โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ถือเป็นต้นแบบที่จะเข้ามาแทนโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นการผลิตไฟฟ้าที่ผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นและยาวนานขึ้น พร้อมควบคุมด้วยระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ร่วมกับการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) เพื่อบริหารจัดการไฟฟ้าได้แม่นยำมากขึ้น
.
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด แห่งแรกของไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
.
กฟผ. ได้จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด จำนวน 16 โครงการทั่วประเทศ กำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1)
.
นำร่องที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแห่งแรก มีกำลังผลิตติดตั้ง 45 เมกะวัตต์ นับเป็นโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์มากถึง 144,420 แผ่น ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือเทียบเท่าสนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม โดยมีกำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564
.
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
.
เป็นการใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Double Glass ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง และทนความชื้นได้ดี สามารถออกแบบวางชิดผิวน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 10-15% ใช้ทุ่นลอยน้ำเป็นทุ่นพลาสติก ชนิด High Density Poly Ethylene (HDPE) ผสม UV Protection ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับท่อส่งน้ำประปา และมีอายุการใช้งานนานกว่า 25 ปี
.
ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ประมาณ 47,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่าประมาณ 37,600 ไร่ รวมทั้ง การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ปกคลุมผิวน้ำยังช่วยลดการระเหยของน้ำได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศได้ถึง 730.62 พันล้าน BTU ต่อปี
.
กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนมีรายได้กว่า 30 ล้านบาท
.
ความท้าทายของการพัฒนาโครงการนี้ คือการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตั้งแต่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และคนงานเป็นคนในพื้นที่เป็นหลักถึง 80% ทั้งการจ้างเจ็ตสกีของชุมชน มาช่วยลากแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งในอ่างเก็บน้ำ การจ้างเรือหางยาวไว้รับส่งคนงาน และการจ้างแพท่องเที่ยวแบบมีหลังคาใช้เป็นที่พักคนงานกลางน้ำ
.
การบริหารคนงานก็ท้าทายไม่แพ้กัน เนื่องจากต้องใช้คนจำนวนมากทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงแรกในการก่อสร้างต้องใช้ประมาณ 300 – 600 คนต่อวัน ความปลอดภัยของสุขภาพกับคนงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ชุมชนมีรายได้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 กว่า 30 ล้านบาท
.
สร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ เมืองอุบลฯ กระตุ้นการท่องเที่ยวแดนอีสาน
.
กฟผ. ได้ร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาเส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) ยาว 415 เมตร สามารถชมโซลาร์เซลล์ไฮบริดจากมุมสูงได้อย่างชัดเจน สร้างความตื่นเต้นด้วยทางเดินกระจกที่สูงถึง 10 เมตร
.
ปรับภูมิทัศน์โดยรอบเป็นสวนหย่อมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว หวังปั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ของภาคอีสาน มุ่งสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวของภูมิภาคให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้กลับมาเฟื่องฟูอย่างยั่งยืน
.
.
อ้างอิงจาก:
.