชสีมา 18,900,742 ตัน 2. ข้าวนาปรัง โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.กาฬสินธุ์ 1,080,911 ตัน 3. ลำไย โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.เลย 21,369 ตัน 4. ทุเรียน โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.ศรีสะเกษ 11,631 ตัน 5. เงาะ โดยจังหวัดที่ทำผลผลิตมากที่สุดคือ จ.เลย 6,762 ตัน   อ้างอิงจาก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ผลผลิตอีสาน #นครราชสีมา #กาฬสินธุ์ #เลย #ศรีสะเกษ  

UPDATE ผลไม้ GI  มาจากจังหวัดอิหยังแหน่ ? 

UPDATE ผลไม้ GI  มาจากจังหวัดอิหยังแหน่ ?  GI หรือ Geographical indication เป็นเครื่องหมายรับรองสินค้า ว่าพิเศษเป็นเอกลักษณ์จากแหล่งผลิตในท้องถิ่น ที่แหล่งผลิตอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ ปัจจุบันสินค้าที่ผ่านมาตรฐาน GI ไทย มีมากกว่า 170 รายการ แบ่งเป็นข้าว ผัก/ผลไม้ อาหาร ผ้า (ไหม/ฝ้าย) และหัตถกรรม/อุตสาหกรรม  สำหรับภาคอีสานมีสินค้า GI หลายรายการ ที่มีคุณภาพ พร้อมเป็น Soft Power ของไทย เนื่องจากสามารถถ่ายทอดอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี  โดยสินค้า GI เหล่านี้ได้สร้างเม็ดเงิน สร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ท้องถิ่นอีสานกว่า 300 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงสู่ภาคการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเข้าสู่จังหวัด สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นในทุกมิติด้วย อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้เดินหน้าผลักดันการขึ้นทะเบียน GI ไทยอย่างต่อเนื่อง และจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐาน รวมถึงการเพิ่มช่องทางการตลาด ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อช่วยในการจำหน่ายสินค้า GI ไทย และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร และผู้ผลิตสินค้าชุมชน   อ้างอิงจาก: กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ https://www.ipthailand.go.th/th/gi-002.html    ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สินค้าGI #นครราชสีมา #ศรีสะเกษ #ชัยภูมิ #สกลนคร #กาฬสินธุ์ #บึงกาฬ #หนองคาย #นครพนม

Scroll to Top