September 2024

พามาเบิ่ง ตลอดปีงบประมาณ 2567 ภาคอีสานได้รับจัดสรรงบประมาณ เบิก-จ่าย ไปมากน้อยแค่ไหน

นับถอยหลัง 2 สัปดาห์ ก่อนปิดปีงบประมาณ 2567 อีสานอินไซต์พาเปิดว่าตลอดปี เรื่องเงินๆทองๆของรัฐ เป็นยังไงบ้าง   เริ่มต้นโดยปีนี้ อีสานได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งหมดมาที่หน่วยงานในพื้นที่ทั้งหมด 2.3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงบที่กระทรวงจัดสรรให้กับหน่วยงานภายใต้กำกับในพื้นที่, งบที่ผ่านการบริหารงานของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และสุดท้าย เป็นงบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แล้ว 2.3 แสนล้านบาทนั้น มากขนาดไหน เดี๋ยวอีสานอินไซต์จะแสดงให้เห็นภาพเอง   ถึง 2.3 แสนล้าน อาจดูเป็นจำนวนเงินที่มาก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับตลอดทั้งปีงบฯ 67 มีอนุมัติกรอบวงเงินทั้งหมดถึง 3.4 ล้านล้านบาท สะท้อนว่าจากงบประมาณประเทศ 100% มีมาถึงอีสานเพียงแค่ 6% เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการกระจุกตัวของงบประมาณในส่วนกลางชัดเจน และเป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตว่าทำไมส่วนกลางถึงจัดสรรงบประมาณให้อีสาน ภูมิภาคที่มีทั้งพื้นที่มากที่สุด และประชากรมากที่สุดเพียงเท่านี้   การกระจายอำนาจการบริหาร และงบประมาณ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการนโยบายรายพื้นที่ให้เหมาะสมกับความแตกต่างกันของแต่ละพื้นที่มากที่สุด แต่อีสานอินไซต์เห็นจุดที่น่าสนใจของการกระจายงบประมาณว่าในอีสาน กว่า 89% ของงบที่ได้รับจัดสรร เป็นงบที่ได้รับผ่านหน่วยงานย่อยในแต่ละกระทรวงเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งมีรูปแบบการบริการจัดการที่มีความใกล้เคียงกันสูงในแต่ละพื้นที่ ต่อมาอีก 2% เป็นงบที่จ่ายผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งนับเป็นอำนาจการบริหารจัดการของผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละพื้นที่ ซึ่งก็ยังต้องขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทยจากส่วนกลางอยู่ดี ทำให้เหลืองบอีกเพียง 9% เท่านั้น ที่เป็นงบส่งเสริมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นบุคคลที่นับเป็น represent จากการลงคะแนนเสียงของคนในพื้นที่ ซึ่งเมื่อมองในรูปแบบนี้แล้ว จะเห็นข้อจำกัดอย่างชัดเจนในการดำเนินการนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ จากข้อจำกัดของงบประมาณที่ได้รับอย่างจำกัด และถึงแม้ปัญหาในปัจจุบันในหลายพื้นที่อาจยังไม่ถูกแก้ไข แต่วงเงินในปัจจุบันของ อปท. ในปีงบฯนี้ก็ถูกเบิกจ่ายจนใกล้ครบถ้วนแล้ว ทำให้ในหลายพื้นที่ อาจมีโอกาสที่เจอปัญหาในพื้นที่ไม่ถูกแก้ให้ตรงจุด จากมาตรการหลักของส่วนกลางที่อาจจะไม่ “One Size Fits All” นั้นเอง     ที่มา ข้อมูลเบิกจ่ายล่าสุด ณ วันที่ 13 กันยายน 2567 จากกรมบัญชีกลาง

🔎พาอัพเดตเบิ่ง แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอีสาน☔️🌧️🌊

จังหวัดเชียงราย และหนองคาย รวมไปถึงจังหวัดในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ที่มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อตรวจสอบพบว่าต้นตอ มาจากซุปเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ ที่พัดเข้าประเทศจีน พม่า และลาว โดยตรง น้ำท่วมหนัก ใน 3 ประเทศดังกล่าว ว่ากันว่า หนักสุดในรอบมากกว่า 30 ปี   🌧️โดยมีฝนตกในพื้นที่พม่า จีน และ สปป.ลาว ในปริมาณมาก โดย สปป.ลาวนั้น มีพื้นที่รับน้ำของแม่น้ำโขงมากที่สุด รองลงมาคือ ประเทศไทย และจีน 10% แต่ที่ท่วมที่เชียงราย คือ น้ำโขงที่มาจากประเทศพม่า ส่วนที่หนองคายนั้น มาจาก สปป.ลาว ซึ่งมีจำนวนมหาศาลเช่นเดียวกัน น้ำดังกล่าวนี้ ค่อยๆ ไหลเข้ามายังประเทศไทย เรียกน้ำนี้ว่า น้ำท่า   สาเหตุ “น้ำโขงล้น” มีสาเหตุมาจากอะไร?   การสร้างเขื่อนขวางโขงของจีนนั้นส่งผลในแทบทุกมิติตลอดทั้งพื้นที่ท้ายน้ำ ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม ระบบนิเวศ ซึ่งเขื่อนขวางโขงอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนและหลายอย่างจะไม่กลับมาเหมือนเดิม น้ำโขงก็จะค่อยๆ ไหลมาเรื่อยๆ ด้วยปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามหาศาล ทั้งที่ลงในแม่น้ำโดยตรง และไหลลงมาหลังจากมีการตกลงข้างทาง น้ำโขงผ่าน หนองคาย น้ำก็เอ่อล้นเมือง จนเกิดน้ำท่วมหนัก เมื่อผ่านหนองคายไปแล้ว ก็จะไปยังบึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และค่อยๆ ลดลงตามระยะทาง   🌳สาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมหนักคราวนี้ นั้นคือ ปริมาณป่าไม้ในประเทศไทย ที่ทางมูลนิธิสืบออกมาเปิดเผยว่า 1 ปี ที่ผ่านมา ป่าไม้ในประเทศไทย ลดลง กว่า 3 แสนไร่ ถือเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 30-40 ปี     ⚠️แจ้งเตือน!! ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 12 – 18 กันยายน 2567   📍เชียงราย บริเวณสถานีเชียงแสน อ.เชียงแสน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.50 – 0.70 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 3.40 เมตร 📍เลย บริเวณสถานีเชียงคาน อ.เชียงคาน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00 – 3.60 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50 – 1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13 – 16 ก.ย. 67 📍หนองคาย บริเวณสถานีหนองคาย …

🔎พาอัพเดตเบิ่ง แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอีสาน☔️🌧️🌊 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง น้ำในแม่น้ำโขงไหลมาจากไหนบ้าง

พามาเบิ่ง น้ำในแม่น้ำโขงไหลมาจากไหนบ้าง . แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดมาจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะบริเวณที่ราบสูงทิเบตในบริเวณตอนเหนือของเขตปกครองตนเองทิเบตและบริเวณมณฑลชิงไห่ของประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญอีก 2 สาย คือ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านประเทศจีนชาวจีนเรียกว่า “แม่น้ำหลานชางเจียง” (Lancang Jiang) ไหลผ่านภูเขาและที่ราบสูงในประเทศจีน ผ่านมณฑลยูนนานเข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และประเทศไทย บริเวณ “สามเหลี่ยมทองคำ” ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว ผ่านจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เป็นระยะทาง 1,520 กิโลเมตร แล้วไหลเข้าสู่ สปป.ลาว และกัมพูชา ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม รวมความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำในลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่ . ลุ่มแม่น้ำโขงสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ลุ่มน้ำโขงตอนบน (Upper Mekong Basin) และลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin) โดยลุ่มน้ำโขงตอนบนเริ่มตั้งแต่ต้นกำเนิดของแม่น้ำโขงในเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน ส่วนลุ่มน้ำโขงตอนล่างเริ่มตั้งแต่มณฑลยูนนานในประเทศจีนไหลผ่านประเทศ เมียนมาร์ ไทย สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนลงสู่ทะเลจีนใต้  . นอกจากนี้ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใน 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เป็นทั้งแหล่งน้ำ แหล่งโปรตีน แหล่งพันธุ์ปลา พันธุ์พืช และสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งหล่อเลี้ยงผู้คนมากกว่า 60 ล้านคน เป็นแหล่งโปรตีนของผู้คนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมากถึงร้อยละ 47-80 โดยมีมูลค่าการทำประมงต่อปีอยู่ที่ 127,000 – 231,000 ล้านบาท . จากข้อมูล The Mekong-U.S. Partnership แสดงปริมาณน้ำที่ไหลลงแม่น้ำโขงตลอดเดือน สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมาว่าไหลมาจากที่ใดบ้าง และคิดเป็นสัดส่วนอย่างละเท่าไหร่ ดังนี้ ช่วงแม่น้ำโขงตอนบน จากจีน เสี่ยวหวาน เชียงรุ่ง มวลน้ำคิดเป็น 21%  ช่วงแม่น้ำโขงตอนล่าง ช่วงสามเหลี่ยมทองคำ มวลน้ำคิดเป็น 20% ช่วงแม่น้ำโขงตอนล่าง ช่วงน้ำงึม – นครพนม ซึ่งมีเมืองสำคัญทั้ง เวียงจันทน์ สปป.ลาว อำเภอเมืองหนองคาย และอำเภอเมืองนครพนม มวลน้ำคิดเป็น 36% …

พามาเบิ่ง น้ำในแม่น้ำโขงไหลมาจากไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนนักลงทุนไทย กว่า 2.8 ล้านคน กระจายอยู่ไหนบ้าง

ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) เผยจำนวนผู้ลงทุนไทยทั้งหมด ณ เดือน กรกฏาคม 2567 2,800,000 คน  – กรุงเทพฯ 1,000,000 ราย – ปริมณฑล 520,000 ราย – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 326,000 ราย – ภาคกลาง 285,000 ราย  – ภาคตะวันออก 253,000 ราย – ภาคเหนือ 194,000 ราย – ภาคใต้ 216,000 ราย จะเห็นได้ว่าจำนวนนักลงทุนสัญชาติไทย 2.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4.24 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับ รายงาน Personal Finance and Investment Habits in Southeast Asia จาก Milieu Insight (มิลยู อินไซต์); บริษัทผู้ทำซอฟต์แวร์วิจัยด้านการตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำการสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติการเงินของคนใน 6 ประเทศอาเซียน จำนวน 3,000 คน จากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์  พบว่า คนอาเซียนส่วนใหญ่เลือกออมเงินมากกว่าลงทุน สะท้อนจาก 54% ของคนในอาเซียน ไม่ได้แบ่งเงินเพื่อลงทุนอย่างจริงจัง มีคนเพียง 46% เท่านั้นที่ตื่นตัวในการแบ่งเงินไปลงทุน ความตื่นตัวในการลงทุน คนส่วนใหญ่ในภูมิภาค และสัดส่วนนักลงทุนไทยในตลาดหลักทรัพย์ สะท้อนว่า อาเซียนมีความรู้ทางการเงินต่ำ ประกอบกับมีรายได้น้อย จึงมีโอกาสเข้าถึง การลงทุนที่จำกัด ทำให้พลาดโอกาสในการสะสมความมั่งคั่ง และสร้างการเติบโตทางการเงิน ส่งผลต่อการมีอิสระทางการเงิน และจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต เมื่อแต่ละประเทศในอาเซียน รวมถึงไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  . การวางแผนทางการเงิน คือ กระบวนการวางแผนการใช้เงินในอนาคต  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน ซื้อรถ ส่งลูกเรียน หรือเกษียณอายุอย่างมีความสุข การวางแผนที่ดีจะช่วยให้คุณบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากปัญหาทางการเงิน และสร้างความมั่นคงในชีวิต โดยการวางแผนทางการเงินมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ กำหนดเป้าหมาย: กำหนดเป้าหมายทางการเงินให้ชัดเจน เช่น ต้องการมีเงินเก็บเท่าไหร่ในกี่ปี วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน: ประเมินรายรับ รายจ่าย และสินทรัพย์ที่มีอยู่ จัดทำงบประมาณ: วางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือนให้สอดคล้องกับรายได้ ออมเงิน: สร้างวินัยในการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ลงทุน: นำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เงินทำงานและเติบโต บริหารความเสี่ยง: ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ TOP 5 อุปสรรคการลงทุนของคนอาเซียน …

พามาเบิ่ง จำนวนนักลงทุนไทย กว่า 2.8 ล้านคน กระจายอยู่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

เปิด เส้นทางขนส่งสินค้า ออนไลน์ ทำไมต้องผ่าน “มุกดาหาร” 2 วัน ส่งไว จีน-ไทย ไม่เกินจริง

เทศกาล โปรโมชั่น ลดกระหน่ำ ประจำเดือนมาถึงแล้ว หลายๆ คนก็เริ่มเก็บคูปองแล้วกดตะกร้าสั่งสินค้ากันแล้ว และแน่นอนว่าจะต้องตั้งตารอสินค้า และเช็คสถานะพัสดุที่จัดส่งเป็นระยะๆ จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า แล้วทำไมสินค้าบางอย่างที่สั่งผ่านร้านค้าที่จัดส่งจากต่างประเทศนั้น ถึงส่งได้อย่างรวดเร็ว ว่องไว เหลือเกิน โดยปกติจะมีการแจ้งจัดส่งภายใน 7 วัน แต่เอาเข้าจริงกลับจัดส่งได้เร็วกว่านั้น หรือเร็วสุด 2 วันก็ถึงแล้ว นอกจากนั้นหลายๆ คนก็เริ่มตั้งข้อสังเกตแล้วว่าสินค้าที่จัดส่งมาหลายๆ ชิ้นจะต้องผ่าน “ที่ทำการ MUKDAHAN” หรือ ด่าน มุกดาหารอยู่เสมอ ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านล่างที่แนบมานี้ ทำความรู้จักจุดผ่านแดนอีสาน-ประเทศเพื่อนบ้าน จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยมูลค่าการค้าสะสมเดือนมกราคม – สิงหาคม ปี 2566 พบจุดผ่านด่านดังนี้ ตามภาพด้านล่างนี้ จุดผ่านแดนอีสาน – ลาว มีที่ไหนบ้าง? . 1. จังหวัดเลย มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 69,024 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 3 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ําเหือง – ไชยบุรี, จุดผ่านแดนอำเภอเชียงคาน – นครหลวงเวียงจันทน์ และจุดผ่านแดนบ้านคกไผ่ – นครหลวงเวียงจันทน์ . 2. จังหวัดหนองคาย มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 108,686 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 2 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนท่าเสด็จ – นครหลวงเวียงจันทน์ และจุดผ่านแดนมิตรภาพไทย – ลาว(นครหลวงเวียงจันทน์) แห่งที่ 1 . 3. จังหวัดมุกดาหาร มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 88,781 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 2 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนอำเภอเมืองมุกดาหาร – แขวงสะหวันนะเขต และจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย – ลาว(แขวงสะหวันนะเขต) แห่งที่ 2 . 4. จังหวัดนครพนม มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 70,937 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 2 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย – ลาว(แขวงคําม่วน) แห่งที่ 3 และจุดผ่านแดนอำเภอเมืองนครพนม – แขวงคําม่วน . 5. จังหวัดบึงกาฬ มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 66,920 ล้านบาท โดยมีจุดผ่านแดน 1 แห่งด้วยกัน คือ จุดผ่านแดน อ.เมืองบึงกาฬ – แขวงแบอลิคําไซ (สะพานมิตรภาพไทย …

เปิด เส้นทางขนส่งสินค้า ออนไลน์ ทำไมต้องผ่าน “มุกดาหาร” 2 วัน ส่งไว จีน-ไทย ไม่เกินจริง อ่านเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ?

หนึ่งในข้อความจากเพจ ลาว”มอง”ไทย “แรงงานลาวไปทำงานในต่างประเทศ จาก 73% ในปี 2023 มาเป็น 93% ในปี 2024” แม้ข้อความข้างต้นจะไม่ปรากฏข้อมูลตัวเลขอ้างอิง ที่เชื่อถือได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีข่าวและข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจต่างๆ ที่พูดถึงวิกฤตทางการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ประเทศเล็กๆ ที่ไร้ทางออกทะเล ที่ต้องการฟื้นเปลี่ยนสภาพจาก land locked ให้เป็น land linked ประสานกับยุทธศาสตร์การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ทำให้ลาวต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ แต่กลับกันการลงทุนเหล่านั้นก็ได้สร้างหนี้พอกพูนมากขึ้นเป็นลำดับ “ภาคอีสาน และ สปป.ลาว ล้วนพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด ดังนั้นการหดตัวทางเศรษฐกิจลาวย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจอีสานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” สถานการณ์ของลาวประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับหนี้สาธารณะในระดับวิกฤตเมื่อมองไปที่นี่เงินกู้ของประเทศตอนนี้สูงถึง 122 % ของ GDP ซึ่งทำให้ลาวกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 9 ของโลกตามข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่หลายคนกล่าวถึงลาวว่ากำลัง “ติดกับดักนี่ทางการทูต” จากจีนหรือไม่? จนนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าลาวได้กลายเป็นรัฐเงา(shadow state) ของจีนไปด้วยซ้ำ แต่ในขณะเดียวกันลาวก็ไม่ได้มีทางเลือกในการพัฒนามากนักการต้านจีนจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากการเชื่อมโยงพัฒนาเข้ากับจีนดูเหมือนจะเป็นทางเดียวที่ลาวจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่พรรคประชาชนปฏิวัติเราเองก็ต้องการความชอบธรรมด้านผลงานจากการพัฒนาเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทุกอย่างมีราคาต้องจ่าย ISAN Insight and Outlook จะ พามาเบิ่ง ว่าท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของลาว ได้เกิดผลกับลาวอย่างไรและได้ส่งผลต่อประเทศไทยรวมถึงภาคอีสานที่ถือเป็นชายแดนติดกับประเทศลาวอย่างไรบ้างตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เศรษฐกิจลาวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น ภัยธรรมชาติ ภาวะหนี้สิน และผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจลาวก็มีสัญญาณการฟื้นตัวและพัฒนาในหลายด้าน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจลาว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟมาตรฐาน และเขื่อน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเชื่อมโยงลาวเข้ากับภูมิภาค การลงทุนจากต่างประเทศ: การลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาว แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของประเทศ ภาคการเกษตร: ภาคการเกษตรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจลาว แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนเทคโนโลยี ภาคการท่องเที่ยว: ภาคการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจลาว แต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจลาวในอนาคต การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป: แม้ว่าเศรษฐกิจลาวจะเริ่มฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวก็ยังมีความเปราะบางและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น สงครามการค้า สภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวน ความท้าทายด้านหนี้สิน: ภาระหนี้สินของลาวยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข การพัฒนาอย่างยั่งยืน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปรียบเทียบศักยภาพเศรษฐกิจลาว และ ภาคอีสาน   ลาว ยังเป็นผู้ลงทุน Top3 ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลข้างต้น ณ 30 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จะพบว่า ลาว ยังเป็นกลุ่มประเทศที่เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานอย่างต่อเนื่องและติด TOP 3 มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฝั่งแรงงานจากลาว ก็ถือเป็นอันดับ 2 ของไทยที่ขับเคลื่อนแรงงานต่างด้าว เป็นรองเพียง …

เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ? อ่านเพิ่มเติม »

คนอีสานและทั่วโลกถูกดักฟัง หลังข่าวฉาว บิ๊กเทคอาจใช้ AI ดักฟังในแพลตฟอร์มต่างๆ เหตุเม็ดเงินโฆษณาเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สงครามแย่งชิงความสนใจและเม็ดเงินโฆษณาในวงการสื่อและความบันเทิงไทยกำลังร้อนระอุ! แพลตฟอร์มใหม่ๆ ผุดขึ้นราวดอกเห็ด ผู้บริโภคเสพสื่อหลากหลายช่องทางจนตาลาย แต่ใครจะครองใจคนไทยได้อยู่หมัด? . ผลสำรวจจาก Marketbuzzz ชี้ชัดว่า คนไทยยุคนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดีย (70%) การท่องอินเทอร์เน็ต (50%) และดูวิดีโอสตรีมมิง (47%) LINE และ Facebook ยังคงเป็นเจ้าพ่อโซเชียล โดยเฉพาะ LINE ที่มีผู้ใช้งานสูงถึง 78% สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในการใช้แอปพลิเคชันนี้ในการสื่อสารและติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวัน . Facebook เองก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้งาน 68% แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มนี้ยังคงเป็นช่องทางสำคัญในการเชื่อมต่อกับเพื่อนฝูงและครอบครัว นอกจากนี้ ยังพบว่า Messenger แอปพลิเคชันแชตในเครือของ Facebook ก็มีผู้ใช้งานสูงถึง 34% บ่งชี้ว่าคนไทยยังคงนิยมการสื่อสารแบบส่วนตัวผ่านช่องทางนี้ . ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook อยู่มากกว่า 12.9 ล้านบัญชี โดยมีสัดส่วนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook แบ่งเป็นผู้หญิง 60.01% และผู้ชาย 39.99%.โดยประเทศไทยเป็นประเทศอันดับที่ 8 ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน facebook มากที่สุดในโลก จำนวนกว่า 48.3 – 56.9 ล้านบัญชี โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่50.6% ชอบโพสต์ลิงค์มากที่สุดรองลงมาเป็นรูปภาพ 30.2%video 17.1%สเตตัสทั่วไป 1.9%ส่วนค่าเฉลี่ยการโพสต์จากเพจ 1.92%. จัดอันดับอันดับจังหวัดที่มีสัดส่วนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุด.อันดับที่ 1 นครราชสีมา จำนวน 1.7 – 2 ล้านบัญชีอันดับที่ 2 อุบลราชธานี จำนวน 9.8 แสนบัญชี – 1.2 ล้านบัญชีอันดับที่ 3 อุดรธานี จำนวน 8.1 – 9.6 แสนบัญชีอันดับที่ 4 ขอนแก่น จำนวน 8.1 – 9.5 แสนบัญชีอันดับที่ 5 บุรีรัมย์ จำนวน 7.5 – 8.8 แสนบัญชี 6 สุรินทร์ จำนวน 6 – 7 แสนบัญชี 7 ศรีสะเกษ จำนวน 5.9 – 6.9 แสนบัญชี 8 ร้อยเอ็ด จำนวน 5.5 – 6.5 แสนบัญชี 9 สกลนคร จำนวน 5.5 – …

คนอีสานและทั่วโลกถูกดักฟัง หลังข่าวฉาว บิ๊กเทคอาจใช้ AI ดักฟังในแพลตฟอร์มต่างๆ เหตุเม็ดเงินโฆษณาเติบโตอย่างต่อเนื่อง อ่านเพิ่มเติม »

ของดีและฟรีมีอยู่จริง!!! บริการจาก “40 บูท” ในงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” บริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่น ครบจบที่เดียว

บริการวิชาการด้วยใจ ครบจบที่เดียว กับ มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ หน่วยงานเครือข่าย ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เข้าร่วมบริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่นกว่า 40 หน่วยงาน โดยการจัดกิจกรรม “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ในโครงการ KKU CSV มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 แล้ว ในปีนี้ ได้กำหนดจัดขึ้น ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน  2567 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ สถานีรถไฟขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานเครือข่าย ร่วมนำองค์ความรู้ ทั้งทางด้านการบริการวิชาการ การให้คำปรึกษา รวมถึง การบริการด้านสุขภาพ ออกบริการประชาชนในชุมชน ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย  ให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่ 1.บริการด้านสุขภาพ  -ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน ถอนฟัน –  ให้บริการทันตสุขศึกษา – การตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาล และประเมิน Body Composition (การวัดองค์ประกอบของร่างกาย) พร้อมบริการให้คำปรึกษาสุขภาพ – การให้ความรู้สุขภาพต่าง ๆ การสร้างเสริมสุขภาพด้วยอาหาร – การประชาสัมพันธ์ช่องทางการเข้าถึงโรงพยาบาล – การบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ – ตอบคำถามโรคติดต่อชิงรางวัลและแจก Set box ป้องกันโรค – การบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม – การแนะนำบริการต่างๆของศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ(SMC). อาทิเช่น • คลินิกโรคเฉพาะทาง • คลินิกตรวจสุขภาพ • วัคซีนผู้ใหญ่และเด็ก • ช่องทางการเข้ารับบริการ ผู้รับบริการต้องนำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง -แนะนำบริการต่างๆ และตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดความดัน ประเมินภาวะสุขภาพด้วยเครื่องวัดมวลร่างกาย แบบทดสอบภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย -ให้ความรู้เรื่องการเตรียมตัวก่อนมารับบริการทางวิสัญญีและคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 2.ให้บริการฝังเข็มเพื่อการระงับปวด 3.แจกของที่ระลึกแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม” -นิทรรศการพิพิธภัณฑ์ทางพยาธิวิทยา โดยให้ความรู้เกี่ยวกับรอยโรคของอวัยวะในร่างกายมนุษย์ -รับบริจาคโลหิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริการโลหิต และมอบของที่ระลึกให้ผู้มาร่วมกิจกรรม – ให้ความรู้ทางด้านเซลล์บำบัดรักษา คือ การรักษาฟื้นฟูระดับเซลล์ด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น – ให้สิทธิ์ในการรักษาภาวะเข่าเสื่อม ฟรี 5 ราย และภาวะเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง ฟรี 5 ราย – ให้บริการตรวจประเมินผิวหน้าและหนังศีรษะพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี – ร่วมกิจกรรมเล่นเกมลุ้นรางวัลและของที่ระลึกมากมาย -การตรวจองค์ประกอบร่างกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกายเบื้องต้น ( Body scan …

ของดีและฟรีมีอยู่จริง!!! บริการจาก “40 บูท” ในงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” บริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่น ครบจบที่เดียว อ่านเพิ่มเติม »

4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต

🌧☔ในฤดูฝนช่วง สิงหา-กันยา ในทุกๆ ปี หลายท่านอาจจะต้องเผชิญกับฝนอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน หรือเวลาเลิกงาน บางครั้งอาจหนักถึงขั้นพายุ ฟ้าฝน ลม กระหน่ำ จนเกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลาก ในยุคเมืองปูน เมืองซีเมนต์ ที่น้ำไหลซึมลงผ่านหน้าดินได้ยากนี้ จึงต้องอาศัยเครืองไม้เครื่องมือในการจัดการน้ำ ที่รอการระบาย หรือไม่สามารถระบายผ่านระบบระบายของตัวเมืองได้ทัน . แล้วในสมัยก่อน คนในอดีตวางผังเมือง และมีแผนการรับมือกับน้ำทั้งใน⛈หน้าฝน ⛅หน้าแล้ง และวางระบบชลประทานอย่างไรบ้าง วันนี้ ISAN Insight 🧐สิพามาเบิ่ง 4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต กัน ประวัติความเป็นมาของคูคลอง 4 จังหวัดภาคอีสาน 1. นครราชสีมา #คลองคูเมืองนครราชสีมาได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของนครราชสีมา.ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของขแมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการรบ จึงมีการสร้างกำแพงและขุดคู้มืองขึ้นด้วย.โดยคูเมืองกว้าง 20 เมตร (10 วา) และลึก 6 เมตร (3 วา) ยาวล้อมรอบเมือง มีความกว้างประมาณ 1,000 เมตร (มาตราวัดของไทย : 25 เส้น) ยาวประมาณ 1,700 เมตร (มาตราวัดของไทย : 43 เส้น) ยาวล้อมรอบกำแพงเมืองและเขตเมืองเก่า และมีการขุดลำปรุจากลำตะคองเป็นทางน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมืองด้วย มาทำความรู้จัก ๑๗ คูเมืองโคราช . #ชื่อคูเมืองโคราช คูเมืองโคราชมีทั้งหมด 17 คูและให้ประชาชนร่วมส่งชื่อเข้าประกวด โดยคณะเทศมนตรีชุดบริหาร พ.ศ.2526 ร่วมกับอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำชื่อที่เข้าอันดับมาไล่เรียงให้คล้องจองกัน โดยยึดถือความสอดคล้องทางประวัติศาสตร์โคราชและเกี่ยวกับท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ซึ่งแต่ละคูมีชื่อที่คล้องจองกันดังนี้ นารายณ์รังสฤษดิ์ มหิศราธิบดี เศวตหัตถีคู่แดน พลแสนฮึกหาญ อีสานชาญชัย ชูไทเทิดหล้าน พลล้านต้านปัญจา บูรพารวมพล พหลไกรเกริกหาญ ชลธารเทพสถิต นิรมิตชลเขต สาครเรศบุรารักษ์ พิทักษ์สีมารัฐ ยกกระบัตรลือเลื่อง ปลัดเมืองเกรียงไกร พิชัยชุมพล สัมฤทธิ์รณอริพ่าย ภาพคูเมือง ทั้ง 17 แห่งของโคราช ___________________________ 2. ร้อยเอ็ด #คลองคูเมืองร้อยเอ็ดกำแพงเมืองและคูเมืองร้อยเอ็ด เกี่ยวข้องกับเมืองสาเกตในตำนานอุรังคธาตุ ระบุว่ามีมาก่อน การสร้างพระธาตุพนม (พ.ศ. แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีพบร่องรอยการอยู่อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย.ต่อมาจึงมีการสร้างเมืองร้อยเอ็ดเมื่อราวปี พ.ศ.1000 ร่วมสมัยกับเมืองเชียงเหียน เมืองจำปาศรี จังหวัดมหาสารคาม …

4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🚅🛩⛴ 🐉เส้นทางมังกร: การเดินทางของคนจีนสู่อีสาน 2024🇨🇳

สรุปข้อมูล คนจีนที่เดินทางเข้าในภาคอีสานของไทย ปี 2567 จากข้อมูลที่ให้มา เราสามารถวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการเดินทางของชาวจีนเข้าสู่ภาคอีสานของไทยในปี 2567 ได้ดังนี้ จุดผ่านแดนยอดนิยม จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพ 1 จังหวัดหนองคาย เป็นจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการเดินทางเข้ามาของชาวจีน สะท้อนให้เห็นถึงความสะดวกในการเดินทางและความเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ จุดผ่านแดนอื่นๆ เช่น สะพานมิตรภาพ 2, 3 และช่องเม็ก ก็มีปริมาณผู้เดินทางเข้ามาในระดับที่น่าสนใจ ซึ่งบ่งบอกถึงความหลากหลายของเส้นทางที่ชาวจีนเลือกใช้ กลุ่มอายุ กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวและมีกำลังซื้อ กลุ่มอายุอื่นๆ ก็มีการกระจายตัวค่อนข้างดี ซึ่งบ่งบอกถึงความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายที่เดินทางมาเที่ยวภาคอีสาน เพศ เพศชาย มีจำนวนมากกว่าเพศหญิง กว่าเท่าตัว วิธีการเดินทาง การเดินทางทางบก เป็นวิธีการเดินทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด สอดคล้องกับข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าจุดผ่านแดนทางบกมีปริมาณผู้เดินทางสูงกว่าจุดผ่านแดนทางอากาศและทางน้ำ การเดินทางทางอากาศและทางน้ำ มีสัดส่วนน้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยด้านระยะทางและความสะดวกในการเดินทาง ข้อเสนอแนะ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคอีสานให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่าง การสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว: พัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย การประชาสัมพันธ์: สร้างสรรค์แคมเปญการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของภาคอีสานให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในตลาดนักท่องเที่ยวชาวจีน วิเคราะห์ถึงการเข้ามาของคนจีนในภาคอีสาน จากข้อมูลที่วิเคราะห์ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ภาคอีสานของไทยมีความน่าสนใจและมีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคอีสานจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง โดยพิจารณาจากกลุ่มอายุช่วง 25-34 ปี และ 35-44 ปี เป็นช่วงอายุที่ผ่านด่านเข้ามามากที่สุด รวมทั้ง เป็นเพศชายที่มากกว่าเพศหญิงกว่าเท่าตัว ด้วยความที่ข้อมูลชุดนี้มีเพียงจำนวนผู้ผ่านด่านแต่ละด่าน ไม่ได้แสดงลึกว่าเป็นผู้ถือครองวีซ่าประเภทไหนบ้าง จึงอาจจะไม่ทราบจุดประสงค์ของการเดินทางที่แท้จริงว่าเป็นการท่องเที่ยว หรือเข้ามาทำงาน แต่จากการลงพื้นที่สำรวจ และสัมภาษณ์คนในท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีด่านเหล่านี้ ก็จะพบว่า การมาถึงของฟรีวิซ่าจีนและช่วงวิกฤติเศรษฐกิจจีนทำให้มีชาวจีน เข้ามาในไทยมากขึ้น โดยส่วนมากในอีสานจะเข้ามาทำงาน เดินทางมาทำธุรกิจมากกว่าการท่องเที่ยว และอีกจุดที่น่าสังเกตอีก 1 จุดคือ การเดินทางทางบกมีสัดส่วนสูงสุด โดยด่านหนองคายมีจำนวนผู้ผ่านด่านชาวจีนมากที่สุด อาจจะด้วยสาเหตุที่มีทางรถไฟสายเวียงจันทร์-บ่อเต็น หรือ ทางรถไฟสายจีน-ลาว สามารถลำเลียงสินค้าและผู้โดยสารจากจีนตอนใต้ ผ่านลาวมาถึงไทยได้อีกเส้นทางหนึ่ง โดยเส้นทางนี้จะเชื่อมจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน มาที่บ่อเต็น สปป.ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดหนองคายเพียงแค่ 24 กิโลเมตร ดังนั้นหากในอนาคต มีการเชื่อมต่อระบบรางของไทยเชื่อมกับ ลาว และ จีนตอนใต้ ก็ยิ่งเพิ่มจำนวนคนจีนที่จะเดินทางเข้าสู่อีสานมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ท้าทายมากขึ้นสำหรับคนท้องถิ่นในอีสาน ภาพ เส้นทาง รถไฟ จีน-ลาว หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นเพียงการวิเคราะห์เบื้องต้นจากข้อมูลที่ให้มา อาจมีความแตกต่างจากข้อมูลจริงได้ หากต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฤดูกาล: จำนวนนักท่องเที่ยวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลท่องเที่ยว เทศกาล: การจัดงานเทศกาลต่างๆ อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยว นโยบายของรัฐบาล: นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น การยกเว้นวีซ่า อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ: สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศอาจมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมจะช่วยให้สามารถวางแผนและดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคอีสานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น …

พามาเบิ่ง🚅🛩⛴ 🐉เส้นทางมังกร: การเดินทางของคนจีนสู่อีสาน 2024🇨🇳 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top