March 2023

พามาฮู้จัก “บุญศิริ” ปลาทูแช่แข็งพันล้านแห่งอีสาน

บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าปลาทะเลแช่แข็งคุณภาพสูงทั้งในประเทศ และปลาทะเลแช่แข็งจากต่างประเทศ ไม่ว่าเป็น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี จีน ปากีสถาน อินเดีย โอมาน เยเมน แอฟริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก บริษัทฯ ยังมีการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งสินค้าของบริษัทฯ ได้มีการตรวจสอบคุณภาพและการประกันคุณภาพ สินค้าจึงมีความสดและคุณภาพสูง เนื่องจากการจัดเก็บในห้องเย็นระบบมาตรฐานสากล ณ อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปี ในปัจจุบัน บริษัทฯ มุ่งเน้นการขยายธุรกิจ เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยเฉพาะในเขตภาคอีสาน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มากที่สุด บริษัทฯ มีรถขนส่งสินค้าพร้อมบริการส่งสินค้าถึงที่หมาย เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ยังมีศูนย์กระจายสินค้าในเขตภูมิภาคอีสาน ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดสุรินทร์ อีกทั้งยังวางแผนในการขยายสาขาโดยจะเปิดศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าปลายทางได้อย่างรวดเร็ว อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บุญศิริ #ปลาทูแช่แข็ง #ศรีสะเกษ

พามาเบิ่ง Mega Project ขอนแก่น

พามาเบิ่ง Mega Project ขอนแก่น    Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยในขอนแก่น มีทั้งหมด 5 โครงการ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเดินทางทั่วประเทศไทยโดยเน้น โครงข่ายถนน รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าระดับภูมิภาค สนามบิน โดยมีด้านระบบขนส่ง ด้านสุขภาพ ด้านบริการ   รถไฟรางคู่สายใหม่ บ้านไผ่–มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม  เพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ สปป. ลาว และจีนตอนใต้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์   สนามบินขอนแก่น  มีพื้นที่ใช้สอย 28,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้เป็น 2,000 คนต่อชั่วโมง/5 ล้านคน/ปี เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ท่าเรือบกขอนแก่น โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับพื้นที่พัฒนากระจายสินค้า เชื่อมการขนส่งแบบถ่ายลำ และทั้งทางบกและทางราง Medical hub มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทก่อสร้าง และ บริษัทอรุณชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ขยายบริการทางการแพทย์ สร้างงานวิจัย และนวัตกรรมทางการแพทย์ ขอนแก่นอินโนเวชั่นเซ็นเตอร์ กลุ่มน้ำตาลมิตรผล เจรจากับกลุ่มโฆษะ ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร จัดตั้งเป็น ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพในอีสาน   อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #ขอนแก่น

พาส่องเบิ่ง บริษัทที่มีรายได้รวมเกินหมื่นล้านบาท ในภาคอีสานมีบริษัทใด๋แหน่??

บริษัทที่มีรายได้รวมเกินหมื่นล้าน ส่วนมากมักอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ไม่ใช่สำหรับ “โกลบอลเฮ้าส์” “ดูโฮม” “นอร์ทอีส รับเบอร์” และ “ห้างทองทองสวย” โดยทั้ง 4 บริษัทล้วนแต่อยู่ในภาคอีสานและผู้ก่อตั้งเป็นคนอีสาน ทั้ง 4 บริษัททำให้รู้ว่า ภาคอีสานก็สามารถการทำธุรกิจในประสบความสำเร็จหรือสร้างรายได้หลักหมื่นล้านได้ ถ้ามีการจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และมีการปรับกลยุทธ์ในเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งต้องมีการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการาินค้าของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ก็จะสามารถช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องอยู่ในกรุงเทพฯ อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทที่มีรายได้รวมเกินหมื่นล้านบาท #บริษัทหมื่นล้าน #บริษัทหมื่นล้านในอีสาน

Mega Project ภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?

Mega Project ภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?     ผลประโยชน์ที่จะได้รับจาก Mega Project  ด้านการขนส่ง – ลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ ลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ – ช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง  – เดินทางสะดวกมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว – กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน  – รองรับการขนส่งสินค้าแบบระบบราง อุตสาหกรรม – รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม ให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลง – ฐานการผลิตของ SMEs – สร้างงานให้คนท้องถิ่นในภาคอีสานมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น  – ดึงดูดการลงทุนเข้ามาในภูมิภาค ด้านพลังงาน เพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการในจังหวัดและภูมิภาคที่สูงขึ้น อีกทั้งที่เขื่อนสิรินธร Nature Walkway  เป็นแหล่งท่องเที่ยวล่าสุดของเขื่อนสิรินธร ด้านสุขภาพ คนที่มาใช้บริการโรงพยาบาล มีผู้ดูแลหรือญาติใช้บริการการเข้าพักของที่พักและจับจ่ายใช้สอยในจังหวัด ด้านบริการ เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรม รวมถึงมีโรงแรมใหม่ และจุดชมวิวแลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดเพิ่มความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด   หมายเหตุ: Mega project ที่มีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค

เริ่ดคักหลายพี่น้อง กรมขนส่งฯ เตรียมเซ็นสัญญา สร้าง “ศูนย์การขนส่งชายแดน” จ.นครพนม รองรับการขนส่งสินค้า เชื่อมต่อ 4 ประเทศ

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน และร่างสัญญาร่วมลงทุน (PPP) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยมีบริษัท สินธนโชติ จำกัด เป็นผู้ที่ ผ่านการประเมินสูงสุด ทั้งนี้ เอกชนรายดังกล่าวจะเป็นผู้รับผิดชอบลงทุนค่าก่อสร้างในองค์ประกอบอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้ และเครื่องมืออุปกรณ์ และรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (Operation and Maintenance : O&M) รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐ ตามรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ในการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาร่วมลงทุน 30 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ มีมูลค่าโครงการทั้งในส่วนที่ภาครัฐและเอกชนลงทุนรวมกว่า 1,361 ล้านบาท นายจิรุตม์ กล่าวว่า โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม จัดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) และโครงการนำร่องโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ช่วยรองรับการขนส่งสินค้าทางถนน ระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R12 เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย – สปป.ลาว – เวียดนาม – จีนตอนใต้ ผ่านด่านพรมแดน นครพนม และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) จัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนครพนมและพื้นที่ใกล้เคียง และการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรองรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของภาคเอกชน ตลอดจนการดำเนินโครงการบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้โครงการศูนย์การรขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นายจิรุตม์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับการนําเนินการตามแผนพัฒนาโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกได้เร่งรัดจัดการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนให้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2566 เพื่อภาคเอกชนจะได้เตรียมการดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุน (PPP) และเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการโครงการได้ตามแผนในปี 2568 ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในส่วนที่ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานส่วนกลางและอาคารที่ภาครัฐใช้ประโยชน์วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง 624 ล้านบาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงปลายปี พ.ศ. 2567 พร้อมกับการก่อสร้างในส่วนที่ภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ อ้างอิงจาก: https://www.thebangkokinsight.com/news/business/1053271/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ศูนย์การขนส่งชายแดน #นครพนม #โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง   “ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้” บนที่ราบสูง 2 ล้านไร่ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดทางภาคอีสาน ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ศรีสะเกษ และยโสธร จากที่เคยแห้งแล้งมีแต่ดินปนทรายปัจจุบันได้รับการพลิกฟื้นสู่แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นแหล่งเพาะปลูก “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก   โดย มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ทุ่มเททำวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาด “ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง” จนสามารถทำให้ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ระยะเขียว” ส่วนเหลือทิ้ง สร้างรายได้อย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรในชุมชน   ซึ่งวงจรของข้าวว่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารสุขภาพ นับตั้งแต่ที่ข้าวเริ่มออกรวง 10 วัน โดยการทำเป็น “ข้าวเม่า” ที่หอมนุ่มนิ่ม รวมทั้ง “น้ำนมข้าว” ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ หลังจากนั้นอีกประมาณ 20 – 30 วัน จะเป็นระยะของข้าว”ระยะเขียว” ที่แม้ยังอ่อนแต่มีร้อยละต้นข้าวที่สามารถนำมาหุงบริโภค ซึ่งข้าวระยะเขียวอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ แกมมาออไรซานอล สารพฤกษเคมี มีสัดส่วนโปรตีนและใยอาหารสูงขณะที่คาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่มักกลายเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากโรงสีข้าว   จากการนำส่วนเหลือทิ้ง “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลารัองไห้” ที่เป็นข้าวกล้องอินทรีย์ ทั้งข้าวระยะเขียว ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลิแดง มันเทศ และมันม่วง ทำให้ได้ “ผลิตภัณฑ์ขนมหวานอัดเม็ด” “ส่วนผสมผง” และ “เครื่องดื่มผง” ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ใยอาหาร และมีกรดอะมิโน (Amino Acid) หรือโมเลกุลของโปรตีนที่จำเป็นครบถ้วน   โดยมีสูตรน้ำตาลและไขมันน้อยเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีอาการแพ้นมวัว และถั่วเหลือง ตลอดจนนักมังสวิรัติแบบวีแกน (Vegan) หรือผู้เลือกรับประทานอาหารจากพืช 100% แม้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ทยอยขึ้นทะเบียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเภทลูกอมและขนมหวาน แต่ผู้บริโภคจะมั่นใจได้ถึงส่วนผสมของน้ำตาลซึ่งไม่ได้มาจากน้ำตาลสังเคราะห์ ซึ่งมีความปลอดภัย และจะไม่ทำให้ระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ซึ่งดีต่อผู้ที่เสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง   จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่พบไม่ได้จากลูกอมและขนมหวานโดยทั่วไป คือ ผู้บริโภคจะได้รับใยอาหารที่สูงมากถึง 5,000 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เทคโนโลยีการลดปริมาณความชื้นในกระบวนการผลิต และใช้บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นหืน คงคุณภาพและมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานถึงกว่า 1 ปีโดยไม่ต้องใช้สารเคมีร่วมด้วย ซึ่งในขั้นตอนการผลิตในส่วนของ “การทำแห้งผงข้าว” ที่ผ่านมาทำได้ยาก ต้องสูญเสียเวลา และต้นทุนสูง โดยผู้วิจัยได้ช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี “การย่อยด้วยเอนไซม์บางส่วน” ก่อนนำไปทำแห้งด้วยเทคโนโลยี spray dry ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร นับเป็นตัวอย่างของการใช้องค์ความรู้ในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ เพื่อสุขภาวะ และยกระดับทางเศรษฐกิจของคนไทย พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนจนสามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน    อ้างอิงจาก: …

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง จำนวนผู้ประกอบการในภาคอีสาน

แต่ละจังหวัดเป็นจั่งใด๋แหน่??       อ้างอิงจาก: – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #จำนวนผู้ประกอบการในภาคอีสาน #จำนวนผู้ประกอบการ  

พามาเบิ่ง ข้อมูลที่น่าสนใจของจำนวนผู้ประกอบการในภาคอีสาน

เป็นจั่งใด๋แหน่ อ้างอิงจาก: – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัทสินทรัพย์รวมหมื่นล้าน #บริษัทหมื่นล้าน

มะเร็งปอดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน หลายปานใด๋ ? 

มะเร็งปอดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน หลายปานใด๋ ?    โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จํานวน 18.1 ล้านคน โรคมะเร็งที่พบมากใน 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 9.6 ล้านคนอีกด้วย   ในบรรดาผู้ป่วยใหม่จํานวน 18.1 ล้านราย พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดมากถึง 2.1 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดจำนวน 1.8 ล้านคน นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าโรคมะเร็งปอดถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย ซึ่งพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง ในประชากร 100,000 คน ผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงถึง 23 คน ส่วนผู้หญิง ประมาณ 10 คน ต่อ 100,000 คน   แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 17,222 คน เป็นเพศชาย 10,766 คน และเพศหญิง 6,456 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 คน หรือคิดเป็น 40 คนต่อวัน   ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่มือสองและการสัมผัสสารก่อมะเร็ง อาทิ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควันธูป ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น   การสูบบุหรี่ โดยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดมากถึง 10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับควันจากการสูบบุหรี่ จากการสูดดมเข้าไปโดยที่ตนเองไม่ได้สูบนั้นก็อาจจะทำให้มีสารพิษตกค้างและก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน   การอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ โดยจากการศึกษาพบว่าฝุ่น PM 2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ถือว่าเป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของ DNA จนกลายเป็นมะเร็งปอดได้ด้วยเช่นกัน   * ข้อมูลในภาพเป็นข้อมูลผู้ป่วยที่ใช้สิทธิระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) และเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหลักเป็นมะเร็งปอดเท่านั้น   อ้างอิงจาก: Agenda  The Active – thaipbs สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข   …

มะเร็งปอดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน หลายปานใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

ทำไมฝุ่นถึงหลายคัก  ฝุ่น PM 2.5 มาแต่ไส ? 

ทำไมฝุ่นถึงหลายคัก  ฝุ่น PM 2.5 มาแต่ไส ?    เมื่อช่วงต้นปี 2562 ประเทศไทยเกิดปรากฎการณ์ฝุ่นปกคลุมอย่างหนาแน่น เป็นครั้งแรกที่เรื่องฝุ่น PM2.5 เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมาหาคำตอบว่าคืออะไร ?    ฝุ่น PM2.5 หรือชื่อเต็มคือ Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็น 1 ใน 8 ตัววัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ซึ่งความร้ายแรงจากฝุ่นนี้ สามารถผ่านการกรองของขนจมูกเข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ แม้จะไม่เป็นอันตรายแบบเฉียบพลัน แต่เมื่อสะสมเป็นเวลาหลายปีก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคทางทางเดินหายใจได้   อ้างอิงจาก: สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ กลุ่มเฝ้าระวัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #PM2.5 #ฝุ่นPM2.5 #ไมครอน

Scroll to Top