April 2022

ศึกห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น ภาคอีสาน รายได้หลักร้อยล้าน

ห้างสรรพสินค้า ถือเป็นธุรกิจแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะในช่วงที่มีการ Lockdown เมือง ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หันไปนิยมซื้อและทำธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้น . ผลประกอบที่ผ่านมาของห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น ภาคอีสานเป็นอย่างไร? . บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด (อัษฎางค์) จ.นครราชสีมา ก่อตั้งมาแล้ว 46 ปี ปี 2563 รายได้ 137,083,359 บาท กำไร 26,616 บาท ปี 2562 รายได้ 254,409,487 บาท กำไร 272,612 บาท . บริษัท เซ็นโทซ่า จำกัด จ.ขอนแก่น ก่อตั้งมาแล้ว 38 ปี ปี 2563 รายได้ 321,356,296 บาท กำไร 3,014,526 บาท ปี 2562 รายได้ 324,610,146 บาท กำไร 3,705,832 บาท . บริษัท แฟรี่พลาซ่า จำกัด จ.ขอนแก่น ก่อตั้งมาแล้ว 35 ปี ปี 2563 รายได้ 205,339,923 บาท กำไร 7,867,117 บาท ปี 2562 รายได้ 258,115,281 บาท กำไร 2,921,381 บาท . บริษัท ร้อยเอ็ดพลาซ่า จำกัด จ.ร้อยเอ็ด ก่อตั้งมาแล้ว 30 ปี ปี 2563 รายได้ 204,216,212 บาท กำไร 577,435 บาท ปี 2562 รายได้ 246,631,118 บาท กำไร 2,005,350 บาท . บริษัท ซุ่นเฮงพลาซ่า จำกัด จ.ศรีสะเกษ ก่อตั้งมาแล้ว 28 ปี ปี 2563 รายได้ 321,885,929 บาท กำไร 729,252 บาท ปี 2562 รายได้ 369,495,531 …

ศึกห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น ภาคอีสาน รายได้หลักร้อยล้าน อ่านเพิ่มเติม »

ลุ้นร้านไหนต้องไปตำ! มิชลิน ไกด์ ขยายขอบเขตคัดสรรสู่อีสานปีแรก เริ่มโคราช-ขอนแก่น-อุดร-อุบล

มิชลิน ไกด์ (Michelin Guide) จับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ออกเดินทางสู่ภาคอีสาน เพื่อคัดสรรร้านอาหารจาก 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี สำหรับการจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทย และเป็นฉบับแรกที่ขยายขอบเขตไปสู่ภาคอีสาน โดยมีกำหนดเผยแพร่ปลายปี 2565 นี้ . เกว็นดัล ปูลเล็นเนค (Gwendal Poullennec) ผู้อำนวยการฝ่ายจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ทั่วโลก เปิดเผยว่า อาหารอีสานแม้ว่าจะมีวิธีการทำที่เรียบง่าย แต่กลับให้รสชาติที่ลึกซึ้งและซับซ้อน รวมถึงมีเทคนิคการถนอมอาหารที่รู้จักกันดีอย่างปลาร้า ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญของวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวอีสาน . ยิ่งในปัจจุบันมีเชฟชาวอีสานที่มีความรู้และประสบการณ์เลือกมาเปิดร้านอาหารที่บ้านเกิดจำนวนมาก เชฟเหล่านี้ไม่เพียงจะช่วยยกระดับอาหารอีสานโดยเลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมาปรุงอย่างพิถีพิถันด้วยทักษะที่ตนเองสั่งสมมานาน แต่ยังช่วยกำหนดมาตรฐานใหม่ให้อาหารท้องถิ่นมีคุณภาพสูงมากขึ้น . นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดทำมิชลิน ไกด์ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีวัฒนธรรมอาหาร ซึ่งช่วยให้เกิดการรับรู้และสร้างกระแสการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้กับทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในวงกว้าง . โดยเฉพาะในวันที่ประเทศไทยเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ จะช่วยกระตุ้นการเดินทางอีกครั้ง ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม . สำหรับภาคอีสาน ถือเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ เพราะมีทุ่งหญ้า มีผืนป่าบนที่ราบสูงและเทือกเขาซึ่งเหมาะแก่การทำปศุสัตว์ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิที่โด่งดังไปทั่วโลก หรือข้าวเหนียว รวมถึงมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน จึงมีปลาน้ำจืดจำนวนมากให้เลือกใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร . ทั้งนี้ มิชลิน ไกด์ 2565 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด มีร้านอาหารทั้งสิ้น 361 ร้าน ในจำนวนนี้เป็นร้านที่สามารถคว้าดาวมิชลินมากถึง 32 ร้าน และร้านที่ได้รับรางวัล บิบ กูร์มองด์ 133 ร้าน ส่วนการจัดอันดับร้านอาหารในมิชลิน ไกด์ ในแต่ละปีก็มีคู่มือของแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เคยมีเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร กระทั่งได้ครอบคลุมไปยังจังหวัดในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา . . อ้างอิงจาก : https://kku.world/11dhq https://kku.world/pu9md . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มิชลินไกด์

มันฝรั่ง พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่อีสานก็ปลูกได้ผลผลิตดีบ่แพ้กัน

เคยสงสัยไหมว่า “มันฝรั่ง” วัตถุดิบหลักในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดที่หลายคนชื่นชอบนั้น มีต้นกำเนิดมาจากไหน สถานการณ์การผลิตในประเทศเป็นอย่างไร และทำไมจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรในอีสานหันมาปลูกมันฝรั่งมากขึ้น อีสานอินไซต์จะเล่าให้ฟัง .  มันฝรั่งมาจากไหน ? . เชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดของมันฝรั่งคืออเมริกาใต้ โดยมีบันทึกไว้ว่าเปรูมีมันฝรั่งมากกว่า 4,000 ชนิด และในยุคที่สเปนแสวงหาอาณานิคมมาถึงเปรูราวปี ค.ศ.1536 ก็ได้เอาหัวมันฝรั่งกลับไปประเทศตัวเอง เช่นเดียวกับพืชพื้นเมืองชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด โกโก้ มะเขือเทศ และพริก ก่อนจะเริ่มกระจายไปทั่วยุโรปราวศตวรรษที่ 16 รวมถึงในทวีปอเมริกาที่ส่งผ่านเรือสเปนไปขึ้นฝั่งที่นิวแฮมเชียร์ในปี ค.ศ.1719 . สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามันฝรั่งเข้ามาได้อย่างไร แต่คาดว่าเข้ามาในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยพันธุ์ที่ถูกพบครั้งแรกและเป็นพันธุ์พื้นเมืองเรียกว่า “อาลู” (เป็นคำที่ชาวเมืองเรียกมันฝรั่ง) .  แหล่งเพาะปลูกมันฝรั่งของไทย . ปัจจุบัน มันฝรั่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดตาก เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และลำพูน ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเหมาะแก่การเพาะปลูก รวมไปถึงบางพื้นที่ของภาคอีสาน เช่น จังหวัดนครพนม .  มันฝรั่ง แบ่งตามการใช้ประโยชน์ได้ 2 ประเภท . 1. พันธุ์บริโภค (นำมาปรุงอาหารเพื่อการบริโภค) ได้แก่ พันธุ์สปันตา (Spunta) อายุปลูกถึงเก็บเกี่ยว 100-120 วัน เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ให้ผลผลิตสูง และพันธุ์บินท์เจ (Bintje) เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อความแห้งได้ดี . 2. พันธุ์โรงงาน สำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ (Potato Chips) มันฝรั่งทอดหนา (French Fried) ได้แก่ พันธุ์เคนนีเบค (Kennebec) ให้ผลผลิตสูงปานกลาง และพันธุ์แอตแลนติก (Atlantic) ให้ผลผลิตสูง จึงเป็นพันธุ์ที่มีการปลูกมากที่สุดในไทย มีความสำคัญในด้านเป็นพืชอุตสาหกรรม .  สถานการณ์การเพาะปลูกในไทย . ปี 2560 – 2564 พื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งและผลผลิตมันฝรั่งโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยมันฝรั่งพันธุ์บริโภคมีพื้นที่เพาะปลูกลดลง จาก 2,376 ไร่ ในปี 2560 เหลือ 1,041 ไร่ ในปี 2564 ส่วนพันธุ์โรงงานมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น จาก 35,482 ไร่ ในปี 2560 เป็น 38,924 ไร่ ในปี 2564 . ทั้งนี้ ในปี 2565 คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3.22% จากปี …

มันฝรั่ง พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่อีสานก็ปลูกได้ผลผลิตดีบ่แพ้กัน อ่านเพิ่มเติม »

ที่ผ่านมา “ข้าวไทย” ส่งออกอิหยังแหน่? พร้อมส่องทิศทาง ปี 65-67

“ข้าว” สินค้าส่งออกหลักของไทย ที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด ครอบคลุมครัวเรือนกว่า 4.9 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ รอบปีเพาะปลูก 2562/63 มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 68.54 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ตามลำดับ . ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยปีละ 31-33 ล้านตัน ซึ่งนำไปสีเป็นข้าวสารได้ประมาณ 20-22 ล้านตัน โดยใช้บริโภคภายในประเทศเฉลี่ย 11 ล้านตัน ส่วนที่เหลือมีทั้งส่งออกและสต๊อก . แบ่งเป็น ข้าวเพื่อใช้บริโภคโดยตรง มีสัดส่วน 60-70% และ ข้าวเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แป้งข้าว ขนมขบเคี้ยวจากข้าว การผลิตไฟฟ้าชีวมวล และการผลิตเอทานอล เป็นต้น มีสัดส่วน 30-40% ของความต้องการบริโภคข้าวในประเทศทั้งหมด . ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยในปี 2563 มีโครงสร้างดังนี้ . – ข้าวขาว มีปริมาณการค้าสูงสุดในตลาดโลก โดยปริมาณการส่งออกของไทยอยู่ที่ 2.24 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นสัดส่วน 39.1% ของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกหลักอยู่ในภูมิภาคแอฟริกา และเอเชีย โดยส่งออกไปยังประเทศแองโกลาสูงสุดที่ 14.3% รองลงมาเป็นญี่ปุ่น (10.9%) โมซัมบิก (8.6%) แคเมอรูน (7.6%) และสหรัฐฯ (6.4%) ตามลำดับ . – ข้าวนึ่ง ปริมาณการส่งออกของไทยอยู่ที่ 1.45 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นสัดส่วน 25.3% ตลาดส่งออกหลักอยู่ในภูมิภาคแอฟริกา โดยส่งออกไปยังประเทศแอฟริกาใต้สูงถึง 44.6% รองลงมาเป็นเบนิน (25.4%) เยเมน (8.4%) แคเมอรูน (4.9%) และโตโก (2.7%) ตามลำดับ . – ข้าวหอมมะลิ ปริมาณการส่งออกของไทยอยู่ที่ 1.19 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นสัดส่วน 20.7% ตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐฯ (41%) รองลงมาเป็นจีน (11.6%) ฮ่องกง (10.8%) และแคนาดา (6.8%) ตามลำดับ . – ปลายข้าว เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งและอาหารสัตว์ ปริมาณการส่งออกของไทยอยู่ที่ 5.9 แสนตันข้าวสาร คิดเป็นสัดส่วน 10.3% ตลาดส่งออกหลัก คือ เซเนกัล (18%) รองลงมาเป็นจีน (17.5%) อินโดนีเซีย (14.7%) และโกตดิวัวร์ …

ที่ผ่านมา “ข้าวไทย” ส่งออกอิหยังแหน่? พร้อมส่องทิศทาง ปี 65-67 อ่านเพิ่มเติม »

ลุยโลด แผนสร้างเมืองเดินได้ (Walkable City) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอุดรฯ

สภาพลเมืองเทศบาลนครอุดรธานี ร่วมเสนอความเห็นในการพัฒนาเมือง ล่าสุดมีความเห็นร่วมกันในการนำจุดเด่นของเมือง มาสร้างความเปลี่ยนแปลงใน 4 ปีข้างหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรองรับอนาคตปี 2569 ที่จังหวัดอุดรธานี จะเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมระดับนานาชาติ 2 งานใหญ่ คือ งานมหกรรมพืชสวนโลกและงานมหกรรมกีฬาแห่งชาติ . โดยปรับปรุงทางเท้าให้สะดวกปลอดภัย และเชื่อมโยงย่านต่าง ๆ ที่โดดเด่นเป็นเส้นทางเดินเที่ยวชมเมือง เชื่อมโยงถนนสายวัฒนธรรมที่หลากหลายมาเป็นตัวตั้ง เพื่อสร้างนครอุดรธานีให้เป็นเมืองเดินได้ (Walkable City) . 4 ย่านหลากวัฒธรรม กลางเมืองอุดรฯ คือที่ไหนบ้าง? . 1. ถนนสายธรรมะกลางเมือง ถนนนเรศวร ที่ต้้งวัดป่าบ้านจิก หนึ่งในวัดที่ททท.จัดอยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวธรรมะ มีร้านอาหารนานาชนิด ทั้งไทย จีน เวียดนาม อาหารถิ่น ร้านกาแฟ ไอศครีม หรือร้านนวดสปา ดอกบัวแดง นับเป็นย่านที่มีจุดเด่นอยู่แล้ว เพียงปรับปรุงพัฒนาอีกเล็กน้อย ก็พร้อมเป็นถนนสายวัฒนธรรม และถนนคนเดินได้อย่างน่าสนใจ . 2. สี่แยกคุ้มแขก สี่แยกถนนนเรศวรตัดกับถนนศรีชมชื่น เป็นย่านตลาดอาหารปรุงสุกเช้า-เย็น ที่ชาวอุดรฯ นิยมซื้อหาไปรับประทานที่บ้าน หรือเตรียมไปเป็นอาหารกลางวัน และยังเป็นย่านถิ่นที่อยู่ของชาวมุสลิม หรือคุ้มแขก มีมัสยิด ร้านอาหารมุสลิมแท้ ๆ ไว้บริการ . 3. ชุมชนเวียดนาม เป็นถิ่นของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ที่มีสมาคมชาวเวียดนามตั้งอยู่เพื่อควบคุมดูแลประสานงานกับทางราชการ และทางประเทศเวียดนาม เทศบาลจะเข้าไปบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นถนนวัฒนธรรมเวียดนาม ที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย จีน มุสลิม ที่อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว . 4. ไชน่าทาวน์อุดรฯ ย่านวัฒนธรรมจีน ที่มีประวัติมายาวนาน คือ ศาลเจ้าปู่ย่าอุดรธานี ศูนย์รวมความศรัทธาของคนจีน ทั้งในไทย และต่างประเทศ คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน รวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ใกล้กันมีศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน เป็นแหล่งความรู้ทางวัฒนธรรมจีนในพื้นที่อนุภาคลุ่มนํ้าโขง . และยังมีอีกหนึ่งนโยบายสร้างเมืองให้ปลอดภัย ที่ทางเทศบาลนครอุดรธานีร่วมกับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจภาค 4 ให้เหมาะแก่การเดิน หรือ Walkable City โดยกำหนดพื้นที่เขตเทศบาลนครเมืองให้เป็นเขต “เซฟตี้โซน” ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง กล้อง CCTV และขยายพื้นที่เพิ่มเติมครอบคลุมทั้ง 105 ชุมชน . และจะต่อเนื่องพื้นที่เทศบาลโดยรอบทั้ง 4 เทศบาลในอนาคตต่อไป เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากอาชญากรรมทุกชนิด เรียกว่า “ผู้หญิงคนเดียวก็เดินเล่นได้อย่างปลอดภัย” เชิญชวนให้คนไปใช้สวนสาธารณะเพื่อพักผ่อน ออกกำลังกาย เตรียมความพร้อมของเมืองในอีก 4 ปีข้างหน้า ทั้งในด้านการเดินทางท่องเที่ยว ด้านเศรษฐกิจ สู่การเป็นศูนย์กลางของการค้า การลงทุนและการบริการ . . ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุดรธานี #ถนนเดินได้ #WalkableCity

ปีงบฯ 65 ภาคอีสานได้รับจัดสรรงบประมาณเท่าไร ?

ปีงบฯ 65 ภาคอีสานได้รับจัดสรรงบประมาณเท่าไร ? . กรอบงบประมาณรายจ่ายแบ่งเป็น งบจังหวัด 70% และงบกลุ่มจังหวัด 30% . ภาคอีสานได้รับจัดสรรงบรวม (จังหวัด+กลุ่มจังหวัด) 5,154.11 ล้านบาท (-21.89%) .  งบจังหวัด . – จ.นครราชสีมา ได้รับจัดสรรงบประมาณ 342.90 ล้านบาท (-12.73%) สูงสุดของภูมิภาคและประเทศ – จ.อุดรธานี ได้รับจัดสรรงบประมาณ 26.30 ล้านบาท (-91.48%) ต่ำสุดของภูมิภาคและประเทศ .  งบกลุ่มจังหวัด . – กลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน 1 ซึ่งประกอบด้วย จ.หนองคาย เลย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และอุดรธานี ได้รับจัดสรรงบประมาณรวม 388.72 ล้านบาท (-11.91%) สูงสุดของภูมิภาค – กลุ่มจังหวัดอีสานตอนกลาง ซึ่งประกอบด้วย จ.ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ได้รับจัดสรรงบประมาณรวม 229.68 ล้านบาท (-17.70%) ต่ำสุดของภูมิภาค .  การจัดสรรงบประมาณจังหวัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม . หนึ่งในเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณของจังหวัด (สัดส่วน 70%) คือ งบพัฒนาจังหวัด ซึ่งมีองค์ประกอบในการพิจารณา ดังนี้ 1. เฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด 2. จำนวนประชากร 3. ขนาดพื้นที่ 4. สัดส่วนคนจน 5. ผกผันรายได้ครัวเรือน 6. ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) 7. ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ . เป็นที่น่าสังเกตว่า หากเปรีบเทียบเฉพาะ ‘สัดส่วนคนจน’ ของแต่ละจังหวัดในปี 2563 และงบประมาณของจังหวัดตามร่างงบประมาณรายจ่าย ปีงบฯ 2565 พบว่า กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดในภาคอีสาน ปี 2563 (คิดเป็น 23.79%)ในขณะที่จังหวัดที่ได้รับงบประมาณสูงส่วนใหญ่เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ หรือจังหวัดหัวเมืองต่าง ๆ เช่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์ . หรือหากเทียบเฉพาะ ‘ผกผันรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน’ แต่ละจังหวัดในปี 2562 และงบประมาณของจังหวัดตามร่างงบประมาณรายจ่าย ปีงบฯ 2565 จะพบว่า นครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงเป็นอับดับ 2 ของภูมิภาค (25,735 บาท/ครัวเรือน) รองจากอุดรธานี (25,766 บาท/ครัวเรือน) แต่กลับได้รับงบประมาณสูงสุด ในขณะที่อุดรธานีได้รับงบประมาณต่ำสุดของภาค . กล่าวได้ว่า …

ปีงบฯ 65 ภาคอีสานได้รับจัดสรรงบประมาณเท่าไร ? อ่านเพิ่มเติม »

ตลาดอสังหาฯ ภาคอีสานเริ่มฟื้น REIC คาด ปี 65 เปิดโครงการใหม่เพิ่ม 60% มูลค่าขายรวมพุ่ง 1.3 หมื่นล้านบาท

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) คาดการณ์ว่าทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2565 จะเป็นช่วงของการฟื้นตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยในด้านอุปทานคาดการณ์ว่าจะมีโครงการเปิดตัวใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น 60.3% เพิ่มจาก 2,450 หน่วย ในปี 2564 เป็น 3,928 หน่วยในปี 2565 . ขณะที่จำนวนหน่วยเหลือขายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 22.6% โดยหน่วยเหลือขายจะเพิ่มขึ้นจาก 10,439 หน่วย ในปี 2564 เป็น 12,795 หน่วย ในปี 2565 มูลค่าเพิ่มขึ้น 20.5% โดยเพิ่มขึ้นจาก 36,095 ล้านบาท ในปี 2564 เป็น 43,505 ล้านบาท . ด้านอุปสงค์คาดการณ์ว่า ภาพรวมหน่วยขายได้ใหม่ในพื้นที่ภาคอีสานจะปรับเพิ่มขึ้น 5.9% โดยเพิ่มจาก 3,973 หน่วย ในปี 2564 เป็น 4,206 หน่วย ในปี 2565 มูลค่าการขายเพิ่มขึ้น 4.8% โดยเพิ่มจาก 12,945 ล้านบาท ในปี 2564 เป็น 13,560 ล้านบาท ในปี 2565 ส่งผลให้อัตราดูดซับโดยภาพรวมในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 2.4% . นครราชสีมาโครงการใหม่เพิ่ม 106% ส่วนขอนแก่นขยายตัวในกลุ่มแนวราบเป็นหลัก . ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ กล่าวว่า ในปี 2565 จังหวัดหลัก คือ นครราชสีมาและขอนแก่น เป็นพื้นที่ที่น่าจับตามอง โดยคาดว่านครราชสีมาจะมีหน่วยเปิดขายใหม่จำนวน 1,917 หน่วย (เพิ่มขึ้น 106%) คิดเป็นมูลค่า 5,627 ล้านบาท (มูลค่าเพิ่มขึ้น 83.7%) โดยคาดการณ์ว่าจะมีหน่วยขายได้ใหม่จำนวน 1,865 หน่วย (เพิ่มขึ้น 18.9%) คิดเป็นมูลค่า 6,061 ล้านบาท (มูลค่าเพิ่มขึ้น 15.1%) ส่วนหน่วยเหลือขายเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นโดยเป็นผลมาจากการเปิดตัวโครงการใหม่ คาดการณ์ว่าจะมีหน่วยเหลือขาย 5,960 หน่วย (เพิ่มขึ้น 22.4%) คิดเป็นมูลค่า 20,978 ล้านบาท . ส่วนขอนแก่นทิศทางการขยายตัวอยู่ในกลุ่มโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นหลัก คาดว่าจะมีหน่วยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 1,195 หน่วย (เพิ่มขึ้น 66.4%) คิดเป็นมูลค่า 3,153 ล้านบาท (มูลค่าเพิ่มขึ้น 49.6%) มีหน่วยขายได้ใหม่ 1,151 หน่วย (ลดลง 0.3%) …

ตลาดอสังหาฯ ภาคอีสานเริ่มฟื้น REIC คาด ปี 65 เปิดโครงการใหม่เพิ่ม 60% มูลค่าขายรวมพุ่ง 1.3 หมื่นล้านบาท อ่านเพิ่มเติม »

ต้องลองเด้อ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาฯ ตราศรีแสงดาว จ.ร้อยเอ็ด สินค้าเครื่องหมาย GI แรกที่บุกตลาดยุโรปได้

การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ นอกจากจะช่วยคุ้มครองผู้ผลิตในรูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา และผู้บริโภคในเรื่องของการการันตีคุณภาพจากแหล่งผลิตในท้องถิ่นนั้น ๆ แล้ว เครื่องหมาย GI โดยเฉพาะของสหภาพยุโรป ยังเป็นเครื่องมือทำการตลาดที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและศักยภาพในการแข่งขันให้สินค้าได้เป็นอย่างดี . เนื่องจากตลาดยุโรปนิยมและพร้อมจ่ายเงินเพิ่มสำหรับสินค้าที่มีจุดขายพิเศษ เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมถึงสินค้าที่มีความเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ทั้งในแง่ของคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะ เช่น เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ . ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในสหภาพยุโรป ทั้งสิ้น 4 รายการ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ กาแฟดอยช้าง กาแฟดอยตุง และข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง . ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้เป็นสินค้าไทยชนิดแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI โดยสหภาพยุโรป เมื่อปี 2556 แต่นับจากนั้นก็ยังไม่มีการทำตลาดสินค้าชนิดนี้ในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม การเจรจาครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งแรกที่สินค้าไทยประทับตรา GI สหภาพยุโรป จะได้เปิดประตูสู่การค้าในตลาดโลกอย่างแท้จริง . โดยประเดิมประเทศแรกด้วยออสเตรีย และสินค้ารายแรกที่ประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจกับผู้นำเข้าออสเตรียจนขึ้นแท่นสินค้านำร่องคือ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ตราศรีแสงดาว จากจังหวัดร้อยเอ็ด . ซึ่งมีครบทั้งเครื่องหมายรวงข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ และเครื่องหมาย GI ของสหภาพยุโรป มีความพร้อมทั้งตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับรางวัล DEmark ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และรางวัลระดับโลกอย่าง Red Dot Design Award . ยิ่งไปกว่านั้น ข้าวศรีแสงดาวยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างโรงสีศรีแสงดาวกับชาวนาในพื้นที่ ซึ่งมีการนำนวัตกรรมนาหยอดเข้ามาใช้แทนการทำนาแบบดั้งเดิม ได้มีการศึกษาและพัฒนาร่วมกันจนกระทั่งสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ช่วยให้ชาวนามีผลกำไรมากขึ้น . ขณะนี้ มีการจับคู่ธุรกิจข้าวศรีแสงดาวกับผู้นำเข้าออสเตรียแล้ว 3 ราย ซึ่งครอบคลุม 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ . – ธุรกิจค้าส่งวัตถุดิบแก่ร้านอาหารในประเทศออสเตรีย ซึ่งมีแผนการขยายการค้าไปยังภูมิภาคยุโรปตะวันออก – ธุรกิจค้าปลีกระดับซูเปอร์พรีเมี่ยมซึ่งมีเครือข่ายทั่วประเทศ – แพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ซึ่งมีฐานลูกค้าตลาดบนทั่วยุโรป . สำหรับกลุ่มแรกจะมีการส่งมอบสินค้าในช่วงกลางปีนี้ และสองกลุ่มหลังกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาทางธุรกิจ . ทั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการปรับกลยุทธ์ในการส่งเสริมการส่งออกข้าวไทย จากเดิมที่เน้นเชิงปริมาณเป็นหลัก มาชูจุดเด่นเชิงคุณภาพเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาดยุโรปซึ่งไม่ได้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก แต่มีแนวโน้มบริโภคข้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงและนิยมสินค้าคุณภาพที่มีมาตรฐานสากลเป็นเครื่องรับรอง . นอกจากนี้ ยังเป็นก้าวสำคัญของการผลักดันสินค้าเกษตรของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลก และยกระดับให้แข่งขันได้ในราคาที่สูงกว่า ซึ่งหวังว่าจะได้รับการขยายผลไปยังสินค้าประเภทอื่น ๆ และตลาดอื่น ๆ ต่อไป . ที่มา : https://kku.world/du8mo . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ #GI #ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ฮู้จัก “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เมืองอุบลฯ

โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ถือเป็นต้นแบบที่จะเข้ามาแทนโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นการผลิตไฟฟ้าที่ผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นและยาวนานขึ้น พร้อมควบคุมด้วยระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ร่วมกับการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) เพื่อบริหารจัดการไฟฟ้าได้แม่นยำมากขึ้น . โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด แห่งแรกของไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก . กฟผ. ได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด จำนวน 16 โครงการทั่วประเทศ กำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) . นำร่องที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแห่งแรก มีกำลังผลิตติดตั้ง 45 เมกะวัตต์ นับเป็นโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์มากถึง 144,420 แผ่น ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือเทียบเท่าสนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม โดยมีกำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 . โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง . เป็นการใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Double Glass ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง และทนความชื้นได้ดี สามารถออกแบบวางชิดผิวน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 10-15% ใช้ทุ่นลอยน้ำเป็นทุ่นพลาสติก ชนิด High Density Poly Ethylene (HDPE) ผสม UV Protection ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับท่อส่งน้ำประปา และมีอายุการใช้งานนานกว่า 25 ปี . ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ประมาณ 47,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่าประมาณ 37,600 ไร่ รวมทั้ง การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ปกคลุมผิวน้ำยังช่วยลดการระเหยของน้ำได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศได้ถึง 730.62 พันล้าน BTU ต่อปี . กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนมีรายได้กว่า 30 ล้านบาท . ความท้าทายของการพัฒนาโครงการนี้ คือการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตั้งแต่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และคนงานเป็นคนในพื้นที่เป็นหลักถึง 80% ทั้งการจ้างเจ็ตสกีของชุมชน มาช่วยลากแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งในอ่างเก็บน้ำ การจ้างเรือหางยาวไว้รับส่งคนงาน และการจ้างแพท่องเที่ยวแบบมีหลังคาใช้เป็นที่พักคนงานกลางน้ำ . การบริหารคนงานก็ท้าทายไม่แพ้กัน เนื่องจากต้องใช้คนจำนวนมากทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงแรกในการก่อสร้างต้องใช้ประมาณ 300 – 600 คนต่อวัน ความปลอดภัยของสุขภาพกับคนงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ชุมชนมีรายได้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 กว่า 30 ล้านบาท . สร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ …

ฮู้จัก “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เมืองอุบลฯ อ่านเพิ่มเติม »

อุดรฯ แหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส่งออกอันดับ 1 ของอีสาน คัดส่ง 2,000 ตัน/ปี

นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองส่งออกอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ . เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกจำนวนมาก มีระบบการปลูกที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ส่งผลให้มะม่วงมีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน ลาว มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา . ทางด้าน นายบุญช่วย พัฒนชัย ประธานกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี คาดว่า ในช่วงฤดูการผลิตปี 2565 ระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. จะมีมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 หรือมะม่วงคัดเกรดส่งออกตลาดต่างประเทศได้ประมาณ 2,000 ตัน . ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จังหวัดอุดรธานี ปีที่ผ่านมา พบว่า มีพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองประมาณ 6,300 ไร่ ให้ผลผลิตรวม 6,000 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 900-1,000 กิโลกรัม/ไร่ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอำเภอหนองวัวซอ และกระจายอยู่ในอำเภอน้ำโสม วังสามหมอ กุมภวาปี . ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกมากกว่า 650 ราย ส่วนใหญ่มีการรวมกลุ่มผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ราคาต้นพันธุ์อยู่ที่ 30 – 60 บาท/ต้น เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะม่วงนอกฤดูเพื่อส่งออก เนื่องจากได้ราคาสูงกว่า ซึ่งจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2 เริ่มทำนอกฤดูในปีที่ 4 และสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 25 ปี) . ส่วนการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวทั้งหมด 3 รอบ คือ รอบที่ 1 ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม รอบที่ 2 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และรอบที่ 3 ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจังหวัดอุดรธานี มีผลผลิตจำหน่ายตลอดทั้งปี . ซึ่งหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เจ้าหน้าที่ของบริษัทส่งออกจะมารับผลผลิตถึงแหล่งผลิต โดยจะทำการคัดเกรดมะม่วงสำหรับส่งออกตลาดต่างประเทศและในประเทศ หลังจากคัดเกรดผลผลิตแล้วจะนำเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อ และบรรจุหีบห่อตามมาตรฐานการส่งออก . มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของ จังหวัดอุดรธานี ได้รับมาตรฐานรับรอง GAP ที่เป็นเครื่องการันตีและสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคได้ว่าผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน อีกทั้ง จังหวัดยังมีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ดีไม่มีของเสีย (Zero Waste) ซึ่งผลผลิตทุกส่วนสามารถสร้างรายได้ทั้งหมดไม่เหลือทิ้ง ประกอบกับมีการส่งเสริมด้านการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ . อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด …

อุดรฯ แหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส่งออกอันดับ 1 ของอีสาน คัดส่ง 2,000 ตัน/ปี อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top