Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พาส่องเบิ่ง 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

ในเดือน มกราคม – มิถุนายน 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 106,622 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12.6% ของการค้าชายแดนทั้งหมดในประเทศ โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 69,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดือนเดียวของปีก่อนหน้า 19.8% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 37,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.3% 6 จังหวัดการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว หนองคาย => มูลค่าการส่งออก 36,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.5% มุกดาหาร => มูลค่าการส่งออก 17,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% อุบลราชธานี => มูลค่าการส่งออก 8,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.2% เลย => มูลค่าการส่งออก 1,830 ล้านบาท ลดลง -25.3% นครพนม => มูลค่าการส่งออก 3,888 ล้านบาท ลดลง -16.4% บึงกาฬ => มูลค่าการส่งออก 1,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.2% จะเห็นได้ว่า หนองคายมูลค่าการส่งออกมากกว่าทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นด่านหลักในการส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น ถึงแม้ว่า สปป. ลาว จะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนัก แต่สินค้าที่ส่งออกจากด่านหนองคาย จะเป็นสินค้ากลุ่มสุดท้ายที่ลาวจะยังมีการนำเข้า อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่ตั้งของอีสานที่เป็นด่านสำคัญในการส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว รวมถึงปัจจัยสนับสนุนจาก รถไฟจีน–ลาว จึงทําให้อีสานอยากวางตำแหน่งตัวเอง เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันจากหลายๆปัจจัยเสี่ยง อาจทําให้แผนในการพัฒนาอีสานเป็น Gate ของภูมิภาคชะงัก อ้างอิงจาาก: http://btsstat.dft.go.th/มูลค่าการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน/การค้าชายแดนไทย-สปปลาว/มูลค่าการค้าชายแดนไทย-สปปลาว-รายจังหวัด #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน

เห็นได้ว่าในช่วงนี้ มีการขึ้นค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 ด้วยการขึ้นค่าไฟ 4.72 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือปรับขึ้น 17% จากค่า Ft อยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย วันนี้ ISAN insight & Outlook จะพามาดูการใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสานว่ามากน้อยเพียงใด ในโลกยุคดิจิทัล ไฟฟ้าแทบจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตเลยทีเดียว เพราะชีวิตของเราต้องพึ่งพาพลังงานจากไฟฟ้าแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่การให้แสงสว่าง การทำความเย็น การประกอบอาหาร การเดินทาง รวมไปถึงการติดต่อสื่อสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ดังนั้น ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถเจาะลึกไปถึงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า และความเป็นอยู่ของทุกครัวเรือนไทย นอกจากจะมีความสำคัญโดยตรงต่อธุรกิจไฟฟ้าแล้ว ข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ายังมีประโยชน์ในแง่ของการกำหนดนโยบายต่างๆ อีกด้วย อีสานบ้านเรามีการใช้ไฟฟ้ากันมากไหม? ภาพรวมของภาคอีสานในปี 2564 พลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้จำนวน 23,138 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง มีสัดส่วนอยู่ที่ 17% ของประเทศไทย ซึ่งเป็นรองภาคกลาง มีพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายและใช้อยู่ที่ 80,724 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วน 59.2% ของประเทศไทย รองลงมาเป็น ภาคเหนือ 12.1% และภาคใต้ 11.8% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทในภาคอีสาน พบว่า การใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42.4% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมา คือ กิจการขนาดใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 25.2% และใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 0.7% แต่เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร พบว่า ภาคอีสานใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตร 40.1% ของใช้ไฟฟ้าสูบน้ำเพื่อการเกษตรทั้งหมดใช้ประเทศ (อันดับที่ 2 ของประเทศ) เนื่องจากภาคอีสานเป็นแหล่งภาคการเกษตรที่สำคัญของประเทศ 5 อันดับจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา 6,235 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 2 ขอนแก่น 2,521 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 3 อุบลราชธานี 1,719 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 4 อุดรธานี 1,614 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 1,302 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง จะเห็นได้ว่า นครราชสีมามีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และยังเป็นแหล่งศูนย์กลางความเจริญของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมายในช่วง 10 ปีหลัง และนครราชสีมายังเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และวังน้ำเขียว มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 5 ล้านคนต่อปี จึงทำให้ธุรกิจบริการเกิดขึ้นใหม่มากมาย ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าจึงมากกว่าทุกจังหวัด เมื่อพิจารณาการใช้ไฟฟ้าทั้งภาคีอสาน จะเห็นได้ว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนระอุตลอดทั้งปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งบางวันมีอุณหภูมิมากถึง …

ชวนเบิ่ง การใช้ไฟฟ้าของคนในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง พันธุ์ข้าวจากจังหวัด สุรินทร์

พามาเบิ่ง พันธุ์ข้าวจากจังหวัด สุรินทร์   อ้างอิงจาก: https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=6 https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=35 https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=17  https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=22 https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=39    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ข้าวสุรินทร์ #สุรินทร์

Update ราคาข้าวเปลือกในภาคอีสาน (10 สิงหาคม 2565)

Update #ราคาข้าว ราคาข้าวเปลือกในภาคอีสาน  (10 สิงหาคม 2565)   จากสถานการณ์ราคาข้าวตลาดโลกกำลังผันผวน ราคาข้าวจึงขยับขึ้นขยับลงตามสถานการณ์ราคาโลก ซึ่งทำให้โรงสีจำเป็นต้องซื้อในราคาที่ลดลงเพื่อเป็นการลดต้นทุน เพราะโรงสีอยู่ตรงกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้ส่งออก เมื่อราคาข้าวในตลาดขยับตัวลง ทางโรงสีก็ต้องบริหารจัดการโดยการลดราคารับซื้อข้าวลง ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด   ทั้งนี้ ราคาข้าวมีการปรับราคาขึ้นสูงมากเมื่อเดือนก่อนหน้านี้ บวกกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าก็เป็นผลดีต่อการส่งออก ทำให้ราคาข้าวปรับขึ้น แต่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาก็เริ่มขยับลงมา ซึ่งคาดว่าราคาที่ขยับลงมาจากราคาปลายทางที่ลง หรือมีปัญหาอุปสรรคในการขนส่งข้าว เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ทำให้เกิดปัญหาการขนส่งข้าวขึ้นเรือใหญ่ไม่ได้ ส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกข้าวได้เต็มที่   ปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ราคาข้าวเปลือกที่ปรับลดลงขณะนี้ เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ทำให้ข้าวในตลาดมีอยู่มาก ซึ่งทางสมาคมจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น   อ้างอิงจาก: สมาคมโรงสีข้าวไทย https://www.bangkokbiznews.com/business/1011506 http://www.thairicemillers.org/images/introc_1429264173/pricerice10082565.pdf    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ราคาข้าวเปลือกในภาคอีสาน #ราคาข้าวอีสาน

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565

การโอนกรรมสิทธ์ิที่อยู่อาศัย ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 80,019 หน่วย มีมูลค่า 215,417 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า -2.7% และ -4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งจำนวนหน่วยยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 (ปี 2558 – 2562) ซึ่งมีจำนวนเฉลี่ย 90,233 หน่วย แต่มูลค่ากลับสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ซึ่งมีจำนวน 199,395 ล้านบาท จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าในไตรมาสนี้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สูงขึ้นโดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราคาเฉลี่ย 2.69 ล้านบาทต่อหน่วยในไตรมาสนี้ สูงกว่าระดับราคาโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ที่มีระดับราคาเฉลี่ย 2.21 ล้านบาทต่อหน่วย หากแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบมีการโอนจำนวน 60,133 หน่วย ลดลง จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -0.3% แต่มีมูลค่า 163,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 0.6% ส่วนอาคารชุดมีการโอนจำนวน19,886 หน่วย ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -9.2% และมีมูลค่า 52,291 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -17.9% หากพิจารณาการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะภาคอีสาน พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 8,527 หน่วย ขยายตัวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน -1.8% และมีมูลค่า 14,217 ล้านบาท ลดลง -3.9% จังหวัดท่ีมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดในภาคอีสาน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันมากถึง 43% ของจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในภาคอีสาน และมีสัดส่วนมูลค่ารวมกัน 51.5% นครราชสีมา มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,944 หน่วย ลดลง -0.3% แต่มีมูลค่า 4,075 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน และปากช่อง ส่วนอาคารชุดโอกรรมสิทธิ์นมากในอำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง และสูงเนิน ขอนแก่น มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 1,736 หน่วย เพิ่มขึ้น 10.4% มูลค่า 3,201 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% โดยมีที่อยู่อาศัยแนวราบโอนกรรมสิทธิ์มากในอำเภอเมืองขอนแก่น ชุมแพ และน้ำพอง ส่วนอาคารชุดมีการโอนกรรมสิทธิ์ในอำเภอเมืองขอนแก่นเพียงอำเภอเดียว มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบแยกตามระดับราคามากที่สุด 3 ลำดับแรก ในไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า เป็นช่วงราคาเดียวกับภาพรวมมูลค่าการโอนตลาดที่อยู่อาศัย ได้แก่ ระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท ระดับราคา …

พาส่องเบิ่ง สถานการณ์ด้านอุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัยของภาคอีสาน ไตรมาส 1 ปี 2565 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? (เดือนกรกฎาคม 2565) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.09% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กรกฎาคม 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 7.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ค. 64) ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 107.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ลดลง -0.16% (เดือนมิถุนายน 2565 สูงขึ้น 0.90%) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 7.61% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตรา ที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา โดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งสูงขึ้น 7.81% รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้น 7.80% 7.73% และ 7.68% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 7.09% เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง กับข้าว สำเร็จรูป และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักและผลไม้ อาทิ ขิง ถั่วฝักยาว มะนาว และส้มเขียวหวาน เป็นต้น อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น 1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 14.41% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 31.35% เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 9.97% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 25.57% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก 3. หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 7.45% โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 62.71% ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (FT) ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2565 4. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 7.30% โดยเฉพาะน้ำมันและไขมันสูงขึ้นถึง 33.38% แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการในวงกว้าง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญ รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้มากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อท่ัวไปปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 5.5 – 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) จากเดิมที่ คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม …

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ? (เดือนกรกฎาคม 2565) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 7.09% (YoY) อ่านเพิ่มเติม »

Influencer ชื่อดังในอีสาน ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง 

Influencer ชื่อดังในอีสาน  ที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง    อ้างอิงจาก:  https://www.bobswinereviews.com/11am-cafe-and-space/ https://www.youtube.com/watch?v=dK6xwmBpAtI  https://www.youtube.com/watch?v=LQylr-U1jaw  https://www.youtube.com/watch?v=8tJAia7VCKA  https://www.youtube.com/watch?v=2OXZKumgoy0  https://www.youtube.com/watch?v=y2lysYQ5JvM&t=8s    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #MayyR #11AM #Paweenees #Fromscrath #แตงโมอวบอึ๋ม #แตงโมแซ่บเวอร์ #ICEPADIE #ไอซ์พาดี้ #HappySunday

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง    เมื่อพูดถึงอีสาน หลายคนจะนึกถึงอาหารอีสานที่มีความแซ่บ ทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด เป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด วันนี้ ISAN Insight จะพาทุกคนมารู้จักกับร้านอาหารอีสาน ที่มาไกลถึงกรุงเทพฯ   ตำมั่ว (tummour) ตอนนี้ ตำมั่ว ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด ศิรุวัฒน์เสริมว่าการตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย อีกทั้งเพื่อให้จดจำง่ายสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ ได้ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นอย่าง Music marketing โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้องห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 50 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก   ซาว (ZAO) ซาวอุบล คือร้านอาหารอีสานบนถนนเลี่ยงเมืองอุบลที่ก่อตั้งโดย คุณณัฐธิดา พละศักดิ์ (อีฟ) อดีตแฟชั่นดีไซเนอร์ที่กลับบ้านมาตั้งหลักปักฐานทำธุรกิจรถไถนาและขยายออกมาเป็นร้านอาหารอีสานสูตรจากยายจุย ภูภักดี ก่อนจะเป็นร้านซาวอุบล อีฟเคยทำโปรเจกต์ลาวดีเพื่อหาคำตอบให้กับอาหารอีสาน และค่อยๆ เรียนรู้การเลือกใช้วัตถุดิบมาทำอาหารตามฤดูกาลของคนอีสาน การถนอมอาหาร รวมทั้งการปรุงอาหาร โดยเป้าหมายคือการขยายให้ซาวอุบลเติบโตเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน เพราะเลือกใช้พืชผัก เนื้อสัตว์ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาขายเอง ตั้งชื่อร้านว่า ซาวอุบล เพราะในภาษาภาษาอีสานคำว่า “ซาว” แปลว่าควานหรือคว้าอะไรบางอย่างมาใส่ สื่อได้ว่ามีอะไรก็ซาวมาทำอาหาร ซาวพืชผักสวนครัวมา ซาววัตถุดิบที่ชาวบ้านนำมาจากต่างอำเภอ    เผ็ดเผ็ด (Phed Phed) กว่า 6 ปี ของการเริ่มต้นทำร้านสาขาแรก (ตั้งแต่ปี 2559) มาวันนี้เผ็ดเผ็ดสามารถปักหมุดหมายให้บริการลูกค้าในกว่า 6 สาขา ท่ามกลางสถานการณ์ความซบเซาของเศรษฐกิจ และธุรกิจร้านอาหารอีสานที่ดูจะเป็น Red Ocean ในประเทศไทย  ไม่ต้องมีชะลอม กระติ๊บข้าวเหนียว หม้อดิน หรือพร็อพใดๆ ที่สื่อถึงความเป็นร้านอาหารอีสานให้มากความ เพราะเผ็ดเผ็ดเลือกที่จะหยิบจับความโมเดิร์น ความทันสมัย และลุคที่แตกต่างออกไปมาออกแบบร้านของพวกเขาในแต่ละสาขาให้หวือหวา และเก๋ไก๋ สาเหตุที่ทำให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายของ โควิด-19 ได้ คือเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยการรับลูกค้าในรูปแบบการ Take Away หรือเดลิเวอรี่ด้วย โดยปัจจุบันรายได้ของพวกเขาในส่วนนี้คิดเป็นสัดส่วนมากถึงกว่า 40-50% ต่อสาขาเลยทีเดียว  เป้าหมายในอนาคต อาจจะเลือกแตกแบรนด์ไปทำอาหารในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ส้มตำ อาจจะเป็นแบรนด์สินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก โดยสาระสำคัญคือการที่ทั้งคู่ยังคงต้องสนุก และมีความสุขในสิ่งที่พวกเขาได้ทำ     อ้างอิงจาก:  https://sumrej.com/sumrej-class-best-tummour/ https://tummouroriginal.com/about/  https://adaymagazine.com/zao-ubon/  https://urbancreature.co/zao-ekkamai/  https://thestandard.co/zao-ekkamai-branch/  https://adaymagazine.com/taste-1/  https://www.phedphed.com/?fbclid=IwAR3n2QhxZm70dzOietrM36mGSeF2EauwhjOdDi4wYipzfK15WX0ExHDvWPg  https://thestandard.co/phed-phed-cafe-unique-strategy-that-no-one-else-does/    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ตำมั่ว #tummour #ซาว #ZAO …

ธุรกิจอาหาร จากแดนอีสานมาไกลถึงเมืองหลวง อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ในเดือนพฤษภาคม 2565 สถาบันการเงินในภาคอีสานมีจำนวน 804 แห่ง ซึ่งจำนวนสาขาธนาคารลดลงจากเดือนมกราคม จำนวน 16 แห่ง เนื่องจากการใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันธนาคารยังเน้นการขยายสาขาในห้างสรรพสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ด้านเงินฝากคงค้างของภาคอีสาน อยู่ที่ 944,174 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนมีเพียง 5.6% ของยอดเงินฝากคงค้างประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นเงินฝากในรูปบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 759,703 ล้านบาท (คิดเป็น 80.5%) รองลงมาเป็นเงินฝากประจำ 158,104 ล้านบาท (คิดเป็น 16.7%) และอื่นๆ (คิดเป็น 2.8%) ตามรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจำนวน โดยยอดเงินฝาก 59.2% กระจายอยู่ใน 5 จังหวัดหลักของภาคอีสาน ได้แก่ อันดับที่ 1 นครราชสีมา 189,880 ล้านบาท อันดับที่ 2 ขอนแก่น 131,693 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุดรธานี 100,397 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุบลราชธานี 85,824 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ 51,216 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า ยอดเงินฝากคงค้างในปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.8% โดยเงินฝากประจำมีการปรับสัดส่วนลดลง 18,002 ล้านบาท หรือ -10.2% และเงินฝากออมทรัพย์มีการปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้น 59,411 ล้านบาท หรือ 8.5% ทั้งนี้ในเดือน พฤษภาคม ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ปี 2561 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 725,910 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% (YoY) ปี 2562 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 755,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.0% (YoY) ปี 2563 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 844,314 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.8% (YoY) ปี 2564 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 900,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% (YoY) ปี 2565 มีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 944,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8% (YoY) จะเห็นได้ว่า เงินฝากขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ ตามการทยอยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินหลายครั้ง จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อ …

พาส่องเบิ่ง เงินฝากของคนในอีสาน เป็นจังใด๋แหน่ อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง GPP แต่ละจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังใด๋แหน่

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) หมายถึง มูลค่าการผลิตสินค้าและ บริการขั้นสุดท้ายของจังหวัด ซึ่งมีค่าเท่ากับมูลค่าเพิ่ม (value added) จากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดที่ผลิตขึ้นในขอบเขตของจังหวัด ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (Per capita GPP) เป็นตัวเลขท่ีแสดงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของจังหวัดเฉลี่ยต่อคน ข้อมูลนี้ใช้เปรียบเทียบกันระหว่างจังหวัด เพื่อดูระดับความแตกตางของความสามารถในการสร้าง รายได้ (Generated of factor income) จังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงแสดงถึงความสามารถ หรือศักยภาพในการสร้างรายได้ท่ีสูงกว่าจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยตํ่า ในปี 2563 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอีสาน หรือที่เรียกว่า GRP (Gross Regional Product) มีมูลค่าเท่ากับ 1,590,894 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าในส่วนนี้ คิดเป็นสัดส่วนได้เพียง 10.2% ของมูลค่า GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสาน เท่ากับ 86,233 บาทต่อปี หรือ 7,186 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาภูมิภาคทั้ง 6 ภาคของประเทศไทย และเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย ที่เท่ากับ 224,962 บาท จะเห็นว่า รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในภาคอีสานน้อยกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทยเกือบ 3 เท่า หรือ 38.3% ของรายได้เฉลี่ยต่อคนประชากรไทย 5 อันดับจังหวัดที่มี GPP สูงสุด 1. นครราชสีมา มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 294,604 ล้านบาท 2. ขอนแก่น มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 208,472 ล้านบาท 3. อุบลราชธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 129,081 ล้านบาท 4. อุดรธานี มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 108,113 ล้านบาท 5. บุรีรัมย์ มีมูลค่าเศรษฐกิจเท่ากับ 92,023 ล้านบาท จะเห็นว่า จังหวัดที่กล่าวมา มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันกว่า 832,293 ล้านบาท หรือ 52.3% ของมูลค่าเศรษฐกิจของภาคอีสาน แสดงให้เห็นว่า ความมั่งคั่งของคนในภาคอีสานมีความกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัด ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานจากจังหวัดในภาคอีสานจำนวนมากไปทำงานใน 5 จังหวัดที่มั่งคั่งดังกล่าว และบางส่วนอาจย้ายเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อหาโอกาสในชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของภาคอีสานไม่ได้ถูกขับเคลื่อนให้กระจายไปแต่ละพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรกระตุ้นให้เศรษฐกิจภาคอีสานเติบโตมากขึ้นกว่านี้ และส่งเสริมให้ประชากรอีสานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง เมื่อภาคอีสานมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็จะทำให้เศรษฐกิจทั้งประเทศไทยดีขึ้นตามทั้งทางตรงและทางอ้อม อ้างอิงจาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12388… https://www.longtunman.com/25407 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #GPPแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน #ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด #ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน

Scroll to Top