พามาเบิ่ง🧐ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และพีระมิดประชากรลาว🇱🇦

ภาพรวมประชากรลาว

  • ขนาดประชากร: ประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2566)
  • อัตราการเติบโต: ประมาณ 1.5% ต่อปี
  • การกระจายตัว: ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบริเวณนครหลวงเวียงจันทน์
  • ความหนาแน่น: ประมาณ 32 คนต่อตารางกิโลเมตร

โครงสร้างอายุ

  • วัยเด็ก (0-14 ปี): ประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด
  • วัยแรงงาน (15-64 ปี): ประมาณ 65% ของประชากรทั้งหมด
  • ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป): ประมาณ 5% ของประชากรทั้งหมด

กลุ่มชาติพันธุ์

  • ลาวลุ่ม: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ คิดเป็นประมาณ 68% ของประชากร
  • ลาวเทิง: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง คิดเป็นประมาณ 22% ของประชากร
  • ลาวสูง: เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าลาวเทิง เช่น ชาวม้งและเย้า คิดเป็นประมาณ 9% ของประชากร
  • กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ: มีอีกประมาณ 40 กว่ากลุ่มชาติพันธุ์ คิดเป็นส่วนที่เหลือของประชากร

ศาสนา

  • ศาสนาพุทธ: เป็นศาสนาหลักของประเทศ คิดเป็นประมาณ 66.8% ของประชากร
  • ศาสนาผี: ยังคงมีการนับถือในหลายพื้นที่ คิดเป็นประมาณ 30.7% ของประชากร
  • ศาสนาคริสต์และอิสลาม: มีผู้นับถือจำนวนน้อย คิดเป็นประมาณ 2.5% ของประชากร

ภาษา

  • ภาษาลาว: เป็นภาษาทางการและใช้ในการสื่อสารทั่วไป
  • ภาษาอื่นๆ: มีการใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

ลักษณะเฉพาะของโครงสร้างประชากรลาว

  • สังคมเยาว์วัย: ลาวมีสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ
  • ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม: ลาวมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และจุดแข็งของประเทศ
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร: ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เช่น การลดลงของอัตราการเกิดและการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ

 

👫พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นสูง

  1. เวียงจันทน์ (Vientiane): เมืองหลวงของลาวและศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา เป็นที่ตั้งของรัฐบาล สถาบันการศึกษา และธุรกิจสำคัญ
  2. สะหวันนะเขต (Savannakhét): เมืองเศรษฐกิจสำคัญทางภาคกลาง ติดกับประเทศไทย และมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  3. ปากเซ (Paksé): ศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ เป็นจุดเชื่อมโยงกับไทยและกัมพูชา

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ภาพที่ 1 : ภูมิประเทศสามมิติ (3D topography) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ ລາວ)

หากดูจากแผนที่ความหนาแน่นของประชากรลาว จะเห็นได้ว่าประชากร กระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ ภูมิศาสตร์ที่ไม่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานด้วยภูมิศาสตร์ลาวส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูงคนโดยคนลาวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และเมืองสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศ ซึ่งมีที่ราบอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐาน เช่น กรุงเวียงจันทน์เป็น เมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจ,ปากเซเป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ เป็นจุดเชื่อมโยงกับไทยและกัมพูชา
.

👨‍👩‍👧‍👦พีระมิดประชากรของลาว

  • ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน (15-59 ปี): สัดส่วนประชากรวัยแรงงานค่อนข้างสูง ทำให้มีแรงงานจำนวนมาก เป็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
  • อัตราการเกิดสูง และประชากรเด็ก (0-14 ปี): เป็นตัวบ่งชี้ว่าลาวยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีศักยภาพด้านการขยายตลาดแรงงานในอนาคต ภาระด้านสวัสดิการเด็กและการศึกษายังมีสูง
  • สัดส่วนผู้สูงอายุค่อนข้างต่ำ: ระบบสวัสดิการผู้สูงอายุยังไม่เป็นภาระต่อเศรษฐกิจมาก แต่ในระยะยาว หากโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป อาจมีผลกระทบต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจ

ภาพที่ 2: แผนภูมิพีระมิดประชากร ของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ ລາວ)

ในด้านของพีระมิดประชากรลาวมีพีระมิดประชากรที่สวยเพราะสัดส่วนประชากรวัยแรงงานค่อนข้างสูง ทำให้มีแรงงานจำนวนมาก เป็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ในอนาคตอีสานเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งสามารถรับแรงงานจากลาว เพื่อทดแทนแรงงานไทยที่มีจำนวนน้อยลงได้และยังมีค่าจ้างที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของไทยอีกด้วย

สปป. ลาว กับการเป็นสังคมเยาว์วัย

การเป็นสังคมเยาว์วัยของ สปป. ลาว สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ที่จะเป็นจุดแข็งที่สำคัญในการพัฒนาประเทศระยะต่อไป การมีจำนวนประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้นสามารถช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และช่วยยกระดับการพัฒนารายได้ของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการบริหารจัดการที่ดีและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสม จะสามารถส่งผลให้พัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน

ความท้าทายในการพัฒนาที่ยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางโอกาสสำคัญ ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ สปป. ลาว จะต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ กำลังประสบอยู่เช่นกัน เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาทางสังคมที่มาพร้อมกับความเจริญทางเศรษฐกิจ หรือกฎระเบียบด้านการค้า การลงทุน และการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น รัฐบาลและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องร่วมกันกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อป้องกันและรับมือกับสิ่งท้าทายเหล่านี้ โดยให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น รวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องเตรียมการสำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงวัยในอนาคตด้วย การพัฒนาระบบประกันด้านสุขภาพและสวัสดิการแก่ทั้งประชากรวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ และการวางแผนจากภาครัฐล่วงหน้าที่มีความรัดกุมและครอบคลุม จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่นำ สปป. ลาวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวและพร้อมจะรองรับโครงสร้างประชากรที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

ที่มา:

  • ศศิกานต์ โชติศรี. (2567), สปป. ลาว กับการเป็นสังคมเยาว์วัย: โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาที่ยั่งยืน, จาก BIC Vientiane สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์
  • กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566), สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565 – กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์ คอร์เปิเรชั่นส์ (มหาชน)
  • Encyclopædia Britannica, Inc. Population density of Laos. จาก britannica.com/place/Mekong-River/Climate-and-hydrology 
  • Population Pyramids of the World from 1950 to 2100. Lao People’s Democratic Republic 2024, PopulationPyramid.net.
  • ภาพที่ 1 : ภูมิประเทศสามมิติ (3D topography) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(2021), จาก Google Earth

ข้อมูล…น่าฮู้ อีสาน กับ ลาว

พามาเบิ่ง Battery of Asia (ประเทศลาว)

เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ?

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top