February 2025

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่างสนามบินใหญ่ใน GMS

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่างสนามบินใหญ่ใน GMS . . (1) การเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยที่มีศูนย์จัดงาน MICE ขนาดต่างๆ รองรับอยู่มากมาย นอกจากในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีสถานที่จัดงาน MICE กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในทุกการเดินทางเพื่อไปร่วมงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วจากการโดยสารเครื่องบินจึงเป็นสิ่งสำคัญ  . (2) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการมาเกือบ 20 ปี ให้บริการมาแล้วกว่า 5 ล้านเที่ยวบิน พร้อมทั้งต้อนรับผู้โดยสารจากทั่วโลกมากกว่า 815 ล้านคน และปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ รวมกว่า 22 ล้านตัน เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งตั้งเป้าที่จะผลักดันไทยเป็นฮับการบินของภูมิภาค โดยตั้งเป้าให้สนามบินสุวรรณภูมิติดอันดับสนามบินที่ดีที่สุดติด 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดของโลก ซึ่งนอกจากการเพิ่มการลงทุนในสนามบิน ยังมีการวางแผนพัฒนาการให้บริการสนามบิน และจับมือกับพันธมิตรระดับโลก . ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้เร่งรัดแผนการพัฒนาสนามบินเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารให้ได้ถึง 150 ล้านคนต่อปีในปี 2573 โดยปัจจุบัน ทอท.ได้เปิดใช้ทางวิ่งเส้นที่ 3 เพิ่มศักยภาพรองรับเที่ยวบินจาก 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ควบคู่ไปกับโครงการขยายขีดความสามารถของสนามบินอย่างต่อเนื่อง . (3) ส่วนในภาคอีสานของเรา ปัจจุบันมีสนามบินอยู่ 9 แห่งด้วยกัน และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3.5 ล้านคนต่อปี โดยในปี 2568 (ม.ค. – ก.พ.) มีเที่ยวบิน 1,962 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสาร 301,987 คน . ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 5 ล้านคนต่อปี โดยในปี 2568 (ม.ค. – ก.พ.) มีเที่ยวบิน 1,521 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสาร 241,921 คน   ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2.9 ล้านคนต่อปี โดยในปี 2568 (ม.ค. – ก.พ.) มีเที่ยวบิน 1,262 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสาร 200,760 คน . ท่าอากาศยานสกลนคร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1.7 ล้านคนต่อปี โดยในปี 2568 (ม.ค. – ก.พ.) มีเที่ยวบิน 384 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสาร 59,233 […]

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่างสนามบินใหญ่ใน GMS อ่านเพิ่มเติม »

พาสำรวจเบิ่ง สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ปี 68 ภาคอีสานมีผู้ป่วยเกือบ 40,000 ราย

จังหวัด ผู้ป่วยสะสม สัดส่วนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ต่อประชากรแสนคนในจังหวัด นครราชสีมา 7,428 ราย 284 อุบลราชธานี 5,907 ราย 316 สุรินทร์ 3,312 ราย 244 ขอนแก่น 3,185 ราย 180 ร้อยเอ็ด 2,937 ราย 230 ชัยภูมิ 2,263 ราย 205 บุรีรัมย์ 1,831 ราย 117 ศรีสะเกษ 1,818 ราย 126 อุดรธานี 1,623 ราย 105 มหาสารคาม 1,572 ราย 169 นครพนม 1,430 ราย 201 กาฬสินธุ์ 1,285 ราย 134 สกลนคร 1,136 ราย 100 ยโสธร 957 ราย 182 หนองบัวลำภู 891 ราย 177 หนองคาย 614 ราย 120 อำนาจเจริญ 613 ราย 165 มุกดาหาร 558 ราย 159 บึงกาฬ 418 ราย 100 เลย 340 ราย 54 . ในประเทศไทยได้พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในหน้าฝน เนื่องจากเชื้อไวรัสมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายได้ดีในประเทศเขตร้อนที่มีความชื้นสูง นอกจากนี้ตามธรรมชาติของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทำให้การระบาดของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี . แต่ในปี 2568 นี้พบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ด้วยจำนวนผู้ป่วยมากถึง 135,790 ราย (ณ วันที่ 24 ก.พ. 68) และมีผู้เสียชีวิต 9 ราย ในจังหวัดนครราชสีมา (4 ราย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน ฉะเชิงเทรา ลำปาง สงขลา และสุรินทร์ จังหวัดละ 1 ราย พบเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ทั้ง 9 ราย . ซึ่งเมื่อเทียบกับข้อมูลเดิม เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2568 มีผู้ติดเชื้อเพียง 7,819 ราย

พาสำรวจเบิ่ง สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ปี 68 ภาคอีสานมีผู้ป่วยเกือบ 40,000 ราย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนโรงเรียนที่สังกัดอยู่ใน อบจ ของแต่ละจังหวัดในภูมิภาค

การกระจายงบประมาณด้านการศึกษา อบจ. ในภาคอีสาน: โอกาสหรือความเหลื่อมล้ำ? จังหวัด งบประมาณ อบจ. ภาคการศึกษา (บาท) จำนวนของโรงเรียน(แห่ง) นครราชสีมา 1,646,793,700 29 ศรีสะเกษ 872,546,100 39 ชัยภูมิ 582,302,200 31 ขอนแก่น 572,160,400 20 อุบลราชธานี 436,819,800 11 มหาสารคาม 404,461,500 20 กาฬสินธุ์ 398,174,900 12 อุดรธานี 176,783,200 3 สกลนคร 134,448,300 7 ร้อยเอ็ด 79,505,700 4 เลย 69,957,300 3 ยโสธร 39,112,800 1 บุรีรัมย์ 16,558,200 1 นครพนม 16,230,200 1 หนองบัวลำภู 12,932,000 4 หนองคาย 6,229,700 1 สุรินทร์ 788,600 1 บึงกาฬ 326,600 1 มุกดาหาร 0 1 อำนาจเจริญ 0 0 รวม 5,466,131,200 190 งบประมาณด้านการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในภาคอีสานซึ่งมีโรงเรียนจำนวนมากที่อยู่ภายใต้การดูแลของ อบจ. ข้อมูลล่าสุดที่เปิดเผยในปี 2568 แสดงให้เห็นถึงการกระจายงบประมาณที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละจังหวัด ซึ่งสะท้อนถึงปัจจัยหลายประการทั้งด้านขนาดของโรงเรียน จำนวนโรงเรียน และนโยบายการจัดสรรงบประมาณของแต่ละ อบจ.   นครราชสีมา: ผู้นำด้านงบประมาณการศึกษา   จากข้อมูลพบว่า จังหวัดนครราชสีมาได้รับงบประมาณ อบจ. ด้านการศึกษาสูงสุดที่ 1,646.79 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีจำนวนโรงเรียนในสังกัด 39 แห่ง นี่อาจสะท้อนถึงขนาดของจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และมีจำนวนนักเรียนมาก ทำให้ต้องการงบประมาณสูงเพื่อรองรับการพัฒนาโรงเรียนและคุณภาพการเรียนการสอน   ศรีสะเกษ และขอนแก่น: อันดับรองที่มีบทบาทสำคัญ   รองลงมาคือ ศรีสะเกษ ที่ได้รับงบประมาณ 872.54 ล้านบาท และ ขอนแก่น ที่ได้รับ 572.16 ล้านบาท โดยขอนแก่นมีจำนวนโรงเรียนในสังกัด 20 แห่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากับมหาสารคาม แต่ได้รับงบประมาณสูงกว่าเกือบเท่าตัว การกระจายงบประมาณในสองจังหวัดนี้อาจมาจากความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา รวมถึงแผนการยกระดับคุณภาพโรงเรียนในเขต อบจ.  

พามาเบิ่ง จำนวนโรงเรียนที่สังกัดอยู่ใน อบจ ของแต่ละจังหวัดในภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรลาว🇱🇦

ภาพรวมประชากรลาว ขนาดประชากร: ประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2566) อัตราการเติบโต: ประมาณ 1.5% ต่อปี การกระจายตัว: ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบริเวณนครหลวงเวียงจันทน์ ความหนาแน่น: ประมาณ 32 คนต่อตารางกิโลเมตร โครงสร้างอายุ วัยเด็ก (0-14 ปี): ประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด วัยแรงงาน (15-64 ปี): ประมาณ 65% ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป): ประมาณ 5% ของประชากรทั้งหมด กลุ่มชาติพันธุ์ ลาวลุ่ม: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ คิดเป็นประมาณ 68% ของประชากร ลาวเทิง: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง คิดเป็นประมาณ 22% ของประชากร ลาวสูง: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าลาวเทิง เช่น ชาวม้งและเย้า คิดเป็นประมาณ 9% ของประชากร กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ: มีอีกประมาณ 40 กว่ากลุ่มชาติพันธุ์ คิดเป็นส่วนที่เหลือของประชากร ศาสนา ศาสนาพุทธ: เป็นศาสนาหลักของประเทศ คิดเป็นประมาณ 66.8% ของประชากร ศาสนาผี: ยังคงมีการนับถือในหลายพื้นที่ คิดเป็นประมาณ 30.7% ของประชากร ศาสนาคริสต์และอิสลาม: มีผู้นับถือจำนวนน้อย คิดเป็นประมาณ 2.5% ของประชากร ภาษา ภาษาลาว: เป็นภาษาทางการและใช้ในการสื่อสารทั่วไป ภาษาอื่นๆ: มีการใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ลักษณะเฉพาะของโครงสร้างประชากรลาว สังคมเยาว์วัย: ลาวมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม: ลาวมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และจุดแข็งของประเทศ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร: ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เช่น การลดลงของอัตราการเกิดและการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ   พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นสูง เวียงจันทน์ (Vientiane): เมืองหลวงของลาวและศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา เป็นที่ตั้งของรัฐบาล สถาบันการศึกษา และธุรกิจสำคัญ สะหวันนะเขต (Savannakhét): เมืองเศรษฐกิจสำคัญทางภาคกลาง ติดกับประเทศไทย และมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ ปากเซ (Paksé): ศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ เป็นจุดเชื่อมโยงกับไทยและกัมพูชา ภาพที่ 1 : ภูมิประเทศสามมิติ (3D topography) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ ລາວ) หากดูจากแผนที่ความหนาแน่นของประชากรลาว จะเห็นได้ว่าประชากร กระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่

พามาเบิ่ง🧐ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรลาว🇱🇦 อ่านเพิ่มเติม »

World Bank เผย “เงินหมื่นรัฐบาล” หนุน GDP 0.3% ตามรัฐบาลหวัง IMF แนะควรจัดสรรเงินหมื่นบางส่วนไปใช้ในส่วนอื่น

ในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการแจกเงินสดมูลคต่า 10,000 บาทให้แก่ประชาชนในกลุ่มเปราะบาง หรือผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้พิการ จำนวน 14.5 ล้านคนทั่วประเทศไทย เป็นเงินมูลค่ากว่า 145,552.40 ล้านบาท โดยที่รัฐบาลหวังว่าโครงการในระยะแรกนี้จะสามารถกระตุ้น GDP ไทยในปี พ.ศ. 2567 ได้ 0.35% ล่าสุดทาง World Bank ได้มีการออกรายงาน “THAILAND ECONOMIC MONITOR UNLEASHING GROWTH: INNOVATION, SMES AND STARTUPS FEBRUARY 2025” โดยมีการประเมินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะแรกว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.3% ใกล้เคียงกับความคาดหวังของรัฐบาล แต่ทั้งนี้แม้ตัวเลขจะดูสวยงามเป็นไปดั่งที่รัฐบาลคาดหวังไว้แต่หากพิจารณาภาพรวมแล้วจะพบว่าต้นทุนทางการคลังที่ใช้ไปในการกระเศรษฐกิจครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึง 145,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของ GDP ประเทศไทย นั่นหมายความว่าแม้โครงการนี้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามรัฐบาลหวังก็จริง แต่เป็นการกระตุ้นที่ใช้เงินลงทุนสูงแต่ได้ผลตอบแทนกลับมาไม่คุ้มค่าเท่ากับที่ลงทุนไป อีกทั้ง จากรายงาน “Thailand: 2024 Article IV Consultation-Press Release; Staff Report; and Statement by the Executive Director for Thailand” โดย IMF ยังคงได้มีการแนะนำรัฐบาลว่า IMF ได้วิเคราะห์ว่าหากนำงบประมาณที่ใช้ในโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัลไปลงทุนในด้านอื่น เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและกายภาพ หรือการศึกษา อาจช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีกว่าในระยะยาว เมื่อเทียบกับการแจกเงินโดยตรง ทั้งนี้ ทาง World Bank และ IMF ได้มีการคาดการณ์ GDP ประเทศไทยว่ายังคงเติบโตต่ำกว่า 3% การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมานาน นอกจากนี้ แรงกดดันจากทั้งภายในและภายนอกประเทศยังส่งผลให้เงินเฟ้อลดลง ขณะเดียวกัน แนวโน้มเศรษฐกิจก็ยังคงไม่แน่นอนและเผชิญกับความเสี่ยงด้านลบที่สำคัญ โดยทาง World Bank และ IMF ได้มีการคาดการณ์ไว้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันที่ 2.6% และ 2.7% ตามลำดับ โดยทาง World Bank เน้นว่าการปฏิรูปโครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและกระตุ้นการเติบโตในระยะยาว หากไม่มีการปฏิรูปนโยบายอย่างเร่งด่วน คาดว่าอัตราการเติบโตของไทยจะลดลงจากค่าเฉลี่ย 3.2% (ช่วงปี 2554-2564) เหลือ 2.7% (ช่วงปี 2565-2573) ซึ่งอาจขัดขวางเป้าหมายในการเป็นประเทศรายได้สูง อีกทั้ง IMF แนะนำให้นโยบายการคลังของไทยเน้นการสร้าง “พื้นที่ทางการคลัง” ใหม่ โดยในปีงบประมาณ 2568 ควรใช้แนวทางการคลังที่ไม่ขยายตัวมากเกินไป (Less Expansionary Fiscal Stance)

World Bank เผย “เงินหมื่นรัฐบาล” หนุน GDP 0.3% ตามรัฐบาลหวัง IMF แนะควรจัดสรรเงินหมื่นบางส่วนไปใช้ในส่วนอื่น อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง GDP ย้อนหลัง 35 ปี ของอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS

. จะเห็นได้ว่า GDP ของไทยและเวียดนามค่อนข้างดีดตัวสูงกว่าประเทศอื่นในGMS เป็นอย่างมากอันเนื่องมาจากมีความโดดเด่นด้านขนาดเศรษฐกิจ ความหลากหลายของภาคเศรษฐกิจ และศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและตลาดภายในประเทศที่แข็งแกร่ง ทำให้ GDP ของทั้งสองประเทศสูงกว่าเพื่อนบ้านใน GMS อย่างชัดเจน   วิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทำให้GDPหดตัวลง -การระบาดของcovid-19 ปี 2019 เนื่องจากเกิดวิกฤตเชื้อไวรัส โควิด-19 แพร่ระบาดทำให้ภาคเศรษฐกิจต่างๆในประเทศเกิดการหดตัวลงไม่ว่าจะเป็น ภาคการท่องเที่ยว,การค้าระหว่างประเทศ ทำให้GDP ของแต่ละประเทศเกิดการหดตัวลงเพราะต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของโลก   –วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 ส่งผลต่อ GMS โดยเฉพาะในประเทศที่พึ่งพาการส่งออก (ไทย กัมพูชา และเวียดนาม) ในขณะที่ประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศและจีน (ลาวและเมียนมา) ได้รับผลกระทบน้อยกว่า ความพยายามของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของ GMS หลังวิกฤต   –วิกฤตต้มยํากุ้ง ปี 1997 ส่งผลต่อประเทศใน GMS ในระดับที่แตกต่างกัน ประเทศที่เปิดเศรษฐกิจและพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศอย่างไทยและกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนัก ในขณะที่ประเทศที่เศรษฐกิจปิดตัว เช่น เมียนมา และลาว ได้รับผลกระทบทางอ้อมเท่านั้น วิกฤตครั้งนี้เป็นบทเรียนสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาค GMS ที่มา เว็ปไซต์ :maccrotrends,trading economics พามาเบิ่งหนี้สาธารณะแต่ละประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง GMS

พามาเบิ่ง GDP ย้อนหลัง 35 ปี ของอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS อ่านเพิ่มเติม »

เวียดนามจ่อลดขนาดหน่วยงานรัฐ ท่ามกลางเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น

ฮู้บ่ว่า เวียดนาม ตั้งเป้าหมายใหม่ ลดขนาดหน่วยงานภาครัฐลง 20% เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และจัดสรรงบประมาณไปที่การลงทุนในโครงการมากขึ้น โดยคาดว่ามีหลายหน่วยงานถูกยุบและบุคคลากรของรัฐจำนวนมากได้รับผลกระทบ “ หากเปรียบเทียบกับบริบทของประเทศไทย เป็นอย่างไรบ้าง? “   . เวียดนามปฏิรูประบบราชการ ผ่านแผนการลดขนาดหน่วยงานรัฐลง 20%  รัฐบาลเวียดนามเริ่มดำเนินการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ โดยตั้งเป้าลดขนาดหน่วยงานของรัฐลง 20% เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ ลดหนี้สาธารณะ และเพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงการของภาครัฐ รวมถึงช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร   . ขนาดของภาครัฐไทยเปรียบเทียบกับเวียดนาม จากข้อมูลล่าสุดพบว่า ไทยมีบุคลากรภาครัฐ 2.81 ล้านคน ขณะที่เวียดนามมี 2.00 ล้านคน นอกจากนี้ หากพิจารณาสัดส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ พบว่า ไทยใช้จ่ายภาครัฐสูงถึง 21% ของ GDP ในปี 2566 โดยแบ่งเป็นการบริโภคของรัฐบาล 17% และการลงทุนในภาครัฐ 4.4% เวียดนามใช้จ่ายเพียง 18% ของ GDP แต่มีสัดส่วนการลงทุนในภาครัฐมากกว่าไทยโดยที่เกินครึ่งของค่าใช้จ่ายของภาครัฐบาล เป็นการลงทุนในภาครัฐ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวม รัฐวิสาหกิจ ภาครัฐของเวียดนามกลับมีขนาดใหญ่กว่าไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่เวียดนามมีรัฐวิสาหกิจมากกว่า 2,200 แห่ง และมีพนักงานกว่า 1.5 ล้านคน ในขณะที่ไทยมีเพียง 52 แห่ง และมีพนักงานราว 230,000 คน เท่านั้น   . ทำไมเวียดนามต้องลดขนาดภาครัฐ? ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้เวียดนามผลักดันการปฏิรูประบบราชการ เป็นผลมาจากเป้าหมายในการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในโครงการต่างๆให้มากขึ้น รวมถึงลดการขาดดุลงบประมาณและระดับหนี้สาธารณะลง สำหรับเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 8% อีกทั้งการยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ และการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชนสามารถเติบโตและเข้ามามีบทบาทในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น รวมถึงยังสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการลดอุปสรรคจากความซ้ำซ้อนและกฎระเบียบของภาครัฐ   . แนวทางปฏิรูปของเวียดนาม ลดจำนวนแผนกและฝ่ายงานภายในกระทรวง รวมถึงลดจำนวนข้าราชการ ผ่านการเกษียณก่อนกำหนด หรือโอนย้ายไปยังภาคเอกชน รวมถึงมีการยุบและควบรวมหน่วยงานที่มีบทบาทซ้ำซ้อน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นเวียดนามจะมีการยุบหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ ผ่านการปิดกิจการสถานีโทรทัศน์ 5 ช่อง ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสารอีกราวๆ 19 บริษัท รวมถึงการควบรวมกระทรวงและหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงวางแผนและการลงทุนจะอยู่ในกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจะถูกรวมอยู่ในกระทรวงเกษตร เป็นต้น    . ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เวียดนามได้อานิสงส์จากการลดภาระงบประมาณ ทำให้มีงบเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเสถียรภาพทางการเงิน เพิ่มความสามารถในการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ จากโอกาสที่ให้ภาคเอกชนได้เติบโต   แต่ในขณะเดียวกัน ผลกระทบอาจทำให้เกิดการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากการถูกปลดของแรงงานในภาครัฐซึ่งนำไปสู่แรงต้านจากกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวแม้ว่าจะมีการชดเชยรองรับแล้ว อีกทั้งอาจเป็นอุปสรรคในการทำตามเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องการ จากความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่อาจเกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจขึ้นได้ หากการดำเนินการปฏิรูปถูกจัดการได้ไม่มีประสิทธิภาพ   . ไทยควรพิจารณานโยบายปรับลดขนาดภาครัฐเช่นเดียวกับเวียดนามหรือไม่? ด้วยโครงสร้างภาครัฐของไทยยังค่อนข้างใหญ่กว่าเวียดนาม โดยมีบุคลากรมากกว่าของเวียดนามถึง 40% หากไม่นับรวมรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งไทยใช้ยังมีการใช้งบประมาณภาครัฐในสัดส่วนต่อ GDP ที่สูงกว่า ซึ่งในสัดส่วนที่มากเป็นการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของภาครัฐ   แต่ด้วยบริบทที่ต่างกันทั้งในแง่ของโครงสร้างของภาครัฐ

เวียดนามจ่อลดขนาดหน่วยงานรัฐ ท่ามกลางเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน

ฮู้บ่ว่าปี 67 โรงงานเหล็กของไทย ปิดตัวลงกว่า 38 แห่ง  อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เหล็กเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และบรรจุภัณฑ์ สถานการณ์ปัจจุบัน การผลิต: ประเทศไทยมีกำลังการผลิตเหล็กดิบประมาณ 7.5 ล้านตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็นเหล็กทรงยาวที่ใช้ในการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตจริงยังต่ำกว่ากำลังการผลิต เนื่องจากมีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะจากประเทศจีน การบริโภค: ความต้องการใช้เหล็กในประเทศอยู่ที่ประมาณ 18 ล้านตันต่อปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการ การนำเข้า: ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เหล็กนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ซึ่งมีราคาถูกกว่าเหล็กที่ผลิตในประเทศ ผู้ประกอบการ: อุตสาหกรรมเหล็กในไทยประกอบด้วยผู้ประกอบการหลายราย ทั้งรายใหญ่และรายย่อย ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ในขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่เป็นบริษัทของไทย ความท้าทาย: อุตสาหกรรมเหล็กในไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การแข่งขันกับเหล็กนำเข้า ราคาเหล็กผันผวน และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 3 ปัจจัย ตลาดเหล็กในไทยหดตัว ความต้องการใช้เหล็กที่หดตัวลง ตามภาวะอุตสาหกรรมปลายน้ำ โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์ที่ลดกำลังการผลิตลง รวมถึงภาคก่อสร้างที่ได้รับผลจากตลาดอสังหาริมทรัยพ์ในประเทศชะลอตัวลง เช่นกัน เหล็กนำเข้ามีสัดส่วนเพิ่มแตะระดับเกือบ 70% ของการบริโภคเหล็กในไทย ราคาเหล็กขาลงจากปัญหาในภาคอสังหาฯ จีน ที่หดตัวต่อเนื่องหลายปีติด ทำให้ตลาดจีนมีที่ Oversupplied หรือกำลังการผลิตภายในจีนล้นกับตลาดความต้องการในประเทศ และทะลักส่งออกและเกิดการถล่มราคาในไทย แนวโน้มในอนาคต คาดว่าการแข่งขันในตลาดเหล็กไทยจะยังคงรุนแรงต่อไปในอนาคต ผู้ประกอบการเหล็กไทยจะต้องปรับตัวและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความอยู่รอดในระยะยาว ส่วนในแต่ละปี มีการประเมินจาก Krungthai COMPASS ว่าปี 2567 ไทยจะมีปริมาณการใช้เหล็กโดยรวม 15.7 ล้านตัน ลดลง -3.8% รวมไปถึง 3 ปัจจัยใหม่ที่ต้องจับตาเฝ้าระวัง ได้แก่ สัดส่วนการใช้เหล็กต่อรถยนต์ 1 คัน มีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ในอนาคต จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่มากขึ้นแทน รถยนต์สันดาป ICE โครงการ Mega Project ภาครัฐใหม่ๆ จะสนับสนุนใช้เหล็กทรงยาว และยังเป็นความต้องการภายในประเทศต่อไปได้ ประเด็น ESG ที่กดดันผู้ประกอบการทั้งด้านต้นทุน และการแข่งขัน เพื่อทำให้การผลิตเหล็ก ลดการก่อมลพิษและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น เรียกได้ว่าไทยต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายหลายด้านทั้ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน ด้านที่ 1 การทะลักของเหล็กจีน จีนย้ายฐานการผลิตเหล็ก กดดันผู้ผลิตเหล็กไทย อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังอยู่ในอาการที่น่าห่วง จากต้องต่อสู้กับการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากเหล็กนำเข้าที่โหมกระหนํ่าเข้ามาตีตลาดอย่างไม่ขาดสาย มีทั้งเหล็กคุณภาพดีและเหล็กไม่ได้มาตรฐานปะปนมาขายในราคาตํ่า อุตสาหกรรมเหล็กไทยต้องเผชิญกับความท้ายทายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแข่งขันกับเหล็กจีนที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด และกดดันให้ราคาเหล็กอยู่ในเทรนด์ขาลง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีผู้ประกอบการจะมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากปัญหา Stock Loss ได้   ด้านที่ 2 การตั้งโรงงานจีนแข่งขันกับผู้ผลิตไทย ปี 2567 โรงงานผลิตเหล็กที่มีการลงทุนจากจีนคิดเป็น 16%

พามาเบิ่ง อุตสาหกรรมเหล็กไทยเสี่ยงจากผลกระทบ 3 ด้าน อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง คะแนน O-NET ปี 66 เด็กอีสานเก่งภาษาอังกฤษมากแค่ไหน

ทำไมต้องสอบ O-NET? การสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียน โดย O-NET เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับประเทศ เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานการศึกษาในภาพรวม และผลการสอบ O-NET จะถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบางสถาบันอุดมศึกษา อาจใช้ผลการสอบ O-NET เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียน ผลการสอบ O-NET นี้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ดังนั้น การสอบ O-NET จึงมีความสำคัญต่อนักเรียน ครู โรงเรียน และระบบการศึกษาโดยรวม   ในปี 2566 คะแนน O-NET ภาษาอังกฤษเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 26.19 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าจังหวัดในภาคอีสานมีทั้งจังหวัดที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จังหวัดที่มีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย คือ มุกดาหาร, สุรินทร์, อำนาจเจริญ, และนครพนม ​   จังหวัดที่มีคะแนนสูงสุดในภาคอีสาน อย่างมุกดาหาร และสุรินทร์ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางการศึกษาของจังหวัดเหล่านี้ อาจมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพการเรียนการสอนในด้านภาษาอังกฤษ, การบริหารจัดการศึกษา หรือโรงเรียนหรือครูในจังหวัดที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ มีเทคนิคการสอนที่เน้นการสื่อสารและปฏิบัติจริงซึ่งสอดคล้องกับการวัดผลของ O-NET   จังหวัดส่วนใหญ่ในภาคอีสานมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจและหาแนวทางแก้ไข อาจมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ อย่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หรือปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างทั่วถึง   อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้อาจจะมีการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ให้มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กในภาคอีสานให้ก้าวหน้าต่อไป     อ้างอิงจาก: – สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #คะแนนONET #ONET #คะแนนสอบ

พาย้อนเบิ่ง คะแนน O-NET ปี 66 เด็กอีสานเก่งภาษาอังกฤษมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง ห้างสรรพสินค้า อาณาจักร กลุ่มเซ็นทรัล ใน GMS

(1) 76 ปี หลังจากคุณเตียงและคุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เปิดร้านหนังสือเล็กๆ แห่งแรกในเมืองไทย ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัล ก้าวสู่ผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรีระดับโลกอย่างเต็มตัว    โดยกลุ่มเซ็นทรัลได้กว้านซื้อกิจการห้างหรูอายุกว่า 1 ศตวรรษเข้าพอร์ต ก้าวสู่ผู้นำห้างสรรพสินค้าลักชัวรีระดับโลกเต็มตัว ด้วยเครือข่ายมากที่สุดใน 7 ประเทศ รวม 40 สาขา ให้บริการนักช้อป นักท่องเที่ยว โกยยอดขายมากกว่า 2.6 แสนล้าน   ชื่อของ “เซ็นทรัล” กิจการภายใต้ตระกูลจิราธิวัฒน์ ไทคูณแห่งเมืองไทย ก่อร่างสร้างอาณาจักรธุรกิจมายาวนานกว่า 7 ทศวรรษในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเจ้าของห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า “เซ็นทรัล” ที่มีเครือข่ายสาขาให้บริการอยู่ทั่วประเทศ     กลุ่มเซ็นทรัล ขับเคลื่อนธุรกิจผงาดผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกและบริการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ดำเนินธุรกิจหลากหลายแขนง นอกจากเรือธง อย่าง “ห้างเซ็นทรัล” ยังครอบคลุมธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีหัวหอก คือ “ศูนย์การค้าเซ็นทรัล” ธุรกิจบริหารและการตลาดสินค้าแฟชั่น ธุรกิจโรงแรมและ รีสอร์ท ธุรกิจร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจดิจิทัลไลฟ์สไตล์     อาณาจักรเซ็นทรัลในภาคอีสาน (2) “กลุ่มเซ็นทรัล” ได้มาเริ่มลงทุนในภาคอีสานในกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าครั้งแรกเมื่อเดือน เมษายน 2552 ครั้งนั้นเป็นการเข้ามาซื้อกิจการของกลุ่มเจริญศรีและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เซ็นทรัลอุดรธานี” นับเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลยทีเดียว ต่อมาเริ่มขยายกิจการและเปิดเพิ่มอีก 3 แห่งคือ เซ็นทรัลขอนแก่น เดือนธันวาคม 2552 เซ็นทรัลอุบลราชธานี เดือนเมษายน 2556 และเซ็นทรัลนครราชสีมา ในเดือนพฤศจิกายน 2560    นับเป็นการเข้ามาเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของ 4 จังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ ในแต่ละที่มีการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกอาคารที่แตกต่างกัน โดยการดึงความโดดเด่นของแต่ละจังหวัดออกมา เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์กอีกด้วย    💚Robinson Lifestyle นอกจากเซ็นทรัลแล้ว ยังมี “โรบินสันไลฟ์สไตล์” การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ตลอดจนการเกิดขึ้นของผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ และแลนด์สเคปของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นแรงผลักสำคัญให้ศูนย์การค้าต้องปรับกลยุทธ์และรูปแบบในการนำเสนอให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าแบบครบวงจร   ภายใต้การทำตลาดศูนย์การค้าขนาดเล็ก และขนาดกลางของกลุ่มเซ็นทรัลนั้น จะบริหารโดยเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือซีอาร์ซี ที่มี 2 แบรนด์หลักคือท็อปส์ พลาซ่า ที่เปิดในจังหวัดขนาดเล็ก ที่มีกำลังซื้อไม่มากพอสำหรับศูนย์การค้าขนาดกลาง-ใหญ่ ส่วนศูนย์การค้าขนาดกลางจะมีแบรนด์โรบินสันไลฟ์สไตล์ ที่ถูกส่งเข้ามาปักหมุดในจังหวัดขนาดกลาง และอำเภอขนาดใหญ่ โดย “โรบินสันไลฟ์สไตล์” มีการปักหมุดในภาคอีสานบ้านเรา ที่จังหวัดชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, สกลนคร, มุกดาหาร และร้อยเอ็ด    กลุ่มเซ็นทรัลมีแผนการลงทุนในจังหวัดนครพนมและหนองคายเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยวในภูมิภาค อย่างจังหวัดนครพนม ด้วยงบลงทุน 2,000 ล้านบาท โดยจังหวัดนครพนมเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองหน้าด่านการค้าและการท่องเที่ยว เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน อีกทั้งยังมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 รองรับการเดินทาง

พาเลาะเบิ่ง ห้างสรรพสินค้า อาณาจักร กลุ่มเซ็นทรัล ใน GMS อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top