ปีงบฯ 65 ภาคอีสานได้รับจัดสรรงบประมาณเท่าไร ?
.
กรอบงบประมาณรายจ่ายแบ่งเป็น งบจังหวัด 70% และงบกลุ่มจังหวัด 30%
.
ภาคอีสานได้รับจัดสรรงบรวม (จังหวัด+กลุ่มจังหวัด) 5,154.11 ล้านบาท (-21.89%)
.
งบจังหวัด
.
– จ.นครราชสีมา ได้รับจัดสรรงบประมาณ 342.90 ล้านบาท (-12.73%) สูงสุดของภูมิภาคและประเทศ
– จ.อุดรธานี ได้รับจัดสรรงบประมาณ 26.30 ล้านบาท (-91.48%) ต่ำสุดของภูมิภาคและประเทศ
.
งบกลุ่มจังหวัด
.
– กลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน 1 ซึ่งประกอบด้วย จ.หนองคาย เลย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และอุดรธานี ได้รับจัดสรรงบประมาณรวม 388.72 ล้านบาท (-11.91%) สูงสุดของภูมิภาค
– กลุ่มจังหวัดอีสานตอนกลาง ซึ่งประกอบด้วย จ.ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ได้รับจัดสรรงบประมาณรวม 229.68 ล้านบาท (-17.70%) ต่ำสุดของภูมิภาค
.
การจัดสรรงบประมาณจังหวัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
.
หนึ่งในเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณของจังหวัด (สัดส่วน 70%) คือ งบพัฒนาจังหวัด ซึ่งมีองค์ประกอบในการพิจารณา ดังนี้
1. เฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด
2. จำนวนประชากร
3. ขนาดพื้นที่
4. สัดส่วนคนจน
5. ผกผันรายได้ครัวเรือน
6. ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP)
7. ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ
.
เป็นที่น่าสังเกตว่า หากเปรีบเทียบเฉพาะ ‘สัดส่วนคนจน’ ของแต่ละจังหวัดในปี 2563 และงบประมาณของจังหวัดตามร่างงบประมาณรายจ่าย ปีงบฯ 2565 พบว่า กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดในภาคอีสาน ปี 2563 (คิดเป็น 23.79%)ในขณะที่จังหวัดที่ได้รับงบประมาณสูงส่วนใหญ่เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ หรือจังหวัดหัวเมืองต่าง ๆ เช่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์
.
หรือหากเทียบเฉพาะ ‘ผกผันรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน’ แต่ละจังหวัดในปี 2562 และงบประมาณของจังหวัดตามร่างงบประมาณรายจ่าย ปีงบฯ 2565 จะพบว่า นครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงเป็นอับดับ 2 ของภูมิภาค (25,735 บาท/ครัวเรือน) รองจากอุดรธานี (25,766 บาท/ครัวเรือน) แต่กลับได้รับงบประมาณสูงสุด ในขณะที่อุดรธานีได้รับงบประมาณต่ำสุดของภาค
.
กล่าวได้ว่า การจัดสรรงบประมาณจังหวัดตามร่างฯ อาจไม่ได้นำองค์ประกอบสำคัญ เช่น สัดส่วนคนจน และรายได้ครัวเรือนมาพิจารณาเพื่อการจัดสรรงบประมาณมากเท่าที่ควร
.
ดังนั้น กรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดควรมีการทบทวนอย่างจริงจัง ควรตัดหลักเกณฑ์บางหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญน้อยต่อการแก้ปัญหาระดับจังหวัด เช่น การเฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด โดยควรนำตัวชี้วัดด้านความเหลื่อมล้ำมาพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น Gini Coefficient และ HAI เป็นต้น
.
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดความเหลื่อมล้ำของจังหวัดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากงานวิจัยของสำนักงบประมาณของรัฐสภา ฉบับที่ 4/2564 เรื่อง “ความเหลื่อมล้ำของจังหวัดกับการจัดสรรงบประมาณของไทย
.
อ้างอิงจาก :
https://kku.world/whxm9
https://kku.world/9p883
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #งบประมาณรายจ่าย #ปีงบประมาณ2565