🔎พาอัพเดตเบิ่ง แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอีสาน☔️🌧️🌊

จังหวัดเชียงราย และหนองคาย รวมไปถึงจังหวัดในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ที่มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อตรวจสอบพบว่าต้นตอ มาจากซุปเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ ที่พัดเข้าประเทศจีน พม่า และลาว โดยตรง น้ำท่วมหนัก ใน 3 ประเทศดังกล่าว ว่ากันว่า หนักสุดในรอบมากกว่า 30 ปี

 

🌧️โดยมีฝนตกในพื้นที่พม่า จีน และ สปป.ลาว ในปริมาณมาก โดย สปป.ลาวนั้น มีพื้นที่รับน้ำของแม่น้ำโขงมากที่สุด รองลงมาคือ ประเทศไทย และจีน 10% แต่ที่ท่วมที่เชียงราย คือ น้ำโขงที่มาจากประเทศพม่า ส่วนที่หนองคายนั้น มาจาก สปป.ลาว ซึ่งมีจำนวนมหาศาลเช่นเดียวกัน น้ำดังกล่าวนี้ ค่อยๆ ไหลเข้ามายังประเทศไทย เรียกน้ำนี้ว่า น้ำท่า

 

สาเหตุ “น้ำโขงล้น” มีสาเหตุมาจากอะไร?

 

การสร้างเขื่อนขวางโขงของจีนนั้นส่งผลในแทบทุกมิติตลอดทั้งพื้นที่ท้ายน้ำ ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม ระบบนิเวศ ซึ่งเขื่อนขวางโขงอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนและหลายอย่างจะไม่กลับมาเหมือนเดิม น้ำโขงก็จะค่อยๆ ไหลมาเรื่อยๆ ด้วยปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามหาศาล ทั้งที่ลงในแม่น้ำโดยตรง และไหลลงมาหลังจากมีการตกลงข้างทาง น้ำโขงผ่าน หนองคาย น้ำก็เอ่อล้นเมือง จนเกิดน้ำท่วมหนัก เมื่อผ่านหนองคายไปแล้ว ก็จะไปยังบึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และค่อยๆ ลดลงตามระยะทาง

 

🌳สาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมหนักคราวนี้ นั้นคือ ปริมาณป่าไม้ในประเทศไทย ที่ทางมูลนิธิสืบออกมาเปิดเผยว่า 1 ปี ที่ผ่านมา ป่าไม้ในประเทศไทย ลดลง กว่า 3 แสนไร่ ถือเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 30-40 ปี

 

 

⚠️แจ้งเตือน!! ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 12 – 18 กันยายน 2567

 

📍เชียงราย บริเวณสถานีเชียงแสน อ.เชียงแสน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.50 – 0.70 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 3.40 เมตร

📍เลย บริเวณสถานีเชียงคาน อ.เชียงคาน ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00 – 3.60 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50 – 1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13 – 16 ก.ย. 67

📍หนองคาย บริเวณสถานีหนองคาย อ.เมืองหนองคาย และ จ.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50 – 3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50 – 2.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13 – 16 ก.ย. 67

📍นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00 – 2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50 – 1.30 เมตร

 

🚨ภาคอีสานเตรียมรับ 2 น้ำ ทั้งน้ำโขงและน้ำฝน โดยเตือนภัยล่วงหน้าว่า ตั้งแต่วันนี้ 15 ก.ย. ไปจนถึง 24 ก.ย. ฝนจะตกต่อเนื่องแบบกระจายตัวหลายจังหวัด จังหวัดที่ท่วมอยู่แล้วก็มีความเสี่ยงน้ำจะท่วมเพิ่ม เช่น จ.หนองคาย ขณะที่ จังหวัดอื่น ๆ ก็ประมาทไม่ได้

 

 

ในปี 2567 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของพายุชัดเจนขึ้น โดยพื้นที่เสี่ยงได้แก่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียง อย่างเช่นครัวเรือน โรงงาน เครื่องจักร และสินค้าเกษตร 

 

ทั้งนี้คาดว่าพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในปี 2567 นี้จะอยู่ที่ 1.7 ล้านไร่ สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินราว 260 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าสินค้าเกษตรเสียหาย 4.2 พันล้านบาท (กรณีฐาน) ทำให้ความเสียหายจากภัยแล้งและน้ำท่วมในปี 2567 รวมกันอยู่ที่ 55.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็น -0.31% ของ GDP

 

 

อ้างอิงจาก: 

– Matichon

– NBT CONNEXT

– กองอำนวยการแห่งชาติ

– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

– กรมชลประทาน

– กรุงเทพธุรกิจ

– วิจัยกรุงศรี

 

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่

https://linktr.ee/isan.insight

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #พื้นที่น้ำท่วม #น้ำท่วม #เชียงราย #น้ำท่วมเชียงราย

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top