October 2023

พาส่องเบิ่ง ผลผลิตสินค้าเกษตร 2 ประเทศ

ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ไทยสามารถผลิตได้ดีกว่าลาว ไทยมีผลผลิตส้ม อยู่ที่ 20,722 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งมากกว่าลาวอยู่ 12,548 กิโลกรัม/ไร่ มีพื้นที่ปลูกส้มทั่วประเทศมากกว่า 86,000 ไร่ ในขณะที่ลาวมีพื้นที่ปลูกพืชตระกูลส้ม มากกว่า 22,000 ไร่ หากมาดูผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลาวสามารถผลิตได้ดีกว่าไทย จะพบว่า “ใบยาสูบ” เป็นผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลาวสามารถผลิตได้ดีกว่าไทย เนื่องจากลาวมีทรัพยากรดิน และน้ำที่อุดมสมบูรณ์ สภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ โดยน้ำโขงจะพัดพาเอาดินใหม่มาทับถมทุกปี จึงเหมาะที่จะปลูกยาสูบ และอีกหนึ่งชนิดที่ ISAN Insight จะขอยกตัวอย่างผลผลิตมากกว่าไทย คือ กาแฟ นับเป็นสินค้าส่งออกที่สามารถสร้างรายได้เข้า สปป.ลาวจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี การปลูกกาแฟของลาวส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นและชื้นเหมาะสำหรับการปลูกกาแฟ นอกจากนี้ การปลูกกาแฟทางตอนเหนือของ สปป. ลาวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนักวิจัยด้านการเกษตรพบว่า มีภูเขาที่มีความเหมาะสมในการปลูกกาแฟ จึงได้ส่งเสริมการปลูกกาแฟทดแทนการปลูกฝิ่น หมายเหตุ: ข้อมูลที่นำมาคำนวนหาประสิทธิภาพการผลิตคือผลผลิตต่อไร่ อ้างอิงจาก: – Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) – สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook LINE Official : https://lin.ee/yIS5bdP #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ผลผลิตสินค้าเกษตร #ผลผลิตสินค้าเกษตรไทย #ผลผลิตสินค้าเกษตรลาว #ไทย #ลาว

อีสานเตรียมพร้อมเทศกาลม่วนนนสุดของเฮา ปักหมุด 3 ก.พ. 67 กลับมาบักอย่างใหญ่3 เวที 23 ศิลปิน

Chang Music Connection Presents ‘เฉียงเหนือเฟส 2’ ท่องไว้ เริ่มขายบัตรวันที่ 30 พ.ย. – 2 ธ.ค. 66 บัตรถูกคักหลาย EARLY DINO ‘899 บาท’ เทศกาลดนตรีที่ม่วนที่สุดในภาคอีสาน งานวันที่ 3 ก.พ. 67 ที่ บขส.3 ขอนแก่น ห้ามพลาดเด้อ #เฉียงเหนือเฟสอีสคัมมิ่งเด้อ #เฉียงเหนือเฟส2 #เทศกาลดนตรีที่ม่วนนนสุดในภาคอีสาน #ChangMusicConnection #เติมเต็มคำว่าเพื่อน #ALLAREA #GMMSHOW

ส่องเบิ่งราคา ตัวอย่าง 8 สนามกอล์ฟ  โซนเขาใหญ่-โคราช

ส่องเบิ่งราคา ตัวอย่าง 8 สนามกอล์ฟ  โซนเขาใหญ่-โคราช   โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขาใหญ่-โคราช โซนสนามกอล์ฟขึ้นชื่อเรื่องบรรยากาศ และสนามเขา ที่เต็มไปด้วยอุปสรรค และความท้าทายให้นักกอล์ฟได้มาสัมผัส และหลายสนามช่วงนี้จัดโปรโมชั่นน่าสนใจ โดยเฉพาะที่ เจมส์ โบนันซา กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ ที่จัดโปรโมชั่น “ฟรี” ค่ากรีนฟีในวันธรรมดา และ 300 บาท ในวันหยุด นอกจากนั้นยังมีสนามอื่นๆ ที่ HotGolf ได้รวบรวมมาเป็นข้อมูลสำหรับท่านนักกอล์ฟครับ   Bonanza Golf & Country Club ที่อยู่: 236 หมู่ 5 ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 วันธรรมดา: Green fee 300 บาท  วันหยุด: Green fee 500 บาท *แคดดี้ 400 บาท *ไม่บังคับ / รถกอล์ฟ 600 บาท สอบถามเพิ่มเติมโทร: 086 327 3193   Rancho Charnvee Country Club ที่อยู่: 333/4 หมู่ 12 ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 วันธรรมดา: Green fee 900 บาท วันหยุด: Green fee 1,600 บาท *แคดดี้ 450 บาท / รถกอล์ฟ 600 บาท *บังคับ สอบถามเพิ่มเติมโทร: 088 378 2324   Khao Yai Golf Club ที่อยู่: 151 หมู่ 5 ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 วันธรรมดา: กรีนฟี แคดดี้ 1,500 บาท วันหยุด: กรีนฟี แคดดี้ รถกอล์ฟ 3,550 บาท *แคดดี้ 350 บาท / …

ส่องเบิ่งราคา ตัวอย่าง 8 สนามกอล์ฟ  โซนเขาใหญ่-โคราช อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง จำนวนสนามกอล์ฟ ในภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่ ?

พามาเบิ่ง จำนวนสนามกอล์ฟ ในภาคอีสาน มีเท่าใด๋แหน่ ?   หมายเหตุ : สนามกอล์ฟ หมายถึง ที่ดินที่ได้รับการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นลานหญ้า เนิน หลุมทราย บ่อน้ำ หรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ และต้องมีหลุมกอล์ฟ เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับกีฬากอล์ฟ โดยปกติจะมีอาคารส่วนกลางในสนามกอล์ฟเพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารและให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการ ทั้งนี้สนามกอล์ฟอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดสรร ที่ดิน บ้านพักอาศัย อาคารชุด โรงแรม รีสอร์ท หรือสิ่งปลูกสร้างแบบอื่น ภายในโครงการเดียวกันหรือไม่อยู่ในโครงการจัดสรรก็ได้ ในการจัดเก็บข้อมูล ไม่นับรวม สนามไดร์ฟ   ที่มา : กรมสรรพสามิต รวบรวมและประมวลผลโดย : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook Line : https://lin.ee/yIS5bdP   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สนามกอล์ฟ #สนามกอล์ฟอีสาน

พามาฮู้จัก   โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  Greater Mekong Subregion (GMS)

พามาฮู้จัก   โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  Greater Mekong Subregion (GMS)   โครงการ GMS เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535  โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2 ล้าน 3 แสน ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ พื้นที่ของยุโรปตะวันตก มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้    โครงการ GMS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ  สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก   ระหว่าง 4-5 กรกฎาคม 2548 จีนได้เป็นเจ้าภาพการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง โดยผู้นำได้ออกแถลงการณ์ร่วมคุนหมิง (Kunming Declaration) ซึ่งมีเป้าหมายคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความปรองดองและความมั่งคั่งของอนุภูมิภาค รวมถึงความพยายามในการลดปัญหาความยากจนและ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยสนับสนุนให้มีการติดต่อและการแข่งขัน ระหว่างกัน นอกจากนั้น ผู้นำประเทศ GMS ได้แสดงเจตนารมณ์ให้มีการลงนามในภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายของความตกลงขนส่ง ข้ามพรมแดน (GMS Cross-Border Transport Agreement)ให้เสร็จครบถ้วนภายในปี 2548 และ เห็นชอบกับความริเริ่มในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยให้การคุ้มครอง ระบบนิเวศของพื้นที่ป่าไม้และต้นน้ำในอนุภูมิภาค ภายใต้โครงการ GMS Bio-diversity Corridor  ทั้งนี้ได้มีการลงนามข้อตกลงในเรื่องการขนส่ง การค้าพลังงาน การควบคุมโรคติดต่อในสัตว์ และ การสื่อสารโทรคมนาคม และลาวรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 ในปี 2551   กลไกการทำงานของ GMS แบ่งเป็นการดำเนินการ 4 ระดับ ได้แก่ การประชุมระดับคณะทำงาน ของแต่ละสาขาความร่วมมือเพื่อประสานงานความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ  การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส  ซึ่งจัดปีละ 1-2 ครั้ง การประชุมระดับรัฐมนตรี  ซึ่งจัดปีละ 1 ครั้ง โดยในปี 2547 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 13 ณ …

พามาฮู้จัก   โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  Greater Mekong Subregion (GMS) อ่านเพิ่มเติม »

ปังหลาย พืชสวนโลก in ISAN มหกรรมแสดงศักยภาพพืชสวนโลกสู่สากล

ปังหลาย พืชสวนโลก in ISAN มหกรรมแสดงศักยภาพพืชสวนโลกสู่สากล   หากกล่าวถึงมหกรรมระดับโลกที่เคยจัดขึ้นในประเทศไทย ‘มหกรรมพืชสวนโลก’ นับเป็นหนึ่งงานสุดยิ่งใหญ่ที่หลายคนรู้จัก นอกจากจะเป็นเวทีแสดงศักยภาพพืชสวนไทยสู่สายตาชาวโลกแล้ว ยังสร้างรายได้และเงินสะพัดหลักหมื่นล้านบาท โดยในวันนี้จะพามาฮู้จักพืชสวนโลกที่มีแผนว่าจะมาเปิดในอีสานกันบ้าง    มหกรรมพืชสวนโลก 2569 – ประเทศไทย โดย จ.อุดรธานี ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพอย่างเป็นทางการและพร้อมโชว์ศักยภาพพืชสวนไทยบนพื้นที่ชุ่มน้ำกว่า 1,030 ไร่ ภายใต้แนวคิด “Diversity of Life: Connecting people, water and plants for sustainable living (ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต: สายสัมพันธ์แห่งน้ำ พืชพรรณ และผู้คน สู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน)” ช่วยส่งเสริมให้อุดรฯ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการเกษตรของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยคาดการณ์ผู้เข้าชมงานถึง 3.6 ล้านคน เพิ่มมูลค่า GDP (Gross Domestic Product) ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และสร้างการจ้างงานมากกว่า 8 หมื่นอัตรา   มหกรรมพืชสวนโลก 2572 – เป็นอีกหนึ่งงานสำคัญของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพ โดยใช้พื้นที่ใน จ.นครราชสีมา กว่า 678 ไร่ ภายใต้ธีมการจัดงาน “Nature and Greenery: Envisioning the Green Future” แสดงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมพืชสวนไทย โดยตั้งเป้าหมายผู้เข้าชมงานประมาณ 2.6 ล้านคน และคาดว่าจะสร้างรายได้หมุนเวียนเข้าประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 1 หมื่นล้านบาท   สามารถแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทย ในบทบาทการเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลกได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ รวมไปถึงการสร้างรายได้และเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และสามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้กับผู้คนในแต่ละพื้นที่ได้อีกด้วย   อ้างอิงจาก: businesseventsthailand   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #TCEB #MICEInThailand #MICEUpdate #ปีแห่งการจัดประชุมและนิทรรศการ2566 #MICEEvents #มหกรรมพืชสวนโลก #อุดรธานี #นครราชสีมา

สรุปเรื่องน่าฮู้ เกี่ยวกับจังหวัดขอนแก่น

จังหวัดขอนแก่นมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของภาคอีสาน อยู่ที่ 10,886 ตารางกิโลเมตร โดยมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของภาคอีสาน จำนวน 1,784,641 คน ในปี 2564 จังหวัดขอนแก่นมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) อยู่ที่ 213,039 ล้านบาท นับว่าเป็นอันดับ 2 ของภาคอีสาน และ GPP ต่อหัวอยู่ที่ 124,489 บาท ตัวอย่างบริษัทใหญ่ 1. บจก.ห้างทองทองสวย ประกอบธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ มีรายได้รวมปี 2565 = 21,564 ล้านบาท 2. บจก.โค้วยู่ฮะมอเตอร์ มีรายได้รวมปี 2565 = 8,022 ล้านบาท 3. บจก.ขอนแก่นแหอวน มีรายได้รวมปี 2565 = 3,262 ล้านบาท ตัวอย่างโครงการใหญ่ 1. รถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่–มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ สปป. ลาว และจีนตอนใต้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ 2. ท่าเรือบกขอนแก่น โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับพื้นที่พัฒนากระจายสินค้า เชื่อมการขนส่งแบบถ่ายลำ และทั้งทางบกและทางราง 3. Medical hub มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทก่อสร้าง และ บริษัทอรุณชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ขยายบริการทางการแพทย์ สร้างงานวิจัย และนวัตกรรมทางการแพทย์ อ้างอิงจาก: – สำนักงานสถิติแห่งชาติ – สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook LINE Official : https://lin.ee/yIS5bdP #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ขอนแก่น

ส่องเบิ่ง ยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน 👜 (ก.ค.-ก.ย.)  ทำรายได้เท่าใด๋ ?

ส่องเบิ่ง ยอดขาย 10 อันดับ สินค้า OTOP อีสาน 👜 (ก.ค.-ก.ย.)  ทำรายได้เท่าใด๋ ?   สินค้า OTOP (One Tambon One Product) เป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล สะท้อนเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 10-20% ตั้งแต่ปี 2546   ในอนาคต สินค้าโอทอปหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสถานการณ์ของโลก โดยเฉพาะหลังโควิด-19 ซึ่งผู้บริโภคให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยั่งยืน ความเท่าเทียม ความแท้จริง ความหลากหลาย และสุขภาพที่ดี คุณค่าเหล่านี้จะต้องเข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์โอทอปยุคใหม่   นอกจากนี้ โลกได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ช่องทางออนไลน์และการชำระเงินแบบ cashless มีความสะดวกง่ายดาย โอกาสจึงเปิดขึ้นมาก โดยเฉพาะหากได้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และคล่องเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ ได้มีโอกาสกลับบ้านเกิด   ภาครัฐจึงควรมีโครงการจูงใจให้คนกลับบ้าน สร้าง OTOP Academy เพื่อให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้กลับเข้าไปชุบชีวิตผลิตภัณฑ์เดิม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป   อีกทั้งยังมีงานมหกรรมของดี…ชายแดนใต้ & OTOP ทั่วไทย ร่วมใจสู่เมืองหมอแคนยิ่งใหญ่ & ใหญ่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากว่า 400 ร้านค้า เตรียมพบกับของดีชายแดนใต้ที่พร้อมขนทัพมาให้ชาวขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ได้ชิม ช้อป อย่างจุใจ ระหว่าง 21 – 30 ตุลาคม นี้ ณ ศูนย์ประชุมไคซ์   หมายเหตุ : รายได้รวม เป็นรายได้จากทางยอดขายออนไลน์ และประเภทสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด เป็นรายได้รวมจากการขายออนไลน์และหน้าร้าน   อ้างอิงจาก: http://logi.cdd.go.th/otop/   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #OTOP #สินค้าOTOP #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #อุดรธานี #ขอนแก่น #กาฬสินธุ์ #ศรีสะเกษ #สุรินทร์ #ร้อยเอ็ด #บุรีรัมย์ #อำนาจเจริญ  

พาส่องเบิ่ง ร้านอาหารอีสานสุดเด็ดที่ได้ “บิบ กูร์มองด์ จาก มิชลิน ไกด์ ปี 2566”

อัปเดตอาหารอีสานคุณภาพดีราคาย่อมเยาที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับสัญลักษณ์ “บิบ กูร์มองด์” (Bib Gourmand) ประจำปี 2566 จาก มิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ฉบับประจำปี 2566 (The MICHELIN Guide Thailand 2023) มาดูกันว่าแต่ละภาคจะมีร้านอะไรบ้าง “บิบ กูร์มองด์ จาก มิชลิน ไกด์ ปี 2566” คือ รางวัลที่ทาง Michelin มอบให้กับร้านอาหารอร่อยและราคาสมเหตุสมผล (Good Cuisine at a Reasonable Price) ซึ่งเป็นหมวดหลักที่สำคัญไม่แพ้หมวดดาวมิชลิน (STARS) จังหวัดนครราชสีมา 1. เป็นลาว – จากจุดเริ่มต้นที่เป็นร้านเล็กๆ แต่ด้วยรสชาติอาหารที่มัดใจลูกค้า ร้านเป็นลาวจึงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เสิร์ฟอาหารอีสานต้นตำรับมาแล้วกว่าสิบปี ภายในร้านโปร่งโล่งเพราะออกแบบให้เป็นเพดานสูง เลือกนั่งได้ทั้งด้านในและด้านนอกที่มีเสียงจั๊กจั่นและทิวเขาเขียวครึ้มเป็นของแถมแสนรื่นรมย์ ทางร้านทำเครื่องปรุงต่างๆ เอง ทั้งปลาร้า น้ำพริก และซอสปรุงรสต่างๆ จังหวัดขอนแก่น 1. มีกินฟาร์ม – ที่นี่เป็นทั้งฟาร์มออร์แกนิกและร้านอาหาร อีกทั้งยังมีเวิร์กช็อปต่างๆ และบริการฟาร์มสเตย์ครบครัน มีกินฟาร์มปลูกผักและผลไม้หลากหลายชนิด เลี้ยงเป็ดและไก่เอง ทีมครัวใช้เทคนิคการปรุงเรียบง่ายแต่ได้จานอร่อยที่เน้นรสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบ อย่างปลานิลสดๆ นำมานึ่งให้สุกพอดี เสิร์ฟพร้อมแจ่วพริกสดเผ็ดหอมและผักพื้นบ้าน 2. ตำกระเทย สาเกต – เจ้าของร้านมีพื้นเพเป็นคนร้อยเอ็ดหรือชื่อเดิมคือสาเกตนคร เมื่อเปิดร้านจึงเลือกใช้ชื่อนี้ ภายในบรรยากาศร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่และบ่อน้ำพุที่สามารถชมปลาว่ายน้ำเพื่อความเพลิดเพลิน ช่วงค่ำมีดนตรีสดได้บรรยากาศสบายๆ เหมาะมากสำหรับมานั่งชิลพร้อมกลุ่มเพื่อน 3. ประไพร – ร้านอยู่หน้าสนามบินขอนแก่น จึงเหมาะมากหากลงเครื่องปุ๊บแล้วอยากกินอาหารอีสานต้นตำรับ หรือแวะฝากท้องอีกสักมื้อก่อนขึ้นเครื่องกลับ ร้านตกแต่งสไตล์เรียบง่ายและอบอุ่น มีเวทีดนตรีขับกล่อม ทางร้านคัดสรรวัตถุดิบและใส่ใจในการปรุง ทำให้อร่อยโดดเด่นกว่าหลายๆ ร้านในตัวเมือง 4. ประสิทธิ์โภชนา – ร้านห้องแถวเล็กๆ แต่สะอาดสะอ้านน่านั่ง เชี่ยวชาญอาหารอีสานต้นตำรับโดยเฉพาะเมนูเนื้อวัวทั้งดิบและสุก ปรัชญาของที่นี่คือ “ใช้เนื้อส่วนที่ดีที่สุด เพื่อมาทำอาหารที่แซบที่สุด” เมื่อทำได้ตามนั้นจริงๆ ประกอบกับราคาเป็นมิตรและการบริการแบบกันเองด้วยรอยยิ้ม จึงเป็นเหตุให้ครองใจลูกค้ามาแล้วกว่าห้าทศวรรษ 5. โสเจ๊งโภชนา (บ้านไผ่) – ชื่อ “โสเจ๊ง” หมายถึงไม่หวั่นหากจะต้องเจ๊งอีกรอบ เพราะเจ้าของร้านเคยทำธุรกิจหลายอย่างแต่ยังไม่ถึงเวลาประสบความสำเร็จ สำหรับร้านนี้ หากจะเจ๊งก็อาจเป็นเพราะใช้วัตถุดิบดีๆ ปริมาณจัดเต็ม แต่ราคาเข้าถึงได้ ตัวร้านเป็นห้องแถว ตกแต่งเรียบง่าย เสิร์ฟเมนูเด็ดถูกปากคนชอบอาหารอีสานโดยเฉพาะคนชอบกินเนื้อและเครื่องใน 6. ไก่ย่างระเบียบ (เขาสวนกวาง) – ร้านที่คนรักไก่ย่างต้องปักหมุด เพราะเป็นร้านเด็ดประจำอำเภอเขาสวนกวาง แหล่งไก่ย่างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ที่นี่เลือกใช้ไก่สามสายพันธุ์ซึ่งเป็นไก่พื้นเมือง ย่างด้วยเตาถ่านที่ให้กลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อไก่แน่นอร่อย นุ่มและฉ่ำ หนังบางกรอบ เครื่องในไก่ย่างสุดอร่อยมีเสิร์ฟเฉพาะสาขาแรก เนื้อสัมผัสและการปรุงรสดีเยี่ยม จังหวัดอุบลราชธานี 1. เรือนอาหารวิวมูล …

พาส่องเบิ่ง ร้านอาหารอีสานสุดเด็ดที่ได้ “บิบ กูร์มองด์ จาก มิชลิน ไกด์ ปี 2566” อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนอีสาน ปี 2566 (6 เดือนแรก) เป็นจั้งใด๋แหน่ ?

ชวนเบิ่ง  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนอีสาน ปี 2566 (6 เดือนแรก) เป็นจั้งใด๋แหน่ ?   ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ครัวเรือนทั่วประเทศมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 24,362 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค 21,262 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ สูงสุดถึง 8,575 บาท  รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน 5,295 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและยานพาหนะ 3,880 บาท ตามลำดับ ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัยซื้อสลากกินแบ่ง/หวย ดอกเบี้ย เป็นต้น) มีจำนวน 3,100 บาท   อ้างอิงจาก:  สํานักงานสถิติแห่งชาติ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook Line : https://lin.ee/yIS5bdP   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

Scroll to Top