April 2022

อีสาน ภูมิภาคที่เคยปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย

ภูมิภาคที่เคยปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย แต่ทำไม บ่ค่อยมีไผฮู้? . . โกโก้ วัตถุดิบสำคัญในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และขนม โดยเฉพาะช็อกโกแลต แต่หลายคนคงยังไม่รู้ว่าทุกภูมิภาคของไทยรวมถึงภาคอีสานก็สามารถปลูกต้นโกโก้ได้ ซึ่งเป็นเพราะเหตุใด และมีโอกาสพัฒนาต่อยอดหรือไม่ วันนี้อีสานอินไซต์จะเล่าให้ฟัง . ทำความรู้จัก “โกโก้” . โกโก้ เป็นไม้ผลเขตร้อน (Tropical Fruit Crop) มีถิ่นกำเนิดเนิดในประเทศเม็กซิโก และเปรู . สามารถยืนต้นยาวนานกว่า 70 ปี แต่อายุการให้ผลผลิตเชิงพาณิชย์อยู่ระหว่าง 30-40 ปี . โดยจะเริ่มให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวในปีที่ 3 ขึ้นไป (เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์และสภาพแวดล้อม) . ซึ่งตามธรรมชาติของโกโก้ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดด (ภายใต้ร่มเงา) และน้ำสม่ำเสมอ จึงเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น . สามารถปลูกได้ทั้งแบบเชิงเดี่ยว และแบบปลูกแซมกับพืชเศรษฐกิจอื่นที่มีขนาดใหญ่ . สำหรับผลผลิตโกโก้ของโลกมีประมาณ 4.6 ล้านตัน ในปี 2563 . แหล่งเพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ ประเทศไอวอรีโคสต์ กานา เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย และไนจีเรีย . การเพาะปลูกโกโก้ในไทย . ปี 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกโกโก้ 5,913 ไร่ ผลผลิตรวม 859 ตัน แบ่งสัดส่วนแต่ละภูมิภาค ดังนี้ . ภาคใต้ 1,799 ไร่ (30%) ภาคอีสาน 1,696 ไร่ (29%) ภาคเหนือ 1,379 ไร่ (23%) ภาคตะวันตก 501 ไร่ (9%) ภาคกลาง 295 ไร่ (5%) ภาคตะวันออก 244 ไร่ (4%) . ทำไมภาคอีสานถึงปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย . ก่อนหน้านั้นภาคอีสานมีเกษตรกรปลูกโกโก้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีความรู้ ปลูกมาแล้วผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ต้องเผชิญกับราคาต่อกิโลกรัมที่ไม่สูง และมีตลาดรับซื้อน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งก็มักมีปัญหาหลอกขายกล้าพันธุ์และไม่มารับซื้อตามสัญญา . ประกอบกับสภาพภูมิอากาศของภาคที่ไม่ได้ร้อนชื้นหรือมีฝนตกชุก ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าอีสานไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้ ทั้งที่ปลูกได้ แต่หากอยากให้มีผลผลิตตลอดทั้งปีอาต้องลงทุนระบบน้ำเพิ่ม . ส่วนการที่ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกโกโก้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคใต้ เนื่องจากภายหลังความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงมีแนวคิดขยายพื้นที่เพาะปลูกในอีสาน โดยส่งเสริมให้ปลูกแทนสวนยางพาราที่มีอายุมากกว่า 25 ปีและให้น้ำยางน้อย หรือปลูกแซมพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเป็นรายได้เสริม …

อีสาน ภูมิภาคที่เคยปลูกโกโก้ได้เป็นอันดับ 2 ในไทย อ่านเพิ่มเติม »

โอกาสของธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

ในปี 2564 มีผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV) 11,382 คัน เพิ่มขึ้นถึง 716.5% จากปี 2560 ที่มีเพียง 1,394 คัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนจากงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ที่จบไปเมื่อ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ที่มียอดจองรถยนต์ไฟฟ้ารวมประมาณ 3,000 คัน ครองส่วนแบ่งกว่า 10% . กระแสความนิยมเลือกใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาครัฐออกมาตรการสนับสนุน และมีการลงนามเซ็น MOU ก่อนที่งานจะเริ่ม ทำให้ราคาขายของรถยนต์ไฟฟ้ามีความชัดเจน บางแบรนด์มีราคาถูกลงไปตั้งแต่ 1.6-2.4 แสนบาท . โดยภาครัฐมีเป้าหมายสูงสุดในอุตสาหกรรมรถพลังงานไฟฟ้า คือการผลักดันให้ประเทศไทยติด Top 10 ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าระดับโลก และคาดว่าปี 2030 จะผลิตรถพลังงานไฟฟ้า เพื่อขายในประเทศและส่งออก 750,000 คัน คาดว่าจะมีรถพลังงานไฟฟ้าวิ่งอยู่บนนท้องถนนราว 2 ล้านคัน หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน . เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวมากขึ้น สิ่งที่เติบโตควบคู่เพื่อรองรับความต้องการ คือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสานยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต . ซึ่งภาคอีสานมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพียง 122 แห่ง จากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ มากที่สุด ที่จังหวัดนครราชสีมา รองลงมาเป็น ขอนแก่น อุดรธานี และบุรีรัมย์ ที่มีมากกว่า 10 แห่ง . ธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจในขณะนี้ เนื่องจากความกังวัลหลักของผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องของราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกต่อไป แต่กังวลในเรื่องของสถานีชาร์จที่ยังไม่ครอบคลุม รวมถึงระยะเวลาในการชาร์จแต่ละครั้ง ทำให้การเดินทางระยะไกลต้องวางแผน และคำนวณระยะทางก่อน ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาในการเตรียมตัว . สุดท้าย การดำเนินธุรกิจนี้คงเกิดขึ้นได้ยาก หากขาดการผลักดันและสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากตู้ชาร์จและระบบต่าง ๆ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ยังมีต้นทุนค่อนข้างสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตั้งสถานีชาร์จนำร่องเพื่อเป็นตัวอย่าง รวมถึงไปการร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ในการสร้าง Ecosystem ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยการผลิตและจัดจำหน่ายด้วยตัวเอง ทำให้ต้นทุนมีราคาถูกลง และสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น . . อ้างอิง: https://kku.world/z9n94 https://kku.world/curxo https://kku.world/xx9v6 https://kku.world/1u49j . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #รถยนต์ไฟฟ้า #สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ฮู้จัก Hometown Tax ของญี่ปุ่น สู่การประยุกต์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในอีสาน

Hometown Tax คืออะไร . Hometown Tax เป็นระบบการชำระภาษีให้บ้านเกิดของประเทศญี่ปุ่นที่ประกาศใช้เมื่อปี 2551 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมช่วยฟื้นฟู และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างท้องถิ่นในเขตเมืองกับเขตชนบท ผ่านการบริจาคเงินให้แก่ท้องถิ่นโดยตรง ซึ่งผู้บริจาคสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ขณะเดียวกันก็ได้รับสินค้าท้องถิ่นเป็นของแทนคำขอบคุณ . Hometown Tax เกิดขึ้นได้อย่างไร . เมื่อก่อนประเทศญี่ปุ่นเคยเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่อย่างหนัก จากการที่ประชากรต่างพากันอพยพเข้าสู่เขตเมืองเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า ทำให้ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีรายได้ลดลง และไม่สามารถนำไปจัดทำบริการสาธารณะได้เพียงพอ . ประกอบกับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ช่วยเหลือแบบปีต่อปี ทำให้ท้องถิ่นขาดการพัฒนาในระยะยาว และในกรณีมีเหตุฉุกเฉินก็ไม่สามารถช่วยได้ทันกาล การออกแบบนโยบาย Hometown Tax จึงเกิดขึ้น . ทำไม Hometown Tax ถึงได้รับความสนใจ . 1. เป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้เสียภาษี สามารถแบ่งภาษีเงินได้ส่วนหนึ่งให้ท้องถิ่นอื่นได้ และสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือตอบแทนบ้านเกิดได้โดยตรง . 2. ประชาชนรู้สึกมีส่วนร่วมกับการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น . 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำและพัฒนาบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพได้ โดยไม่ต้องรอเงินอุดหนุนจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว . ทำไมประเทศไทยต้องสนใจ Hometown Tax . ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยก็มีความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ค่อนข้างสูง การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนได้รับโอกาสในการสร้างรายได้ ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพในด้านต่าง ๆ ไม่เท่าเทียมกัน . จากดัชนี Human Achievement Index (HAI) ที่สะท้อนความก้าวหน้า การพัฒนาคนในระดับจังหวัด ระดับภาค ผ่านตัวชี้วัด 8 ด้าน* พบว่า ในปี 2562 กรุงเทพฯ มีค่าดัชนี HAI สูงกว่าทุกภูมิภาค (อยู่ที่ 0.6821) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่คนกรุงเทพฯ มีความก้าวหน้าด้านรายได้มากที่สุด อีกทั้งมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ และการศึกษาที่มีคุณภาพสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ . ขณะที่ภาคอีสาน และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีค่าดัชนี HAI ต่ำสุด อยู่ที่ 0.5792 และ 0.5142 ตามลำดับ เนื่องจากมีความก้าวหน้าด้านรายได้ค่อนข้างน้อย อีกทั้งโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา หรือการคมนาคมที่มีคุณภาพต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อโอกาสในการสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ Hometown Tax จึงเป็นนโยบายที่น่าสนใจ . ประยุกต์ใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในอีสานได้ยังไง . จากบทเรียน Hometown Tax ของญี่ปุ่น จะเห็นว่ามีมิติที่ไทยอาจลองนำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น การสร้างแรงจูงใจให้คนอยากบริจาคเงินให้กับท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนภาษี หรือให้ของสมนาคุณ (เป็นได้ทั้งสินค้าและบริการ) เช่น พืชผลทางการเกษตรที่ไม่สามารถส่งขายไปต่างประเทศได้เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 บัตรส่วนลดค่าที่พัก/ร้านอาหาร เป็นต้น อีกทั้งการระบุวัตถุประสงค์ของการนำเงินไปใช้ให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคน หรือพัฒนาบริการสาธารณะเพื่อคนทุกกลุ่ม . …

ฮู้จัก Hometown Tax ของญี่ปุ่น สู่การประยุกต์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

เนื้อพรีเมี่ยม “โพนยางคำ” สกลนคร ยกระดับยังไง ถึงเป็นที่ยอมรับในสากล

ก้าวแรกของเส้นทางโคขุนโพนยางคำ . เริ่มจากการจัดตั้ง ‘สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด’ ขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เพราะต้องการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อของไทยให้เป็นเนื้อระดับพรีเมียมที่สามารถขายได้ แต่ในตอนนั้นยังขาดความเชี่ยวชาญ จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและฝรั่งเศสขึ้น เพื่อพัฒนาพันธุ์โคให้ได้มาตรฐาน . โดยของบประมาณจากรัฐฯ ในการจัดหาน้ำเชื้อโคพันธุ์เนื้อต่างประเทศมาผสมเทียมให้สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคในภาคอีสาน ปัจจุบันสหกรณ์ฯ โพนยางคำมีสมาชิกกว่า 6,000 คน และมีจำนวนโคมากกว่า 10,000 ตัว โคขุนที่ได้มาตรฐาน ราคาขายอยู่ที่ตัวละ 80,000-100,000 บาท จากเดิมซึ่งขายได้เพียงตัวละ 30,000 บาท . ด้วยสภาพภูมิอากาศในไทยที่ร้อน ทำให้การขุนให้มีไขมันแทรกตามธรรมชาติยากกว่าสัตว์ที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศหนาวและเย็น เมื่อต้องขุนให้ได้เนื้อคุณภาพดี จึงต้องปรับปรุงสายพันธุ์ โดยนำสายพันธุ์ยุโรปมาผสมด้วย เช่น พันธุ์ชาร์โรเลส์ (Charolais), พันธุ์ลิมูซ่า (Limousin) และพันธุ์ซิมเมนทัล (Simmental) ทำให้ได้โคที่มี่โครงสร้างกล้ามเนื้อและไขมันที่ดี ทนอากาศในไทยได้ โดยเกษตรกรจะนิยมขุนโคพันธุ์ชาร์โรเลส์มากที่สุด . กรรมวิธีการ ‘ขุน’ ด้วยความรักและใส่ใจเป็นพิเศษ . ฟรังซัว แดร์โฟร์ (Francois Dervaux) ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรจากฝรั่งเศส ผู้คอยให้คำแนะนำกับเกษตรกรมาตลอด ได้เปรียบการขุนวัวเหมือนการเลี้ยงเด็ก ที่ร่างกายจะเจริญเต็มที่เมื่อย่างเข้า 25 ปี เมื่อกินอาหารเข้าไปก็จะออกด้านข้าง . โคก็เหมือนกัน เริ่มแรกจึงเลี้ยงแบบปล่อยปกติ พอโตสักประมาณ 2 ปี จะได้โครงสร้างโคหนุ่มที่สมบูรณ์ และจะเริ่มเข้าสู่การขุน คือ ให้ยืนในคอกแล้วเอาอาหารมาป้อน โดยมาตราฐานโพนยางคำคือขุน 12-18 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่เทียบเท่ากับที่ใช้ขุนเนื้อวากิว ประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับ การขุนด้วยอาหารสูตรพิเศษที่เกษตรกรได้คิดค้นลองผิดลองถูกจนได้สูตรอาหารที่ทำให้เกิดไขมันแทรกได้ดีขึ้น . หัวใจสำคัญที่สุดยังคงเป็นขั้นตอนการเลี้ยงอย่างเอาใจใส่ แต่ละครัวเรือนจึงขุนโคไม่เกินครั้งละ 5 ตัว เพื่อให้ให้ทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียด ทำให้การดูแลเอาใจใส่ทำได้ดี การอาบน้ำ ทำความสะอาด ทำได้อย่างเต็มที่ คนเลี้ยงมีความสุข โคก็ไม่เครียด กินได้เยอะ ขุนได้ดี ได้เนื้อที่มีคุณภาพ . เนื้อโคขุนโพนยางคำ ต่างจากเนื้อทั่วไปตามท้องตลาดอย่างไร? . ปกติเนื้อจะมีกลิ่นเฉพาะที่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อาหาร และการเลี้ยงดู บางที่ที่ใช้เวลาขุนเพียง 3 เดือน ทำให้ไม่ค่อยมีไขมันแทรก สำหรับเนื้อโคขุนโพนยางคำจะไม่มีกลิ่นสาบ หรือกลิ่นคาว แต่จะมีกลิ่นหอมจากอาหารธรรมชาติที่เกษตรกรใช้เลี้ยง การชำแหละโดยใช้มาตรฐานฝรั่งเศส ตัดแบ่งชิ้นส่วนและกำหนดชื่อเรียกได้ 23 ส่วน ได้เนื้อสีแดงสดใส มีไขมันแทรกระหว่างเนื้อ ทำให้มีสัมผัสนุ่มเป็นพิเศษ จากการขุนที่ใช้เวลานานพอสมควร . ปัจจุบันเนื้อโคขุนโพนยางคำถือเป็นเนื้อที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างชาติ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสกลนคร ส่วนที่นิยมรับประทานมากสุดจะเป็นเนื้อส่วนริบอาย (Ribeye) ราคาเฉลี่ย กก.ละ 1,200-1,300 บาท ซึ่งราคาก็จะแบ่งตามเกรดของเนื้อ โดยดูจากไขมันแทรก โดยสหกรณ์โคขุนโพนยางคำสามารถผลิตได้ที่เกรด …

เนื้อพรีเมี่ยม “โพนยางคำ” สกลนคร ยกระดับยังไง ถึงเป็นที่ยอมรับในสากล อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top