หนึ่งในข้อความจากเพจ ลาว”มอง”ไทย “แรงงานลาวไปทำงานในต่างประเทศ จาก 73% ในปี 2023 มาเป็น 93% ในปี 2024” แม้ข้อความข้างต้นจะไม่ปรากฏข้อมูลตัวเลขอ้างอิง ที่เชื่อถือได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีข่าวและข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจต่างๆ ที่พูดถึงวิกฤตทางการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ประเทศเล็กๆ ที่ไร้ทางออกทะเล ที่ต้องการฟื้นเปลี่ยนสภาพจาก land locked ให้เป็น land linked ประสานกับยุทธศาสตร์การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ทำให้ลาวต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ แต่กลับกันการลงทุนเหล่านั้นก็ได้สร้างหนี้พอกพูนมากขึ้นเป็นลำดับ
“ภาคอีสาน และ สปป.ลาว ล้วนพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด ดังนั้นการหดตัวทางเศรษฐกิจลาวย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจอีสานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
สถานการณ์ของลาวประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับหนี้สาธารณะในระดับวิกฤตเมื่อมองไปที่นี่เงินกู้ของประเทศตอนนี้สูงถึง 122 % ของ GDP ซึ่งทำให้ลาวกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 9 ของโลกตามข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF
ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่หลายคนกล่าวถึงลาวว่ากำลัง “ติดกับดักนี่ทางการทูต” จากจีนหรือไม่? จนนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าลาวได้กลายเป็นรัฐเงา(shadow state) ของจีนไปด้วยซ้ำ
แต่ในขณะเดียวกันลาวก็ไม่ได้มีทางเลือกในการพัฒนามากนักการต้านจีนจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากการเชื่อมโยงพัฒนาเข้ากับจีนดูเหมือนจะเป็นทางเดียวที่ลาวจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่พรรคประชาชนปฏิวัติเราเองก็ต้องการความชอบธรรมด้านผลงานจากการพัฒนาเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทุกอย่างมีราคาต้องจ่าย
ISAN Insight and Outlook จะ พามาเบิ่ง ว่าท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของลาว ได้เกิดผลกับลาวอย่างไรและได้ส่งผลต่อประเทศไทยรวมถึงภาคอีสานที่ถือเป็นชายแดนติดกับประเทศลาวอย่างไรบ้างตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
เศรษฐกิจลาวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น ภัยธรรมชาติ ภาวะหนี้สิน และผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจลาวก็มีสัญญาณการฟื้นตัวและพัฒนาในหลายด้าน
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจลาว
- การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟมาตรฐาน และเขื่อน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเชื่อมโยงลาวเข้ากับภูมิภาค
- การลงทุนจากต่างประเทศ: การลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาว แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของประเทศ
- ภาคการเกษตร: ภาคการเกษตรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจลาว แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนเทคโนโลยี
- ภาคการท่องเที่ยว: ภาคการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจลาว แต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคนี้
แนวโน้มเศรษฐกิจลาวในอนาคต
- การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป: แม้ว่าเศรษฐกิจลาวจะเริ่มฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวก็ยังมีความเปราะบางและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น สงครามการค้า สภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวน
- ความท้าทายด้านหนี้สิน: ภาระหนี้สินของลาวยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เปรียบเทียบศักยภาพเศรษฐกิจลาว และ ภาคอีสาน
ลาว ยังเป็นผู้ลงทุน Top3 ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานมาอย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลข้างต้น ณ 30 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จะพบว่า ลาว ยังเป็นกลุ่มประเทศที่เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานอย่างต่อเนื่องและติด TOP 3 มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฝั่งแรงงานจากลาว ก็ถือเป็นอันดับ 2 ของไทยที่ขับเคลื่อนแรงงานต่างด้าว เป็นรองเพียง พม่า และ กัมพูชา
การที่ไทยและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานได้รับแรงงานลาวเข้ามาทำงานในภาคส่วนที่คนไทยไม่นิยมทำงานโดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผลิตและจำหน่ายอาหารงานบริการงานบ้านและการเกษตรซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตและบริการทำให้ธุรกิจในไทยสามารถลดต้นทุนและแข่งขันในตลาดได้ดียิ่งขึ้นและเติมเต็มช่องว่างในตลาดแรงงานไทยที่ไม่อยากทำงานในบางประเภท
แรงงานลาว ทะลักออกนอกประเทศ อีสานคือประตูด่านแรก และมุ่งสู่ กรุงเทพฯ
แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของเราทำให้แรงงานย้ายไปทำงานต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะในไทยแรงงานลาวข้ามฝั่งมาทำงานในภาคอีสานของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อหางานที่มีรายได้สูงกว่า สถานการณ์นี้ซิเห็นถึงปัญหาเศรษฐกิจลาวที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดีเท่าก่อนการระบาดของโควิด 19
ข้อมูลจากการประชุมสภาแห่งชาติลาว สมัยสามัญครั้งที่ 7 ใบคำ ขัดทิยะ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้เปิดเผยข้อมูล “ปัจจุบันแรงงานลาวที่ออกไปทำงานในต่างประเทศ ส่งเงินกลับบ้านรวมกันกว่าเดือนละ 52 ล้านดอลลาร์”
- ปัจจุบันมีแรงงานลาวออกไปทำงานในต่างประเทศแบบถูกกฎหมาย 212,795 คน ไปทำงานแบบผิดกฎหมาย 23,161 คน ได้ส่งเงินกลับประเทศเดือนละ 52,110,961 ดอลลาร์สหรัฐ หรือปีละ 625,331,532 ดอลลาร์สหรัฐ
- ขณะที่คนลาวหลั่งไหลออกไปทำงานในต่างประเทศ แต่ความต้องการแรงงานในประเทศกับเพิ่มสูงขึ้น จากการเก็บข้อมูลแหล่งต่างๆ พบว่า ระหว่างปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567 องค์กรธุรกิจต่างๆในลาวมีความต้องการแรงงานถึง 36,269 คน และคาดว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านี้ ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหาวิธีการแก้ไขอยู่
เศรษฐกิจ ลาว ส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวของภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดน ไทย-ลาว
จากตัวเลขจะพบว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เยี่ยมเยือนน้อยที่สุด และนักท่องเที่ยวต่างชาติเหล่านั้นที่มาเยี่ยมเยียนมากที่สุดก็เป็นชาวลาว
ในขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของเราก็ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของภาคอีสานอย่างชัดเจนการที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่างมากก็จะกระทบหนักต่อจังหวัดที่ติดกับชายแดนและจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวลาวก่อนภาวะโควิด 19 และวิกฤตเศรษฐกิจลาว
อาจกล่าวได้ว่า “การถดถอยของเศรษฐกิจเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดการเติบโตของภาคอีสานซึ่งส่งผลให้การบริโภคสินค้าและบริการของลาวจากภาคอีสานลดน้อยลง”
การขาดดุลทางการค้าอย่างหนักของประเทศลาวทำให้ค่าเงินกีบของลาวอ่อนตัวลง ส่งผลให้ GDP ของลาวลดลง ค่าเงินที่อ่อนทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้นส่งผลให้ราคาสินค้าภายในประเทศลาวสูงขึ้นไปด้วย ในขณะที่รัฐบาลมีการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความกดดันในการเบิกจ่าย เศรษฐกิจของลาวอ่อนแอลงและการว่างงานเพิ่มขึ้นสถานการณ์นี้แสดงถึงปัญหาเศรษฐกิจที่ซับซ้อน จากหลายปัจจัย
แต่หากมองที่การท่องเที่ยวภาคอีสานหลังโควิด 19 การท่องเที่ยวของภาคอีสานถือว่าฟื้นตัวได้ดีทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติโดยเฉพาะการท่องเที่ยวในเมืองรองที่อยู่ใกล้กับเขตชายแดน สปป.ลาว และริมแม่น้ำโขงจากการท่องเที่ยวสายหมู่พญานาคที่เป็นที่นิยมมากขึ้นในจังหวัดริมแม่น้ำโขง จึงทำให้มีการฟื้นตัวได้ดีกว่าจังหวัดเมืองหลัก นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวชาวไทย และที่เดินทางผ่านชายแดนไทยเข้าไปยังประเทศลาวก็ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศลาวให้ฟื้นตัวขึ้นมาด้วยเช่นกัน