4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต

🌧☔ในฤดูฝนช่วง สิงหา-กันยา ในทุกๆ ปี หลายท่านอาจจะต้องเผชิญกับฝนอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน หรือเวลาเลิกงาน บางครั้งอาจหนักถึงขั้นพายุ ฟ้าฝน ลม กระหน่ำ จนเกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลาก ในยุคเมืองปูน เมืองซีเมนต์ ที่น้ำไหลซึมลงผ่านหน้าดินได้ยากนี้ จึงต้องอาศัยเครืองไม้เครื่องมือในการจัดการน้ำ ที่รอการระบาย หรือไม่สามารถระบายผ่านระบบระบายของตัวเมืองได้ทัน
.
แล้วในสมัยก่อน คนในอดีตวางผังเมือง และมีแผนการรับมือกับน้ำทั้งใน⛈หน้าฝน ⛅หน้าแล้ง และวางระบบชลประทานอย่างไรบ้าง วันนี้ ISAN Insight 🧐สิพามาเบิ่ง 4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต กัน

ประวัติความเป็นมาของคูคลอง 4 จังหวัดภาคอีสาน

1. นครราชสีมา

#คลองคูเมืองนครราชสีมา
ได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของนครราชสีมา
.
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของขแมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการรบ จึงมีการสร้างกำแพงและขุดคู้มืองขึ้นด้วย
.
โดยคูเมืองกว้าง 20 เมตร (10 วา) และลึก 6 เมตร (3 วา) ยาวล้อมรอบเมือง มีความกว้างประมาณ 1,000 เมตร (มาตราวัดของไทย : 25 เส้น) ยาวประมาณ 1,700 เมตร (มาตราวัดของไทย : 43 เส้น) ยาวล้อมรอบกำแพงเมืองและเขตเมืองเก่า และมีการขุดลำปรุจากลำตะคองเป็นทางน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมืองด้วย
มาทำความรู้จัก ๑๗ คูเมืองโคราช
.
คูเมืองโคราชมีทั้งหมด 17 คูและให้ประชาชนร่วมส่งชื่อเข้าประกวด โดยคณะเทศมนตรีชุดบริหาร พ.ศ.2526 ร่วมกับอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำชื่อที่เข้าอันดับมาไล่เรียงให้คล้องจองกัน โดยยึดถือความสอดคล้องทางประวัติศาสตร์โคราชและเกี่ยวกับท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ซึ่งแต่ละคูมีชื่อที่คล้องจองกันดังนี้
  1. นารายณ์รังสฤษดิ์
  2. มหิศราธิบดี
  3. เศวตหัตถีคู่แดน
  4. พลแสนฮึกหาญ
  5. อีสานชาญชัย
  6. ชูไทเทิดหล้าน
  7. พลล้านต้านปัญจา
  8. บูรพารวมพล
  9. พหลไกรเกริกหาญ
  10. ชลธารเทพสถิต
  11. นิรมิตชลเขต
  12. สาครเรศบุรารักษ์
  13. พิทักษ์สีมารัฐ
  14. ยกกระบัตรลือเลื่อง
  15. ปลัดเมืองเกรียงไกร
  16. พิชัยชุมพล
  17. สัมฤทธิ์รณอริพ่าย
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ภาพคูเมือง ทั้ง 17 แห่งของโคราช

___________________________

2. ร้อยเอ็ด

#คลองคูเมืองร้อยเอ็ด
กำแพงเมืองและคูเมืองร้อยเอ็ด เกี่ยวข้องกับเมืองสาเกตในตำนานอุรังคธาตุ ระบุว่ามีมาก่อน การสร้างพระธาตุพนม (พ.ศ.😎 แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีพบร่องรอยการอยู่อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
.
ต่อมาจึงมีการสร้างเมืองร้อยเอ็ดเมื่อราวปี พ.ศ.1000 ร่วมสมัยกับเมืองเชียงเหียน เมืองจำปาศรี จังหวัดมหาสารคาม และเมืองฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์
.
ลักษณะการก่อสร้างกำแพงเมืองและคูเมือง เป็นกำแพงคันดินหนา 30 เมตรรูปสี่เหลี่ยมมุมมน ขนาดเฉลี่ยกว้าง 1,700 เมตร ยาว 1,800 เมตร มีคูเมืองด้านนอกมีความกว้างเฉลี่ย 50 เมตร
.

โดยรับน้ำจากห้วยกุดขวางที่เป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำชี ไหลเข้าสู่คูเมืองทางมุมกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และไหลเลียบกำแพงด้านทิศเหนือตามลำห้วยเหนือ (ลำน้ำธรรมชาติที่ถูกปรับแต่งให้เป็นคูเมืองด้านทิศเหนือ) และไหลออกนอกเมืองทางมุมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
.
กำแพงเมืองร้อยเอ็ด มี 13 ช่องประตู ตามที่ปรากฏในแผนที่ พ.ศ.2318-2480 ประกอบด้วย ด้านทิศเหนือ ๒ ช่องประตู ทิศตะวันออก 3 ช่องประตู ทิศใต้ 4 ช่องประตู และทิศตะวันตก 4 ช่องประตู แต่ในตำนานอุรังคธาตุ
.
ระบุว่ามีหนึ่งร้อยเอ็ดประตู และมีเมืองบริวารหนึ่งร้อยเอ็ดเมือง เรียกเมืองสาเกตปัจจุบันแนวกำแพงเมืองและคูเมืองร้อยเอ็ด คงเหลือเพียงบางส่วนได้แก่ บริเวณทิศตะวันออกของวัดบูรพา (ตรงข้ามโรงเรียนสตรีศึกษา) และในวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด
.
เอกลักษณ์ของกำแพงเมืองและคูเมืองร้อยเอ็ด คือ การสื่อความหมายทางสัญลักษณ์ว่ามี 101 ประตู เดิมน่าจะเรียกเมืองสเกต (สะ-เก-ตะ) ตามภาษาบาลีที่แปลว่าหนึ่งร้อยเอ็ด
.
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินคูและกำแพงเมืองร้อยเอ็ด ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 มีนาคม 2537 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 895 ไร่ (ขอบเขตโดยเฉลี่ยระยะ 25 เมตรห่างจากตีนกำแพงคันดินด้านใน และระยะ 10 เมตรห่างจากขอบตลิ่งคูเมืองด้านนอก) ผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถานมีความผิดตามกฎหมาย
 
___________________________

3. บุรีรัมย์

#คลองละลม คลองคูเมืองบุรีรัมย์
เมืองบุรีรัมย์ในอดีตเป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในอารยธรรมขอมมีประวัติการตั้งถิ่นฐาน และความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจากการศึกษาของนักโบราณคดีพบว่าหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของ
มนุษย์ครั้งแรกในสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยแรกเมื่อราว 1,500-2,500 ปีมาแล้ว
.
โดยชุมชนมี ประเพณีสำคัญคือการปลงศพแบบการฝังศพครั้งที่2 การฝังศพแบบนี้จะฝังผู้ตายครั้งแรกไว้ระยะเวลา หนึ่งจนเนื้อหนังเสื่อมสลายไปแล้วจึงขุดเอากระดูกผู้ตายมาบรรจุไว้ในภาชนะดินเผาหรือไม่บรรจุใน ภาชนะแล้วนำมาฝังไว้อีกครั้งหนึ่งในการจัดตั้งเมืองบุรีรัมย์นั้นมีการขุดคูเมืองหรือกำแพง (คลองละลม)
.


ล้อมรอบมีลักษณะเป็นรูปวงรีซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองมีความกว้างเฉลี่ย80 เมตร ยาวประมาณ 5,000
เมตร มีพื้นที่รวม 179 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา สภาพปัจจุบันแบ่งเป็น 6 ส่วน หรือ 6 ลูก ตามแนว ถนนที่ตัดเข้าเมืองชั้นใน
.
แต่บางส่วนได้ถูกถมสำหรับก่อสร้างอาคารพาณิชย์บ้านเรือนราษฎรและถนนไป แล้วจนกระทั่งกรมศิลปากรได้สำรวจและประกาศให้เขตคูเมืองกำแพงเมืองบุรีรัมย์ (คลองละลม) ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดีมีอายุประมาณ 1,800 ปี เป็นโบราณสถานตามประกาศกรมศิลปากร ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2523

___________________________

 

4. สุรินทร์

เมืองสุรินทร์ในอดีตคือเมืองโบราณเมืองหน่ึงในอีสานใต้ เป็นเมืองมาแล้วเกินกว่า 1,500 ปี มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมายาวนาน หลักฐานที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุรินทร์อีกอย่างคือ ร่องรอยของกำแพงดินและคูเมืองขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบตัวเมืองไว้ถึง 2 ชั้นสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าที่คิดค้นและออกแบบผังเมือง เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการป้องกันภัยจากศึกสงครามและการจัดการน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรอีกด้วย
 
ในอดีต ก่อนที่พระยาสุรินทร์ภักดีจะมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เป็นเมืองสุรินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2320 นั้น แต่เดิมเรียกบริเวณนี้เรียกว่า “ประเตียลชมัร” ซึ่งคนไทยพูดเพี้ยนไปเป็น “ประทายสมันต์” เมืองประทายสมันต์นี้ มีลักษณะเป็นกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น กำแพงชั้นในห่างจากกำแพงชั้นนอกประมาณ 300 – 400 เมตร คูเมืองที่ติดกำแพงชั้นในจะกว้างประมาณ 100 เมตรเศษ ลักษณะกำแพงเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดของกำแพงชั้นในเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร โดยมีคูเมืองล้อมรอบกำแพงชั้นนอกและชั้นในอีกชั้นหนึ่ง
จากการสอบถามผู้รู้ทางโบราณคดี ทำให้ทราบว่าลักษณะกำแพงเมืองและคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมนี้ เป็นเมืองโบราณซึ่งคงจะสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับ เมืองศรีมโหสถ ที่พบในเขต อ.ศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และเมืองเศรษฐปุระ ใกล้วัดภูเก้า เมืองปากเซ แขวงจำปาสักในประเทศลาวในปัจจุบัน ซึ่งพอประมาณอายุการก่อสร้างไว้คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 จึงทำให้เชื่อว่า เมืองสุรินทร์เกิดเป็นบ้านเป็นเมืองมาแล้วกว่า 1,500 ปี
ภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตภาพนี้ แสดงแนวคูเมืองทั้ง 2 ชั้น อย่างชัดเจน โดยคูเมืองชั้นในมีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนคูเมืองชั้นนอกมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงใต้​-ตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวคูเมืองทั้ง 2 ชั้น บางส่วนของคูเมืองถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนทิศเหนือและใต้ของตัวเมือง แต่ก็ยังคงเหลือบางส่วนที่คงสภาพเดิมเอาไว้เพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์แก่คนรุ่นหลัง
อาจเป็นรูปภาพของ การจัดแสง, แผนที่ และ ข้อความ
___________________________

5. สกลนคร อีก 1 เมืองที่คูเมืองหายไปตามกาลเวลา

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ภาพ : ผังสันนิษฐานเมืองโบราณสกลนคร เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ แสดงองค์ประกอบภายในและนอกเขตตัวเมือง โดยมีหนองสนมและแนวคูเมืองป้องกันน้ำในฤดูน้ำหลากจากภูพานและหนองหานไหลเข้าท่วมตัวเมือง

#เมืองโบราณสกลนคร
“สกลนครเป็นพื้นที่สะสมทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบหลักฐานเป็นภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์และร่องรอยชุมชนโบราณกระจายตัวในพื้นที่ อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอพรรณานิคม และรอบๆ หนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร ซึ่งชุมชนโบราณดังกล่าวมีอายุประมาณ 600 ปีก่อนพุทธกาล”

นอกจากภาพเขียนสีและร่องรอยชุมชนโบราณ ในเขตพื้นที่สกลนครยังพบโบราณสถานกระจายอยู่โดยทั่วไป โดยไล่สมัยได้ตั้งแต่โบราณสถานในยุคทวารวดีอย่าง กลุ่มใบเสมาหิน ที่มีช่วงอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งพบในพื้นที่บ้านท่าวัดในเขตอำเภอเมือง โบราณสถานในสมัยขอมหรือเจนละ ที่มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-19 ที่ปรากฎหลักฐานผ่าน รูปแบบการวางผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมของเมืองโบราณสกลนคร และสถาปัตยกรรมทางศาสนา ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ อาทิ ปราสาทภายในองค์พระธาตุเชิงชุม ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทดุม หรือสะพานขอมในเขตเทศบาลนครสกลนคร

ภาพถ่ายทางอากาศเมืองโบราณสกลนคร เมื่อ พ.ศ. 2475 แสดงให้เห็นการสร้างเมืองที่มีรูปแบบคูเมืองและแนวกำแพงเมือง ที่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัยขอม (ที่มา : กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม)


นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ กระแสวัฒนธรรมเขมรโบราณ ขยายอิทธิพลไปอย่างกว้างขวางจากลุ่มน้ำมูลในบริเวณแอ่งโคราชเข้าสู่แอ่งสกลนคร โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่เมืองสกลนครหรือเมืองหนองหานหลวง ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวมีแบบแผนที่เป็นไปตามแบบอย่างวัฒนธรรมเขมรทั้งสิ้น ดังปรากฏหลักฐานที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เห็นได้จากการวางผังเมืองบนที่ดอนให้ประกอบด้วยระบบสาธารณูปโภค ดังปรากฏร่องรอยของคูน้ำคันดินรอบตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๑,๓๕๐ x ๑,๕๐๐ เมตร คลอบคุมพื้นที่ประมาณ ๓.๑๗ ตารงกิโลเมตร (๑,๙๘๐ ไร่) ล้อมรอบดัวยคันดินคั่นกลางด้วยคูน้ำกว้างขุดลึกถึงระดับกักเก็บน้ำ ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๔๐ เมตร การวางผังเมืองในลักษณะนี้เป็นหนึ่งในสองแห่งที่พบในบริเวณแอ่งสกลนคร คือ เมืองโบราณหนองหานน้อย และเมืองโบราณหนองหานหลวง นอกจากนี้ภายในและภายนอกตัวเมืองประกอบด้วย คันกั้นน้ำ ถนน สะพาน และบาราย เป็นต้น

แผนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เรื่องประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พ.ศ.2559

แนวเขตคูน้ำคันดินตามประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า(สีเขียว) ที่ซ้อนทับกับอาคารบ้านเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่เมืองสกลนคร โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสกลนคร ซึ่งจะมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว

ภาพคูเมืองสกลนครในปัจจุบัน กุมภาพันธ์ 2567

แนวคูเมืองสกลนครที่ถูกถมปรับเป็นถนนจนไม่เหลือสภาพความเป็นโบราณสถานและคูเมืองเก่า 

______________________________________________________

ในอดีตผู้คนยุคนั้นจัดการเรื่องน้ำอย่างไร

สิทธารถ ศรีโคตร นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร บทความชื่อ “น้ำท่วม ทำเลที่ตั้ง และการจัดการน้ำในเมืองโบราณของไทย” (ศิลปวัฒนธรรม, มกราคม 2555) ว่า

นอกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว เมืองโบราณหลายๆเมืองในสมัยก่อน ก็นิยมสร้างอยู่ในพื้นที่สันดินธรรมชาติริมลำน้ำนี้ เช่น เมืองพิมาย เมืองลพบุรี  เมืองสุพรรณบุรี เมืองกำแพงเพชร เมืองพิษณุโลกสองแคว เมืองพิชัย เมืองฝาง เมืองหริภุญชัย เมืองนครลำปาง เวียงกุมกาม เวียงเชียงแสน ฯลฯ เป็นต้น

ศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยา คือ ส่วนที่เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ประมาณ 5,500 ไร่ โดยมีลำน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบ 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก กรุงศรีอยุธยาได้ถูกออกแบบให้เป็นเมืองน้ำ ผังเมืองที่สวยงามและสมบูรณ์แบบของกรุงศรีอยุธยา เพราะแม่น้ำหลัก 3 สาย จะพัดพาเอาตะกอนดินนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ผืนดินรอบๆ

แต่ทว่าในฤดูน้ำหลากนั้น ปริมาณน้ำจะมีมากเกินความจำเป็น ดังนั้นการสร้างและวางผังเมืองของกรุงศรีอยุธยา จึงได้รักษาโครงสร้างแนวแม่น้ำลำคลองของเดิมตามธรรมชาติเอาไว้ จากนั้นจึงขุดคูคลองเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวเหนือใต้ให้เป็นแนวตรงเชื่อมต่อกับแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติ จนทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคลองโยงใยกันทั้งในและนอกกำแพงเมือง ทำให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง กระแสน้ำเหนือที่ไหลหลากลงมา จะไม่ไหลเข้าท่วม-ปะทะทำลายเมืองโดยตรง แต่กลับระบาย ออกไปจากตัวเมืองได้โดยเร็ว

 

การเลือกพื้นที่ตั้งเมือง

ที่ตั้งของเมืองโบราณนั้นแน่นอนว่าต้องตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของชาวเมือง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า แหล่งน้ำนั้นจะเป็น “แหล่งน้ำนิ่ง” เช่น หนอง บึง ทะเลสาบ หรือกระทั่งสระน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้น หรือ “แหล่งน้ำไหล” ประเภท ลำน้ำ หรือ แม่น้ำ แต่ละวัฒนธรรมนั้นก็จะมีความนิยมต่างๆกันไป เช่น วัฒนธรรมเขมรนั้นไม่นิยมตั้งเมืองใกล้เคียงกับลำน้ำสายใหญ่ แต่จะนิยมขุดสระหรือ สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (บาราย) ขึ้นเพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค แทนการพึ่งพิงน้ำจากลำน้ำ

ในขณะที่ผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดีนั้น จะตั้งเมืองอยู่ใกล้เคียงลำน้ำสายใหญ่ แต่ก็ไม่นิยมตั้งอยู่ริมลำน้ำสายใหญ่ แต่จะตั้งเมืองลึกเข้าห่างจากลำน้ำพอประมาณ ตรงบริเวณที่ดอนและมีลำน้ำสาขาที่จะใหญ่ลงแม่น้ำใหญ่ไหลผ่าน แล้วชักเอาน้ำที่ไหลจากลำน้ำสาขานั้นเข้ามาไหลวนในคูเมืองและภายในเมือง เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคโดยไม่ต้องสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหมือนวัฒนธรรมธรรมเขมร หรือหากจะมีการขุดก็เป็นเพียงสระขนาดเล็กเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคภายในตัวเมือง เป็นต้น

ซึ่งในสมัยโบราณ การที่จะเลือกพื้นที่ตั้งเมืองอยู่ ณ บริเวณใดนั้น จะต้องมีการเลือกเฟ้นหาทำเทที่ดี มีสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่เหมาะสม โดยจะต้องพิจารณาถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ การเป็นชัยภูมิที่ดีในทางทหาร และที่สำคัญก็คือ ให้เมืองนั้นมีความปลอดภัยจากน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และไม่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูเเล้ง ซึ่งการดำเนินการเลือกหาพื้นที่ตั้งเมืองเพื่อให้ต้องตามคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นนั้น จะต้องกระทำกันอย่างละเอียดรอบคอบ และเฟ้นหาพื้นที่ที่เหมาะสมจริงๆ เพราะการสร้างเมืองนั้น ไม่ทำกันบ่อยนัก และเมื่อสร้างเมืองเเล้วโดยมากก็จะไม่นิยมย้ายไปไหน ยกเว้นหากกรณีเมืองเกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงจนเมืองพังทลายเสียหายมาก ก็อาจจะมีการย้ายเมืองใหม่ได้

ในสมัยโบราณ โดยหลักการแล้วที่ดินทั้งมวลนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ ที่ดินว่างเปล่าใดๆในขอบเขตพระราชอาณาจักรก็สามารถไปสร้างเมืองได้หมดทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อจะสร้างเมืองขึ้น ณ บริเวณ พื้นที่ใดนั้น ผู้มีอำนาจตั้งเมืองจะต้องพิจารณาดูสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆโดยละเอียด โดยที่พื้นที่ในการตั้งเมืองที่เหมาะสมนั้นหลักๆแล้วมีอยู่ 2 แบบแผน

กล่าวคือ การตั้งเมืองเมืองบนพื้นที่ดอนสูงริมลำน้ำ หรือ “สันดินธรรมชาติริมลำน้ำ” หรือไม่ก็ถอยไปตั้งเมืองบน “ลานตะพักลำน้ำ” อันเป็นที่ดอนที่อยู่ถัดจากที่ราบน้ำท่วมถึง ทั้งนี้จะตั้งเมืองที่ใดก็จะเป็นดุลพินิจ และประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ของผู้ที่มีอำนาจตั้งเมืองในสมัยโบราณ

คูคลองในเมืองไทย: มรดกทางวัฒนธรรมและระบบจัดการน้ำดั้งเดิม

คูคลองเป็นองค์ประกอบสำคัญในภูมิทัศน์ของเมืองไทยมาช้านาน ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นทางน้ำในการสัญจรและขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค และการป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย

ประโยชน์ของคูคลอง

  • การคมนาคม: คูคลองเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญในอดีต เชื่อมโยงระหว่างชุมชนและเมืองต่างๆ
  • การชลประทาน: น้ำจากคูคลองถูกนำไปใช้ในการเกษตร ช่วยให้พืชผลเจริญเติบโตได้ดี
  • การอุปโภคบริโภค: ชุมชนริมคลองใช้คูคลองเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน
  • การระบายน้ำ: คูคลองช่วยระบายน้ำฝนป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่
  • การปรับอากาศ: คูคลองช่วยลดอุณหภูมิในเมือง ทำให้อากาศเย็นสบาย

การจัดการน้ำของเมืองโดยใช้คูคลอง

  • การขุดลอกคูคลอง: การขุดลอกคูคลองเป็นประจำเพื่อรักษาความสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ
  • การสร้างฝาย: การสร้างฝายเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งและป้องกันน้ำท่วม
  • การสร้างประตูน้ำ: การสร้างประตูน้ำเพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลเข้าและออกจากคูคลอง
  • การปลูกป่าริมคลอง: การปลูกป่าริมคลองเพื่อป้องกันการกัดเซาะของดินและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่

ตัวอย่างเมืองที่มีคูคลองสำคัญในประเทศไทย

  • กรุงเทพมหานคร: คลองสาน, คลองแสนแสบ, คลองผดุงกรุงเกษม
  • อยุธยา: คูเมืองโบราณ
  • สุโขทัย: คูเมืองและระบบชลประทานโบราณ

ปัญหาและความท้าทายในการอนุรักษ์คูคลอง

  • การบุกรุกพื้นที่: การบุกรุกพื้นที่ริมคลองเพื่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ
  • ขยะ: ปัญหาขยะที่ถูกทิ้งลงในคูคลอง ทำให้เกิดมลพิษและอุดตัน
  • การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำให้การใช้ประโยชน์จากคูคลองลดลง

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาคูคลอง

  • การมีส่วนร่วมของชุมชน: ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาคูคลอง
  • การบังคับใช้กฎหมาย: บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับคูคลอง
  • การสร้างจิตสำนึก: สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของคูคลอง
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับคูคลอง เช่น สร้างระบบบำบัดน้ำเสีย

คูคลองไม่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของไทย แต่ยังเป็นระบบจัดการน้ำที่ชาญฉลาดของบรรพบุรุษ การอนุรักษ์และพัฒนาคูคลองจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาสมดุลทางธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของคนไทย

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top