ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) เผยจำนวนผู้ลงทุนไทยทั้งหมด ณ เดือน กรกฏาคม 2567 2,800,000 คน
– กรุงเทพฯ 1,000,000 ราย
– ปริมณฑล 520,000 ราย
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 326,000 ราย
– ภาคกลาง 285,000 ราย
– ภาคตะวันออก 253,000 ราย
– ภาคเหนือ 194,000 ราย
– ภาคใต้ 216,000 ราย
จะเห็นได้ว่าจำนวนนักลงทุนสัญชาติไทย 2.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4.24 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับ รายงาน Personal Finance and Investment Habits in Southeast Asia จาก Milieu Insight (มิลยู อินไซต์); บริษัทผู้ทำซอฟต์แวร์วิจัยด้านการตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำการสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติการเงินของคนใน 6 ประเทศอาเซียน จำนวน 3,000 คน จากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์
พบว่า คนอาเซียนส่วนใหญ่เลือกออมเงินมากกว่าลงทุน สะท้อนจาก 54% ของคนในอาเซียน ไม่ได้แบ่งเงินเพื่อลงทุนอย่างจริงจัง มีคนเพียง 46% เท่านั้นที่ตื่นตัวในการแบ่งเงินไปลงทุน
ความตื่นตัวในการลงทุน คนส่วนใหญ่ในภูมิภาค และสัดส่วนนักลงทุนไทยในตลาดหลักทรัพย์ สะท้อนว่า อาเซียนมีความรู้ทางการเงินต่ำ ประกอบกับมีรายได้น้อย จึงมีโอกาสเข้าถึง การลงทุนที่จำกัด ทำให้พลาดโอกาสในการสะสมความมั่งคั่ง และสร้างการเติบโตทางการเงิน ส่งผลต่อการมีอิสระทางการเงิน และจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต เมื่อแต่ละประเทศในอาเซียน รวมถึงไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
.
การวางแผนทางการเงิน คือ กระบวนการวางแผนการใช้เงินในอนาคต
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน ซื้อรถ ส่งลูกเรียน หรือเกษียณอายุอย่างมีความสุข การวางแผนที่ดีจะช่วยให้คุณบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากปัญหาทางการเงิน และสร้างความมั่นคงในชีวิต โดยการวางแผนทางการเงินมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
- กำหนดเป้าหมาย: กำหนดเป้าหมายทางการเงินให้ชัดเจน เช่น ต้องการมีเงินเก็บเท่าไหร่ในกี่ปี
- วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน: ประเมินรายรับ รายจ่าย และสินทรัพย์ที่มีอยู่
- จัดทำงบประมาณ: วางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือนให้สอดคล้องกับรายได้
- ออมเงิน: สร้างวินัยในการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ
- ลงทุน: นำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เงินทำงานและเติบโต
- บริหารความเสี่ยง: ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ
TOP 5 อุปสรรคการลงทุนของคนอาเซียน
- กลัวสูญเงิน (50%)
- ใช้เวลานานกว่าจะได้ผลตอบแทน (35%)
- กลัวที่จะพลาดโอกาสการลงทุน (35%)
- ข้อมูลเยอะ ตัดสินใจไม่ได้ (31%)
- เริ่มต้นลงทุนไม่ถูก (30%)
การลงทุน: คนไทยยุคดิจิทัลส่วนใหญ่ลงทุนใน บัญชีเงินฝากธนาคาร ทองคำ และล็อตเตอรี่
บทสำรวจคนยุคดิจิทัลอาเซียน ประจำปี 2565 เผยข้อมูลประมาณ 1 ใน 5 ของคนไทยไม่ได้ลงทุนกับอะไรเลย โดยหากมีการลงทุนผู้ตอบแบบสอบถามมักลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำเช่นเงินฝากธนาคาร
นอกจากนี้ทองคำและล็อตเตอรี่ยังเป็นที่นิยมอย่างมากประเทศไทยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ลงทุนในลอตเตอรี่มากถึงร้อยละ 28 ซึ่งถือว่าสูงสุดในภูมิภาคอาเซียนโดยนับเป็น 3 เท่าของค่าเฉลี่ยในภูมิภาค
นอกจากการลงทุน 3 อันดับแรกนี้คนไทยยังลงทุนในหุ้น, สกุลเงินดิจิตอล (Cryptocurrency), สินทรัพย์ดิจิตอล(NFTs), กองทุนรวม และ Exchange Trade Fund (ETF)
“มาเริ่มต้นให้การลงทุนเป็นเรื่องของทุกคน”
ISAN Insight x SET ชวนมางาน
📣”ตลาดหลักทรัพย์ฯ สัญจร ขอนแก่น”🚍
งานฟรี!! พร้อมโปรโมชันพิเศษมากมาย เมื่อเปิดบัญชีในงาน
.
🚩 พบกันวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567
⏰ เวลา 9.00 – 16.00 น. (เริ่มลงทะเบียน เวลา 08.30 น.)
🏨 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น
.
📲 สำรองที่นั่งล่วงหน้า >> ✨️เพื่อรับฟรี! GiftSet กระเป๋า #investnow และ หนังสือ #WealthDesign
ได้ที่ลิงก์🌐https://setga.page.link/3tx7
อ้างอิง:
- Personal Finance and Investment Habits in Southeast Asia; Milieu Insight
- บทสำรวจคนยุคดิจิทัลอาเซียน ประจำปี 2565 (2022 ASEAN Digital Generation Report); บริษัท Sea ทำร่วมกับสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum)
- ข้อมูลจำนวนนักลงทุนสัญชาติไทยในตลาดหลักทรัพย์; ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน